Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิ.ย.ของทุกปี โดยระบุว่า สิทธิในการหนีภัยจากการประหัตประหารเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ดังที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แม้ว่าประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเคารพในหลักการไม่ผลักดันผู้หนีภัยกลับไปสู่ภัยประหัตประหาร ทั้งนี้ จากการที่ กสม.ได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนของผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์ที่ถูกขังไว้ในห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งที่พักพิงผู้หนีภัยสงครามจากประเทศเพื่อนบ้าน จนช่วยให้มีการประกันตัวผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์ จำนวน 96 คน เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าหลังจากนั้นยังคงมีการจับกุมผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์อย่างต่อเนื่อง กสม.ระบุว่า เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยตรง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมืองก็มิได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารจัดการผู้หนีภัยในประเทศไทย จึงทำให้บุคคลกลุ่มนี้ถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย หรืออยู่เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต และในกรณีที่ไม่สามารถส่งตัวกลับประเทศได้ จะถูกกักขังไว้ที่ห้องกัก ตม. โดยไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีรวมอยู่ด้วย ในขณะที่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้นควรมีมาตรการในการดูแลและแสวงหาแนวทางเลือกอื่นที่จะทำให้เด็กไม่ต้องอยู่ในพื้นที่ห้องกักของ ตม. นอกจากนี้ กสม.ยังเสนอให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมือง โดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กฎกระทรวง และระเบียบข้อบังคับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของกระบวนโลกาภิวัตน์ โดยให้หลักเกณฑ์และกระบวนการต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ให้มีการจัดการดูแลผู้หนีภัยในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม รวมถึงให้หน่วยงานของสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องและไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย กสม.ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือแนวทางในการอนุญาตให้ผู้หนีภัยสามารถอยู่ในประเทศได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยประสานงานกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคประชาสังคม ในการนำผู้หนีภัยมารายงานตัวต่อสำนักงานตรวจนเข้าเมืองเพื่อบันทึกประวัติและกำหนดให้มารายงานตัวเป็นประจำ แทนการกักตัวไว้ตาม พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมือง และให้ความดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานจนกว่าจะสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ แถลงการณ์วันผู้ลี้ภัยโลก (function() { var scribd = document.createElement(\script\"); scribd.type = \"text/javascript\"; scribd.async = true; scribd.src = \"http://www.scribd.com/javascripts/embed_code/inject.js\"; var s = document.getElementsByTagName(\"script\")[0]; s.parentNode.insertBefore(scribd

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net