Skip to main content
sharethis

 

วันนี้(20 พ.ค.54) นักวิชาการ นักศึกษา ศิลปิน นักสหภาพแรงงานและประชาชน จำนวน 141 คน ได้ออกจดหมายเปิดผนึกแสดงความกังวลใจต่อสถานการณ์ปัญหาแรงงานสัมพันธ์และการละเมิดสิทธิแรงงาน กรณี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของ ผู้บริหารและผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน KFC และ พิซซ่าฮัท ในประเทศไทย ที่มีการเลิกจ้างพนักงาน 3 คน หลังพนักงานเคเอฟซี-พิซซ่าฮัทในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 200 คน ร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องปรับปรุงสภาพการจ้าง เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 54

โดยจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดยส่งจดหมายผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทที่ http://www.yum.co.th/contact.phpและ http://www.kfc.co.th/contactus.php เนื้อความระบุว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นที่เคลือบแคลงใจต่อสาธารณชนได้ว่าเป็นการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกทั้งบริษัท ยัมฯ เองเป็นบริษัทระหว่างประเทศมีสาขาอยู่หลายประเทศ การปฏิบัติเช่นนี้อาจส่งผลต่อการละเมิดต่อมาตรฐานสากลอย่าง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว รวมถึงฉบับที่ 98 ที่ว่าด้วยการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรองก็เป็นได้

ทางผู้ลงชื่อจึงออกจดหมายแสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์นี้และระบุว่ากำลังจับตาการกระทำของบริษัทฯอยู่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในวันที่ 20 พ.ค.นี้(วันนี้) ที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดทั้งสองฝ่ายเจรจาใหม่อีกครั้งนั้น ทางผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายจึงต้องการให้บริษัทฯ คำนึงถึงการมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและปฏิบัติตามภาพลักษณ์ที่ได้ประชาสัมพันธ์ คือ การได้รับรางวัลนายจ้างยอดเยี่ยมอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในนายจ้างยอดเยี่ยมแห่งเอเชียประจำปี 2548 รวมถึงในปี พ.ศ. 2544 คือ นายจ้างดีเด่นแห่งเอเชีย และยังเป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในประเทศไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ในจดหมายดังกล่าวยังได้เชิญชวนให้ประชาชนผู้บริโภคคนอื่นที่เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าวให้ใช้ช่องทางในการจดหมายถึงบริษัทฯนี้ ได้ผ่านทางhttp://www.yum.co.th/contact.php และ http://www.kfc.co.th/contactus.php เพื่อส่งจดหมายแสดงแสดงความเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถึงบรัษัทฯโดยตรงอีกด้วย

จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าว

19 พ.ค.54
เรียน กรรมการผู้จัดการบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
เรื่อง ขอแสดงความกังวลใจต่อสถานะการณ์ปัญหาแรงงานสัมพันธ์และการละเมิดสิทธิแรงงาน

 

ภายหลัง จากที่เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 54 พนักงานเคเอฟซี-พิซซ่าฮัทในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 200 คน ร่วมกันลงชื่อเพื่อยื่นข้อเรียกร้องปรับปรุงสภาพการจ้าง ต่อ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 พร้อมแต่งตั้งผู้แทนเจรจา 7 คน

แต่ทางด้านบริษัทกลับ ยังไม่ยอมเจรจา โดยให้เหตุผลว่าข้อเรียกร้องของพนักงานไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย พร้อมกับขอให้ พนักงาน 3 คนในนั้น เซ็นใบลาออกพร้อมกับซองขาว อีกทั้งยังได้มีการประจานขึ้นชื่อบนเว็บไซต์ของบริษัท (ตามคำบอกเล่าของ น.ส.อภันตรี)

การกระทำแบบนี้อาจเป็นที่เคลือบแคลงใจต่อสาธารณชนได้ว่า เป็นการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกทั้งบริษัท ยัมฯ เองเป็นบริษัทระหว่างประเทศมีสาขาอยู่หลายประเทศ การปฏิบัติเช่นนี้อาจส่งผลต่อการละเมิดต่อมาตรฐานสากลอย่าง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว รวมถึงฉบับที่ 98 ที่ว่าด้วยการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ก็เป็นได้

