การจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยบนทางแยก

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ครั้งที่ 6 เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนจากกัมพูชา ลาว และพม่า ที่ทำงานในประเทศไทยได้เข้าสู่การจดทะเบียน คาดว่าประมาณร้อยละ 85 ของแรงงานจะเป็นแรงงานจากประเทศพม่า หน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมกันวาง แผนการจดทะเบียนรงงานข้ามชาติครั้งนี้ ควรวาง แผนเพื่อให้ แน่ใจว่ามีการให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงให้แรงงานข้ามชาติและนายจ้างปฏิบัติตามอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับการจดทะเบียนครั้งก่อนๆ หากรัฐบาลไทย ล้มเหลวในการจัดลำดับความสำคัญการเพิ่มความรับรู้ของประชาชน หรือการลงทะเบียนเปิดให้ดำเนินการด้วยระยะเวลาที่สั้นเกินไป สับสน ไม่โปร่งใส และมีราคา แพง ประสิทธิภาพของการจดทะเบียนจะถูกลดทอน ดังนั้นจึงผู้ขอแนะนำอย่างยิ่งให้ดึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แรงงานข้ามชาติที่จะจดทะเบียนใหม่ในรอบนี้จะเปลี่ยนจากสถานะ 'ไม่มีเอกสารและผิดกฎหมาย' เป็นสถานะ “มีเอกสารและกึ่งถูกกฎหมาย' บางที ขณะนี้อาจมีการลักลอบนำพาคนผ่านพรมแดนและมีกระ แสคนไหลออกจากค่ายผู้ลี้ภัยชายแดน เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อสงสัยว่า แรงงานข้ามชาติจำนวนมากในประเทศไทยยังคงที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์บุคคล กลุ่มที่มีเอกสารพิสูจน์บุคคล มีทั้ง กลุ่ม 'กึ่งถูกกฎหมาย' ที่รอการพิสูจน์สัญชาติ (350,000 คน) และกลุ่ม ‘ถูกกฎหมาย’ ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ แล้ว (400,000 คน) และ กลุ่ม 'ถูกกฎหมาย แต่มีข้อผิดพลาด' (แรงงาน 150,000 คนที่ ได้ผ่านการพอสูจน์สัญชาติ แต่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน) แรงงานข้ามชาติที่เพิ่งจดทะเบียนจะยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติทันที กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ คือกระบวนการที่ทำให้ แรงงานข้ามชาติ เป็น แรงงานที่ ‘มีเอกสาร และถูกกฎหมายเต็มที่’ การพิสูจน์สัญชาติ และการนำเข้า แรงงานเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายการควบคุมแรงงานข้ามชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ดังนั้นการตัดสินใจครั้งนี้จึงสำคัญอย่างยิ่ง เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลไทยเปิดให้มีการจดทะเบียนเนื่องจากได้รับการร้องขอจากพม่า ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดจำนวน แรงงาน ข้ามชาติชุดใหม่ที่จะจดทะเบียนจะมีจำนวนเท่าใด ที่จะกลายเป็นแรงงาน ‘ถูกกฎหมายเต็มที่’ บางทีอาจจะต้องพิสูจน์สัญชาติ บางทีอาจจะไม่ต้อง รัฐบาลไทยยังคงใช้นโยบายการจัดการระยะสั้นกับแรงงานข้ามชาติ และเป็นการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนายจ้าง แต่ดูเหมือนทางพม่าจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่มีนัยสำคัญของมติคณะรัฐมนตรีคือการผลักดันการนำเข้า แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ตั้ง แต่ปลายปี พ.ศ. 2553 กระทรวงแรงงานประกาศ แผนนำเข้า แรงงานจากประเทศบังคลาเทศ และอินโดนีเซีย เพื่อทดแทนแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายที่จะถูกกวาดล้าง และผลักดันออกนอกประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่กระบวนการนี้ไม่โปร่งใส และทำให้ทั้งนายจ้าง และนักสิทธิมนุษยชนออกมาประท้วง ขณะนี้มีแรงงานนำเข้าเพียง 50,000 คน ตลอดเวลา 8 ปี จากประเทศเพื่อนบ้าน (และมีแรงงานจากประเทศพม่าเพียง 1,000 คน) รัฐบาลไทยอ้างว่า ภาวะขาดแคลนแรงงานกำลังคุกคามความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหนัก จึงต้องหาทางออกใหม่ๆ ฉีกออกไปจากเดิม มติคณะรัฐมนตรีกล่าวถึงการนำเข้า แรงงานจากกัมพูชา ลาว และพม่าเท่านั้น ทว่าภาคธุรกิจที่ต้องเสียค่าเดินทางทางอากาศเพื่อนำแรงงานจากประเทศรอบนอก และยังต้องรับมือกับความ แตกต่างทางวัฒนธรรมและปรับตัวกับแรงงานบังคลาเทศ และอินโดนีเซียที่ต้องเผชิญ อาจทำให้การนำเข้าแรงงานเหล่านี้ดูเป็นไปไม่ได้ แรงงานพม่ายังเป็นเป้าหมายพื้นฐานสำหรับปัญหาการขาด แคลน แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ผู้ประกอบการไทยต้องการข้าง แรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือโดยด่วน แม้กระทั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ยังยอมผ่อนปรนกฎเกณฑ์สำหรับบริษัทที่รับการส่งเสริม เพื่อให้จ้างแรงงานข้ามชาติได้ จากเดิมที่ต้องจ้างเฉพาะ แรงงานไทยเท่านั้น ประเทศพม่ายังไม่สามารถผลิต แรงงานรองรับความต้องการจากไทยได้ และเป็นไปไม่ได้ที่พม่าจะนำแรงงานถูกกฎหมายเข้าระบบได้พอเพียง ไม่มีใครสามารถคาดหวังว่าประเทศที่มีสถานภาพการพัฒนาต่ำ และไม่มีศักยภาพการพัฒนาการจัดการการย้ายถิ่นฐานจะสามารถส่ง แรงงานข้ามชาติ ‘ถูกกฎหมาย’ เข้ามาโดยเร็ว หากแรงงานข้ามชาติจากพม่าไม่ได้รับสถานะการเข้าเมืองถูกกฎหมายเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย รัฐบาลไทยก็มักอ้างว่าจะไม่สามารถ แก้ปัญหาที่ตามมาได้ จากมุมองสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เมื่อคนงานเข้ามาประเทศใด คนงานก็คือคนงาน ระบบราชการไทย และมุมมองด้านความมั่นคงของชาติที่ดู แลนโยบายเกี่ยวกับ แรงงานข้ามชาติไม่ได้มองอย่างนั้น แน่นอนว่าแรงงานข้ามชาติจะประสบการละเมิดสิทธิจากมุมมองดังกล่าว ลำดับเหตุการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นวงจร ความสับสนด้านนโยบายการจัดการแรงงานที่ย่ำแย่ ไม่มีแผนระยะยาว และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ แรงงานข้ามชาติ 2-3 ล้านคน ประชาคมนานาชาติเริ่มตระหนักถึงสถานการณ์เหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะด้านการค้ามนุษย์ และบังคับใช้ แรงงาน นายจ้างที่ประพฤติชอบ และพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประเทศ และประชาชนไทย ย่อมถูกสั่นคลอนไปด้วย นิติรัฐถูกบั่นทอนให้อ่อน แอ และการทุจริตเป็นปัญหาเรื้องรังสำหรับการนายจ้างหลายคนชอบวิธีนี้มากกว่าความยุ่งยาก และซับซ้อนในการจดทะเบียน แรงงาน การจับกุม ผลักดันแรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศมักพัวพันกับเครือข่ายที่รีดไถเงินจากแรงงานข้ามชาติ ที่ไม่มีเอกสาร และวงจรส่งแรงงานข้ามชาติให้ผู้ค้ามนุษย์หรือผู้ลักลอบนำเข้า แรงงานผิดกฎหมาย ไม่นานแรงงานข้ามชาติก็เดินทางกลับสู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแรงงานข้ามชาติ การจดทะเบียน โดยเฉพาะหลังการพิสูจน์สัญชาติ เพิ่มความมั่นใจให้แรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อแรงงานต้องการเรียกร้องสิทธิ ตามหลักการแรงงานข้ามชาติจะได้รับความคุ้มครองจากการถูกจับกุม และรีดไถ รวมทั้งได้รับการคุ้มครองว่าจะเข้าถึงประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพด้วย อย่างไรก็ตาม การประท้วงหมู่ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เพิ่มขึ้น เพราะแรงงานถือว่าตนเองเข้ามาอย่าถูกกฎหมายทุกประการ เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการอย่างดี เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น จากการที่แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ และนายจ้างที่ละเมิดสิทธิของแรงงานในอนาคต การเข้าไม่ถึงสิทธิที่ปรากฏในทางปฏิบัติ ไม่ว่า แรงงานข้ามชาติจะมีสถานะอย่างไรก็ตาม และข้อกำหนดที่แรงงานจะต้องขึ้นทะเบียนกับนายจ้างรายเดียวโดยไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ไม่สร้าง แรงจูงใจให้จดทะเบียน แรงาน สำหรับ แรงงาน และนายจ้าง ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่สูง การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการที่ซับซ้อน และการขาดการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดนายจ้าง