Skip to main content
sharethis

เมื่อเวลา 08.00 วันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุม อิบนุ คอลดูน มอปัตตานี มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มบูหงารายา จัดเวทีความรู้ที่ 1 กระบวนการสันติภาพ เริ่มต้นอย่างไร โดยมี Dr. Norbert Ropers ผู้อำนวยการมูลนิธิ Berghof Peace Support นักวิชาการชาวเยอรมัน ผู้มีประสบการณ์กระบวนการสันติภาพในหลายประเทศ บรรยายในหัวข้อกระบวนการสันติภาพ เริ่มต้นอย่างไร? ทฤษฎีและประสบการณ์ มีผู้ร่วมฟังกว่า 30 คน Dr.Norbert กล่าวว่า ปัญหาความไม่สงบหรือความยัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงจุดที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือหรือยัง ตนมองว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการกระจายอำนาจมากขึ้นกว่า 3 - 4 ที่ผ่านมา และรัฐบาลมีท่าทีตอบรับมากยิ่งขึ้น ส่วนสัญญาณจากฝ่ายตรงข้ามกับรัฐที่จะเสนอเรื่องการพูดคุยหารือ (dialogue)กับรัฐ ก็ยังคงมีความลังเลใจอยู่ เพราะยังไม่มีความมั่นใจ แต่ข้อเสนอเรื่อง dialogue ของทุกประเทศหรือทุกพื้นที่ที่มีความขัดแย้งนั้น ต้องเตรียมใจว่า ข้อเสนอทั้งหมดอาจได้รับการต้องรับเพียงบางส่วน Dr.Norbert กล่าวต่อไปว่า การลดความตึงเครียดระหว่าง 2 ฝ่าย ทำได้โดยสร้างความมั่งใจว่า แต่ละฝ่ายจะต้องลดความตึงเครียดลง แต่สิ่งที่สำคัญคุณ คือต้องมีความเชื่อมั่นในฝ่ายตรงข้าม อีกฝ่ายจึงจะมีความเชื่อมั่นตามมาด้วย สำหรับสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สัญญาณในการลดความตึงเครียด อาจเริ่มจากฝ่ายรัฐบาลก่อน โดยการสนับสนุนการใช้ภาษามลายูในสถานที่ราชการและส่งเสริมการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ ส่วนฝ่ายตรงกันข้ามอาจตอบโต้ด้วยการลดการใช้ความรุนแรง Dr.Norbert กล่าวด้วยว่า แนวคิดนี้เคยนำไปใช้ในประเทศไอร์แลนด์เหนือจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ที่สำคัญที่สุดสำหรับแนวคิดนี้ คือต้องมีผู้นำที่กล้าเสี่ยงที่จะทำในเรื่องนี้ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ลดใช้ความรุนแรง อีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่ลดความรุนแรงด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net