วิกฤติฟูกูชิมะต่างกับเชอร์โนบิลอย่างไร

ภาพโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ โดย Digital Globe ภายหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยกระดับความรุนแรงอุบัติภัยนิวเคลียร์ขึ้นสู่ระดับสูงสุดวานนี้ หลายฝ่ายเปรียบเทียบว่านี่คือความรุนแรงระดับเดียวกับอุบัติภัยเชอร์โนบิลทันที สำนักข่าวบีบีซีนำเสนอตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ กับเชอร์โนบิล พร้อมระบุว่าผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากให้ความเห็นว่าเหตุการณ์ทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างยิ่ง ข้อมูล ฟูกูชิมะ เชอร์โนบิล วันที่เกิดเหตุ 11 มีนาคม 2554 26 เมษายน 2529 รายละเอียดอุบัติเหตุ แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ และสึนามิทำลายระบบปฏิบัติการของโรงไฟฟ้า ทำให้ระบบหล่อเย็นเสียหาย ตามมาด้วยการระเบิดของก๊าซอย่างต่อเนื่อง กำลังไฟฟ้าเกิดการกระชากอย่างฉับพลันขณะทดลองระบบเป็นเหตุให้เตาปฏิกรณ์แตก เกิดการระเบิดต่อเนื่อง และเพลิงไหม้ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน ระดับความรุนแรง 7 7 จำนวนเตาปฏิกรณ์ 6 เตา แต่มีปัญหาจำนวน 3 เตา รวมถึงบ่อพักแท่งเชื้อเพลิง 4 แต่มีเพียง 1 เตาปฏิกรณ์เท่านั้นที่มีปัญหา ประเภทของเตาปฏิกรณ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด โดยใช้น้ำเป็นตัวลดความเร็วของนิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชัน ทางการญี่ปุ่นย้ำว่าระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไม่เหมือนกับเชอร์โนบิล เพราะอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ยังไม่เสียหาย และฟูกูชิมะต่างกับเชอร์โนบิลเพราะไม่ได้ใช้แกนปฏิกรณ์แกรไฟต์ซึ่งลุกไหม้ได้ง่ายอย่างที่เกิดกับเชอร์โนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด โดยใช้แกรไฟต์เป็นวัสดุลดความเร็วของนิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิชชัน แกรไฟต์ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรง ขณะที่ตัวเตาปฏิกรณ์ไม่มีอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ ไม่มีอะไรควบคุมทิศทางการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีซึ่งปนเปื้อนสู่อากาศ ปริมาณกัมมันตรังสีที่แพร่กระจายออกมา 370,000 เทราเบกเกอเรล (ข้อมูลวันที่ 12 เม.ย. 2554) 5.2 ล้านเทราเบกเกอเรล พื้นที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลทางการระบุว่าพื้นที่มากกว่า 60 ตารางกิโลเมตร (36 ตารางไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้า และ 40 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ตรวจพบระดับกัมมันตรังสีในปริมาณสูงเกินกว่าที่กำหนด รายงานขององค์การสหประชาชาติพบการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในบริเวณกว้างห่างจากโรงไฟฟ้าประมาณ 500 ตารางกิโลเมตร (หรือประมาณ 300 ตารางไมล์) แต่พบพืชและสัตว์ที่ได้รับผลกระทบในบริเวณที่กว้างกว่าที่รายงานดังกล่าวระบุไว้ รัศมีอพยพประชาชน อพยพประชาชนในรัศมี 20 กิโลเมตร และอพยพประชาชนโดยสมัครใจใน รัศมี 20-30 กิโลเมตร 30 กิโลเมตร จำนวนประชากรที่ต้องอพยพ เกินกว่าแสนคน ในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลสหภาพโซเวียต (ขณะนั้น) อพยพประชากรที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้าราว 115,000 คน ออกจากบริเวณดังกล่าว และภายหลังจากปี พ.ศ. 2529 มีการอพยพประชากรอีกราว 220,000 คนในสาธารณรัฐเบลารุส รัสเซีย และยูเครน จำนวนผู้เสียชีวิต ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากกัมมันตรังสี รายงานขององค์การสหประชาชาติยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากกัมมันตรังสีตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปี 2552 จำนวนรวม 64 ราย แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการรับรังสียังเป็นที่ถกถียง* ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ยังไม่ทราบ แต่คาดว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับต่ำ ข้อมูลจากการติดตามประชากรวัยเด็กและวัยรุ่นซึ่งได้รับกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุจนถึงปี พ.ศ. 2548 พบว่ามี 6,000 รายเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ และคาดว่าจะพบผู้ป่วยเพิ่มอีกในอีก 10 ปีข้างหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นระบุว่ากัมมันตรังสียังคงรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง และอาจมากเกินกว่าปริมาณที่รั่วไหลจากเชอร์โนบิล เรื่องเร่งด่วนคือการเติมสารลดอุณหภูมิในบ่อเชื้อเพลิงและในเตาปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ เตาปฏิกรณ์ที่เสียหายได้รับการห่อหุ้มอย่างมิดชิดด้วยคอนกรีต โดยคาดว่าโครงสร้างอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์อันใหม่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2557 แผนที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล *รายงานขององค์การสหประชาชาติประมาณการว่ามีประชาชนราว 4,000 คนต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากอุบัติภัยครั้งนั้น ขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมประณามรายงานฉบับดังกล่าวว่าเป็นการฟอกตัวให้กับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล โดยโต้แย้งว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีถึงราว 100,000 คน แสดง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ในแผนที่ขนาดใหญ่ เว็บไซต์สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีที่ส่งผลต่อสุขภาพไว้ดังนี้ 0.1 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีเอ๊กซ์ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง 10 mSv = ปริมาณรังสีที่ได้รับเมื่อไปถ่ายภาพรังสีด้วยเทคนิคการสแกนแบบ CT ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง 1,000 mSv = ปริมาณรังสีที่ทำให้เกิดอาการป่วยจากรังสี รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อได้รังสีมากขึ้น 6,000 mSv = ปริมาณรังสีที่พนักงานที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับระหว่างเกิดอุบัติเหตุเมื่อปี 1986 และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน (mSv คือหน่วยวัดรังสี มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง-millisieverts per hour) ผลของรังสี การได้รับรังสีปริมาณสูงจะทำให้เกิดผลในทันที แต่ผลเสียที่เกิดจากการได้รับรังสีปริมาณต่ำๆ เช่น 100 mSv หรือต่ำกว่า อาจจะไม่แสดงอาการเป็นสิบปี ทางการญี่ปุ่นได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีที่พนักงานทางนิวเคลียร์จะรับได้ในภาวะฉุกเฉิน อยู่ที่ 50 mSv การได้รับรังสีปริมาณสูง การได้รับรังสีปริมาณสูงในเวลาสั้นๆ เป็นนาทีหรือชั่วโมง จะทำให้เกิดผลของรังสีแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะเกิดขึ้นทันที ผลระยะสั้น ผมร่วงภายในหนึ่งสัปดาห์ สมอง มึนงง สับสน กระเพาะ/ลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร เยื่อบุทางเดินอาหารเสียหาย ผิวหนัง ผิวไหม้ ทำให้ติดเชื้อ กระดูก เซลล์ไขกระดูกเริ่มตายลง อาการโดยรวม อ่อนเพลีย สูญเสียน้ำ ผลระยะยาว เซลล์ได้รับความเสียหาย ทำให้อาจกลายเป็นมะเร็งไขกระดูกหรือมะเร็งชนิดอื่น เกิดขึ้นกับใคร ผู้ที่ทำงานใกล้กับต้นกำเนิดรังสี เช่น เจ้าหน้าที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ปริมาณรังสีสูงมากจะทำให้เสียชีวิตได้ เช่น 5,000-12,000 mSv การได้รับรังสีปริมาณต่ำ คนที่ได้รับรังสีปริมาณน้อย (ประมาณ 100 mSv หรือน้อยกว่า) ไม่ค่อยมีอาการแบบเฉียบพลัน และร่างกายจะซ่อมแซมหรือกำจัดเซลล์ที่เสียหายได้ เกิดขึ้นกับใคร คนที่อาศัยอยู่รอบๆ หรืออยู่ใต้ลมของบริเวณที่มีรังสี และอาจสูดหายใจหรือรับประทานสิ่งที่มีสารรังสีปนเปื้อน สาเหตุและอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ตา เป็นต้อ ต่อมไทรอยด์ มีการสะสมไอโอดีนกัมมันตรังสีที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดมะเร็ง ปอด สูดละอองที่มีพลูโตเนียมทำให้เป็นมะเร็งปอด ระบบสืบพันธุ์ ความเสียหายทางพันธุกรรมจะส่งต่อไปยังเด็กในรุ่นต่อไป ทั่วทั้งร่างกาย ซีเซียมที่แพร่กระจายออกไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม อาจทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิดถ้ารับประทานหรือสูดหายใจเข้าไป เส้นทางของกลุ่มควันรังสี (plume) กลุ่มควันรังสีคืออะไร? มีอะตอมกัมมันตรังสีเป็นร้อยชนิดที่รั่วไหลออกจากเครื่องปฏิกรณ์ แต่โดยทั่วไป นักวิทยาศาสตร์จะให้ความสนใจอยู่ 4 ชนิด ไอโอดีน-131 ครึ่งชีวิต 8 วัน -- ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่สะสมไอโอดีนทั้งแบบปกติและแบบมีกัมมันตภาพรังสี ถ้าได้รับไอโอดีนมีกัมมันตภาพรังสีเข้าไปมากๆ อาจทำให้เกิดความผิดปกติ ทำให้เซลล์ตายลง หรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ การที่มีอายุสั้น จึงทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะเคลื่อนที่ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกไปถึงอีกฝั่งได้ พลูโตเนียม-239 ครึ่งชีวิต 24,000 ปี -- พลูโตเนียมมีความเป็นพิษสูง และเป็นอันตรายหากสูดหายใจเข้าไป เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดไวต่อรังสี แต่จะไม่เป็นอันตรายมากหากรับประทานเข้าไป ซึ่งดูเหมือนอุบัติเหตุครั้งนี้จะมีพลูโตเนียมรั่วไหลออกมาเล็กน้อย ซีเซียม-137 ครึ่งชีวิต 30 ปี -- ซีเซียมที่มีกัมมันตภาพรังสีสามารถเข้าไปในห่วงโซ่อาหารได้ง่าย โดยเข้าไปทางนมและพืชผัก ถ้าสูดหายใจหรือรับประทานเข้าไป จะอยู่ในกระบวนการคล้ายโปแตสเซียม แต่มีการปล่อยรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นมะเร็งได้หลายแบบ สตรอมเทียม-90 ครึ่งชีวิต 29 ปี -- มีคุณสมบัติคล้ายซีเซียม เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมและเรารับประทานเข้าไปจะเป็นแบบเดียวกับแคลเซียม คืออยู่ที่กระดูกและฟัน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นมะเร็งกระดูกหรือมะเร็งของไขกระดูก (leukemia) ที่มา: How does Fukushima differ from Chernobyl? อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย คลังเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิชิ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท