SIU: บทเรียนของ กกต. ผู้แพ้ตัวจริงในการเลือกตั้ง 54

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

หลังจากปิดหีบบ่าย 3 โมงแล้ว กระบวนการประชาธิปไตยก็ดำเนินไปตามวิถี การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย 300 เสียง ความพ่ายแพ้ของประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย หรือ ความคลาดเคลื่อนของโพลสำนักต่างๆ ยังคงมีมุมทั้งแพ้และชนะในตัวของมันเอง แต่หน่วยงานที่มีความพ่ายแพ้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพราะอะไรจึงกล่าวเช่นนั้น ถึงแม้จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 75.03 เยอะเป็นประวัติการณ์ แต่การจัดการเลือกตั้งกลับประสบปัญหาและความไม่สะดวก รวมไปถึงเรื่องราวที่อาจจะกล่าวได้ว่า “ไม่เข้าท่า” ที่ควรจะนำกลับไปปรับปรุงในการเลือกตั้งครั้งหน้า เรื่มตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งที่ทำได้อย่างไม่สมกับงบ ประชาสัมพันธ์ ทั้งในเรื่องการบอกกล่าวว่า สามารถใช้บัตรประชาชนที่หมดอายุในการเลือกตั้งได้เพียงไม่กี่วันก่อนเลือก ตั้งทั้งๆที่มีโอกาสตลอดระยะเวลา 2 เดือน หลังจากการยุบสภาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2554 หรือการเลือกตั้งครั้งนี้จะมียอดผู้มาใช้มากกว่านี้หากประชาสัมพันธ์ เรื่องที่มีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตว่า จำเป็นต้องไปยกเลิกสิทธิที่เคยแจ้งไว้ในการเลือกตั้งปี 2550 ที่เดิมเสียก่อนถึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง ทำให้มีผู้เสียสิทธิจำนวนมาก แม้กระทั่ง พล.ต. จำลอง ศรีเมือง แกนนำคนสำคัญของพันธมิตรฯ ก็ยังอดไป Vote No ตามที่ให้สัญญากับมวลชน ประเด็นต่อมาก็คือเรื่องระยะเวลาการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งมีการเปิดให้เลือกตั้งล่วงหน้าลดลงเหลือเพียง 1 วัน และเลื่อนเวลาปิดหีบให้เร็วขึ้นเป็นเวลา บ่าย 3 โมง โดยส่งผลกระทบในเรื่องของปัญหารถติดในบางพื้นที่ และทำให้ผู้ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งทัน โดยที่เป็นข่าวก็คือทหารเรือทั้งกองร้อยไม่สามารถมาใช้สิทธิมัน เนื่องจากเวลาปิดหีบเลือกตั้งล่วงหน้าเร็วกว่าเดิม ทำให้คนมีคนคอยใช้สิทธิเวลานาน แม้จะมีการอนุญาติให้ไปใช้สิทธิในภายหลัง แต่สำหรับบางคนที่เจาะจงจะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ก็อาจจะไม่สะดวกในการวันเลือกตั้งจริง ประเด็นนี้ได้รับการบอกเล่าจาก คุณ จิตรา คชเดช เจ้าของต้นตำรับวลี “ดีแต่พูด”ว่า เมื่อเธอได้โทรไปสอบถามยัง กกต. ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูล 2 ท่านให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนมากขึ้น และยังมีเรื่องที่กลายเป็น “เรื่องตลก”ในวงการข่าวด้วย เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวว่า กกต.จังหวัดโคราช และ ลำปาง ได้มีการใช้การเต้นของโคโยตี้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไปเลือกตั้ง!! ดังนั้นจำนวนตัวเลขที่มีผู้ใช้สิทธิจำนวนมากนั้นไม่ใช่ชัยชนะของ กกต. แต่เป็นชัยชนะของประชาชนที่ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง แต่ที่กลายเป็นเรื่องฮือฮาระดับประเทศ จนกลายเป็นโจ๊กระดับโลกกลับเป็นเรื่อง เมื่อพรรคเพื่อไทยออกมาร้องเรียนเรื่องการที่ กกต. จัดพิมพ์โลโก้บนบัตรเลือกตั้งของพรรคมีขนาดเล็กมาก และเกรงว่าประชาชนอาจจะเข้าใจผิดในการไปกาที่ช่องโลโก้พรรค โดยทางพรรคชี้แจงว่าโลโก้ต้นแบบที่ส่งไปให้ กกต.