TCIJ: เจาะ 10 บ.ไทย-ต่างชาติค้า “โบอิ้ง-เฮลิคอปเตอร์” ให้กองทัพอากาศ

เจาะลึก 10 บริษัทไทย-ต่างชาติ คู่ค้าจัดหาอะไหล่เครื่องบิน-เฮลิคอปเตอร์กับกองทัพอากาศ หลังเหตุการณ์ระทึก ! ฮ.HU-1H จอดฉุกเฉินกลางทุ่งนา จ.อุดรฯ นอกจากกรณีเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตก 3 ครั้งในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน จากครั้งแรก เฮลิคอปเตอร์แบบ HU-1H หรือ “ฮิวอี้” ครั้งที่สองเฮลิคอปเตอร์แบบแบล็คฮอล์กที่แก่งกระจาน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบ เบลล์ 212 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ทั้ง 3 เหตุการณ์ทำให้กองทัพสูญเสียกำลังพลไปถึง 17 นาย ล่าสุดเกิดเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ของกองทัพอากาศ ลง จอดฉุกเฉินกลางทุ่งนา ใน จ.อุดรธานี เนื่องจากเครื่องวัดรอบเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เมื่อเจ้าหน้าที่นำอะไหล่มาเปลี่ยนก็ใช้งานได้ปกติ ท่ามกลางเหตุการณ์ดังกล่าว คำถามที่เกิดขึ้น คือ นอกจากบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (กองทุนสวัสดิการกองทัพอากาศถือหุ้น 48.99% สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือหุ้น 50.99%ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท) ผูกขาดจัดหาอะไหล่ซ่อมแซมเครื่องบินและอื่นๆให้กองทัพอากาศ วงเงินถึง 3,167 ล้านบาทในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ( 2551-25553) มีบริษัทต่างชาติอื่นเป็นคู่ค้าหรือไม่? ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (TCIJ) เจาะข้อมูลมานำเสนอดังนี้ 1.บริษัท AERO TECHNOLOGYประเทศสหรัฐอเมริกา จัดหาอะไหล่และอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ อะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุไมโครเวฟ MDR-2205 วงเงิน 9.8 ล้านบาท ได้แก่ อุปกรณ์สำหรับใช้เป็นอะไหล่หมุนเวียนให้กับ ฮ.6ข,ฮ.6ค และ ฮ.6ง วงเงิน 1,350,856 บาท (17 มี.ค. 2551) ,อุปกรณ์ สำหรับใช้เป็นอะไหล่หมุนเวียนจำนวน 2รายการ วงเงิน 2,081,208 บาท (24 มิ.ย. 2551) ,อะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุไมโครเวฟ MDR-2205 วงเงิน 3,965,625 บาท (11 พ.ย. 2551) ,อุปกรณ์ ของ บ.ล.11ค (BOEING 737) วงเงิน 2,451,723 บาท (28 ม.ค. 2552) 2. บริษัท aero partners LTD.สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนืออะไหล่ซ่อม PROPELLER P/Nฯเครื่องบินลำเลียงราคา 8 ล้านบาท (29 มิ.ย. 2552) 3.บริษัท FERNAU AVIONICS LIMITEDสหราช อาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เครื่องช่วยเดินอากาศทาแคนภาคพื้นพร้อมติดตั้ง โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ 45.2 ล้านบาท (19 ส.ค. 2551) 4.บริษัท SAAB AB (PULB)SABB MICROWAVE SYSTEMSประเทศ สวีเดน RECEIVER MODULEจำนวน1EA11,617,304 บาท (11 มิ.ย. 2551) และ MMI COMPUTER จำนวน2EA4,555,840 บาท (8 ธ.ค. 2551) รวม 16.1 ล้านบาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ 5.บริษัท Nera Telecommunication Ltd.,จากประเทศสิงคโปร์ เป็นผู้ขาย อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้กองทัพอากาศ3 ครั้ง 89.1 ล้าน บาท ได้แก่ อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมพร้อมการติดตั้ง วงเงิน 35,561,376 บาท (15 ส.ค. 2551) ,อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนภารกิจการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ 13,639,766 บาท (19 ส.ค. 2551) ,อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคม พร้อมการติดตั้งจำนวน 1 ระบบ 39,938,400 บาท (19 มิ.ย. 2552) 6.บริษัท TADIRAN COMMUNITION LTDรัฐอิสราเอลเป็นผู้ขาย วิทยุสื่อสารป้องกันฐานบินพร้อมระบบ 23.2 ล้านบาท (19 ส.ค. 2551) 7. บริษัท Elbit Systems Ltd.รัฐอิสราเอล ผู้ขายอะไหล่ซ่อมบำรุงระบบควบคุมการยิง 2 ครั้ง 11.2 ล้านบาท ได้แก่ ซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงระบบควบคุมการยิง บ.ขฝ.1วงเงิน 6,122,952 บาท (17 ก.ย. 2551) และ ซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงในโครงการปรับปรุง บ.ข.18 ข/ค(F-5MOD) วงเงิน 5,167,800 บาท (18 ก.ย. 2551) 8.บริษัท yield CO.LTD ประเทศญี่ปุ่นEMERGENCY LOCATOR TRANSMITTER(ELT) 6.7 ล้าน บาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ(25 ส.ค. 2551) 9.บริษัท ROHDE&SCHWARZ INTERNATIONAL GmbHสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี วิทยุพื้นดิน-อากาศจำนวน11ชุด 39.9 ล้านบาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ (10 ก.ย. 2551) เพราะฉะนั้น ถ้ารวม บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ด้วยเท่ากับมีบริษัทนิติบุคคลสัญชาติไทยและต่างชาติอย่างน้อย10 บริษัทที่เป็นคู่ค้าอะไหล่เครื่องบิน เครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสาร ให้กองทัพอากาศ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท