Skip to main content
sharethis

37 องค์กรแรงงานและองค์กรนักกิจกรรม รวมถึง 248 รายชื่อประชาชน นักศึกษา ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ทบทวนตัวเอง หลังนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงเรียกร้องให้ขบวนการแรงงานทั้งหมด ตัดชื่อ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เจ้าของวาทะ “ดีแต่พูด” ออกจากผู้ร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงาน 27 มิ.ย.54 องค์กรแรงงานและองค์กรนักกิจกรรม จำนวน 37 องค์กร รวมถึงนักศึกษาและประชาชน ได้ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ทบทวนตนเอง หลังจากที่นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงเรียกร้องให้ขบวนการแรงงานทั้งหมด ตัดชื่อ จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เจ้าของวาทะ “ดีแต่พูด” ออกจากผู้ร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงาน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยในจดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าวนอกจากเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ทบทวนตนเองแล้ว ยังได้มีการยกข้อมูลเรื่องความล้มเหลวของรัฐบาลในเรื่องนโยบายด้านแรงงาน เช่น เคยสัญญาว่าจะขึ้นค่าแรง 250 บาท ก็ได้เพียง 215 บาทในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น เคยสัญญาว่าจะให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO 87 และ 98 ภายใน 3 เดือน ก็ยังไม่มีการให้ นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ในเรื่องมาตรการชะลอการเลิกจ้าง ลดภาระค่าครองชีพของประชาชนก็มีปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างคนงานไทรอัมพ์ฯ การสลายการชุมนุมของคนงานด้วยเครื่องยิงหูดับ และการส่งมอบจักรให้คนงานไม่ครบของ รมต.แรงงาน เป็นต้น โดยในท้ายจดหมายได้ย้ำเรื่องสถานะของคนที่จะเสนอตัวเป็นผู้แทนและผู้บริหารประเทศ ควรที่จะ “ฟัง” ประชาชนหรือแรงงาน และ “ทำ” ในสิ่งที่เคย “พูด” หรือเคยสัญญาไว้ด้วย จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าว จดหมายถึงพรรคประชาธิปัตย์ให้ทบทวนตัวเองกรณีที่ออกมาเรียกร้องให้ขับคุณจิตรา คชเดช เจ้าของวาทะ “ดีแต่พูด”ออกจากขบวนการแรงงาน สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแถลงเรียกร้องให้ขบวนการแรงงานทั้งหมด ตัดชื่อ น.ส.จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เจ้าของวาทะ “ดีแต่พูด” ออกจากผู้ร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงาน โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก น.ส.จิตราเคลื่อนไหวทางการเมืองอิงแอบกับพรรคการเมืองหนึ่ง ที่สำคัญยังเป็นลูกน้องที่ซื่อสัตย์ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เพราะน.ส.จิตราเคยทำงานอยู่ในกลุ่มงานของนายสมยศในสมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ นั้น * พวกเรากลับเห็นว่าเร็วๆนี้เมื่อปีที่แล้วนายกอภิสิทธิ์เองก็เคยสัญญาว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 250 บาท ซึ่งขบวนการแรงงานเองก็เคยเอาประเด็นนี้มาเรียกร้องให้นายกอภิสิทธิ์ ทำตามในสิ่งที่พูด แต่ผลกลับไม่ได้เป็นดังที่เคยสัญญาหรือพูดไว้คือได้เพียงแค่ 215 บาทเท่านั้นในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ** แน่นอนถ้าเรายังคงจำกันได้เมื่อตอนที่นายกอภิสิทธิ์ แถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่กระทรวงการต่างประเทศในนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกว่าจะ “ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมถึงลดภาระค่าครองชีพของประชาชน” กลับปรากฏว่าหลังจากที่นายกแถลงนโยบายเร่งด่วนเพียง 5 เดือนก็มีคนงานที่ถูกเลิกจ้างทันทีถึง 84,876 ราย ปัจจุบันแม้คนว่างงานจะลดลงและดูเหมือนจะถูกชูว่าเป็นผลสำเร็จของรัฐบาล แต่ในความเป็นจริงไม่เพียงมีคนงานที่ถูกเลิกจ้างจำนวนมาก แต่เรากลับมาดูคนที่ได้งานใหม่ก็ได้ค่าตอบแทนและสภาพชีวิตที่ต่ำลงภายใต้ค่าครองชีพที่สูงในรัฐบาลนี้ รวมถึงที่ผ่านมาขบวนการแรงงานได้ทำการยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO 87 และ 98 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม โดยรัฐบาลก็ได้รับปากว่าจะดำเนินงานผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 52 แต่ปัจจุบันผ่านไปแล้วเกือบ 2 ปีก็ยังไม่มีการให้สัตยาบัน แม้จะมีการไปทวงสัญญา แล้วหลายรอบก็ตาม อีกทั้งในพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีผู้นำแรงงานหลายคนที่เคลื่อนไหวและลงสมัคร สส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ด้วย และการยกข้อกล่าวหาแบบนี้ไม่จำเป็นต้องพิสูจย์ด้วยซ้ำว่าคุณจิตรามีการเคลื่อนไหวรวมกับพรรคการเมืองจริงหรือไม่ เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ผิดอะไรถ้าทำจริง ก็เช่นเดียวกับที่มีผู้นำแรงงานที่เคลื่อนไหวและลงสมัคร สส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในประเทศที่ประชาธิปไตยก้าวหน้าก็มีพรรคการเมืองของกรรมกรเองรวมไปถึงมีผู้นำประเทศที่มาจากขบวนการแรงงานด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือทัศนคติที่แสนจะคับแคบของ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ท่านนี้ต่างหากที่เราน่าจะกังวล พวกเราคนงานขอย้ำว่าเรามีวิจารณญาณ ไม่จำเป็นต้องให้คุณในฐานที่กำลังอาสาตัวเป็นผู้แทนมาเรียกร้อง ในทางกลับกันพวกคุณต่างหากที่กำลังอาสามาเป็นผู้แทนต้อง “ฟังพวกเรา” ไม่ใช่ “ดีแต่พูด” และไม่ฟังข้อเรียกร้องของพวกเรา ประสบการณ์ของเพื่อนคนงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ที่พวกเธอไปส่งเสียงเรียกร้องให้พวกคุณฟัง แต่คุณกลับสลายการชุมนุมพวกเธอด้วยเครื่องยิงหูดับ LRAD ในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 หรือแม้แต่เมื่อมีคนบริจาคจักรเย็บผ้ามาให้คนงานไทรอัมพ์ฯที่ถูกเลิกจ้าง รมต.แรงงานของพรรคประชาธิปัตย์เองกลับส่งมอบให้กับคนงานไม่ครบอีก ส่วนข้อกล่าวหาเรื่องความใกล้ชิดกับคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานนั้นก็ไม่ผิดอะไร เพราะถ้าใกล้ชิดคุณสมยศแล้วต้องออกจากขบวนการแรงงานแล้ว คงมีนักกิจกรรมด้านแรงงานในไทยอีกจำนวนมากต้องออกไปจากขบวนการนี้เป็นแน่ แต่ที่สำคัญกว่าคือคุณสมยศเองก็เป็นคนที่กำลังถูกกระทำโดยรัฐ ขบวนการแรงงานทั้งไทยและสากลกำลังเรียกร้องให้เขาได้รับสิทธิในการได้รับการประกันตัว ตามสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เองก็ได้พูดไว้เมื่อ วันที่ 10 พ.ย. 53 ที่ผ่านมาว่า “..ประเทศไทยเป็นสังคมเปิด ซึ่งเคารพและเชื่อมั่นในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น..\ แต่ในความเป็นจริงแม้สิทธิพื้นฐานอย่างการได้รับการประกันตัวยังไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้สิ่งสำคัญที่สุดแทนที่พวกคุณจะยอนกลับไปดูปัญหาเมื่อมีคนเรียกร้องพวกคุณในฐานอาสามาเป็นตัวแทนพวกเราเพื่อทำการบริหารประเทศ คุณกลับเรียกร้องและโจมตีประชาชนเหล่านั้น เราในฐานะผู้ใช้แรงงาน ประชาชนและคนที่ทำงานเคลื่อนไหวกับขบวนการแรงงาน จึงขอเรียกร้องให้พวกคุณที่อาสาจะมาเป็นผู้แทนพวกเราไปบริหารประเทศกลับไปทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น มากกว่าเรียกร้องพวกเรา และขอยืนยันว่าเหตุผลที่คุณยกมาเพื่อให้พวกเราตัดคุณจิตราออกจากขบวนการแรงงานนั้นไม่มีน้ำหนักเสียเลย ดังนั้นก่อนที่จะเรียกร้องประชาชน เราจึงอยากให้พวกคุณที่จะอาสามาเป็นผู้แทนพวกเรา มาบริหารประเทศนั้นควรที่จะ “ฟัง” พวกเราและ “ทำ” ในสิ่งที่เคย “พูด” หรือเคยสัญญาไว้ ก่อนที่จะมาเรียกร้องประชาชนที่จะต้องเลือกคนเป็นตัวแทน จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาทบทวน -------------------- หมายเหตุ : ที่มาข่าว จาก * ปชป.เรียกร้องขบวนการแรงงานตัดขาดเจ้าของวาทะ\"ดีแต่พูด\" วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 มติชนออนไลน์ ดู http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1308892567&grpid=03 ** แรงงานนัดชุมนุมขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ250บ. http://bit.ly/aAcgXW --------------------- ลงชื่อองค์กร สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า องค์กรแรงงานเพื่อประชาธิปไตย สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (TIGLU) สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล สหภาพแรงงานคริสตัลทอผ้าลูกไม้ สหภาพแรงงานประชาธิปไตย สหภาพแรงงานยานยนต์และอะไหล่อีซูซุ ประเทศไทย สหภาพแรงงานเครื่องยนต์และอะไหล่อีซูซุแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ สหภาพแรงงานพิพัฒน์สัมพันธ์ สหภาพแรงงาน ไทรอัมพ์ มอเตอร์ แห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานพนักงานไทยซัมมิทโอโตพาร์ท สหภาพแรงงานไทยดีคัล สหภาพแรงงานสยามชิโตเซะ สหภาพแรงงานการทอแห่งประเทศไทย (เอราวัณ) สหภาพแรงงานผู้ผลิตยางรถยนต์แห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานปัญจพล สหภาพแรงงานสินธานี สหภาพแรงงานศูนย์บริการเหล็กสยาม สหภาพแรงงาน เอส เค วี ประเทศไทย สหภาพแรงงานลวดสลิง สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมประเทศไทย สหภาพแรงงานทาคาตะสัมพันธ์ กลุ่มเยาวชนคนงานแห่งประเทศไทย กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาชุมชนคนงาน กลุ่มประกายไฟ กลุ่ม F.A.N. สถาบันต้นกล้า กลุ่มเข้าใจคิด กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ ชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม สมัชชาสังคมก้าวหน้า กลุ่มสหกรณ์คนงาน TRY ARM กลุ่มแนวร่วมนักเรียน นิสิต นักศึกษาเสรีชนล้านนา 37 ลงชื่อบุคคล พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเครืออุตสาหกรรมเบอร์ล่า ภัควดี วีระภาสพงษ์ พวงทอง ภวัครพันธุ์ วิจักขณ์ พานิช ขวัญระวี วังอุดม บุยยืน สุขใหม่ วิภา ดาวมณี วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร คมลักษณ์ ไชยยะ วันรัก สุวรรณวัฒนา จรรยา ยิ้มประเสริฐ เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีย์ เจนณรงค์ นักศึกษารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปกรณ์ อารีกุล กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา รุ่งโรจน์ \"อริน\" วรรณศูทร (วัฒนา สุขวัจน์) นักเขียนอิสระ ปัณมาสน์ อร่ามเมือง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พงศกร แก้วลังกา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชนากรณ์ วงศ์ป้อง นักศึกษารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ธนพงษ์ หมื่นแสน นักศึกษาชั้น ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Bhanuwatna Lerdkhampom

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net