นั้นไม่ใช่แบบที่ปรากฏบนบัตรเลือกตั้ง วิธีการแก้ไขก็คือพรรคจำเป็นต้องทำป้ายหาเสียงเพื่อชี้แจงให้ประชาชนที่ ประสงค์ลงคะแนนให้พรรคได้เข้าใจ แทนที่จะเป็นหน้าที่ของกกต.ในการชี้แจงให้กับสังคมเข้าใจ และสุดท้ายก็เป็นไปตามคาด ยอดบัตรเสียสูงเป็นประวัติการณ์ ถึงไม่ต่ำกว่า 2ล้านใบในแบบบัญชีรายชื่อ ประเด็นเรื่องของความโปร่งใสและความเป็นกลาง ก็ยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามของสังคม เริ่มตั้งแต่การพิมพ์บัตรเลือกตั้งกว่าจำนวนยอดผู้มีสิทธิใช้สิทธิถึง 7 ล้านใบ ตามที่กลุ่ม นปช. ได้ร้องเรียนกับสื่อและสังคม รวมไปถึงห้วงเวลาใกล้ๆกับการเลือกตั้งล่วงหน้า กกต. 4 จาก 5 ท่าน ได้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปดูงานต่างประเทศ ท่ามกลางข่าวลือว่าจะมีการล้มเลือกตั้งขึ้น ที่กลายเป็นเรื่องฮือฮาก็คือ “คลิปการเลือกตั้งล่วงหน้า” เขตพญาไท ที่มีผู้ใช้สิทธินอกคูหาเลือกตั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่และกลุ่มชายฉกรรจ์รุมกันเพื่อปิดบัง และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม แต่มีการชี้แจงจากกกต. ว่า “เป็นการอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้สิทธิ ที่มีขนาดตัวขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าไปในคูหาได้ และควรได้รับเสียงชื่นชม” ท่ามกลางความมึนงงจากหลายๆฝ่าย คลิปการเลือกตั้ง เขตพญาไท หลังจากการเลือกตั้ง นาย สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ กลับพบข้อพิรุจ ว่ามีผู้ใช้สิทธิทั้ง 2 ระบบ แตกต่างกันถึง 83,222 คนและมีจำนวนบัตรที่ไม่เท่ากันถึง 95 คน จน นาย โคทม อารียา อดีต กกต.ได้ออกมาให้ความเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทางทฤษฎี และล่าสุดกับ กกต.นครราชสีมา จ้องจะส่งชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจากพรรคเพื่อไทย อาจจะมีความผิดฐานที่เมื่อครั้งไปหาเสียงในพื้นที่ได้มีการ “ผัดหมี่โคราช”แจกให้กับประชาชน ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 53 ห้ามมิให้ผู้สมัคร หรือผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้กับตนเอง และสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งจำเป็นต้องแจ้งเหตุผลที่ สมควรกับนายทะเบียนอำเภอ เพราะอาจจะทำให้เสียสิทธิ 3 ประการ ซึ่งรวมไปถึงการยื่นถอดถอน ส.ส. และ ส.ว. ด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าว SIU ได้รับทราบจากการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ กกต. แต่คำถามคือประชาชนทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้รับทราบข้อมูล เหล่านี้หรือไม่ !? ยังไม่รวมไปถึงการที่ห้ามรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์เรื่องการเมือง ภายใน 6 โมงเย็นวันที่ 2 ก.ค. ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ social network โดยเป็นการอกข้อบังคับที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง อาจถึงเวลาที่เราจะต้อง “ตรวจสอบ” องค์กรที่คอยตรวจสอบและจัดการเลือกตั้งให้เป็นระบอบประชาธิปไตย อย่าให้เรื่องราวดังกล่าวเงียบหายไปกับสายลม โดยอาจจำเป็นต้องเรียกร้องหาความรับผิดชอบและสปิริตของ คณะกกต. เพื่อที่เรื่องราวดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีกในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท