Skip to main content
sharethis

หัวข้อข่าว ชุมชนเก่าโพธิ์พระยา ร้องสอบข้าราชการ-นักการเมือง-ทุน ไล่ที่ คนบ้านน้ำแพร่สืบชะตาแม่น้ำอิง สานประเพณีอนุรักษ์น้ำ-พันธุ์ปลา ชาวบางคล้าโวย \อีสวอเตอร์\" แย่งสูบน้ำจนคลองสาขาแห้ง อีสวอเตอร์ฯ แจ้งกรณีสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกง หลังชาวบ้านบางคล้าไม่พอใจ ชาว \"นาแห้ว\" โกนหัวประท้วง ขอโฉนดที่ดินทำกิน บุก ปชป.ยื่นค้านยุบ ร.ร.ขนาดเล็กก่อผลเสียหาย ประมงสงขลาฟ้องศาล เพิกถอนสัมปทาน นิวคอสตอลเฟส 2 เผยทุนจีนบุกขุดเหมืองโปแตชในอีสาน เอ็นจีโอ-ชาวบ้านรุกโต้ ม็อบขอนแก่นบุกศาลากลาง ร้องแก้ปัญหาเงินกองทุนไฟฟ้าน้ำพอง น้ำเหนือหลากฝนถล่มซ้ำทะลักท่วมแปลงนาข้าวนับพันไร่ใน “บางบาล” ชาวนาเร่งระดมสูบออก จี้ชี้แจงสะพานเจ้าพระยาแห่งใหม่ ผู้ว่าฯ ระยองสั่งปิดโรงงานแยกขยะจากเรือบรรทุก เหตุส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้าน ชาวเมืองช้างแห่พิสูจน์ “แม่น้ำชี” ร้อนระอุเดือด - ล่าสุดปลาเริ่มลอยตาย ชาวบ้านโวยท่าเรือฯ แอบทำประชาพิจารณ์สร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง “ชาวบ้านเขาคันทรง” บุกพบผู้ว่าฯชลบุรี วอนให้ช่วยเหลือหลังถูกนายทุนไล่ที่ ผู้นำแรงงาน จี้ทำประชาพิจารณ์ก่อนรวมกองทุน สปส.-สปสช. ชาวแพร่ปิดถนนทวงเงินเวนคืนที่สร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย ล้อมโรงพักบี้ ตร.ปล่อยตัวผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นฯ เข้าแจงตำรวจถึงที่มาขององค์กร! ผู้ปกครอง ร.ร.บ้านไผ่รอบ ร้องจังหวัดช่วยหลังครูไม่เพียงพอ ชาวจันท์รวมตัวค้านขอประทานบัตรทำแร่เหล็ก หวั่นธรรมชาติเสียหาย แกนนำเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ถูกกักตัวห้ามออกนอกประเทศ เหตุประท้วงนายทุนที่ดิน ชุมชนเก่าโพธิ์พระยา ร้องสอบข้าราชการ-นักการเมือง-ทุน ไล่ที่ 19 มิ.ย.54 - ชาวชุมชนตลาดโพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ทำจดหมายเปิดผนึกร้องเรียน “การใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง” กรณีไล่ที่ชุมชนเดิมอายุร่วม 100 ปีทำอาคารพาณิชย์ จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุว่า ชาวชุมชนตลาดโพธิ์พระยา เป็นชาวโพธิ์พระยามาแต่กำเนิด จึงมีความรักพูกพันธ์หวงแหนแผ่นดินที่บรรพบุรุษได้ลงหลักปักฐานมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นเวลาร่วม 100 ปี แต่ปัจจุบันได้มี กลุ่มนายทุน ข้าราชการของรัฐ และนักการเมืองท้องถิ่นบางคนได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ดังเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ปลายปี 47 เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ บ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ถูกเพลิงไหม้ หน่วยงานรัฐยื่นมือให้ความช่วยเหลือ และขณะเดียวกันกลุ่มนายทุน ข้าราชการของรัฐ ธนารักษ์พื้นที่ และนักเมืองท้องถิ่น ได้ถือโอกาสจัดแผนผังที่อยู่อาศัยใหม่ โดยให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แม้จะมีชาวบ้านจำนวนมากไม่เห็นด้วยและคัดค้าน เพราะไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะไปก่อสร้างบ้านเรือนที่มีมูลค่ามากเกินตัว แต่ข้าราชการกล่าวกับชาวบ้านว่า ถ้าใครไม่เห็นด้วยจะตัดสิทธิ์การเช่าพื้นที่และไล่ไปอยู่ที่อื่น ทำให้ชาวบ้านบางส่วนบางส่วนจึงต้องทำใจยอมรับ ปัจจุบันบ้านเรือนส่วนหนึ่ง ถูกรื้อถอนออกไปเพื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ชาวบ้านที่เคยได้รับสิทธิ์ในการเช่าเดิมที่ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ บางคนจำเป็นต้องขายสิทธิ์การเช่าให้กลุ่มนายทุน กลุ่มคนเดิมที่อาศัยอยู่ต้องพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้าราชการบางคนก็ต้องอาศัยเงินเกษียรที่จะเก็บไว้ยังชีพมาชำระหนี้เพื่อให้ได้อยู่ที่เดิม จดหมายร้องเรียนดังกล่าว ยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ ข้ารา ชการ นักการเมืองท้องถิ่น ว่าใช้อำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์ต่อตัวเองและพวกพ้องหรือไม่ ที่มา: ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา คนบ้านน้ำแพร่สืบชะตาแม่น้ำอิง สานประเพณีอนุรักษ์น้ำ-พันธุ์ปลา 19 มิ.ย.54 คณะกรรมการบ้านน้ำแพร่ ม.4 ม.14 และม.19 ร่วมกับ คณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ได้จัดกิจกรรมบวชเขตอนุรักษ์และสืบชะตาแม่น้ำอิง ขึ้น ณ บ้านน้ำแพร่ หมู่ 4 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดประเพณีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเชิงนิเวศน์วัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นลุ่มน้ำอิงตอนปลาย รณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้แม่น้ำอิงและสถานการณ์ทรัพยากรแม่น้ำอิง และเพื่อการรวมตัวพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางความร่วมมือแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ชุมชนบ้านน้ำแพร่ ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านน้ำแพร่ ม.4 บ้านน้ำแพร่เหนือ ม.14 และบ้านน้ำแพร่ใต้ ม.19 ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2417 จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเดิมทีได้อพยพมาจากจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน มาตั้งถิ่นฐานทำกินโดยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าที่อุดมสมบูรณ์ในการตั้งหมู่บ้าน รวมอายุหมู่บ้านในปัจจุบันก่อตั้งมาได้ 137 ปี นับได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่ในแถบลุ่มน้ำอิงตอนปลาย จากเหตุการณ์การสัมปทานป่าไม้แถบเทือกเขาดอยยาวทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านในปีพ.ศ.2521-2527 ทำให้เกิดภาวะน้ำแห้ง จึงเป็นที่มาของการที่ชุมชนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ส่งผลให้ในปีพ.ศ.2529 ได้จัดทำพื้นที่อนุรักษ์ป่าชุมชนขึ้น และได้เข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำอิง ร่วมกับทางชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ได้จัดทำเขตอนุรักษ์ในแม่น้ำอิงขึ้น ในปีพ.ศ.2544 เพื่อสร้างเป็นพื้นที่อนุรักษ์ขยายพันธุ์ปลา ที่อยู่อาศัยของปลา หลังจากทำเขตอนุรักษ์ได้ประมาณสามปี เริ่มเห็นผล มีจำนวนปลาเพิ่มขึ้น ทางชุมชนได้เข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำอิงตอนปลายและชายฝั่งโขงร่วมกับ 14 ชุมชนในเขตอำเภอเชียงของ เวียงแก่นและขุนตาล เพื่อฟื้นฟูชุมชนให้กลับมามีความสุขอีกครั้งโดยเริ่มทำกิจกรรมการรวบรวมศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้การหาอยู่หากินกับแม่น้ำอิง โดยให้เยาวชนเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาเรียนรู้ชุมชน จากการทำงานฟื้นฟูชุมชนและสร้างพื้นที่รูปธรรมการอนุรักษ์จึงทำให้หมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลายได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้การจัดการทรัพยากรชุมชน และเพื่อยกระดับชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมชุมชน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: http://prachatham.com/detail.htm?code=n2_20062011_01 ชาวบางคล้าโวย \"อีสวอเตอร์\" แย่งสูบน้ำจนคลองสาขาแห้ง 17 มิ.