Skip to main content
sharethis

รำลึก 20 ปี “ทนง โพธิ์อ่าน” นักวิชาการชี้เรื่องราวเริ่มเลือนหายจากสังคม 19 มิ.ย. 54 - มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมด้วยเครือข่ายองค์กรแรงงาน และญาติอดีตผู้นำแรงงานที่วายชนม์ ได้ร่วมกันจัดงาน “รำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน” อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้นำแรงงาน ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังจากออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช. โดยมีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ นายทนง พร้อมด้วยอดีตผู้นำแรงงานที่เสียชีวิต อาทิ นายอารมณ์ พงศ์พงัน นายศุภชัย ศรีสติ และ ศ.นิคม จันทรวิทูร บริเวณห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การหายตัวไปของ นายทนง คือภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน ซึ่งระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรื่องราวการหายไปของ นายทนง เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคม นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า แม้บ้านเมืองจะดูดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเมือง หรือการมีหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ แต่หลักประกันในสิทธิและเสรีภาพยังไม่ได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็สะท้อนว่าขบวนการแรงงานยังไร้ซึ่งอำนาจต่อรองทางการเมือง สาเหตุสำคัญคือการขาดความเป็นปึกแผ่นและอันหนึ่งอันเดียวกัน (สำนักข่าวไทย, 19-6-2554) ปลัดแรงงานเล็งชงร่าง สปส.เป็นองค์การมหาชนให้รัฐบาลหน้าอนุมัติ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคมกล่าวถึงการปรับโครงสร้างสำนักงานประกัน สังคม (สปส.) ว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) เสร็จแล้ว และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สปส.แล้ว โดยจะเสนอต่อรัฐบาลชุดหน้าเพื่อพิจารณานำเข้าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนสถานะของ สปส.จากที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานรัฐไปเป็นองค์การมหาชน อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและบริหารงานในรูปแบบคณะ กรรมการฝ่ายต่างๆ เช่นเดิม \การที่ สปส.ปรับเปลี่ยนไปเป็นองค์การมหาชน หรือองค์กรอิสระมีข้อดี จะทำให้ สปส.สามารถสรรหาคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งบริหารจัดการและจัดซื้อจัดจ้างด้านพัสดุ รวมทั้งจ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาบริหารเงินลงทุนของกองทุน ประกันสังคมได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลยังคงมีคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ดูแลเหมือน เดิม” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนกว่า 8.4 แสนล้าน โดยในช่วง 3 ปีนี้ ได้ผลกำไรอยู่ที่ 2-3 หมื่นล้านบาทต่อปี ไม่ถือว่าน้อยเกินไปและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการลงทุนของกองทุนต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมเน้นการลงทุนที่มีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าการลงทุนที่ มีความเสี่ยงทั้งที่จริงแล้วกองทุนประกันสังคมสามารถลงทุนแบบหวือหวาได้ เพราะมีรายได้แน่นอนจากเงินสมทบของรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง “แม้การลงทุนที่มีความเสี่ยงจะได้ผลกำไรมากแต่ผลกำไรก็ไม่แน่นอน ซึ่งระยะยาว 5-10 ปีข้างหน้า หากมานั่งคำนวณดูตัวเลขภาพรวมระหว่างเงินลงทุนกับผลกำไร อาจจะขาดทุนก็ได้ อีกทั้ง สปส.ไม่อยากให้ผู้ประกันตนที่รับเงินบำเหน็จชราภาพ จะต้องมานั่งลุ้นใจหายใจคว่ำ หากลงทุนแบบหวือหวา บางปีได้กำไรน้อย จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จน้อยตามไปด้วย” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net