Skip to main content
sharethis

สุรินทร์ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 17 อำเภอ 17 เม.ย.54 นายอำนวย จันทรัฐ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาพความแห้งแล้งและปริมาณฝนตกไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เกิดภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยจังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 17 อำเภอ 157 ตำบล 2,041 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 96.27 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 625,419 คน จำนวน 222,614 ครัวเรือน หรือร้อยละ 68.80 ของครัวเรือนทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด ส่วนน้ำใช้ในครัวเรือนและน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่ประสบความเดือดร้อนรุนแรงมากนัก ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชหน้าแล้ง จำนวน 26,862 ราย รวมเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 167,741 ไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 141,571 ไร่ พืชไร่ 17,495 ไร่ พืชผัก 8,369 ไร่โดยมีพื้นที่การเกษตรที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปรัง 141,876 ไร่ มีพื้นที่ข้าวนาปรังประสบภัยแล้งแล้วประมาณ 11,350 ไร่ เกษตรกรเดือดร้อน 1,024 ราย ในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ท่าตูมและรัตนบุรี ส่วนด้านปศุสัตว์และด้านประมงยังไม่มีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง ที่มา: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047210&utm_source=twitterfeed&utm_medium=facebook เครือข่ายองค์กรชุมชนระดมทุนช่วยน้ำท่วมใต้ 17 เม.ย.54 นายพรมมา สุวรรณศรี ตัวแทนคณะประสานงานองค์กรชุมชนภาคกลางตอนบนและตะวันตกเปิดเผยว่า หลังจากที่เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้เครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งสี่ภาคได้ร่วมกันระดมทุนและจัดซื้อข้าวสารเบื้องต้นจำนวน 5 ตัน น้ำดื่มเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจัดส่งเพื่อบรรเทาทุกข์แก่พี่น้องผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดกระบี่และสุราษฏร์ธานีโดยใช้ชุดประสบการณ์จากชุมชนซึ่งประสบภัยพิบัติก่อนหน้านี้มาช่วยแก้ไขปัญหาและใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลสร้างเครือข่ายในพื้นที่ประสบภัยให้เชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการจัดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยชุมชนท้องถิ่นเอง นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้จัดการสำนักงานปฏิบัติการภาคกลางตอนบนและตะวันตกสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. กล่าวว่าการระดมความช่วยเหลือเพื่อพี่น้องผู้ประสบภัยภาคใต้เป็นการรวมน้ำใจในระยะเร่งด่วนซึ่งในระยะต่อไปเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคกลางตอนบนและตะวันตกจะวางแผนร่วมกับช่างชุมชนตามโครงการบ้านมั่นคงในการร่วมแรงลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อช่วยกันซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยที่เสียหายซึ่งหลังเทศกาลสงกรานต์จะดำเนินการทันที ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20110417/94862/เครือข่ายองค์กรชุมชนระดมความช่วยน้ำท่วมใต้.html เมืองพัทยาดัน “รถไฟฟ้ารางเดี่ยว” อีกรอบ มั่นใจมีข้อดีมากกว่าเสีย 17 เม.ย.54 เมืองพัทยายันนโยบายพัฒนาเมืองสู่ความเป็นอินเตอร์ ต้องมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เตรียมนัดประชุมใหม่หารือแนวทางการดำเนินโครงการต้น มิ.ย. ชี้ข้อดีมากกว่าเสีย ส่วนที่ประชาชนคัดค้านเป็นเพราะไม่เข้าใจเนื้อหาของโครงการที่ชัดเจนเท่านั้น จากกรณีที่เมืองพัทยาได้ริเริ่มแนวคิดในการจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล ซึ่งถือเป็นโครงการที่นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้ทำสัญญาประชาคมและชี้แจงไว้แก่ประชาชนในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตามแผนงาน 1 ใน 14 นโยบายเร่งด่วนที่เมืองพัทยาจะจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บ.โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บ.เทสโก้ จำ กัด เข้ามาศึกษา วิเคราะห์ปัญหาด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนทั้งปัจจุบันและอนาคต เพื่อจัดทำแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้ารอบเมืองพัทยาที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเสนอโครงการนำร่องที่มีระยะทางไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางหลักอยู่บนถนนพัทยาสาย 2 ทั้งนี้ จะไม่มีการเวนคืนที่ดิน และหากดำเนินการแล้วเสร็จก็คงจะทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น แต่พบว่าที่ผ่านมามีประชาชนบางส่วนคัดค้านเกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น กรณีดังกล่าว ดร.พิษณุ พะลายานนท์ ประธานที่ปรึกษากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่เมืองพัทยา กลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวเปิดเผยว่าในวันที่ 3 มิ.ย. เมืองพัทยาจะเรียกประชุมคณะกรรมการในกลุ่มยุทธศาสตร์ ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล มาเข้าร่วมทำการหารือใหม่อีกครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์การจัดทำโครงการที่ชัดเจน ขอยืนยันว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นนโยบายสำคัญของเมืองพัทยาที่มีเจตนารมณ์ในการพัฒนาเมืองพัทยาไปสู่ความเป็นนานาชาติ รวมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชนและการจราจรในพื้นที่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว สิ่งสำคัญคือเรื่องของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนที่ก่อนหน้านี้ในการระดมความคิดเห็นจากประชาชน และที่มีการคัดค้านจากคนบางกลุ่ม เมืองพัทยาไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไร เพราะทุกขั้นตอนทำเพื่อประโยชน์ในภาพรวม และที่คัดค้านก็คงเป็นเพราะประชาชนเหล่านั้นยังคงขาดความเข้าใจในภาพรวมของโครงการมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่การจัดสร้างโครงการนั้นแต่เดิมมีแผนการลงทุนบริเวณตามแนวถนนสายชายหาด แต่พบว่าอาจมีปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการบดบังสภาพภูมิทัศน์ จึงเปลี่ยนย้ายโครงการมายังบริเวณถนนพัทยาสาย 2 ซึ่งไม่มีการกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบดบังสภาพภูมิทัศน์แต่อย่างใด อีกทั้งพื้นที่ตามแนวถนนเส้นนี้ก็มีความเหมาะสมทั้งเป็นแหล่งการค้าการลงทุน และนักท่องเที่ยวจำนวนมากจึงน่าจะเหมาะสม ที่มา: https://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FLocal%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9540000047128&h=260bb พายุฤดูร้อนถล่ม 2 อำเภอเมืองน่านพังยับ-บ้านเรือน ปชช.เสียหายกว่า 50 หลัง 17 เม.ย.54 รายงานข่าวจากจังหวัดน่านแจ้งว่า ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำอย่างรุนแรงในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน นานกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อคืนที่ผ่านมา (16 เม.ย.) ซึ่งเบื้องต้นสำรวจพบว่าพายุได้สร้างความเสียหายที่บ้านดอนน้ำครก ,บ้านวุฒิมาราม,บ้านธงหลวง ตำบลกองควาย อำเภอเมือง ประมาณ 30 หลังคาเรือน และที่บ้านน้ำลัด ,บ้านสบแก่น ตำบลนาปรัง อำเภอภูเพียง กว่า 20 หลังคาเรือน ความรุนแรงของพายุทำให้บ้านเรือน ยุ้งฉางข้าว ชาวบ้านเสียหาย แรงลมได้ปะทะกระจกหน้าต่างแตกเสียหาย ฝ้าเพดานหลุดออกจากที่ยึด หลังคาบ้านถูกพายุพัดปลิวหายไปทั้งแถบ บ้านหลายหลังถูกต้นไม้หักโค่นทับ นอกจากนี้แรงลมยังพัดต้นไม้ใหญ่หักโค่นพาดสายไฟฟ้า ส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง อ่านต่อที่ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047054 รัฐเมิน สอบฟันแปลงท่าเรือประมง ขู่เดินหน้าต่อ 17 เม.ย.54 ประมงขู่ลุยต่อไม่พอใจรัฐเมิน สอบฟันแปลงท่าเรือประมง-พืชผลเกษตร -ทำท่าค้าถ่านหิน-ก่อมลพิษ เผยครบ 1 เดือน - ป้ายต้านถ่านหินกระจายนับหมื่นแผ่น ทั่วตำบลริมฝั่ง ปูดพบเรือยังลอบล่องขนจำหน่าย คืบหน้าปัญหาแตกแยกจากผลกระทบมลภาวะ ท่าเรือถ่านหินริมฝั่งน้ำ ระหว่างรัฐกับชุมชน หลังกรณี 8 กลุ่มองค์กรเกษตร ชาวบ้านริมฝั่งท่าจีน และสมาคมประมงสมุทรสาคร และชาวบ้านรวมตัวออกประท้วงขับไล่กลุ่มทุนประกอบการจำหน่ายถ่านหิน (ริมท่าจีน) เหตุทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เย้ยกฎหมายทำแหล่งน้ำหลายสายมีปัญหาเสื่อมโทรม กระทั่ง ที่สุด นาย จุลภัทร แสงจันทร์ ผวจ.สมุทรสาคร สั่งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเร่งด่วนรายงานผลใน15 วัน ประกอบด้วย 1.ท่าเรือบริษัทเสริมสิน ผลิตภัณฑ์ปลา จำกัด , ท่าเรือบริษัทรุ่งเจริญผล จำกัด , ท่าเรือขนส่งเซ็นจูรี่ ริมฝั่งท่าจีน บ.เทคนิคทีม จำกัด (มหาชน) และ บริษัทยูนิค ไมนิ่ง จก.(มหาชน) ซึ่งถูนำไปแปลงเป็นท่าเรือจำหน่ายถ่านหิน ทั้งนี้ผ่านมาครบ 1 เดือน (คำสั่ง 14 มี.ค.) ขณะนี้ยังไม่มีรายงานต่อชาวบ้านผู้เรียกร้อง ส่งผลให้ล่าสุดพบป้ายประกาศต่อต้านถ่านหินกระจายทั่วเมืองกว่าหมื่นชิ้น นาย กำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมง จ.สมุทรสาคร ในฐานะเรียกหารือ (ที่สมาคมประมงสมุทรสาคร) ระหว่างแกนนำกลุ่มโดยมีนายศรัญย์ณัฐ ประมงทรัพย์ ที่ปรึกษาสมาคมฯ พร้อมสมาชิกเกษตรกรชายฝั่ง และชาวสวน หลังได้ร่วมประชุมหารือขอมติกระทั่ง ว่า จะได้ออกเดินหน้าติดตามเรื่องประท้วงร้องเรียนเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่พอใจที่เห็นว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสนใจและไขความกระจ่าง นายศรัญย์ณัฐ กล่าวว่า ติดช่วงสงกรานต์เลยดูสถานการณ์ไปพักหนึ่ง ซึ่งจะออกขับเคลื่อน เรื่องร้องเรียนสอบท่าเรือ ปล่อยจำหน่ายถ่านหินริมฝั่ง อย่างไรก็ตามทราบว่า ยังมีเรือถ่ายหินแอบลักลอบล่องขนเข้ามาจากนอกประเทศอยู่ ขณะที่ผู้ประท้วงต่างวิตก จึงพากันลงขัน ก่อนผลิตป้าย และใบปลิวออกปักกระจายทั่วพื้นที่ตำบลริมชายฝั่ง ถนนหนทาง และบ้านเรือน ซึ่งปิดป้ายไปกว่า 20 , 000 แผ่นแล้ว อย่างไรก็ตามยืนยันว่าหลังเกิดปัญหาผลกระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน จนหลายรวมตัวประท้วง เช่น น้ำเสียและมลภวาะเป็นพิษ แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่จะเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มประกอบการดังกล่าว ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแทนได้เรียกร้อง ให้ยึดกฎเหล็กของนาย จุลภัทร แสงจันทร์ ผวจ.ที่เซ็นคำสั่ง ให้ตรวจสอบ เช่น ฐานกฎหมาย และประกาศกระทรวง รวมถึงระเบียบทางราชการของท่าเรือเคร่งครัด ทั้งที่จริงบางแห่งยังลักลอบขนถ่านหินกันอยู่ ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com ชาวสวนปาล์มสุราษฎร์ประท้วงโรงงานไม่ซื้อปาล์มในราคาที่กำหนด 16 เม.ย.54 ชาวสวนปาล์มอำเภอพระแสงจังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 300 คนประท้วงโรงงานไม่รับซื้อราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตามราคาที่ทางการกำหนดหลังจากใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงจึงตกลงกันได้ โดยทางโรงงานจะเริ่มรับซื้อในราคาที่กำหนดในวันจันทร์ที่ 18 นี้ หากไม่ทำตามชาวสวนกลับรวมตัวอีกครั้ง นายบรรจง จันทร์ช่วง สจ.เขตพื้นที่อำเภอพระแสง พร้อมนายลือชา อุ่นยวง นายกสมาคมชาวสวนปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเกษตรกรชาวสวนปาล์มในพื้นที่อำเภอพระแสงกว่า 300 คน ได้รวมตัวปิดโรงงานรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันของบริษัทไทยทาโลว์ แอนด์ ออยส์ จำกัด เลขที่ 30 หมู่ที่ 4 ถนนพระแสง - ชัยบุรี ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เนื่องจากไม่พอใจที่ทางบริษัทรับซื้อผลปาล์มสุกในราคากิโลกรัมละ 4.40 บาท โดยการรวมตัวปิดโรงงานดังกล่าวใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งตัวตัวแทนบริษัทและตัวแทนเกษตรกรได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก ผลจากการประชุมร่วมทางบริษัทยินยอมรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่กำหนดให้บริษัทรับซื้อผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 6 บาทตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 เมษายนนี้เป็นต้นไป ทางเกษตรกรชาวสวนปาล์มจึงได้ยินยอมสะลายตัวไป โดยนายลือชา อุ่นยวง นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่กำหนดให้บริษัทรับซื้อผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 6 บาทตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นมา แต่ทางบริษัทดื้อเพ่งไม่ยินยอมรับซื้อชาวสาวนปาล์มจึงไม่พอใจหากในวันที่ 18 นี้ทางโรงงานไม่รับซื้อในราคาที่กำหนด ชาวสวนพร้อมจะกลับประท้วงและปิดถนนเพื่อกดดันต่อไป พร้อมขอให้เกษตรกรชลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปก่อน ที่มา: http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046966 แฉขยะท่วมอ่าวไทยสัตว์ทะเลกินตายอื้อดึงนักวิชาการเร่งแก้ 15 เม.ย.54 ทส. ออกโรงแฉ \ติดเชื้อ-ขยะ\" ต้นเหตุทำสัตว์ทะเลหายากในอ่าวไทยตายถี่ เล็งเรียกนักวิชาการร่วมถกหาบทสรุป ด้านกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปัดคลื่นสำรวจปิโตรเลียมทำวาฬ-โลมา สิ้นชีพ แจงสั่งห้ามใช้คลื่นสำรวจ ตั้งแต่ เม.ย.ปีที่แล้ว ลั่นพร้อมสั่งถอนใบอนุญาตผู้ฝ่าฝืน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาอ่าวไทยตอนบน ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีนายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยนายนิกร แซ่เอี๊ยบ เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน จ.สมุทรสาคร ได้นำเสนอข้อเรียกร้องต่อที่ประชุม เพื่อให้รัฐบาลระงับและหาข้อเท็จจริงต่อการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย เนื่องจากตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจเป็นสาเหตุให้วาฬและโลมาเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง นายนิกร กล่าวต่อว่า แม้จะมีหนังสือสั่งห้ามไม่ให้บริษัทสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใช้คลื่นไหวสะเทือนในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนแล้ว แต่ชาวบ้านยังไม่ไว้วางใจ เพราะเมื่อเดือน ต.ค. 2553 ที่ผ่านมา มีชาวประมงพบเห็นเรือสำรวจกลางทะเลที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นเรือที่ใช้สำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ดังนั้นจึงอยากให้บริษัทขุดเจาะและผู้ให้สัมปทานแสดงความจริงใจต่อชาวบ้านว่ามีความเข้มงวด และตรวจสอบพฤติกรรมการลักลอบสำรวจมากเพียงใด ด้าน นางบุญราศรี ทองเป็นใหญ่ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กรมได้ให้สัมปทานแก่บริษัท เพิร์ลออย (อมตะ) จำกัด สำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย โดยวิธีใช้คลื่นเสียงสร้างความสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้การยอมรับในระดับมาตรฐานสากล และก่อนทำการยิงคลื่นสำรวจจะมีเรือสังเกตการณ์คอยสำรวจสิ่งกีดขวางและสัตว์ทะเลในระยะ 3 กิโลเมตร พร้อมทั้งปล่อยคลื่นเตือนสัตว์ทะเลให้ออกห่างจากพื้นที่ด้วย ที่สำคัญการปล่อยคลื่นดังกล่าวมีค่าสูงเพียง 0-80 เดซิเบลเท่านั้น ซึ่งทางวิชาการยืนยันว่าค่าระดับนี้จะไม่เป็นอันตรายสำหรับสิ่งมีชีวิตแน่นอน ทั้งทางกระทรวงฯ ได้สั่งให้เลิกใช้วิธีดังกล่าวมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2553 แล้ว นางบุญราศรี กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กังวลว่าจะมีการลักลอบสำรวจอีก แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเรือประเภทนี้มีเพียงไม่กี่ลำในประเทศไทย อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่กินรัศมีเป็นวงกว้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบสูง จึงคาดว่าเรือลำที่ชาวประมงเห็นน่าจะเป็นเรือสำรวจพื้นทะเลและหินโสโครกเท่านั้น แต่หากชาวบ้านพบเรือลักลอบสำรวจโดยใช้คลื่นไหวสะเทือนจริงให้รีบโทรฯ แจ้ง เพราะทางกรมฯจะเร่งดำเนินการยึดสัมปทานจากบริษัทที่ลักลอบตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ทันที ในส่วนของ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสำรวจปิโตรเลียมด้วยคลื่นเสียงเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน แต่ต่อมากระทรวงพลังงาน ได้ขอให้ยกเลิกไม่ต้องทำอีไอเอ เพราะยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าคลื่นเสียงสำรวจแหล่งปิโตรเลียมจะส่งผลกระทบต่อการเสียชีวิตของสัตว์ทะเล เพราะจากการผ่าพิสูจน์ซากสัตว์หายากที่ตาย ปรากฏว่าเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อและขยะที่กินเข้าไป ดังนั้นจึงต้องมีการเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาหารือกรณีนี้อีกครั้งต่อไป ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ สำรวจชาวนา50จังหวัดแอบปลูกข้าวเกินกำหนด ธีระผวาปีนี้ภัยแล้งสาหัส-หวั่นน้ำไม่พอ 14 เม.ย.54 นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานผลการสำรวจพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศหลังจากกระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ภัยแล้งปีนี้จะรุนแรง จึงมีการสั่งห้ามการทำนาและการเกษตรที่ใช้น้ำในปริมาณที่มากๆ แต่จากการสำรวจพบว่าขณะนี้มีจำนวน 50 จังหวัด ที่มีการปลูกพืชการเกษตรเกินกว่าที่ทางการกำหนด โดยมีการจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้งปี\"53/54 ดังนี้คือ มีการจัดสรรน้ำแล้ว 17

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net