ย.54 - นายบุญเสริม เจริญรัตนโอภาส อายุ 48 ปี ชาวอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมเกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกมะม่วง มะพร้าวน้ำหอม และหมาก พลู รวมถึงชาวนาและผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ปัจจุบันชาวอำเภอบางคล้าในหลายตำบล เช่น ตำบลสาวชะโงก บางสวน บางคล้า ปากน้ำและหัวไทร ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จากปัญหาน้ำในแม่น้ำไม่ไหลเข้าสู่ลำคลองสาขา ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดฝอยของลุ่มน้ำที่แตกแขนง หล่อเลี้ยงชาวอำเภอบางคล้าในทุกสาย ทั้งนี้ ปัญหาที่ชาวบ้านพบ เกิดขึ้นหลังจากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน ) หรือ อีสวอเตอร์ ได้เข้ามาสูบน้ำในแม่น้ำบางปะกงเพื่อขายให้แก่ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ “บริษัทสูบน้ำยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ได้เข้ามาตั้งสถานีสูบน้ำไว้หลายสิบแห่ง เพื่อรอสูบน้ำเก็บไว้ทุกฤดูกาลตลอดลำน้ำบางปะกงเพื่อส่งขายให้แก่ภาคอุตสาหกรรม จนทำให้น้ำต้นทุนในลำน้ำบางปะกงหมดไปด้วย และไม่มีน้ำไหลเข้าสู่ลำคลองสาขา ทำให้ลำคลองทุกสายที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำบางปะกงอยู่ในสภาพแห้งขอด จนแทบไม่มีน้ำเหลือไว้ให้แก่ภาคเกษตรกรรมได้ใช้ทำการเกษตร ทั้งที่ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝนก็ตาม” นายบุญเสริม ยังกล่าวอีกว่า ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ชาวบ้านยังไม่เคยได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือและบริษัทเอกชนที่เข้ามาสูบน้ำไปจากชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้พื้นที่อำเภอบางคล้า ยังไม่มีระบบชลประทานเข้ามาถึง และยังไม่มีการช่วยเหลือหลังจากเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรแต่อย่างใด จึงวอนให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหาของชาวบ้านโดยด่วน ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000074238 อีสวอเตอร์ฯ แจ้งกรณีสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกง หลังชาวบ้านบางคล้าไม่พอใจ 17 มิ.ย.54 - นายพจนา บุญศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนโครงการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสวอเตอร์ ได้กล่าวถึงกรณีที่มีชาวบ้านในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความไม่พอใจ โดยกล่าวหาว่าบริษัทได้สูบน้ำจืดต้นทุนในลำน้ำบางปะกงจนทำให้ลำคลองสาขาหลายสายแห้งขอด ซึ่งบริษัทขอชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำเพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องใช้น้ำประปา เนื่องจากบริษัท ได้ผลิตน้ำดิบส่งไปสนับสนุนด้านการอุปโภคบริโภค และนำมาผลิตเป็นน้ำประปาให้แก่คนในสังคมเมือง และเขตตัวเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งส่งให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเพียงเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นลูกบาศก์เมตร (ลบม.) เท่านั้น โดยกล่าวว่า การจัดสรรน้ำให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม ถือว่าน้อยกว่าการใช้น้ำในแปลงนา 20 ไร่ซึ่งจากการคำนวณโดยทฤษฎีนั้นพื้นที่นาหนึ่งไร่จะใช้น้ำมากถึง 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net