TCIJ: จวก “เขตรักษาพันธุ์ฯ” หวงผลประโย​ชน์ ถ่วงเวลาเดินหน้า “โฉนดชุมชุน” ย่านตาขาว

ประชุมโฉนดชุมชนย่านตา​ขาวไม่คืบ เขตรักษาพันธุ์ฯ ยันต้องทำ​แผนที่รายแปลง ด้านกรรมการโฉนดชุมชนยันข้อมูลครบ ชี้การคัดเลือกพื้นที่ผ่านความเห็นชอบจากหลายภาค​ส่วนแล้ว แต่ไม่มอบพื้นที่เหตุหวงอำนาจ-ผลประโยชน์ วานนี้ (25 ก.ค.54) เวลาประมาณ 13.30 น.นายพรชัย สุขโสม ปลัดอาวุโส อ.ย่านตาขาว เป็นประธานการประชุมหารือเรื่องการบ​ริหารจัดการที่ดินและป่าในพื้นที่ ต.นาชุมเห็ด และ ต.โพรงจระเข้ อ.ย่านตาขาว ที่ห้องประชุม อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 40 คน ประกอบด้วย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์​ป่าเทือกเขาบรรทัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต.ในพื้นที่ ต.นาชุมเห็ด และ ต.โพรงจระเข้ องค์กรชุมชนปฏิรูปที่ดินบ้านลำขนุน องค์กรชุมชนปฏิรูปที่ดินบ้านยูงงาม-ลำพิกุล สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด และกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ผู้สื่อว่ารายงานว่า ที่ประชุมได้หารือถึงความร่วมมือในการจัดทำโฉนดชุมชน ซึ่งบ้านลำขนุนได้รับการคัด​เลือกเป็นพื้นที่นำร่องโฉนด​ชุมชน 1 ใน 35 พื้นที่ แต่ยังไม่มีการประกาศรับรอง​เป็นพื้นที่โฉนดชุมชน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่มีความเห็นว่าควรดำเนินการจัดการที่ดินและป่าร่วมกัน โดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายนโยบายสั่ง​การลงมา นายคม ชัยภักดี หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์​ป่าเทือกเขาบรรทัด กล่าวให้ข้อมูลต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้ทางกระทรวงทรัพยากรธร​รมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งให้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติม โดยจัดทำแผนที่รายแปลง และสำรวจต้นไม้ แต่ติดขัดที่ชาวบ้านยังไม่ได้จัดส่งพิกัดขอบเขตพื้นที่​มาให้ และไม่ให้ความร่วมมือในการรังวัดรายแปลง อีกทั้งในส่วนกระทรวงทรัพย์ฯ และสำนักงานโฉนดชุมชนก็ไม่ได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่มาให้ จึงไม่สามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้ ด้านนายสมนึก พุฒนวล กรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) กล่าวว่า บ้านลำขนุนเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนเพราะมีความพร้อม​ทั้งการจัดการพื้นที่และข้อ​มูลต่างๆ การคัดเลือกพื้นที่โฉนดชุมชนผ่านความเห็นชอบจากหลายภาค​ส่วน ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ฝ่ายปกครองท้องที่ และ อบต. ไม่จำเป็นต้องทำแผนที่รายแป​ลงเพิ่มเติม เพราะการจัดทำโฉนดชุมชนจะทำ​เป็นแปลงใหญ่ อย่างไรก็ตาม หากชุมชนจะทำแผนที่รายแปลงก็สามารถทำได้ แต่ต้องให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง ทั้งนี้ ไม่มีการสำรวจพิสูจน์สิทธิ์ตามมติ ครม.30 มิ.ย.41 ในพื้นที่โฉนดชุมชน “โฉนดชุมชนคือสิทธิชุมชนภาย​ใต้รัฐธรรมนูญ หมดยุคที่ส่วนราชการจะมาละเมิดสิทธิชุมชน และไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ​เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หากข้าราชการคัดค้านโฉนดชุม​ชนก็เป็นเรื่องของบุคคล การตัดสินใจว่าชุมชนจะได้โฉนดชุมชนหรือไม่ ไม่ใช่อำนาจของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ อำนาจตัดสินใจอยู่ที่กรรมกา​ร ปจช.ซึ่งมีปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ เป็นกรรมการอยู่ด้วย” นายสมนึก กล่าว นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริม​สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) กล่าวว่า ปจช. ได้ส่งหนังสือถึงจังหวัดว่า​บ้านลำขนุนเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ขั้นตอนในขณะนี้จึงไม่ได้อยู่ที่การตัดสินใจของชาวบ้าน​กับหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์ฯ จึงขอความร่วมมือให้ส่วนราช​การสนับสนุนคนดูแลรักษาป่า ร่วมกันเฝ้าระวังไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่า อย่างไรก็ตาม การประชุมในครั้งนี้ยังไม่มีข้อสรุปถึงความร่วมมือที่ชัดเจน ดังนั้น ประธานในที่ประชุมจึงสรุปผล​การประชุมโดยมอบหมายให้ นายสมนึก ซึ่งเป็นกรรมการ ปจช. เร่งรัดให้สำนักงานโฉนดชุมชนจัดส่งข้อมูลให้หัวหน้าเขต​รักษาพันธุ์ฯ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมที่หลายภาคส่วนร่วมกันดูแลรักษาป่า นายสมนึก พุฒนวล ให้สัมภาษณ์หลังปิดการประชุมว่า หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์ฯ ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดทำโฉนดชุมชน โดยอ้างว่าชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือเรื่องการจัดทำแผนที่ ตรงนี้เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่กรมอุทยานฯ ชี้แจงในที่ประชุม ปจช. ทั้งที่ชุมชนผ่านการพิจารณาเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน มีความพร้อมเรื่องข้อมูล​แล้ว และสิ่งที่ชุมชนดำเนินการก็​เป็นเจตนาของกรมอุทยานฯ ที่ต้องดูแลรักษาทรัพยากรของชาติ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการถ่วงเวลา บ่ายเบี่ยงไม่ยอมส่งมอบพื้น​ที่ เพราะกลัวเสียพื้นที่ อำนาจ และผลประโยชน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท