Skip to main content
sharethis

วันนี้ (8 มี.ค.54) กลุ่มเพื่อนพม่า (FOB) ส่งเอกสารแปล จากเอกสารของสำนักงาน กองบัญชาการสูงสุดแห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กอตูเล ลงวันที่ 28 ก.พ.54 ระบุ ชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนได้เข้าชื่อในข้อร้องให้ เลขาธิการสหประชาชาติ นายบันคีมุน ใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อหยุดปัญหาเผด็จการทหารพม่าทำร้ายประชาชน และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทันที

ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้

สำนักงาน กองบัญชาการสูงสุด
แห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กอตูเล

พลเมืองชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนเรียกร้องต่อ บานคีมุน ให้ช่วยหยุดการสู้รบในพม่า

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ข้อเรียกร้องที่เข้าชื่อโดยพลเมืองชาวกะเหรี่ยงจำนวน 84,000 คนจะถูกยื่นให้แก่ เลขาธิการสหประชาชาติบานคีมุน และผู้นำระดับโลกรวมถึง นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด แคมเมอรอน และ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย จูเลีย กิลลาร์ด การยื่นข้อเรียกร้องนี้จะมีขึ้นใน 8 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น, นอร์เวย์, เยอรมัน, สวีเดน และแคนนาดา ข้อเรียกร้องนี้เห็นพ้องโดยองค์กรกะเหรี่ยงจาก 15 ประเทศทั่วโลก และนี่ถือเป็นครั้งแรกของการยื่นข้อเรียกร้องของชาวกะเหรี่ยงต่อผู้นำระดับ โลก

ชาวกะเหรี่ยง 84,000 คนได้เข้าชื่อข้อร้องนี้เรียกร้องให้ เลขาธิการสหประชาชาติบานคีมุนให้ใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อหยุดปัญหา เผด็จการทหารพม่าทำร้ายประชาชน และล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทันที

ข้อเรียกร้องนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ซึ่งองค์กรทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงในพม่า ที่มาจากความร่วมมือของผู้นำชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากชุมชนกะเหรี่ยง และองค์กรทั่วโลก

ผู้ที่ร่วมลงนามในข้อเรียกร้องนั้นประกอบด้วยพลเมืองอายุ 16 ถึง 103 ปีเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบต่อการกระทำของทหารพม่า พลเมืองเหล่านี้ประสบปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ เช่น การบังคับใช้แรงงาน, ปล้นสะดม, บังคับขู่เข็ญ, ทำลายที่อยู่อาศัย, หมู่บ้าน, พืชผล และไร่นา, บังคับให้ย้ายถิ่นฐาน, การฆ่านอกเขตบังคับใช้กฎหมาย มีทั้งผู้หญิง และเด็กที่ถูกทำร้าย, ทรมาน รวมทั้งการข่มขืนเด็ก และผู้หญิงอย่างเป็นระบบโดยทหารพม่ามาเป็นเวลาหลายสิบปี กว่า 3,600 หมู่บ้านในรัฐทางตะวันออกของพม่านั้นก็ถูกทำลายอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะ เวลา 15 ปีแล้ว เฉลี่ย 4 หมู่บ้านต่ออาทิตย์

ในปี พ.ศ.2554 ก่อนการเลือกตั้งในพม่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนั้นได้เก็บข้อมูลการล่วงละเมิดสิทธิในหลายพื้นที่ใน รัฐกะเหรี่ยง พบว่ามีพลเมืองที่ถูกฆ่าเป็นจำนวน 18 คน, ถูกทรมานเป็นจำนวน 38 คน, ทำร้ายร่างกายจำนวน 52 คน, ถูกจับโดยไม่มีข้อหา 2,336 คน และถูกใช้เป็นแรงงานทาส, บ้าน และโรงเรียนอีก 198 แห่งนั้นถูกทำลาย, ไร่นา และสวนอีกจำนวน 146 แห่งถูกทำลาย และพลเมืองอีกมากกว่า 3,000 คนจำต้องหลบหนีจากที่อยู่อาศัย และไปหลบอยู่ในป่า

การเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งประชาธิปไตย, การปรองดอง หรือสันติภาพ และความมั่นคงในประเทศพม่า และมันจะไม่แก้รากแห่งปัญหา ซึ่งนั่นก็คือความไม่เท่าเทียมของกลุ่มชาติพันธุ์ และสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญนั้นเขียนขึ้นมาเพื่อรักษาการมีอยู่ของทหารโดยที่ไม่ให้สิทธิและ ปกป้องกลุ่มชาติพันธุ์ และนี่ถือเป็นปัญหาใหญ่ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพม่า

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงต้องการแก้ไขปัญหานี้โดยทำการเรียกร้องหลายต่อ หลายครั้งต่อรัฐบาลทหารพม่าให้ตอบรับการเรียกร้องจากสมัชชาสหประชาชาติ, คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ และให้เข้าร่วมการเจรจาไตรภาคีเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลทหารพม่านั้นได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม อีกทั้งยังจงใจทำร้ายพลเมืองของเรา

“นี่ถือเป็นการเรียกร้องที่เป็นประวัติการณ์ต่อสหประชาชาติจากชาวบ้าน ธรรมดาผู้ซึ่งประสบปัญหาจากการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ทหารพม่าได้ทำผิดข้อหาอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติมานานแล้ว เราเรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติได้ใช้อำนาจเพื่อกดดันให้รัฐบาลทหาร พม่าหยุดการทำสงคราม และล่วงละเมิดสิทธิพลเมืองทั้งในเขตรัฐ และพื้นที่กะเหรี่ยง” นอ ซิปโประ ซิน เลขาธิการใหญ่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กล่าว

“เราขอเรียกร้องให้บานคีมุนร่วมมือกับรัฐบาลทั่วโลกให้มีการประกาศหยุด ยิงทั่วประเทศ ช่วยเป็นผู้นำการเจรจาที่จะนำไปสู่การหันหน้าเข้าหากัน และร่วมกันก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งพม่าที่มีความเท่าเทียมกันของชาติพันธุ์ และสิทธิมนุษยชน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนั้นทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติภาพ, ความมั่นคง, ประชาธิปไตย และสหพันธรัฐแห่งพม่า”

รายชื่อองค์ที่ร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้

  1. องค์กรออสเตรเลีย กะเหรี่ยง
  2. สมาคมอเมริกา กะเหรี่ยงแห่งยูทีก้า
  3. องค์กรเดนมาร์ก กะเหรี่ยง
  4. ชุมชนกะเหรี่ยงในเพนซิลเวเนียตะวันออก
  5. เครือข่ายกะเหรี่ยงยุโรป
  6. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งประเทศแคนนาดา
  7. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งอาริโซน่า
  8. สมาคมชุมชนกะเหรี่ยงแห่งไอร์แลนด์
  9. สมาคมชุมชนกะเหรี่ยงแห่งสหราชอาณาจักร
  10. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งนอร์เวย์
  11. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งสาธารณรัฐเชก
  12. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งแอตแลนติกกลาง
  13. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งมินนิโซต้า
  14. ชุมชนกะเหรี่ยงแห่งวิสคอนซิน
  15. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงแห่งญี่ปุ่น
  16. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงแห่งเยอรมัน
  17. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงในเนเธอร์แลนด์
  18. ชาวกะเหรี่ยง
  19. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในญี่ปุ่น
  20. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงในสหราชอาณาจักร
  21. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงในสวีเดน
  22. องค์กรเยาวชนกะเหรี่ยง - เกาหลี
  23. องค์กรเยาวชนกะเหรี่ยง - กอตูเล
  24. กลุ่มเครือข่ายนักเรียนกะเหรี่ยง
  25. คณะทำงานครูกะเหรี่ยง
  26. กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยกะเหรี่ยง
  27. องค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง
  28. องค์กรกะเหรี่ยงแห่งมาเลเซีย
  29. องค์กรชาวกะเหรี่ยงในต่างประเทศ - ญี่ปุ่น
  30. องค์กรผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง
  31. ชุมชนชาวกะเหรี่ยงยูทีก้า

ประเทศ

  1. ออสเตรเลีย
  2. สหราชอาณาจักร
  3. เยอรมัน
  4. นอร์เวย์
  5. ไอร์แลนด์
  6. สวีเดน
  7. เดนมาร์ก
  8. สาธารณรัฐเชก
  9. แคนนาดา
  10. สหรัฐอเมริกา
  11. ญี่ปุ่น
  12. เกาหลีใต้
  13. พม่า
  14. ไทย
  15. มาเลเซีย
  16. เนเธอร์แลนด์

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net