Skip to main content
sharethis

ภาคประชาชนเสนอรัฐสร้างความเสมอภาคผู้ติดเชื้อเอดส์ เมืองทองธานี 29 มี.ค.- ในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 ที่อิมแพค คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เตรียมยื่นข้อเสนอ 3 ประเด็น จากภาคประชาชนเกี่ยวกับนโยบายปัญหาโรคเอดส์ในประเทศ ต่อนายกรัฐมนตรี โดย น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กล่าวถึง ข้อเสนอดังกล่าวว่า ภาคประชาชนจะเสนอมุมมองใหม่ไปยังนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องในการทำงานเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทย ให้มองว่าเรื่องโรคเอดส์ไม่ใช่เรื่องของกลุ่มเสี่ยงเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม จึงต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสม จึงจะเสนอให้สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ของผู้ติดเชื้อเอดส์ ต้องการเห็นการปฏิรูปสังคมและการเมือง โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ, การลดจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยการให้โอกาสการเข้าถึงการรักษาในมาตรฐานเดียวกัน ไม่แบ่งแยก และทบทวน กลไกการขับเคลื่อนงานด้านเอดส์ อย่างเป็นจริง มีประสิทธิภาพ แนะให้นำสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเอดส์ชาติ ไปอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมเพิ่มสัดส่วนภาคประชาสังคมให้มากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายวันนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 สิทธิด้านเอดส์ คือสิทธิมนุษยชน ร่วมพิทักษ์สิทธิ ร่วมรับผิดชอบ จัดขึ้น ณ อิมแพค คอนเวนชั่นเซนเตอร์ เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/188105.html รมว.สธ.ย้ำไทยให้ความสำคัญโรคเอดส์เป็น 1 ใน 5 โรคสำคัญ เมืองทองธานี 29 มี.ค.- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 พร้อมกล่าวว่า จากข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์สะสมถึงปี 2553 ไทยมีผู้ติดเชื้อรวม 1,161,244 ราย เสียชีวิต 644,128 ราย และยังมีชีวิตอยู่ 522,548 ราย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละ 10,853 ราย สาเหตุของการติดเชื้อจากกลุ่มชายรักชาย ร้อยละ 33 แม่บ้านติดจากสามี ร้อยละ 28 ผู้ชายติดจากหญิงขายบริการร้อยละ 10 สามีติดจากภรรยา ร้อยละ 10 และ ติดจากเข็มฉีดยา ร้อยละ 9 กระทรวงฯ จึงจัดความสำคัญของโรคเอดส์ เป็น 1 ใน 5 โรคสำคัญที่ต้องเร่วรัดดำเนินการป้องกันและแก้ไข ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยมีการกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์การดำเนินงานสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ใหม่ของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) คือ Zero new infection, Zero AIDS relates deaths, Zero discrimination หรือ Getting to Zero ซึ่งหมายถึง 1.การเร่งรัดการป้องกันติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มประชากรเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มประชากรเปราะบาง 2.ลดการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อ HIV เช่น ปรับเกณฑ์การเริ่มให้ยาต้านไวรัสเร็วขึ้น ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้บริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลสังกัด สธ.และ 3.ไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยการส่งเสริมให้เคารพสิทธิ์ผู้ติดเชื้อ ไม่บังคับให้ตรวจเลือดก่อนเข้าทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ได้มอบโล่ให้กับโรงพยาบาลที่ให้บริการแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาประชุมร่วมกับคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ ร่วมถ่ายภาพแสดงความยินดีด้วย http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/188047.html สธ. คาดปี 54 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 10,097 ราย ภาคประชาชนยื่นวาระ 3 ข้อต่อรัฐบาล ปลุกผีโครงการถุงยาง 100% 29 มี.ค.ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นพ.เฉวตสรร นามวาท หัวหน้ากลุ่มระบาดวิทยาโรคเอดส์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 มี.ค.ว่า ในปี 2553 คาดการณ์ว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สะสม 1,161,244 ราย เสียชีวิต 644,128 ราย ยังมีชีวิตอยู่ 522,548 ราย และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,853 ราย หรือวันละ 27 ราย ในปี 2554 คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเหลือ 10,097 ราย กลุ่มที่มีการติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดคาดว่าคงจะเป็นกลุ่มชายรักชายติดเชื้อประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด รองลงมาคือ แม่บ้านที่ติดเชื้อจากสามีหรือคู่นอน กลุ่มชายที่ติดจากหญิงบริการ กลุ่มสามีที่ติดจากภรรยา กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด อย่างไรก็ตามจากการวิจัยพบว่า ตัวเลขชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ คิดเป็นประมาณ 30% ต่างจังหวัดประมาณ 5% ด้าน นพ.ชัยยศ คุณาสนธิ์ ผู้เชี่ยวชาญโรคเอดส์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการป้องกันโรคเอดส์ว่า แม้จะมีถุงยางอนามัย แต่ก็มีความพยายามในการวิจัยวัคซีนป้องกัน วิจัยสารทำลายเชื้อเอชไอวี ที่เรียกว่าไมโครบีไซด์ ที่มีส่วนผสมของยาทีโนโฟเวีย 1% ใช้ทาช่องคลอด โดยผลการวิจัยที่ออกมาในปี 2553 พบว่า สามารถทำลายเชื้อเอชไอวีได้ 39% แต่ทั้งวัคซีนและเจลฆ่าเชื้อก็ยังไม่ผลิตออกสู่ตลาด ส่วนการรับประทานยาต้านไวรัสพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อจะมีปริมาณเชื้อลดลงเมื่อกินยาต้านไวรัสดังนั้นโอกาสจะแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นก็น้อย แต่ก็ยังเป็นกลไกในการป้องกันที่ไม่ดีนัก ตนเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนคือการเข้าถึงถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการแจกฟรี หรือการผลิตถุงยางอนามัยราคาถูกออกจำหน่าย 5-10 บาท ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้เอกชนผลิตถุงยางอนามัยแฟนซีราคาสูงออกมาจำหน่ายได้เช่นกัน. http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentId=129761 สธ.แฉเยาวชนเกย์ติดเอดส์อื้อ ทนไม่ไหวเปิด“คอนดอม พ้อยท์”แจกถุงยาง3ขนาด พร้อมสารหล่อลื่นฟรีใน30จังหวัด 30 มี.ค. นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และประธานเดอะบีช กรุ๊ป แถลงข่าวเปิดตัวจุดบริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นหรือคอนดอม พ้อยท์ ในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 13 ที่ อิมแพ็ค คอนเวนชั่น เมืองทองธานี นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชายมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยขณะนี้มีประชากรกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 3 ของเยาวชนชายไทย และมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีจากพฤติกรรมเสี่ยง สาเหตุหนึ่งเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเรื่องการป้องกันโรคเอดส์ รวมทั้งการเข้าถึงบริการ การป้องกัน และการตรวจรักษา ในปี 2553 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 10,853 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มชายรักชายมากถึงร้อยละ 33 หรือเกือบ 1 ใน 3 ชี้ให้เห็นจะเป็นกลุ่มหลักของการระบาดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยในอนาคต หากยังมีพฤติกรรมเสี่ยงคือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่กว่าร้อยละ 50 จะเป็นกลุ่มชายรักชาย กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย ได้มีนโยบายเชิงรุกเร่งแก้ไขป้องกัน จัดทำโครงการส่งเสริมการเข้าถึงถุงยางอนามัยและสุขอนามัยในกลุ่มชายรักชาย ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อป้องกันโรค โดยจัดจุดบริการถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นฟรี หรือคอนดอม พ้อยท์ กระจายลงในสถานที่ที่กลุ่มชายรักชาย นิยมไปเที่ยวหรือพบปะกัน เช่น ดิสโก้เธค คาราโอเกะ ฟิตเนส ซาวน่า และร้านเสริมสวย เป็นต้น ในปี 2553 นำร่องใน 30 จังหวัด มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 188 แห่ง ในปี 2554 ตั้งเป้าขยายพื้นที่อีก 18 จังหวัด รวมเป็น 48 จังหวัด นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ยังได้จัดทำโครงการป้องกันในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และการให้บริการที่เป็นมิตรในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การติดเชื้อสูง ได้แก่ กทม. ภูเก็ต เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่นและชลบุรี โดยพัฒนาแกนนำกลุ่มชายรักชายในระดับอุดมศึกษาและจัดทำหลักสูตรการสอนทักษะชีวิตให้กับกลุ่มชายรักชาย ให้แก่ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษา และดึงภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมป้องกันมากขึ้น โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกใน 43 จังหวัด ผลการดำเนินการตั้งแต่กรกฏาคน 2552-มิถุนายน 2553 สามารถข้าถึงกลุ่มเกย์ในพื้นที่เป้าหมาย 13,000 คน สาวประเภทสอง 10,000 คน แจกถุงยางอนามัย 500,000 ชิ้น และสารหล่อลื่น 270,000 ชิ้น โดยร้อยละ 50 ของกลุ่มที่เข้าถึงเป็นเยาวชนอายุ 16-25 ปี สำหรับคอนดอมพ้อยท์ จะสังเกตได้ง่าย คือ กล่องบรรจุถุงยางและสารหล่อลื่น จะใช้สีม่วง มีรูปร่มสีรุ้ง และตัวอักษรเขียนว่า Condom Point มีถุงยางอนามัย 3 ขนาด คือ 49, 52 , 54 และสารหล่อลื่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ แต่ละกล่องบรรจุถุงยางได้ประมาณ 300 ชิ้น สถานประกอบการที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ สอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป้าหมาย 48 จังหวัด และที่ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-3216 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขพร้อมสนับสนุนเต็มที่ http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=129953 กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าเชียงราย ดึงนักวิชาการลงพื้นที่ตรวจสอบ กลุ่มค้านโรงไฟฟ้าที่ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ยันโรงไฟฟ้าจะเกิดปัญหาฝุ่นละออง แย่งน้ำกับชุมชน พบบริษัทที่จะก่อสร้างเชื่อมโยงกับบริษัทโรงไฟฟ้าที่ประจวบคีรีขันธ์ซึ่งถูกศาลปกครองสั่งระงับโครงการ 30 มี.ค. กลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ที่อำเภอเวียงชัย ซึ่งเตรียมก่อสร้างโดยบริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด ได้จัดเวทีสัมมนาร่วมกับ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ นำโดยนายศุภกิจ นันทะวรการ บริเวณโบราณสถานพระเจ้ากือนา บ้านไตรแก้ว เพื่อรับฟังข้อมูลจากชาวบ้านและเตรียมศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน นายศุภกิจ กล่าวว่าปัจจุบันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้สร้างปัญหาให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก มีประชาชนทั่วทุกจังหวัดรวมตัวกันออกมาคัดค้าน โครงการ ทั้งนี้โดยส่วนมากมาจากปัญหาการจัดทำประชาคม ที่ชาวบ้านขาดการมีส่วนร่วมและได้รับฟังข้อมูลเพียงด้านเดียว อีกทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งปัญหาฝุ่นละออง และการแย่งชิงแหล่งน้ำในชุมชน เป็นต้น ซึ่งตนมองว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลในปัจจุบันที่มีขนาดเกิน 1 เมกกะวัตต์ ขึ้นไปไม่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืน และสร้างปัญหามากกว่า ในขณะชาวบ้านในพื้นที่ร่วมให้ข้อมูลความเป็นมาตั้งแต่ตนจนนำมาสู่การคัดค้าน โดยระบุการจัดทำประชาคม โดยวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวรนั้น มีการนำรายชื่อชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมมาแอบอ้างว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการ ทั้งที่เจ้าตัวไม่ได้เห็นชอบ ตลอดจนคดีความต่างๆที่ถูกบริษัทฟ้องร้องก็ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะคดีหมิ่นประมาท ที่นายก อบต.ฯ นำเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ไปยื่นต่อ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อยากถามศาลว่าลักษณะเช่นนี้เป็นการหมิ่นประมาทตรงไหนกัน ด้านแกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้ากล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด เป็นกลุ่มทุนเดียวกัน กับโรงไฟฟ้าของ บริษัท พลังงานสะอาดทับสะแก ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มี นายชัยณรงค์ มหาวีรวัฒน์ นายสุเทพ เหล่าสายเชื้อ นายสุทรรศน์ สืบวงศ์ เป็นกรรมการบริษัท ที่ถูกชาวบ้านฟ้องศาลปกครอง และศาลปกครองรับฟ้องและมีคำสั่งให้ระงับโครงการ ซึ่งจากการตรวจสอบพบการทำผิดหลายประเด็น โดยเฉพาะการปลอมแปลงเอกสาร เพื่อขอเพิ่มกำลังวัตต์ แกนนำกล่าวเพิ่มเติม ข้อมูลตรงนี้อยากย้อนถาม