กลุ่มสิทธิมนุษยชนกังวลไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับ

ต่อกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยมีแผนส่งผู้ลี้ภัยกลับพม่านั้น ล่าสุด กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ พร้อมแนะรัฐบาลทบทวนก่อนตัดสินใจ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพพม่ายังไม่คลี่คลายและยังไม่ปลอดภัย พื้นที่เต็มไปด้วยกับระเบิด เกี่ยวกับกรณีที่ไทยมีแผนที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับพม่านั้น ล่าสุด กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ และแนะให้ไทยทบทวนและประเมินผลเรื่องนี้ก่อนที่จะตัดสินใจ เนื่องจากพื้นที่ที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงนั้นพบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพพม่าในพื้นที่ยังไม่คลี่คลายและยังไม่ปลอดภัย เพราะยังเต็มไปด้วยกับระเบิด ทั้งนี้ รัฐบาลไทยประกาศมีแผนจะผลักดันผู้ลี้ภัยจำนวน 140, 000 คน ที่อยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่ง ตรงชายแดนไทย – พม่ามีขึ้นหลังจากเห็นว่า พม่ามีรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไทยเห็นว่า น่าจะถึงเวลาที่ต้องเจรจากับรัฐบาลพม่าในการับผู้ลี้ภัยกลับไปยังฝั่งพม่า อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์ นักเคลื่อนไหวและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่ผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงจะถูกส่งตัวกลับบ้านในตอนนี้ เพราะสถานการณ์สู้รบ ความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังเกิดขึ้นต่อเนื่องทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กล่าวว่า การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับนั้นควรขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ลี้ภัยเองด้วย ส่วนองค์กร Thailand Burma Border Consortium (TBBC) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไป หากส่งผู้ลี้ภัยกลับในตอนนี้ และข่าวการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับพม่าได้สร้างความกลัวและความกังวลใจให้กับผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมาก “มันเป็นไปไม่ได้ หากจะส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังพื้นที่อันตราย ซึ่งไม่มีความแน่นอนอย่างนั้น สถานการณ์ความขัดแย้งอาจยิ่งบังคับให้ชาวบ้านกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง แม้พวกเขาจะถูกส่งตัวกลับพม่าแล้วก็ตาม” แซลลี่ ท็อปสัน รองผู้อำนวยการ TBBC กล่าว ขณะที่ ซอ โพ ชาน จากองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group - KHRG) กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า “สงครามการเมืองที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดกว่า 60 ปีที่ผ่านมา มันยากเกินไปที่จะมองเห็นว่า ผู้ลี้ภัยกว่า 140,000 คนจะได้อยู่ในที่ปลอดภัยได้ย่างไร คนที่คิดจะส่งผู้ลี้ภัยกลับควรหยุดทำเช่นนั้น เพราะพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จะต้องถูกส่งกลับนั้น ตอนนี้ยังเต็มไปด้วยกับระเบิด ทั้งจากกองทัพพม่าและชนกลุ่มน้อยติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงหลายกลุ่ม และหากผู้ลี้ภัยถูกส่งกลับ ผู้สังเกตการณ์จากนานาชาติเองก็ควรที่จะสามารถรับรองและเป็นพยานได้ว่า ผู้ลี้ภัยจะได้รับความต้องการขั้นพื้นฐาน” ด้านวาคูชี เลขาธิการร่วมองค์กรสันนิบาตสตรีพม่า (Women's League of Burma-WLB) กล่าวแสดงความเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กและผู้หญิงหากต้องถูกส่งตัวกลับ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ถูกโจมตีได้ง่าย พร้อมทั้งเสนอแนะว่า กองทัพพม่าควรถอนฐานที่มั่นทั้งหมดออกจากรัฐกะเหรี่ยง และผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดควรเข้าไปในพื้นที่เพื่อเก็บกู้ระเบิดที่ถูกฝังอยู่ เพื่อรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัยก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับ (Irrawaddy 18 เมษายน 54) แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ \สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน\"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท