Skip to main content
sharethis

เว็บไซต์สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เผยแพร่เอกสารถาม-ตอบ เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรังสี แจงสํานักงานฯ ได้ตั้งสถานีตรวจวัดรังสีแกมมาในอากาศจํานวน 8 สถานีทั่วประเทศไทย โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม ปริมาณรังสีแกมมาในอากาศยังอยู่ในระดับปกติ แจกแจงการทาเบตาดีนไม่มีผลต่อการป้องกันอันตรายจากรังสี

คําถามที่พบบ่อยๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรังสี

1. ถ้าจะเดินทางไปญี่ปุ่นจะปลอดภัยหรือไม่ และจะเดินทางได้หรือไม่
ตอบ ขณะนี้ถ้าไม่มีความจําเป็นใดๆ ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่จะได้รับรังสีสูง

2. รังสีจะมาถึงประเทศไทยหรือไม่ ถ้ามาจะรู้ได้อย่างไร และจะป้องกันตัวได้อย่างไร
ตอบ สํานักงานฯ ได้มีการตั้งสถานีตรวจวัดรังสีแกมมาในอากาศจํานวน 8 สถานีทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีเกณฑ์กําหนดว่า ถ้าพบการแผ่รังสีแกมมาที่สถานีนั้นๆ มากกว่า 200 nSv/h หรือ 0.2 mSv/h จะมีการสืบสวนหาสาเหตุของระดับรังสีสูงกว่าปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีระดับรังสีสูงกว่า 1 ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมง จําเป็นต้องมีการปฏิบัติ การป้องกันตัวจากรังสีถ้าเกิดเกณฑ์ดังกล่าว ประการแรกจะต้องอยู่อาศัยในที่พัก ปิดประตู หน้าต่าง และรอคําแนะนําเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่

ข้อมูลปริมาณรังสีแกมมาในอากาศ ในแต่ละสถานี วันที่ 16 มีนาคม 2554 ซึ่งอยู่ ในระดับปกติ

กรุงเทพฯ 46 nSv/h = 0.046 μSv/h = 0.000046 mSv/h
เชียงใหม่ 59 nSv/h = 0.059 μSv/h = 0.000059 mSv/h
ขอนแก่น 59 nSv/h = 0.059 μSv/h = 0.000059 mSv/h
ตราด 88 nSv/h = 0.088 μSv/h = 0.000088 mSv/h
ระนอง 124 nSv/h = 0.124 μSv/h = 0.000124 mSv/h
อุบลราชธานี 70 nSv/h = 0.070 μSv/h = 0.000070 mSv/h
สงขลา 50 nSv/h = 0.050 μSv/h = 0.000050 mSv/h

3. การรับประทานไอโอดีนมีผลอย่างไร จําเป็นแค่ไหน ทําไมต้องเป็นไอโอดีน และถ้าจําเป็นต้องใช้จะหาซื้อได้ที่ไหน

ไอโอดีน
ใช้โปแตสเซียมไอโอไดน์ (KI) เพื่อใช้ป้องกันต่อมไทรอยด์ปกติมี 2 รูปแบบคือ ชนิดเม็ดและน้ำ ใช้ปริมาณแบบเม็ด 65mg และ 130mg แบบน้ำมีความเข้มข้น 65g/ml
แต่ทั้งนี้ การรับประทานไอโอดีนเสถียร ไม่ควรรับประทานเกินกําหนด และไม่รับประทานโดยไม่จําเป็น เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่อาจจะทําให้การทํางานของต่อมไทรอยด์ลดลง

กินเมื่อไหร่ – เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสี หรือนิวเคลียร์ ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่แนะนําให้กินเพื่อป้องกันการ uptake I-131 ของต่อมไทรอยด์

ปัจจุบันระดับรังสีจากการฟุ้งกระจายไอโอดีนรังสีจากอุบัติเหตุทาง นิวเคลียร์ ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นยังมาไม่ถึงประเทศไทย จึงไม่จําเป็นต้องรับประทานไอโอดีนเสถียรแต่อย่างใด

4. การทาเบตาดีนมีผลต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีหรือไม่
ตอบ การทาเบตาดีน ไม่มีผลต่อการป้องกันอันตรายจากรังสีเนื่องจากไอโอดีนในเบตาดีนไม่สามารถป้องกันไอโอดีนรังสีหรือ I-131 ได้เลย

5. ลูกเรือและกัปตันเครื่องบิน ที่จะบินผ่านน่านฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุ จะปลอดภัยหรือไม่ และต้องมีการป้องกันตัวอย่างไร
5.1. สําคัญที่สุด ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางการท้องถิ่นเป็นหลัก ปฏิบัติตามคําแนะนํา
5.1.1. สิ่งที่ต้องระวังเป็นหลักคือ การได้รับวัสุดกัมมังตรังสีเข้าสู่ร่างกาย (Internal Exposure) ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือใกล้เคียง
5.1.2. เตรียมอาหารสําเร็จรูปไปเองเช่น มาม่า พรานทะเล ฯลฯ แล้วไปเวฟเอาที่ญี่ปุ่นถ้าทําได้
5.1.3. อยู่ภายในที่พัก ปิดประตู หน้าต่าง ปิดเครื่องปรับอากาศ การระบายอากาศ ถ้าได้ข้อมลว่ามีฝุ่นควันรังสีแพร่กระจาย

5.2. สัมภาระขึ้นเครื่องคาร์โก้จะดูแลอย่างไร
การบินไทยบางสายงาน มีเครื่องมือวัดรังสี สามารถสุ่มตรวจวัดรังสีได้ โดยเทียบผลการวัดกับแบคกราวด์ แต่ต้องดูว่า เครื่องมือวัดมีความเหมาะสมหรือไม่ มีความไวเพียงพอต่อรังสีระดับต่ำหรือไม่ หัววัดควรมีขนาดใหญ่ 2.2 ถ้ามีการเปอะเปื้อนในระดับตํ่าปา นกลาง- ไม่น่าจะกระทบต่อห้องผู้โดยสาร เนื่องจากแยกส่วนกัน มีระยะห่าง และมีผนังโลหะกั้น เชื่อว่า การได้รับรังสีจากภายนอกร่างกาย (External Exposure) จะอยู่ในระดับตํ่ามาก ถึง ไม่มีผลกระทบใดๆ

5.3. ลําตัวเครื่องบิน จะมีการเปรอะเปื้อน เป็นอันตรายหรือไม่
ตอบ การเปรอะเปื้อนหากมี น่าจะอยู่ในปริมาณต่ำ ด้วยเหตุ พื้นผิวเครื่องบินเรียบ ไม่มีรูพรุน วัสดุกัมมนตรังสีจะฝังตัวเกาะติดจึงน้อย และความเร็วเนื่องจากการบิน จะทําให้ฝุ่นผงที่เกาะลำตัวปลิวหายไป หรือลดลงไปอย่างมาก หากมีความกังวล สามารถยืนยันผลโดยใช้เครื่องมือวัด รังสีสํารวจตรวจสอบ หรือ ใช้ทิชชู่ชุบน้ำ หรืออัลกอฮอร์ เช็ดพื้นผิวลําตัวเครื่องบิน เก็บใส่ถุงพลาสติค นํามาให้สํานักงานปรมาณูตรวจสอบ

6. ตั้งครรภ์อยู่ที่เมืองไทย จะมีผลกระทบหรือไม่
ตอบ ตั้งครรภ์ในเมืองไทยไม่มีผลกระทบ เนื่องจากความเป็นอันตรายทางรังสีตอสุขภาพของทารกนั้น มีข้อกําหนดไว้ให้ ทารกในครรภ์ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ไม่ควรได้ รับรังสีเกิน 2 mSv ซึ่งการได้รับรังสีขณะเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ในครังนี้ ยังไม่มีการแผ่รังสี หรือว่าฝุ่นกัมมันตรังสีมาถึงเมืองไทย
ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบอย่างแน่นอน

7. ฝนตกที่เมืองไทยจะมีผลหรือไม่
ตอบ ฝนตกที่เมืองไทยไม่มีผลโดยสิ้นเชิง แต่การที่มีฝนตกบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุจะเป็นผลดีในการลดการฟุ้งกระจายของ วัสดุกัมมนตรังสี ณ สถานที่ตั้งเนื่องจากน้ำฝนจะชะล้างวัสดุกัมมันตรังสีจากอากาศลงสู่น้ำและดิน และไม่มีการฟุ้งกระจายออกนอกบริเวณ

8. ระดับรังสีที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายมีกี่ระดับ และมีผลอย่างไร
ตอบ อันตรายเนื่องจากรังสี มี 2 ลักษณะ คือ 1) กรณีได้ รับรังสีสูง ในระยะเวลาสั้นๆ จะสังเกตผลได้
1.1 ปริมาณรังสี 0-250 mSv ไม่ปรากฎอาการ
1.2 ปริมาณรังสี 250-500 mSv เม็ดโลหิตลดลงชั่วคราว
1.3 ปริมาณรังสี 500-1000 mSv คลื่นไส้ อ่อนเพลีย จํานวนเม็ดเลือดเปลี่ยนแปลง
1.4 ปริมาณรังสี 2000 mSv คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บป่วย ผมร่วง
1.5 ปริมาณรังสี 4000 mSv มีโอกาสเสียชีวิต 50%
1.6 ปริมาณรังสี 6000 mSv มีโอกาสเสียชีวต 80-100%

2) กรณีได้รับรังสีปริมาณตํ่า ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ แบบนี้ไม่สามารถสังเกตผลได้ชัดเจน แต่ในระยะยาว (10-40 ปี ข้างหน้า) จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น

9. สามารถรับประทานอาหารที่มาจากญี่ปุ่นได้ หรือไม่
ตอบ ข้อแนะนํา
1) ถ้าอาหารไม่มีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี สามารถรับประทานได้ตามปกติ
2) ถ้าไม่ทราบว่ามีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจากประเทศญี่ปนในระยะนี้
3) ทางองค์การอาหารและยา และสํานักงานปรมาณเพื่อสันติ ได้ร่วมกันตรวจสอบสินค้าและอาหารนําเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศข้างเคียง และกําหนดเกณฑ์ของการปนเปื้อนที่ต้องจํากัดการรับประทานอาหารจากอาหารนํา เข้า ซึ่งจะแจ้งประชาชนให้ทราบข้อมูลต่อไป

สําหรับผู้นําเข้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ถ้าต้องการทราบว่าอาหารมีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีในสินค้าเกินมาตรฐาน ที่กําหนดหรือไม่ให้ติดต่อ “งานบริการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีสินค้าส่งออก” สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมออกใบรับรองรายงานผล

รายละเอียดตาม http://www.tint.or.th/service/export.html

เบอร์โทรติดต่อ 02 5790743 และ 037-392901-6 ต่อ 1857

10. ถ้าเป็นแพทย์และมีผู้ป่วยทางรังสีจะต้องรักษาอย่างไร
ตอบ ให้ปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านรังสี ที่ประจําอยู่โรงพยาบาลหลักๆ ทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หาดใหญ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และ
โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆที่มีหน่วยรังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net