บริษัทฯ ที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยให้ยอมสร้าง แล้วจะสร้างให้เหมืองโรงไฟฟ้ามุ่งเจริญ ที่สุรินทร์ จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อโรงไฟฟ้าที่ประจวบคีรีขันธ์ยังถูกฟ้อง หลังจากสัมมนาและรับฟังข้อมูลจากชาวบ้าน นายศุภกิจ ได้เดินทางตรวจสอบพื้นที่ การก่อสร้างโรงไฟฟ้า และพื้นที่โดยรอบ เพื่อนำไปศึกษาผลกระทบ และใช้เป็นข้อมูลในการนำเสนอต่อ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่แต่งตั้งโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มี นาย สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นประธานกรรมการต่อไป http://www.prachatai3.info/journal/2011/03/33803 ชาวนาจาก22จังหวัดภาคกลางกว่า 1 พันคน เคลื่อนกำลังปิดถนนบางปลาม้า เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาข้าวตกต่ำ ชาวนา10อำเภอในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และชาวนาภาคกลาง 22 จังหวัด ออกเดินทางพร้อมด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถบัส รวมตัวกว่า 1,000 คน ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังระบาดหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก นายประภัตร โพธสุธน อดีตรมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้พี่น้องชาวนาเดินทางมารวมตัวกันที่หน้าศาลากลาง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาราคาข้าวที่กำลังตกต่ำจนถึงขีดสุดแบบที่ไม่เคยมาก่อน วันนี้จึงมายืนเคียงข้างกับพี่น้องชาวนาเพราะรัฐบาลไม่จริงใจที่จะแก้ปัญหาเรื่องของราคาข้าวและเรื่องเพลี้ยกระโดดซึ่งมีเพียง 2 เรื่องที่ต้องการให้มีผู้มารับเรื่องและให้คำตอบคือกระทรวงพานิชย์ และกระทรวงเกษตร ที่ต้องให้คำตอบ \ถ้าไม่ให้คำตอบจะนำชาวนาเดินทางไปปิดถนนที่ต.สาลี อ.บางปลาม้า เพราะบริเวณจุดดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักที่หลายจังหวัดจะมาเจอกันเราจะดำเนินการเคลื่อนไหวถ้าไม่ได้รับคำตอบ\"นายประภัตร ขณะที่นายเสมียน หงส์โต ประธานชมรมชาวนาภาคกลาง 22 จังหวัด กล่าวว่า ขณะนี้ทางชาวนาทั้งหมดเตรียมเคลื่อนตัวเตรียมเดินทางไปปิดถนนดังกล่าว ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนในวันนี้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่จริงใจสนใจแก้ปัญหาเรื่องของราคาข้าวอย่างจริงจังเรื่องนี้เองถูกมองข้ามมาตลอด http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2/81642/%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2 ไล่รื้อชุมชนพระราม 6 ชาวบ้านเดินหน้าขอความชัดเจนสัญญาที่อยู่ใหม่ 1 เม.ย.54 เวลา 10.30 น.มีรายงานข่าวว่ากลุ่มชาวบ้านชุมชนพระราม 6 และชุมชนใกล้เคียงที่อีก 9 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมกับกลุ่มคนจนเมืองในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศภายใต้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวนหลายร้อยคนได้รวมตัวเดินทางจากที่ตั้งชุมชนโดยมีเป้าหมายจะเดินทางไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องการแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่จากกรมบังคับคดีเข้ารื้อถอนบ้านเรือนในชุมชนพระราม 6 ถนนประชาราษฎร์สาย 1 แขวง-เขตบางซื่อ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ฐานะโจทก์ยื่นฟ้องผู้อาศัยอยู่ภายในชุมชนประมาณ 40 หลัง ฐานะจำเลย และศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 แต่ชาวบ้านภายในชุมชนกว่า 100 คน ได้รวมตัวประท้วง กระทั่งเกิดเหตุปะทะกันทำให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยการไล่รื้อดังกล่าวเป็นไปตามการเร่งรัดก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วานนี้ (31 มี.ค.54) แม้จะมีการเจรจาระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่และตัวแทนบริษัทฯ ซึ่งเข้ามาควบคุมการรื้อถอน เพื่อให้เวลากับชาวบ้านอีกระยะหนึ่งในการหาที่อยู่ใหม่ และมีการระดมกำลังชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงเพื่อมาร่วมผลักดันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การรื้อถอนยังคงดำเนินต่อเนื่องถึงช่วงเย็นจนแล้วเสร็จเกือบทั้งหมด โดยเจ้าหน้าที่จากกรมบังคับคดีชี้แจงว่าการรื้อถอนเริ่มต้นจากบ้านที่เจ้าของเซ็นรับทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม ตามคำสั่งศาลเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่บังคับคดีในการรื้อถอน ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอข้อสรุปในส่วนการจ่ายค่าชดเชยเรื่องค่าขนย้าย ค่าที่อยู่อาศัยหลังคาเรือน ที่ชาวบ้านต้องเจรจากับทางบริษัทฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการรื้อถอน กลุ่มชาวบ้านเฝ้าดูการทำงานของเจ้าหน้าที่และคนงานรื้อถอนอย่างใกล้ชิด บ้างก็นั่งน้ำตาซึม บ้างก็บ่นว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพยามยามเข้าไปปกป้องบ้านหนึ่งหนึ่งจากการรื้อถอน โดยยืนประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพยายามร้องเพลงปลอบขวัญและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน แต่เมื่อบ้านหลังอื่นๆ ถูกรื้อถอนจนเกือบหมด กลุ่มชาวบ้านจึงถอนตัวออกมา เพราะไม่สามารถผลักดันเจ้าหน้าที่ต่อไปได้เนื่องจากกำลังคนน้อยกว่า อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนั้น ได้มีชาวบ้านเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จากพื้นที่จังหวัดต่างๆ อาทิ ราชบุรี นครปฐม ขอนแก่น อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ฯลฯ ทยอยเดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมกับชาวบ้านชุมชนพระราม 6 ด้วย “ทีนี้คนจนก็ไม่มีที่ไป ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่รู้จะช่วยกันอย่างไร แต่ก็ต้องต่อสู้กันเอง” นายโรติ อายุ 51 ปี ชาวชุมชนโชติวัต ซึ่งเป็นชุมชนในเขตโครงการรถไฟสายสีแดงที่ถูกรื้อถอนก่อนหน้านี้ กล่าวหลังมาเฝ้าสังเกตการณ์ นายสุเทพ โตเจิม ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เขตบางซื่อ และเป็นหนึ่งในผู้ถูกไล่รื้อในครั้งนี้ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน 2553 ชาวชุมชนได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ ร.ฟ.ท.จัดหาพื้นที่ใหม่ให้ชาวบ้านจาก 10 ชุมชนในพื้นที่เขตบางซื่อ ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งตรงนี้ชาวบ้านยินยอมออกจากพื้นที่ ไม่ได้ขัดขืน แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านรอคอยสัญญาเช่าที่แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากปัญหาการจัดหาพื้นที่ นายสุเทพ กล่าวต่อมาว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านพูดตลอดเรื่องข้อเรียกร้อง 2 ข้อ คือ 1.เรื่องที่ดิน โดยชาวบ้านเสนอให้แบ่งปันพื้นที่ส่วนที่เหลือจากการก่อสร้างมาจัดสรรให้ชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านยินยอมที่จะเช่าอยู่ไม่ใช่การอยู่ฟรีเหมือนที่ผ่านมา 2.เรื่องค่าชดเชย ซึ่งเงินยังไม่มีการจ่าย แต่ใช้วิธีฟ้องบังคับให้ชาวบ้านต้องออกจากพื้นที่ หากไม่ยอมก็จะถูกจับ หรือถูกปรับ ทั้งที่ทางบริษัทฯ ได้รับงบประมาณรื้อย้ายถึง 300 ล้านบาท ซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะต้องเอางบในส่วนนี้มาบริหารจัดการเป็นค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านที่ต้องไร้ที่อยู่อาศัย นายสุเทพให้ข้อมูลด้วยว่า ขณะนี้ศาลปกครองกลางพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ้างกลุ่มยูนิค-ซุนวู จอยท์เวนเจอร์ ให้ก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เนื่องจากการประมูลไม่โปร่งใส โดยขณะนี้ ทาง ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างทำเรื่องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และยังคงให้บริษัทฯ ดำเนินการโครงการต่อ อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.prachatai3.info/journal/2011/04/33824 ม็อบชาวนา บุกพาณิชย์ ร้องแก้ราคาข้าวตกต่ำ ด้านพรทิวา ยันพร้อมเปิดจุดรับซื้อ 2 เม.ย.นี้ ทั่วประเทศ เตรียมชง ครม. จันทร์นี้ รับซื้อข้าวราคานำตลาด 200-300 บาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มชาวนาภาคกลางจาก 8 จังหวัดกว่า 1 พันคน นำโดยนายประภัตร โพธสุธน อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางมาชุมนุมประท้วงบริเวณลานเอนกประสงค์กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเรียกร้องให้ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เร่งช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ หลังจากราคาข้าวเปลือกเจ้า 25% ลดเหลือตันละ 5

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net