และลูกจ้างที่ไม่จดทะเบียน และที่สำคัญที่สุดคือในทางปฏิบัติการขึ้นทะเบียนไม่สามารถป้องกันการรีดไถของเจ้าหน้าที่รัฐทำให้แรงจูงใจในการจดทะเบียนมีน้อย นายจ้างบางรายเท่านั้นที่ยินดีนำ แรงงานไปจดทะเบียน แทนการจ่ายเงินใต้โต๊ะ และการทุจริตหากไม่พาแรงงานไปจดทะเบียน การกลับลำและเปิดให้มีการจดทะเบียน แรงงานสำหรับแรงงานที่ไม่มีเอกสารเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ในฐานะวิธีการที่จะจัดการการเอารัดเอาเปรียบ แรงงานข้ามชาติ รัฐบาลไทยเริ่มก้าวต่อไปในด้านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และการนำเข้า แรงงานข้ามชาติใหม่ เป็นที่น่าสรรเสริญเช่นกัน เพราะอาจเป็นการเปิดโอกาสให้มีการจัดระบบการย้ายถิ่นฐานตามปกติ และพัฒนาสถานะที่ดีขึ้นสำหรับ แรงงานข้ามชาติ ทำให้พวกเขาสามารถเรียกร้องสิทธิ และได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าเดิมจากนายจ้าง แต่โดยรวม แล้วระบบการจัดการการย้ายถิ่นในประเทศไทยยังดำเนินไปด้วยความผิดพลาด ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายการอพยพย้ายถิ่นฐานระยะยาว ที่สามารถผนวกปัจจัยด้านความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจไว้ด้วยกันได้ คณะกรรมการบริหาร แรงงานต่างด้าว (กบร.) ซึ่งเป็นองค์กรร่มของ 22 หน่วยงาน นับว่าทำงานได้อย่างน่าผิดหวัง และยังมีประสิทธิภาพต่ำเกินกว่าที่จะจัดการความท้าทายในประเด็นการย้ายถิ่นต่างๆ ได้ ดังนั้น การที่มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปฏิรูปโครงสร้าง กบร. และให้ตั้งสำนักงานในระดับจังหวัด จึงเป็นโยบายที่แก้ปัญหาได้ทันเวลา และน่ายินดีอย่างยิ่ง แต่ผลจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการนำไปปฏิบัติ องค์การะหว่างประเทศและสถานทูตควรสนับสนุนให้รัฐบาลไทยพัฒนานโยบายการย้ายถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาเซียนควรพิจารณาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นพม่า เพื่อให้มีการจัดการการย้ายถิ่นจากประเทศต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ ทดแทนการลักลอบนำและการค้ามนุษย์ที่เราเห็นทุกวันนี้ ผู้มีบทบาทด้านการย้ายถิ่นควรจะสนับสนุนให้พม่าเพิ่มบทบาทของตนเอง ในการช่วยพัฒนานโยบายการย้ายถิ่นในประเทศไทยด้วยหรือไม่ คำถามนี้เป็นประเด็นอ่อนไหว และคำตอบย่อมอ่อนไหวยิ่งกว่า สิ่งที่น่าจะสร้างความตกลงได้ง่ายกว่านั้น คือการที่อาเซียนต้องมีบทบาทเป็น แกนกลางในการอภิปรายเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย แม้ว่ากรอบการดำเนินการเรื่องการย้ายถิ่นในอาเซียนยังอยู่ในภาวะชะงักงัน และมีประเด็นที่อ่อนไหวเกี่ยวกับสมาชิกประเทศที่เป็นปัญหา องค์การสหประชาชาติ และ สถานทูตต่างประเทศ ที่สนับสนุนนโยบายการย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย ควรขยายกรอบการอภิปรายว่าอะไรเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพื่อแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือใหม่ๆ ต่อไป สถานทูตของ แรงงานข้ามชาติจากประเทศต้นทางควรมีบทบาทในการช่วยเหลือ แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นี่คือความท้าทายแท้จริงสำหรับรัฐบาลไทยในก้าวไปข้างหน้ากับนโยบายการย้ายถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่พม่า แต่ผลประโยชน์ของแรงงานต้นทุนต่ำที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยมาพร้อมกับความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนงานดังกล่าวมาจากประเทศพม่า รัฐบาลไทยต้องเพิ่มความพยายามมากขึ้น หากต้องการให้สถานการณ์แรงงานข้ามชาติที่ตกต่ำดีขึ้น รัฐบาลไทยต้องเริ่มการปรับปรุงที่นี่ การแก้ปัญหานี้ควรจะมีมุมมองสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้แรงงานข้ามชาติพม่า ผู้อยู่เบื้องหลังการอภิปรายที่ซับซ้อน ณ ที่นี้ ไม่ถูกลืม เกี่ยวกับผู้เขียน อานดี้ โฮลล์ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท