Skip to main content
sharethis

กับแกล้มข่าวสำหรับคอการเมืองในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ เกร็ดย่นย่อว่าด้วยเม็ดเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง และประมาณการการหมุนเวียนของทุนในการเลือกตั้งครั้งนี้ สื่อเก่าอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ ยังคงเป็นสื่อหลักสำหรับการใช้รณรงค์หาเสียงของไทย โดยมีการประเมินกันว่าเม็ดเงินในอุตสาหกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นถึง 4,000 ล้านบาท ในการเลือกตั้งครั้งนี้ (ที่มาภาพ: เฟซบุ๊กของ Bus Tewarit) สำหรับการเลือกตั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ประมาณการณ์ว่าน่าจะมีเม็ดเงินสะพัดมากกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการเลือกตั้งในช่วงปี 2548 และ 2550 [1] ใกล้เคียงกับการประเมินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่คาดการตัวเลขอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท [2] ส่วนศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินไว้สูงกว่านั้น คือคาดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งน่าจะมีเม็ดเงินสะพัดเข้ามาในระบบ 4-5 หมื่นล้านบาท [3] ทางด้านศูนย์กสิกรไทยวิเคราะห์ว่าผลจากการรณรงค์หาเสียงช่วงเลือกตั้งน่ามีส่วนช่วยให้มูลค่าอัตราการเติบโต GDP ทางเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.9-1.4 เปรียบเทียบจากสถานการณ์ปกติที่ไม่มีการเลือกตั้ง ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐนั้น เช่น ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้เลือกตั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน [4] สื่อสิ่งพิมพ์เม็ดเงินเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ 4,000 ล้าน ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ สมาคมการพิมพ์ไทยคาดว่าพรรคการเมืองจะมีการสั่งพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ ใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ มากขึ้น คิดเป็นเม็ดเงินเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติประมาณ 4,000 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของโรงพิมพ์ต่าง ๆ จะดีขึ้นในช่วงเลือกตั้ง และครั้งนี้การสั่งพิมพ์กระจายออกไปทั่วประเทศในทุกภูมิภาคที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง [5] ระเบียบสื่อสิ่งพิมพ์ในการหาเสียง ถ้าเป็นโปสเตอร์หาเสียง ขนาดไม่เกิน 130x42 เซนติเมตร หรือประมาณเท่ากระดาษ A3 จำนวนที่ผลิตต้องไม่เกิน 10 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ส่วนป้ายคัตเอาท์ หรือบิลบอร์ด ขนาดไม่เกิน 130x245 เซนติเมตร หรือประมาณเท่าแผ่นไม้อัด จำนวนที่ผลิตได้ต้องไม่เกิน 5 เท่า ของจำนวน หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ สถานที่ปิดประกาศและติดแผ่นป้าย โดยห้ามปิดในสถานที่ของเอกชน ให้ปิดได้ในที่สาธารณของรัฐเฉพาะแห่งตามที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐได้ประกาศอนุญาตไว้เท่านั้น โดยแผ่นโปสเตอร์หาเสียง สามารถติดได้เพียงสถานที่ละ 1 แผ่น ส่วนจะติดจำนวนเท่าไหน่ ให้อยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงานนั้นๆ ในการจัดทำประกาศหรือแผ่นป้ายให้ระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิตไว้บริเวณด้านล่างซ้ายของประกาศหรือแผ่นป้าย สื่อทีวี “ช่อง 3” ไม่รับโฆษณา“พรรคการเมือง” ชี้ไม่มีเวลาเหลือ อสมท. กะฟัน 100 ล้าน ประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ทางสถานีไม่ได้เปิดรับโฆษณาของพรรคการเมือง เพราะจัดสรรยาก กกต.บอกว่าต้องจัดสรรเวลาอย่างยุติธรรม แต่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีงบประมาณไม่เท่ากัน กำลังซื้อไม่เท่ากัน นอกจากนี้ ใครที่จองก่อน ก็จะได้เวลาที่ดี เป็นเรื่องที่จัดสรรลำบาก และทางสถานีเอง ก็ไม่มีเวลาโฆษณาเหลือ นาทีโฆษณาใช้เต็มตลอด ส่วนที่รัฐต้องการให้สถานีจัดสรรเวลาให้กับแต่ละพรรค ในการประชาสัมพันธ์ ตรงนั้นสถานีสามารถจัดสรรให้ได้ เป็นไปตามที่ กกต.กำหนด ส่วนธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท ประเมินว่า อสมท. จะมีรายได้จากงบประมาณในช่วงเลือกตั้งราว 100 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งงบโฆษณาหาเสียงจากพรรคการเมือง และงบจากภาครัฐ (กกต.) ในการรณรงค์การเลือกตั้ง และงบกิจกรรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง [6] ระเบียบว่าด้วยเวลาการออกอากาศสำหรับพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 79 กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ จัดสรรเวลาออกอากาศให้แก่พรรคการเมืองปีละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งตารางการออกอากาศครั้งแรก กำหนดวันที่ 18-28 เม.ย.54 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. และครั้งที่ 2 ออกอากาศ วันที่ 18-28 ก.ค.54 เวลา 17.00 น. ซึ่งลำดับการออกอากาศจะใช้วิธีการจับสลาก และความยาวของการออกอากาศตามกติกาที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ตั้งแต่ ไม่เกิน 7 นาทีครึ่ง จนถึงไม่เกิน 15 นาที ผู้สมัคร ส.ส. ต้องใช้เงินเท่าไรในการเลือกตั้ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า กกต. อนุญาตให้ผู้เลือกตั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อคน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีการประเมินว่าการจะเป็น ส.ส. ต้องใช้เงินมากกว่านั้น โดยธนวรรษน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจประเมินว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับการเลือกตั้งจะต้องใช้เงินหาเสียงอย่างน้อยประมาณ 60-100 ล้านบาทต่อคน ส่วนคนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งก็จะอยู่ประมาณ 10-30 ล้านบาท หรือเฉลี่ยที่ประมาณ 60 ล้านบาทต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน [7] (เพิ่มเติม) ศูนย์วิจัยกสิกรฯคาด​เงิน​เลือกตั้งสะพัด 3.9 หมื่นลบ.​เน้นทุ่มอีสาน ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 54 ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยกสิกร​ไทย คาดว่าศึก​เลือกตั้งครั้งนี้จะมี​เม็ด​เงินสะพัดประมาณ 39,000 ล้านบาท ​เพิ่มขึ้นจาก​การ​เลือกตั้งปี 50 ที่มี​เม็ด​เงินประมาณ 21,000 ล้านบาท ​เนื่องจากค่า​ใช้จ่าย​ใน​การหา​เสียง​เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับหลายพรรค​การ​เมือง​ได้​เตรียมตัวหา​เสียงล่วงหน้า​ไว้ก่อน​การประกาศยุบสภา รวม​ไป​ถึง​การ​เน้น​การ​โฆษณา​และประชาสัมพันธ์ของพรรค​การ​เมืองที่มุ่งชิง “ส.ส.​แบบบัญชีรายชื่อ\ ที่มีจำนวน​เพิ่มมากขึ้น ส่งผล​ทำ​ให้​เม็ด​เงิน​ในศึก​เลือกตั้งครั้งนี้​เพิ่มสูงตาม​ไปด้วย ​เม็ด​เงินส่วน​ใหญ่จะกระจายอยู่​ในพื้นที่ภาคอีสานที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุด รองลงมา ​ได้​แก่ กรุง​เทพมหานคร ​และจังหวัดที่มี​การ​แข่งขันกันสูง​ใน​แต่ละภาค ​โดยคาดว่าภาคอีสานจะมี​เม็ด​เงินสะพัดประมาณ 11

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net