Skip to main content
sharethis

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Social Media และนักกิจกรรมด้านแรงงานข้ามชาติ ถกประเด็นการใช้สื่อใหม่กับงานรณรงค์ ชี้สามารถประยุกต์ใช้ระดมอาสาสมัครและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายต้นทุนต่ำ ระบุแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือและเครื่องดีวีดีขาดแต่คอนเทนต์ ที่มีประโยชน์นำเสนอคนงาน 

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เม.ย. 2554 ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิทซอยซอยสุขุมวิท 26 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group: MWG) ได้จัดงานเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "Media Advocacy Training on Social Media for Migrant Working Group" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ Social Media ขององค์กรไม่แสวงหากำไร และการอบรมเรื่องการใช้ Social Media 4 PR หรือการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์การสื่อสาร เพื่อเป็นการเปิดเผยกลยุทธ์และเทคนิคในการโซเชียลมีเดียและเครื่องมือเพื่อ เกิดประโยชน์สูงสุด

 
ในการพูดคุยหัวข้อ “ความสำคัญของโซเซียลมีเดีย (Socia Media) กับการสื่อสารสาธารณะ” มีวิทยากรอบรมให้ความรู้คือ จี รนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการสำนักข่าวประชาไท และสมบัติ บุญงามอนงค์ เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์เพื่อสังคมหลายแห่งและอดีตประธานกรรมการมูลนิธิ กระจกเงา
 
สมบัติ บุญงามอนงค์ ได้อธิบายว่าพัฒนาการการเผยแพร่ความรู้เริ่มจากข้อมูล ในอดีตประเทศจีนมีจองหงวนคัดตัวอักษรเพื่อสืบต่อหนังสือหรือองค์ความรู้ (Information) ยิปซีเป็นคนเดินทางเป็นผู้รู้และอธิบายเพราะเห็นโลกกว้าง (Vistion) การเห็นโลกกว้างขึ้น คือ Vision และส่งต่อไปได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การถ่ายทอดข้อมูลสู่วงกว้าง เริ่มตั้งแต่การมีเครื่องพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ และทำให้คนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเริ่มมีความรู้สาธารณะมากขึ้น “Time ยกย่องว่าหนังสือเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่มีอิทธิพลกับมนุษย์มากที่สุด ในโลก”
 
ต่อมาหลังจากที่มีพัฒนาวิทยุขึ้น ซึ่งเริ่มแรกส่วนใหญ่ถูกใช้งานโดยรัฐสามารถสื่อสารไปสู่ประชาชนซึ่งเป็นการ สื่อสาร one way (อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ) จากวิทยุพัฒนามาเป็นภาพยนตร์ และต่อมาคือโทรทัศน์ อนาล็อก และมีดาวเทียม ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล พัฒนาการไปสู่โทรศัพท์ การติดต่อกันทางจดหมายและแฟกซ์ การผลิตข้อมูลลงสู่ CD ระบบการผลิตแบบดิจิตอล ทำให้ต้นทุนการการผลิตสื่อและทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน แบบนี้ถูกกว่าการพิมพ์ออกมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิม ด้วยเทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตได้มากด้วยต้นทุนที่ไม่สูง
 
การปฏิวัติรูปแบบการสื่อสารครั้งใหญ่ คือ การมี คอมพิวเตอร์บุคคล (Personal computer: PC) การสื่อสารทางอีเมล การมีโทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้นมี modem มี internet จึงกลายเป็น ICT (Informational communication Technology) เป็นการสื่อสารข้ามเวลาและระยะทาง “เทคโนโลยีพัฒนา ทำให้ระบบการสื่อสารเปลี่ยน คนเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน”
 
บทบาทของ NGO คือเป็นผู้ผลิต information ข้อมูล จึงต้องเข้าใจการใช้ผลผลิตนี้ และวิธีการถ่ายทอดส่งต่อความรู้ออกไป ขายความคิด แนวคิดแนวทาง New Media: วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต Social Network
ประเด็นฉุกคิดต่อไป คือ บทเรียนจากการนำ New media มาใช้ในงานพัฒนาอย่างไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร คุณสมบัติได้แบ่งปันตัวอย่างการทำงานที่ใช้ New media มาเป็นตัวช่วยเร่งระดมอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งสามารถดึงคนมาได้มากและทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น
 
จีรนุช เปรมชัยพร ได้กล่าวถึงประเด็นประสบการณ์การทำ งานด้านสื่อ โดยเธอมีพื้นฐานการทำงานเรื่องการสื่อสารทางสังคมที่เน้นเกี่ยวกับโรคเอดส์ มาก่อน (เกี่ยวกับการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล Access ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง) การป้องกัน และให้เกิดการยอมรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นด้านสื่อสารจากจุดนั้น เพื่อสื่อสารไปสู่สาธารณะเป็นแผนกกระแสเสียง โดยมีแนวคิดว่าความสำเร็จในการสื่อสารต้องให้ความสำคัญและจริงจังไม่ใช่เป็น เพียงแผนกหนึ่งขององค์กร แต่เป็นการนำการสื่อสารออกไปสู่ความเข้าใจสู่สังคมให้ได้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสื่อสารและทำให้การทำงานแตกต่างกันไปถูกพิจารณาด้วย คำถามพื้นฐานเหล่านี้ได้แก่
 
·  สื่อสารกับใคร ใครเป็นผู้รับสารและมีเครื่องมืออะไรบ้างที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้
·  เป้าหมายการสื่อสารกับสาธารณะคืออะไร เช่น เพื่อให้เกิดการตระหนักในสังคม
·  อะไรเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
 
ในความคิดเห็นและจากประสบการณ์การทำงานของคุณจิ๋ว ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีพลังมากที่สุด คือการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ใช้กำลังคนและงบประมาณเยอะจึงต้องคิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่าง New Media กับ Social Media คือ
 
New Media เป็นความใหม่ของรูปแบบการสื่อสารที่ไม่ติดกรอบเดิม มีการกระจายตัวไม่ถูกครอบคลองด้วยอำนาจเนื่องจากเทคโนโลยีมีการกระจาย และเปิดโอกาสให้คนเข้าไปเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องอาศัยทุนและอำนาจที่มาก ตัวอย่างเช่น วิทยุชุมชน มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบทางการของการสื่อสารทางวิทยุแบบเก่า อินเตอร์เน็ตผู้เข้าถึงได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ทุนสูง Social Media เป็นสื่อที่ต้องอาศัยเครือข่ายทางสังคมเพื่อให้เกิดพลังเพิ่มเติม เช่น Facebook, YouTube, Twitter ซึ่งเป็นคนเล็กๆ รวมกันเกิดพลังที่อาจทำให้ส่งกระแสสู่สังคมได้
 
ส่วนการใช้ social media เป็นเครื่องมือเสริมจากเว็บไซด์หลัก เพื่อนำคนเข้ามาสู่เครื่องมือหลักให้ได้ Social media อาศัยพลังของสังคมในการทำให้สื่อโตขึ้น มีการเชื่อมโยงของสื่อแบบเครือข่ายทางสังคม เป็นโอกาสสำหรับคนตัวเล็ก ๆ ที่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคม ในการทำสื่อออนไลน์ social network เหล่านี้เป็น Sticky Net เป็นเทคนิควิธีการเพื่อให้มีโอกาสเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น ในสิ่งที่คนใช้อยู่ตลอดเวลาและสามารถใช้ผ่านมือถือได้ด้วย Social Media เป็นสิ่งที่ผูกผู้ใช้ให้ติดกับเครื่องมือนั้น ดังนั้นผู้ผลิตข้อมูลจึงควรนำข้อมูลไปติดไว้กับเครื่องมือ Social Media ที่ผู้คนเขาใช้ เช่น นักข่าวพลเมือง สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกล้องมือถือ และส่งเข้า twitter ได้ ซึ่งอาจถือได้ว่า twitter เป็นวิทยุส่วนตัว ลักษณะคือ รวดเร็ว ทันต่อกระแส ซึ่งสามารถเช็คข่าวสารได้อย่างรวดเร็วก่อนสื่ออื่นๆ
 
ทั้งนี้ Twitter ต่างกับ Facebook เพราะรวดเร็วกว่า ส่วน Facebook มีความหลากหลายกว่า Twitter สามารถเข้าถึงคนที่ใช้โทรศัพท์เนื่องจากมีเลขหมายเป็นสองเท่าของประชากร ซึ่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ดังนั้นการสื่อสารผ่านโทรศัพท์จึงดีกว่า
 
และในการใช้ Social Media ต้องระวังอย่าได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้กลายเป็น spam (โฆษณา/เมลขยะออนไลน์ ที่ผู้รับไม่ต้องการรับ) ควรคำนึงถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างบุคคล หากมีการใช้มากเกินไปคนอาจจะเบื่อหน่าย เพราะ Social Media ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว ต้องใช้เหมือนกับเราพูดคุยระหว่างบุคคล การใช้ในเวลาที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อกันจะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นควรคำนึงถึงการนำเครื่องมือมาส่งข้อมูลให้ถูกเวลา แลกเปลี่ยนกับคน โดยทั้งนี้ต้องใช้ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (inter personal communication) ด้วย
 
ในหัวข้อ Social Media 4 PR นำเสวนาโดย ชีพธรรม คำวิเศษณ์ สื่อสารมวลชนผู้เชียวชาญด้าน e-Business กล่าว ว่าเทคนิคประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media for public relation: PR) นั้นควรคำนึงถึง การติดต่อสื่อสารกับผู้สื่อข่าวการติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ (เบอร์โทร, อีเมล) และการเขียนข่าวอย่างไรให้ผู้สื่อข่าวสนใจเพื่อนำไปเสนอหน้าสื่อหลัก รวมถึงการเลือกช่องทางการสื่อสาร (PR Channel) ให้เหมาะสม เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต แมกกาซีน รวมถึงการจัดการแถลงข่าว (Press conference) ที่ต้องสร้างความน่าสนใจดึงคนมาร่วม
 
นอกจากนี้ ชีพธรรม ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ สื่อใหม่กับสื่อแบบเดิม และการใช้ Facebook กับ Twitter ดังนี้
 
 
 
Social Media
Traditional Media
สื่อของมวลชนประชาชน ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ มีหลายทาง ทุกคนสามารถรายงานข่าวก่อนที่สื่อจะออกข่าว สื่อ Analog Convert to Digital ทุกคนสามารถสร้างตัวเองเป็นผู้สื่อข่าวได้ สื่อ social media ได้แก่ Blogger, YouTube, Twitter, Facebook, Flickr, MySpace, อื่นๆ
สื่อแบบเดิม เป็นสื่อทางเดียว และต้องไปอยู่ในสื่อหลักจึงจะนำเสนอได้
 
 
 
 
Facebook
Twitter
-                     Profile, Group, Fanpage
-                     เราเป็นใคร
-                     บอกข่าวเล่าเรื่อง
-                     Social Games
-                     ระบบปิดมากกว่า
-                     ประโยชน์ 1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร 2. ส่งข้อมูลถึงผู้สื่อข่าวหรือสามารถประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะสู่กลุ่มที่เป็น follower เรา
-                     ความเร็วในการสื่อสาร (Speed) = ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น
-                     แต่มีข้อจำกัด คือ ได้ 140 ตัวอักษร
-                     Follower = คนตาม
-                     โพสต์แล้วส่งต่อ
-                     เป็นระบบเปิด
 
 
สื่อใหม่กับการทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ
 
ทั้งนี้ในการพูดคุยในประเด็นปัญหาภายในกลุ่มการทำงาน Migrant Working group พบว่า สำหรับการสื่อสารภายในกลุ่มของคนทำงานนั้นเป็นไปได้ดี แต่การแลกเปลี่ยนหรือสื่อสารกับองค์กรภายนอกยังมีไม่มากนัก
 
ส่วนการใช้ twitter ส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกเหมือน junk mail หรือ sms ขายของเข้ามามากกว่า ซึ่งมีข้อแนะนำว่า สามารถตั้งเลือกรับได้ แต่ twitter จริงๆ แล้วเป็น Alert message ที่ช่วยให้ update ในเรื่องที่อ่อนไหวหรือต้องการข้อมูลสดหรือในกระแสนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่า เนื่องจากใช้ผ่านมือถือได้ ในการประยุกต์กับกลุ่มคนทำงานด้านแรงงานข้ามชาติควรศึกษาให้เครื่องสามารถนำ มาใช้เสริมประสิทธิการการทำงานได้ แต่ต้องศึกษาข้อมูลและวิธีการนำมาประยุกต์ เช่น มือถือรับวิทยุ มือถือที่ต่อเนต หรือทำเป็น application ที่ใช้ติดตามค้นหาคนได้ในอนาคต
 
ทั้งนี้การสื่อสารของกลุ่มคนที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาตินั้น มี 2 ระดับ คือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มทำงาน และการสื่อสารกับสาธารณะ โดยการทำงานเพื่อต่อรองกับทัศนคติสังคมและสื่อกระแสหลัก ซึ่งการใช้เครื่องมือของสื่อใหม่เหล่านี้ อาจสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อแรงงานข้ามชาติทำได้อย่าง ไรบ้างนั้นเพราะถึงแม้เราจะไม่สามารถนำสื่อกระแสหลักได้ แต่เป็นโอกาสที่สื่อใหม่จะช่วยให้มีการตอบโต้แลกเปลี่ยนหลายทางได้ มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนได้ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่เป็นไปทางเดียว หรือแม้แต่ในบางครั้งกระแสหลักก็มีการนำเรื่องราวข้อมูลจากสื่อใหม่เหล่านี้ ออกไปนำเสนอในสื่อกระแสหลักเช่นกัน ควรพูดหรือสื่อสารสร้างพลังในกลุ่มทำงาน และหาว่าเรื่องไหนที่กระทบใจคน สังคม นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง บวกกับทัศนคติ emotional ซึ่งต้องมีการหายุทธศาสตร์ในการทำงานเพื่อให้โดนใจสังคม
 
ในประเด็นการประชาสัมพันธ์ข่าวอย่างไรไม่ให้เป็น spam นั้น มีข้อเสนอว่าไม่ควรใช้ด้วยความถี่มาก และควรทำให้มีประเด็นความหลากหลายที่น่าสนใจ ส่วนกลุ่มเป้าหมายของคนที่จะสื่อสารด้วยนั้นในปัจจุบันส่วนใหญ่เข้าถึงไม่ ได้มาก เช่น การสื่อสารผ่านออกไปทางวิทยุไม่สามารถสื่อสารได้หมด ซึ่งมีข้อเสนอว่าอาจจะมีการนำเสนอภาษาอื่นๆ ให้ตรงกับผู้รับสาร ต้องนำเสนอให้มีความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในสื่อสาร เพราะโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาพม่า
 
ส่วนการใช้สื่อผ่านมือถือมีความน่าสนใจและเหมาะกับแรงงานข้ามชาติ เพราะแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ และกระจายข่าว หรือส่งต่อทางมือถือเป็นส่วนใหญ่ และควรมีศูนย์กลางการสื่อสารเพื่อกระจายข่าว เช่นในฟิลิปปินส์มีศูนย์รายงานเพื่อให้ความช่วยเหลือในระหว่างกลุ่มแรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้อาจต้องคำนึงถึงช่องทางสื่อเก่าด้วย เพราะแรงงานข้ามชาติและในพม่ามากกกว่า 60% มีเครื่องเล่นดีวิดีและโทรทัศน์ หากต้องการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ อาจจะมองวิธีการผลิตเนื้อหาเสริมด้วยเช่นกัน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net