ในขณะที่ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นเจ้าของ ผู้บริหารและ ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน KFC และ พิซซ่าฮัท ในประเทศไทย มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของบริษัทว่าเป็นบริษัทที่ตั้งปณิธานและการ ดำเนินงานว่ามีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแสดงว่าบริษัทของตนได้รับการยกย่องว่าเป็น “นายจ้างยอดเยี่ยมอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในนายจ้างยอดเยี่ยมแห่งเอเชียประจำปี 2548” จากผลการศึกษาวิจัยของบริษัทฮิววิตต์ แอสโสซิเอทส์ ร่วมกับ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ในปี พ.ศ. 2548

อีกทั้งหากย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2544 บริษัทฯ ยังได้รับคัดเลือกให้เป็น นายจ้างดีเด่นแห่งเอเชีย ซึ่งเป็น 1 ใน 20 องค์กรที่ได้รับคัดเลือกเป็นนายจ้างดีเด่นแห่งเอเชีย และยังเป็น บริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในประเทศไทย จากผลการศึกษาของ “ฮิววิตต์ แอสโสซิเอทส์” ร่วมกับ “ดาวโจนส์” ซึ่งเป็นองค์กรผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Far Eastern Economic Review และ The Asian Wall Street Journal เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อบอกตัวตนของยัมเองในหน้าเวปไซต์ของยัม เองคือ http://www.yum.co.th/about.php

พวกเราเข้าใจว่าสิ่งสำคัญของ การได้ชื่อว่า "การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ดีนั้น" ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นเรื่องของ ความเป็น "นายจ้างดีเด่น" หรือการเป็น "บริษัทที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในประเทศไทย" ตามที่ ยัม ประชาสัมพันธ์ แต่เงื่อนไขสำคัญคือ "การมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี" ด้วยเหตุนี้พวกเราประชาชนทั่วไปในฐานผู้บริโภคจึงมีความกังวลในเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกับภาพลักษณ์บริษัทฯที่ได้ประชาสัมพันธ์

เราจึงอยากเรียนถึงผู้บริหารของบริษัท ยัมฯ ว่าพวกเราตามรายชื่อข้างท้ายเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์นี้และกำลังจับตาการ กระทำของพวกคุณอยู่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในวันที่ 20 พ.ค.นี้ ที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดทั้งสองฝ่ายเจรจาใหม่อีกครั้งนั้น

จึงเรียนมาเพื่อแสดงความกังวลใจและหวังว่าทางยัมฯจะมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและปฏิบัติตามภาพลักษณ์ที่ได้ประชาสัมพันธ์ไว้

 

ลงชื่อ
ภัควดี วีระภาสพงษ์
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
วสันต์ สิทธิเขตต์
ภัทรมน สุวพันธุ์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
วินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
อังกุศ รุ่งแสงจันทร์ วิศวกรผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย
นายณภัทร ฐานวาสก์ นักวิจัยอิสระด้านสังคมศาสตร์
ว่าที่ร.ต.กำพล จิตตะนัง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
ศรีโพธิ์ วายุพักตร์ ที่ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า
ศุภสิทธิ์ พรหมสมบัติ ประธานสหภาพแรงงานซันแฟลค
บุญสม ทาวิจิตร กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง
อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2552-2553
พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
วัชรินทร์ เรืองฤทธิ์กูล นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
วิษณุ อาณารัตน์ นักศึกษาปริญญาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ปกรณ์ อารีกุล กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา
ชลิตา บัณฑุวงศ์ นักศึกษาปริญาเอก สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาย
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ นิสิตปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
พัชรวีร์ พรหมวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข มูลนิธิกระจกเงา
อนุสรณ์ อุณโณ
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขร 
วิจักขณ์ พานิช
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 
อดิศร เกิดมงคล
เจียระไน นะแส
ฤทธิชัย ชูวงษ์
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
ประดิษฐ์ ลีลานิมิต
เทวฤทธิ์ มณีฉาย 
ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
สุนิดา อ่อนดีสวัสดิ์
ชาตรี มงคลศรีสวัสดิ์
เสาวลักษณ์ ป้องกันทรัพย์ ประชาชน
พรเทพ สงวนถ้อย
กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
ธนพล ฟักสุมณฑา
กิตติกร นาคทอง
ภัทราวุธ เจริญธรรมกุล
ปกาศิต ทิพจร
จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์
วิทวัส ขันคำ
กิรพัฒน์ เขียนทองกุล
พรพิศ ผักไหม
รมย์ชลี เต็งทอง ประชาชน
พัชรี พาบัว กลุ่มคนธรรมดา
บุญสรร รังสิกรรพุม
อานนท์ ชวาลาวัณย์
เงาดาว สุขศรีดากุล
ปวรรัตน์ ผลาสินธุ์
ศักดิ์รพี รินสาร
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
มาริษา พรหมมณี
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นักศึกษาที่ชอบกินมันบด KFC มาก แต่คิดว่าจะเลิกกินละ
นนธวัช พลอยส่งศรี นักเรียนมัธยมปลาย
Sukanya Saingam
ธิติบดี รุ่งธีรวัฒนานนท์
ปฤณ เทพนรินทร์
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
กิตติกา บุญมาไชย
สุลักษณ์ หลำอุบล
ปฐมพร ศรีมันตะ
นิพาดา ทองคำแท้
มงคล ไชยบุญแก้ว
ตฤณ ไอยะรา
ศิริภาส ยมจินดา
อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์
รจเรข วัฒนพาณิชย์
แก้วตา ธัมอิน
นันทพร เตชะประเสริฐสกุล
ขจรพงศ์ บันเทิงสุข
ชญานิน เตียงพิทยากร
หัทยา ภูดี
นฆ ปักษนาวิน
ณสดมภ์ ธิติปรีชา
อรรถวุฒิ บุญยวง
อาทิชา ตันธนวิกรัย
วรกร ฤทัยวาณิชกุล
กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์
นฤมล อนันตกฤตยาธร
อัลวา ริตศิลา
ศลิษา อุสาหะ
ภรณ์ทิพย์ มั่นคง
สุญญาตา เมี้ยนละม้าย
ฤชากร ไตรรัตนานุสรณ์
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
อรรณพ นูเด็น
มนตรี อัจฉริยสกุลชัย
สุรชัย ตรงงาม
วรรษชล ศิริจันทนันท์
กนกวรรณ ไตรยวงค์
ตรี ฮัตเจสสัน
คมสัน นวคุณสุชาติ
ชุตินาถ ชุนวิมลศิริ
สุนันทา งามเกษม
ชาญ ชุนวิมลศิริ
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
วนิดา เจียมรัมย์ 
เสริม เจียมรัมย์ 
สิทธิ์ เจียมรัมย์
ภมร ภูผิวผา 
Pratheep Chaemlok
สำนักข่าวประชาธรรม
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
วีระศักดิ์ ฟักศรี
นันทา เบญจศิลารักษ์
ธีรมล บัวงาม
เดชา น้อยมะลิวัน
ณัฐนันท์ ธนัตถ์ศุภสันฑ์ 
ปิยกุล ภูศรี
ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
สรยศ ประภาพันธ์
รณวัฒน์ จันทร์จารุวงศ์
ภาส พัฒนกำจร
วลัยพร วังคะฮาต
อันธิฌา ทัศคร 
ดาราณี ทองศิริ
ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส
รัชกร โพธิโต
กวิดา เหร็นเส็บ
เอกภณ เศรษฐสุข
ศิริอร แซ่ล้อ
ชลธิชา สุจริตพินิจ
พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
ชัยธวัช ตุลาธน
ลีน่าร์ กาซอ
ชลิดา เอื้อบำรุงจิต
ธวัชชัย แสงธรรมชัย
อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
คมลักษณ์ ไชยยะ
จิฬาชัย พิทยานนท์
บัวจันทร์ อุดมอิทธิพงศ์ ประชาชน
อติญา ลาภธนไพบูลย์
สิทธิชัย เปลี่ยนทองดี
ภัทร เอกกุล
ปัณณวิชญ์ นรากุลพิพัฒน์
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net