Skip to main content
sharethis

พรรคประชาธรรม ก่อกำเนิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคนในพื้นที่ ซึ่งมุ่งหวังที่จะผลักดันการแก่ปัญหาความไม่สงบจังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก นโยบายหลักๆจึงไม่พ้นเรื่องนี้ บวกกับผู้สมัครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 นี้ จึงเป็นคนในพื้นที่เสียส่วนใหญ่ พรรคเล็กๆ แห่งนี้จะสามารถเบียดพื้นที่ของพรรคการเมืองใหญ่ๆ เข้าไปนั่งในสภาได้หรือไม่ อ่านสัมภาษณ์นายมุกตา กีละ หัวหน้าพรรคประชาธรรมได้ดังนี้ นโยบายพรรคประชาธรรมมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้? ปี 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนปัจจุบันยังไม่มีนักการเมืองคนไหน มีทางออกการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพราะปัจจุบัน ส.ส. จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ไปอาศัยพรรคอื่น ทำให้การเสนอประเด็นการแก้ปัญหายากขึ้น เพราะไม่ใช่พรรคของตัวเอง พรรคประชาธรรม ก่อตั้งขึ้นโดยคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งหัวหน้าพรรคและนายทุนของพรรคก็เป็นคนในพื้นที่ เพราะฉะนั้น พูดได้ว่า เราคือพรรคของพี่น้องคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะเหมือนบางพรรคการเมืองในประเทศไทย เช่น นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคของคนจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคพลังชลก็เป็นพรรคของคนจังหวัดชลบุรี ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นักการเมืองไม่เคยเสนอทางออกที่เป็นระบบในทางการเมือง ที่ครอบคลุมรอบทุกด้าน ที่ผ่านมาเราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีคนตายประมาณ 4,000 คน มีเด็กกำพร้า 8,000 กว่าคน วันนี้ เกิดบ้านร้าง แรงงานย้ายไปทำงานที่มาเลเชีย เพราะมีแต่สถานการณ์รุนแรงและความไม่มั่นใจต่อฝ่ายรัฐเอง วันนี้ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ เหมือนขาดที่พึ่งทางการเมือง นี่คือสาเหตุของการเกิดขึ้นของพรรคประชาธรรม การเกิดขึ้นของพรรคประชาธรรม ไม่ใช่เพื่อจะสร้างความยิ่งใหญ่ ได้เป็นรัฐมนตรีหรืออยากจะดัง แต่เราเกิดมาเพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ใหญ่ของพรรคประชาธรรมในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เป็นแกนกลางในการสร้างสันติภาพ ในลักษณะเรียกทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดอนาคตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่คือ หัวใจของพรรคประชาธรรม พรรคประชาธรรมไม่ใช่ตัวหลักในแก้ปัญหา แต่พรรคประชาธรรมจะดึงทุกภาคส่วน คือ ฝ่ายรัฐหรือฝ่ายที่อยู่ในมุมมืด ใครก็แล้วแต่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบหรือให้พรรคประชาธรรมขอเป็นเจ้าภาพ เพราะคิดว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น มันเกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น การเกิดขึ้นของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนก็เป็นประเด็นการเมือง เพราะเขาต้องการปกครองตนเอง วิธีการแก้ปัญหาจะทำอย่างไร ? พรรคประชาธรรมต้องการฉันทานุมัติจากประชาชน โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ส.ส. และต้องการให้ได้ส.ส. ไม่จำเป็นต้องหลายคน อาจแค่คนเดียวก็ได้ เราก็จะอาสาเป็นแกนกลางในการแก้ปัญหา ซึ่งพรรคประชาธรรมสามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นคนที่นี่ เกิดที่นี้และจะขอตายที่นี่ ส่วนพรรคอื่นๆ แม้เป็นพรรคใหญ่ แต่มาแล้วก็ไป ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้วันนี้พรรคไหนใหญ่ คนก็ไปพึงพรรคการเมืองนั้น เพราะตัวเองอยากเป็น ส.ส. มันก็ถูก แต่ทำไมประชาชนขาดความศรัทธา เพราะ ส.ส.ในพื้นที่ไม่เคยอยู่นิ่งทางการเมือง พยายามไปพึ่งคนอื่นตลอด การใช้พรรคเป็นจุดขายจะชนะเลือกตั้งได้อย่างไร ในเมื่อคนที่นี่มักจะเลือกคนมากกว่าเลือกพรรคอย่างเช่นการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา ? พรรคประชาธรรมขอเป็นแกนกลาง ที่ดึงทุกภาคส่วนเข้ามา เพราะทุกพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งในโลกนี้ จะต้องมีคนกลางในการแก้ปัญหา ดังนั้นพรรคขอเสนอตัวเป็นแกนกลาง ไม่ว่าจะชนะเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม พรรคประชาธรรมไม่ได้ให้ความสำคัญที่รูปแบบการแก้ปัญหา แต่ให้ความสำคัญกับรายละเอียด บางพรรคเสนอเรื่องการตั้งทบวงบริหารกิจการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือนโยบายมหานครปัตตานี หรือสานต่อ ศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ที่มีอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่คนที่คิดเรื่องเหล่านี้เป็นคนนอกพื้นที่ วันหนึ่งเขาก็ต้องทิ้งเรื่องนี้ไป สำคัญที่ว่า คนที่นี่ไม่มีสิทธิคิดหรืออย่างไร รับแต่นโยบายจากส่วนบน เพราะกระบวนการจัดการ การบริหารที่ผ่านมา เป็นการแก้ปัญหาจากข้างบนลงมาสู่ข้างล่าง แต่พรรคประชาธรรมจะทำเวทีข้างล่างขึ้นสู่ข้างบน วันนี้พรรคประชาธรรม จะคิดโมเดล(รูปแบบ)ของตัวเองไม่ได้ เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าประชาชนจะเอาอะไร คนไทยจะเอาอะไร คนไทยเชื้อสายจีนจะเอาอะไร คนมลายูจะเอาอะไร คือ ทุกภาคส่วนจะต้องมีเจ้าภาพในการสร้างสันติภาพ เราไม่อยากพูดแทนคนมลายู แต่เราจะเป็นเจ้าภาพในการดึงองค์กรต่างๆ มาสู่เวทีการสร้างอนาคตของตนเอง ว่างเป้าหมายของการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร พรรคประชาธรรม มีผู้สมัคร ส.ส. เกือบ 100% มาจากพื้นที่ 3 จังหวัดชาวแดนภาคใต้ โดยแบ่งเป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 25 คน และแบบแบ่งเขต 15 คน แต่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้ส่งลงสมัคร ส.ส.ครบทุกเขต ทั้ง 11 เขต โดยตั้งเป้าว่าจะได้ ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อ 2 คน และจากแบบแบ่งเขต 3 คน นโยบายอื่นๆ? ได้แก่ ด้านสาธารณสุข คือ จะผลักดันสถานบริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีการทำคลอดบุตรโดยแพทย์หญิงเท่านั้น ซึ่งคิดว่าถ้านายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง ก็จะยิ่งผลักดันเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น ด้านความมั่นคง จะผลักดันให้ผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงให้สามารถประกันตัวได้ ด้านการศึกษา จะจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลอุสตาซ(ครูสอนศาสนาอิสลาม)ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และจะสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ในการหาเสียงจะใช้สโลแกน(คำพูดจูงใจ) ว่า “ผมเป็นเพียงผู้เริ่มต้น อนาคตของพรรคอยู่ที่ประชาชน” คิดอย่างกับกำกล่าวที่ว่า เป็นพรรคไม้ประดับ เพราเป็นพรรคเล็กที่ต้องแข่งขันกับพรรคการเมืองใหญ่ๆ ภาคภูมิใจ เพราะเป็นครั้งแรกที่คนมลายู สามารถก่อตั้งพรรคการเมืองได้ เป็นการยกฐานะของคนมลายู จากอดีตที่คนมลายูไม่สามารถทำอะไรได้ทางการเมือง แต่ปัจจุบันพรรคประชาธรรมได้ก่อตั้งพรรคของคนมลายูขึ้นมา เพราะอนาคตของพรรคอยู่ประชาชน พรรคประชาธรรมไม่ได้สนใจพรรคใหญ่ๆ เราสนใจแต่พรรคเล็กๆ ว่า แต่ได้ทำในสิ่งที่เราตั้งใจ และขอจากอัลลอฮ์ให้พวกเราประสบความสำเร็จ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net