Skip to main content
sharethis

ความเป็นมา

จาก ความพยายามของทางจังหวัดโดยการบัญชาของผู้ว่าราชการฯ ที่จะนำกองกำลังเข้าไปรื้อถอนอาคารเพื่อดำเนินงานตามโครงการปรับปรุงตลาดชาว เขาดอยมูเซอ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 นั้น ชาวบ้านชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ดอยมูเซอกว่า 5 หมู่ บ้าน ซึ่งคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานดังกล่าว ได้รวมตัวกันขัดขวางมิให้มีการเข้ามารื้อถอนอาคาร จนเกือบจะมีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งให้เข้า ปฏิบัติภารกิจรื้อถอน

            กระทั่ง ทางผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงพื้นที่มาพบปะพูดคุยกับแกนนำชาวบ้าน ซึ่งทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเฉพาะความบกพร่องและไม่ถี่ถ้วนในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับ บัญชาของผู้ว่าฯ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ว่าฯ จึงได้กล่าวขอโทษแกนนำแทนเจ้าหน้าที่ พร้อมกับนัดแกนนำชาวบ้านไปหารือร่วมกันอีกครั้งที่ศาลากลางจังหวัดตากในวัน รุ่งขึ้น

ในวันที่ 23 มีนาคม 2554 ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ราว 500 คน จาก 6 หมู่บ้าน ได้รวมตัวกันเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดตาก และได้ส่งตัวแทนราว 10 คน เข้าร่วมประชุมหารือกับทางจังหวัด ทั้งนี้มีตัวแทนผู้ค้าขายในตลาดเก่าบางส่วนซึ่งเป็นชาวพื้นราบที่ขึ้นมาทำ การค้าขายและชาวม้งบางส่วนที่เห็นด้วยกับการดำเนินงานกับทางจังหวัดเข้าร่วม ประชุมด้วย

อย่าง ไรในการประชุมร่วมกันนั้น ก็ไม่ได้ข้อยุติที่จะให้มีการดำเนินงานปรับปรุงตลาดต่อ เนื่องจากยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกันหลายประการระหว่างผู้ที่สนับสนุนและผู้ คัดค้าน ที่ประชุมจึงเสนอให้มีการจัดประชุมในพื้นที่อีกครั้งเพื่อพิจารณารายละเอียด ต่างๆ โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมหารือ ทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนกลุ่มผู้ค้าในตลาด ทั้งนี้มีการเสนอรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมในคราวเดียวกันนี้ ส่วนกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านได้รับมติไปหารือกับชาวบ้านและจะแต่งตั้งตัวแทน ชาวบ้านเพื่อเข้าร่วมประชุม ในวันที่ 25 มีนาคม 2554 เวลา 10.00 . ณ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ (ใหม่)

การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเข้าร่วมประชุม

หลัง จากการประชุมร่วมกับทางจังหวัด ชาวบ้านได้เดินทางกลับและรวมตัวกันที่ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ แห่งใหม่ และแต่ละกลุ่มบ้านได้ส่งตัวแทนกลุ่มบ้านละ 2 คน เพื่อหารือเพื่อสรุปความคิดเห็นก่อนเข้าประชุมร่วมกับทางจังหวัดอีกครั้ง

ที่ประชุมได้เลือกให้นายจักรพงษ์ มงคลคีรี เป็นประธานดำเนินการประชุม ในฐานะประธานที่ประชุมได้กล่าวกับชาวบ้านว่า

            ...ผู้เข้าร่วมประชุมนี้มาจากตัวแทนชาวบ้านแต่ละกลุ่มบ้านคัดเลือกให้มาเป็นตัวแทน เป็นปากเป็นเสียงให้ชาวบ้าน ในเบื้องต้นนี้มีภารกิจร่วมกันในการขับเคลื่อนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงตลาด ชาวเขาดอยมูเซอ สะท้อนความคิดเห็นและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านในการปรับปรุงตลาดที่ ทางจังหวัดจะเข้ามาดำเนินการ แต่ในระยะยาวเราก็ ต้องรวมตัวกันไว้ เพราะเราพึ่งพาหน่วยงานที่ไหนไม่ได้ เราต้องรวมตัวช่วยเหลือพึ่งพากันเอง เราไม่เคยมีการรวมตัวแบบนี้มาก่อน ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก จึงขอให้รวมตัวกันไว้ จึงเสนอให้จัดตั้งตัวแทนที่ชาวบ้านคัดเลือกให้มาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็น คณะกรรมการที่จะดูแลและช่วยเหลือกันต่อไป...”

จาก นั้น นายไพรัช กีรติยุคคีรี ตัวแทนชาวบ้านจากหมู่บ้านห้วยปลาหลด เสนอให้แต่งตั้งผู้ที่มาเข้าร่วมประชุมเป็นคณะกรรมการพัฒนาดอยมูเซอ จากนั้นที่ประชุมได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการฯ จำนวนทั้งสิ้น 22 คน โดยเสนอให้ นายจักรพงษ์  มงคลคีรี เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งกรรมการชุดนี้จะเป็นตัวแทนชาวบ้านเข้าประชุมร่วมกับทางจังหวัดต่อไป

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวขอมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของทางจังหวัด

เกี่ยวกับเหตุผลการขอมีส่วนร่วมในการปรับปรุงตลาดชาวเขาดอยมูเซอ นั้น ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็น สรุปได้ว่า

            “...ปัจจุบันชาวเขาในพื้นที่ดอยมูเซอ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่ทำกินมีเท่าเดิม และ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช การบุกรุกป่าเพื่อทำไร่แบบในอดีตไม่สามารถทำได้ การออกไปทำงานนอกพื้นที่ก็ไม่มีความมั่นคง เนื่องจากเรียนไม่สูงและ ไม่สามารถแข่งขันกับคนเมืองได้ คนที่ออกไปทำงานข้างนอกส่วนใหญ่จึงต้องกลับมาอยู่บ้าน ชาวบ้านในปัจจุบันจำนวนมากที่ปลูกพืชผักแล้วนำมาขายที่ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ บ้างก็นำมาวางขายเอง บ้างก็นำมาฝากญาติและเพื่อนบ้านขาย บ้างก็นำมาขายส่งให้กับผู้ที่มีแผงขายในตลาด ฯลฯ ทำให้มีรายได้พอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ สร้างบ้านเรือน ผ่อนรถ ฯลฯ ตลาดชาวเขาดอยมูเซอ แห่งนี้ จึงเสมือนเป็นที่พึ่งเกือบจะสุดท้ายของชาวบ้านที่พอจะหาเลี้ยงชีพ เนื่องจากจะไปประกอบอาชีพอย่างอื่นก็ไม่รู้จะไปทำอะไร...”

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้จะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงตลาด

สำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงตลาด นั้น นายจักรพงษ์  กล่าว ว่า ทางจังหวัดมุ่งที่จะแก้ปัญหาตลาดโดยจะให้สิทธิชาวบ้านที่เป็นผู้ค้าขายเดิม เท่านั้นที่จะเข้าไปทำการค้าขายในอาคารแห่งใหม่ที่จะจัดสร้างขึ้น ซึ่งชาวบ้านผู้เข้าร่วมประชุม เสนอว่า

            “...ปัจจุบัน ชาวเขาในพื้นที่ดอยมูเซอ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นมาก ครอบครัวหนึ่งมีลูกหลานแยกครอบครัวออกไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็ประกอบอาชีพปลูกพืชผักแล้วนำมาขายที่ตลาด นอกจากนั้นยังมีชาวเขาที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาเป็นลูกจ้างของหน่วย งานราชการในพื้นที่ แต่ก็ถูกเลิกจ้างแล้วไม่มีอาชีพรองรับ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่อีกจำนวนไม่น้อยซึ่งเคยเป็นลูกจ้างหน่วยงานก็ถูก เลิกจ้าง ชาวเขาเหล่านี้ล้วนเป็นเครือญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น เป็นชาวบ้านในพื้นที่ดอยมูเซอ แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ค้าขายเดิมจะได้รับสิทธิ แต่มีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ยังเดือดร้อนอยู่ ตลาดจะเป็นที่พึ่งที่จะเป็นช่องทางทำมาหากินต่อไป จึงเห็นว่าต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ด้วย ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับผู้ค้าขายรายเดิมอย่างเดียว...”

ในประเด็นนี้ชาวบ้านมีความเห็นแย้งกับทางจังหวัดที่มุ่งจะใช้งบประมาณกว่า 7 ล้านบาทแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าเพียง 200 กว่ารายที่มีการสำรวจรายชื่อไว้ โดยไม่สนใจแก้ปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบอาคารที่ทางจังหวัดออกแบบและข้อเสนอการดำเนินงาน

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับแบบอาคารที่ทางโยธาธิการ จ.ตาก ออกแบบกำหนดไว้นั้น นายจักรพงษ์ ได้กล่าวให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาคารดังกล่าว ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม เสนอความคิดเห็น สรุปได้ดังนี้

            1.  ลักษณะ อาคารที่ออกแบบมานั้น แม้จะมีความสวยงาม แต่ก็ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านในพื้นที่ นอกจากนั้นการสร้างอาคารตามแบบดังกล่าวนั้นมีประสบการณ์จากหลายพื้นที่ว่า ไม่สามารถทำให้การจำหน่ายสินค้าดีขึ้น ในหลายแห่งสร้างไว้ต้องทิ้งร้างไป ทำให้สูญเสียงบประมาณของแผ่นดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาคารเหล่านั้นโดยมากไม่เป็นที่ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว ชาวบ้านที่มีประสบการณ์ค้าขายมากว่า 20 ปี กล่าวว่า นักท่องเที่ยวไม่ชอบเข้าไปเดินซื้อของในอาคาร แต่จะชอบเดินจับจ่ายซื้อของตามแผงภายนอกอาคารมากกว่า

            2.  จำนวนแผงจำหน่ายสินค้าที่กำหนดไว้ในตัวอาคารมีไม่ถึง 250 แผง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ค้า ซึ่งเดิมมีถึง 384 ราย และรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกกว่า 100 ราย

            3.  ขนาดแผงสินค้าที่ทางจังหวัดออกแบบมานั้น มีขนาดเล็กและแคบเพียง 1 x  1.20 เมตร พื้นที่ขนาดนี้ไม่เพียงพอต่อการวางจำหน่ายสินค้า

ที่ประชุมมีข้อเสนอในการดำเนินงานปรับปรุงตลาดชาวเขา ดังนี้

            1.  การปรับปรุงอาคารตลาดเก่า ให้รื้อหลังคาด้านหน้าที่ อบต.ด่าน แม่ละเมามาทำการต่อเติม แต่หลังคาที่ชาวบ้านได้ก่อสร้างมายังอยู่ในสภาพดีและใช้งานได้ให้คงไว้เพื่อ ประหยัดงบประมาณ โดยให้เทพื้นปูนซีเมนต์ทับทั้งบริเวณ เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด

            2.  สำหรับแผงจำหน่ายสินค้าในอาคารเดิม ไม่ต้องจัดทำ การดำเนินการเพียงแค่ตีเส้นกำหนดเขตพื้นที่ค้าขายของผู้ค้าแต่ละราย โดยกำหนดพื้นที่ 4 ตารางเมตร (2 x 2 เมตร)

            3.  ให้ หาพื้นที่จัดสร้างตลาดแห่งใหม่ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ค้าที่ไม่มีพื้นที่ ทั้งนี้ไม่ต้องทำเป็นตัวอาคาร ดำเนินการเพียงเทพื้นปูนซีเมนต์ทั้งบริเวณ แล้วตีเส้นสำหรับพื้นที่ของผู้ค้าแต่ละราย โดยมีพื้นที่จำนวน 4 ตารางเมตร  (2 x 2 เมตร) ต่อผู้ค้า  1 ราย ทั้งนี้แผงจำหน่ายสินค้าและร่มกางนั้นผู้ค้าแต่ละรายจะเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาด้วยตนเอง

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแกนนำชาวบ้าน

นาย จักรพงษ์ กล่าวกับที่ประชุมว่า ตามที่ทางจังหวัดได้กล่าวหาแกนนำชาวบ้านว่าได้ทำการยุยงชาวบ้านให้ต่อต้าน โครงการปรับปรุงตลาดฯ ของทางจังหวัด ไม่ให้ชาวบ้านร่วมมือกับทางราชการ บางคนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดแต่ต้องการจะเข้าไปมีพื้นที่ขายของใน พื้นที่ที่จะปรับปรุงใหม่ มีผลประโยชน์แอบแผง มีการเรียกร้องประโยชน์จากชาวบ้าน จึงได้สอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมว่ามีความคิดเห็นอย่างไร

นางสาวณัฐชา  เลิศสินพนากุล ชาวบ้านจากบ้านมูเซอบ้านใหม่ บอกว่า พวกเขาเรียนหนังสือไม่มาก บางคนก็ไม่ได้เรียนหนังสือ เวลาพูดกับเจ้านายพูดไม่รู้เรื่อง บางทีก็ไม่เข้าใจ ต้องมีแกนนำช่วย ถ้าไม่มีแกนนำมาช่วยใครจะเป็นคนช่วยพวกเรา

นางนะมู  เลิศสินพนากุล ชาวบ้านจากหมู่บ้านมูเซอบ้านใหม่ กล่าวว่า แกนนำเหล่านี้ไม่ใช่คนอื่น ทั้งหมดเป็นชาวบ้านในหมู่บ้าน เป็นเครือญาติพี่น้องกันทั้งนั้น ญาติพี่น้องจะช่วยเหลือกันมันผิดตรงไหน ไม่ช่วยกันต่างหากจึงจะเป็นสิ่งผิด

นาย จักรพงษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำที่ถูกกล่าวหา กล่าวกับที่ประชุมว่า ที่ทางจังหวัดกล่าวหาว่าการขับเคลื่อนของตนเองมีผลประโยชน์ ซึ่งก็มีประโยชน์จริง แต่ประโยชน์นั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของญาติพี่น้อง ของชาวบ้านในพื้นที่

นาย ไพรัช กีรติยุคคีรี ชาวบ้านจากหมู่บ้านห้วยปลาหลด กล่าวว่า ในฐานะที่แกนนำมาช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้ชาวบ้าน ต้องเสียสละและเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย พวกเราต้องช่วยกันให้ข้อมูลที่ถูกต้องและช่วยกันปกป้องแกนนำของเราด้วย

สรุป

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านจากหลายกลุ่ม/หมู่ บ้าน ในพื้นที่ดอยมูเซอ เกิดการรวมตัวกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งแม้จะมีเป้าหมายเฉพาะหน้าในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนิน การปรับปรุงตลาดชาวเขาดอยมูเซอ แต่ในระยะยาวจะเป็นการรวมตัวเพื่อช่วยเหลือและพึ่งพากันเองในพื้นที่ การรวมตัวนี้เป็นที่มาของการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาดอยมูเซอ ซึ่งกรรมการชุดนั้นจะเป็นตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมประชุมหารือกับทาง จังหวัดต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net