ศาลอนุญาตการรถไฟฯ เลิกจ้าง "สาวิทย์" และแกนนำ รฟท. พร้อมสั่งใช้ค่าเสียหาย 15 ล้าน หลังนัดหยุดงาน

ด้านแกนนำ รฟท. เตรียมอุทธรณ์ต่อศาล ขณะที่สหภาพแรงงานรถไฟฯ ออกแถลงการณ์ยืนยันต่อสู้คดีถึงที่สุด ขอให้สมาชิกสหภาพแรงงานยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับสหภาพแรงงาน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ ศาลนัดอ่านคำพิพากษา 7 แกนนำสหภาพ รฟท. นัดหยุดเดินรถไฟปี 52 วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ศาลแรงงานกลาง กรุงเทพมหานคร มีการนัดอ่านคำพิพากษาแกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) 7 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554 เวลา 13.00 น. ซึ่งประกอบด้วย (1) นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน สร.รฟท. (2) นายภิญโญ เรือนเพ็ชร รองประธาน สร.รฟท. (3) นายบรรจง บุญเนตร์ รองประธาน สร.รฟท. (4) นายธารา แสวงธรรม รองประธาน สร.รฟท. (5) นายเหลี่ยม โมกงาม รองประธาน สร.รฟท. (6) นายสุพิเชฐ สุวรรณชาตรี เลขานุการ สร.รฟท. และ (7) นายอรุณ ดีรักชาติ ฝ่ายการศึกษา สร.รฟท. กรณีถูกการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นโจทย์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อขอเลิกจ้าง และ เรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายรวมประมาณ 300 ล้านบาท โดยการฟ้องเกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2552 เกิดเหตุรถไฟขบวนที่ 84 วิ่งจากตรังเข้ากรุงเทพฯ ตกรางที่ ต.เขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เจ็บกว่า 100 คน ทำให้สหภาพแรงงานรถไฟเคลื่อนไหวหยุดให้บริการ ใน จ.สงขลา และนราธิวาส ระหว่างวันที่ 16 - 27 ต.ค.52 โดยทางสหภาพแรงงาน สร.รฟท. เรียกการนัดหยุดงานครั้งนั้นว่า \การรณรงค์เรียกร้องให้การรถไฟฯ สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินรถ\" โดยนายสาวิทย์ กล่าวในขณะนั้นว่าจำเป็นต้องหยุดเดินรถเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตามปกติ ผู้นำสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศร่วมฟังคำพิพากษาพรึบ โดยเว็บไซต์นักสื่อสารแรงงาน รายงานด้วยว่า ในการอ่านคำพิพากษาวันนี้ สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือ และติดตามความคืบหน้าของคดีมาโดยตลอด และได้ส่งผู้แทนในสาขารถไฟมาร่วมฟังคำพิพากษาและให้กำลังใจแกนนำสหภาพแรงงาน สร.รฟท. ด้วย ได้แก่ นายแม็ด อุราตะ เลขาธิการ สาขาแรงงานขนส่งทางบก ITF ทางรางและถนน จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ นายมาเฮนดรา ชาร์มา เลขาธิการระดับภูมิภาค ITF ภาคพื้นเอเซีย – แปซิฟิค จากประเทศอินเดีย นายออยสเตน อาสลาคเซน ประธานสาขารถไฟ ITF สากล จากประเทศนอร์เวย์ นายเวนย์ บัทซันประธานสาขารถไฟ ITF ภาคพื้นเอเซีย – แปซิฟิค จากประเทศนิวซีแลนด์ นายมัสซา ทากาฮาชิ ผู้แทนจากสหภาพแรงงานรถไฟตะวันออกแห่งประเทศญี่ปุ่น นายเอ็ดก้า บินลายอน ประธานสหภาพแรงงานรถไฟประเทศฟิลิปปินส์ และตัวแทนสหภาพแรงงานรถไฟในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายประเทศ เพื่อเดินทางไปยังศาลแรงงานกลาง เพื่อร่วมฟังคำพิพากษา และเป็นกำลังใจให้กับแกนนำ สร.รฟท. ทั้ง 7 คน ในวันดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่า จะมีผู้นำแรงงานจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) อีกจำนวนมากที่จะเดินทางไปร่วมเป็นกำลังใจให้แกนนำทั้ง 7 คน ด้วย ศาลตัดสินอนุญาตให้การรถไฟเลิกจ้าง 7 แำกนนำ สร.รฟท. และให้ร่วมกันชดใช้ 15 ล้านบาท ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลระบุว่า 1.ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีความเคลือบคลุมในคำฟ้องของโจทย์ จำเลยยุยงและหยุดรถไม่ให้บริการในพื้นที่สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยาลา โดยนำหัวรถจักรมาใช้ที่หาดใหญ่ สุไหงโกลก จำเลยมีการให้หยุดงานและทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ทำให้โจทย์เสียหายมาก ศาลเห็นจำเลยทั้ง 7 มีความผิดจริง 2.ศาลสั่งให้เลิกจ้าง แต่ให้อำนาจโจทย์เป็นผู้พิจารณาว่าจะเลิกจ้างอย่างไร จะเลิกจ้างหรือให้ลาออกเองและเมื่อไหร่ ให้รฟท.เป็นผู้ตัดสินเอง และ 3. ศาลสรุปตัวเลขความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 81 ล้านบาท ส่วนค่าเสียหายอีกกว่า 200 ล้านบาทที่โจทย์เรียกนั้น เป็นการคาดคะเน ศาลเห็นควรให้จำเลยทั้ง 7 ร่วมรับผิดชอบเป็นจำนวนเงิน 15 ล้านบาท ด้านนายสาวิทย์ กล่าวหลังศาลมีคำพิพากษาว่า จะดำเนินการยื่นอุธรณ์ต่อศาลภายในเวลา 15 วัน นับจากวันที่ศาลมีคำสั่งต่อไป ด้านสหภาพรถไฟฯ ออกแถลงการณ์จะสู้คดีถึงที่สุด จะยืนหยัดต่อสู้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถไฟ ขณะที่ในเว็บไซต์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ \"จุดยืนในการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน และคนงานรถไฟ\" โดยมีรายละเอียดดังนี้ คำแถลงสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง จุดยืนในการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน และคนงานรถไฟ จากกรณีที่ขบวนรถด่วนที่ 84 เกิดอุบัติเหตุตกรางที่สถานีเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552 เป็นเหตุให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต 7 ราย และได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) เห็นว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์บนรถจักร จึงได้มีการรณรงค์ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประสงค์ต้องการให้การรถไฟฯปรับปรุง ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ รถจักรและรถพ่วง รวมทั้งระบบป้องกันพนักงานขับรถหมดสติ (Vigilance) ก่อนที่จะนำรถจักรออกไปทำขบวนทุกครั้ง ซึ่งกรณีนี้ สร.รฟท.ได้ยื่นข้อเรียกร้อง และได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กับการรถไฟฯอย่างชัดเจนไว้แล้ว และให้สมาชิกถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนและพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ จากการรณรงค์ดังกล่าวเป็นเหตุให้การรถไฟฯมีคำสั่งลงโทษกรรมการสหภาพฯสาขา หาดใหญ่จำนวน 6 คนโดยไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการบริหาร สร.รฟท.จำนวน 7 คน (คดีหมายเลขดำที่ 6977/2552

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท