Skip to main content
sharethis

จับตา'ลิเบีย'ส่ออพยพแรงงานไทย

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือแรงงาน และคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศลิเบีย อิหร่าน เยเมน และบาห์เรน ซึ่งกำลังเกิดสถานการณ์ความรุน แรงทางการเมืองอยู่ในขณะนี้ว่า ขณะนี้สถานเอกอัครราชทูตไทยที่ประจำในประเทศเหล่านี้ กำลังติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดโดยมอบหมายเจ้าหน้าที่เข้าไป ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลในชุมชนต่าง ๆ ที่คนไทยอาศัยอยู่เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น พร้อมทั้งประกาศเตือนว่าไม่ควรเข้าไปในพื้นที่ ที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในประเทศลิเบียมีแรงงานไทย 23,000 คน บาห์เรน 5,000 คน อิหร่าน 350 คน และเยเมน 350 คน อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดสถานการณ์บานปลาย สถานเอกอัครราชทูตไทย และกรมการกงสุล ได้เตรียมแผนรองรับเกี่ยวกับการอพยพคนไทยไปสู่สถานที่ปลอดภัยแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการร้องขอกลับประเทศของแรงงานไทยแต่อย่างใด

(เดลินิวส์, 20-2-2554)

'ไตรรงค์' ชงนายกฯไฟเขียวนำเข้าแรงงานฝีมือต่างชาติ

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า  ได้ หารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางรับมือกับสถานการณ์แรงงานไทยขาดแคลน โดยเฉพาะแรงงานระดับช่างเทคนิค ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โดยอาจเปิดให้บริษัทที่มาลงทุนในไทย สามารถนำแรงงานระดับช่างฝีมือเข้ามาทำงานในไทยได้  โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีมาตรการดูแลแรงงานไทยอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิเสธการจ้างงานด้วย

อย่าง ไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น ซึ่งยังต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนก่อนประกาศเป็นนโยบาย โดยต้องยอมรับว่าเมื่อการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี 58 ต้องมีการเปิดให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานใน 10 สาขา อาชีพโดยเสรีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันไทยถือเป็นฐานการลงทุนที่สำคัญของต่างชาติ แต่ประสบปัญหาเรื่องแรงงานฝีมืออย่างมาก จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าแรงงานฝีมือจากต่างประเทศได้   ไม่เช่นนั้นไทยจะสูญเสียโอกาสครั้งสำคัญ

ก่อน หน้านี้ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้เคยมีการนำเสนอปัญหาการขาดแคลนแรงงานช่างฝีมือให้ที่ประชุมรับทราบ ว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งมีความต้องการแรงงานไทยมากถึง 300,000-700,000 คน โดย กรอ.มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานงานกับภาคเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการย้ายฐานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของญี่ปุ่นที่จะย้ายฐานการผลิตมาไทย โดยเฉพาะแรงงานระดับอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยในสาขาจักรกล โรงงานและไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าว ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากในที่ประชุมบีโอไอ  ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหานี้มาโดยตลอด  แต่ป็นห่วงว่าจะกระทบต่อแรงงานไทย จึงต้องการให้บีโอไอไปออกมาตรการเพื่อไม่ให้แรงงานไทย

(ฐานเศรษฐกิจ, 21-2-2554)

ปลัดแรงงานมอบนโยบาย'ทูตแรงงาน'เชื่อมสายสัมพันธ์ที่ดีต่อนายจ้าง-ลูกจ้างแก้ไขภาพลักษณ์เชิงลบ-เพิ่มศักยภาพ

นายสมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงานมอบนโยบายแก่อัครราชทูตแรงงานที่ปรึกษา (ด้านแรงงาน)  จากสำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ  13  แห่ง  โดยกล่าว ถึงความเชื่อมั่นที่มีต่ออัครราชทูตแรงงานที่ปรึกษาทุกแห่งเป็น บุคคลที่ได้รับคัดเลือกว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถขององค์กร เป็นตัวแทนไปปฏิบัติงานในต่างแดนในภารกิจหลักด้านการส่งเสริมตลาดแรงงานและ คุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศสำหรับ การทำงานของทูตแรงงานในปัจจุบันขอให้เน้นใน  4 ประเด็นหลัก เรื่องแรก คือการแสวงหาตลาดแรงงานหรือการจ้างงานแรงงานไทย ขอให้มุ่งขยายสู่ตำแหน่งงานในระดับฝีมือ / กึ่งฝีมือ

ปัจจุบันแรงงานไทยเป็นแรงงานที่ได้ รับการยอมรับจากต่างชาติสูง  จากคุณลักษณะที่ดีของวัฒนธรรมไทยไม่ว่าจะเป็นลักษณะความเป็นกันเอง  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประกอบกับอาหารไทย นวดแผนไทยกำลังเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติเป็นศักยภาพที่เหมาะในงานลักษณะ ด้านดูแลผู้สูงอายุ  งานพ่อครัว-แม่ครัวงานนวดไทย-นวดสปา  จึง ขอให้"ทูตแรงงาน"ทำหน้าที่เสมือนเป็น"เซลล์แมน" นำเสนอและส่งเสริมการตลาดแรงงานให้นายจ้างต่างชาติในแต่ละประเทศได้เห็นถึง คุณลักษณะเฉพาะด้านฝีมือของแรงงานไทย  เรื่องที่สองบทบาทและภารกิจหน้าที่ของทูตแรงงาน  คือการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทย  ดังนั้นการรับเรื่องร้องทุกข์จากแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศถือเป็น เรื่องสำคัญลำดับต้น  ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยทันที  เรื่องที่สาม  กระทรวงแรงงานเปรียบเสมือนคนกลางระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  ในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน

"ทูตแรงงาน" คือคนกลางที่ต้องเชื่อมประสานให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้าง คือแรงงานไทย  และนายจ้าง  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันโดยเฉพาะในต่างประเทศนั้น แรงงานไทยก็เปรียบเสมือนภาพลักษณ์ของภาคผู้ใช้แรงงานของประเทศ   แต่ปัจจุบันแรงงานไทยมีข้อเสียเปรียบบางด้านเช่น ภาษาและภาพลักษณ์เชิงลบเรื่องดื่มสุรา  เล่น การพนัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์ที่ต้องเร่งแก้ไขเพราะแม้แรงงานไทยจะเป็นที่ยอม รับด้านฝีมือแต่ภาพดังกล่าวส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบของการแข่งขันในตลาด แรงงาน "การสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี" มุมมองการทำงานกับแรงงานไทย  ต้องพยายามชี้แจงให้คำแนะนำในเรื่องวินัยการทำงาน  สร้างความความเข้าใจในระบบการทำงานภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับ วัฒนธรรมการทำงานของแต่ละท้องถิ่น  มุมมองการทำงานกับนายจ้างที่จ้างงานแรงงานไทยหรือมีต้องการจ้างงานแรงงาน ต่างชาติ  ต้องเดินเข้าไปหาเพื่อทำความเข้าใจและนำเสนอถึงความสามารถและศักยภาพแรงงาน ไทย  และเพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างแรงงานไทยและนายจ้างลดปัญหาช่อง ว่างทาง"ภาษา" ในการสื่อสาร  รวมถึงการต่อยอดขยายตลาดแรงงานที่ในระดับฝีมือ / กึ่งฝีมือโดยเฉพาะตำแหน่งงานกุ๊ก  งานนวดไทย-สปา  ซึ่งเป็นจุดขายของแรงงานไทย หรืองานระดับฝีมือช่างต่างๆ  คนไทยมีความรู้ความสามารถ มีการพัฒนายกระดับฝีมือสูงขึ้น  สิ่งที่สำคัญคือการเข้าไปให้ถึงตลาดแรงงาน และเรื่องสุดท้ายที่ขอฝากพึงรำลึกเสมอท่านคือตัวแทนของกระทรวงแรงงาน  การดำเนินงานทุกด้านแรงงาน  ไม่ ว่าจะเป็นการดูแลคุ้มครองสิทธิ"แรงงานไทย" การพัฒนาส่งเสริมและขยายตลาดให้ แรงงานไทยิในด้านงานฝีมือที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของชาติและทักษะฝีมือเฉพาะ ของอาชีพ เป็นที่ประจักษ์ในสายตาขององค์กรแรงงานนานาชาติและสังคมภายนอก

(พิมพ์ไทย, 21-2-2554)

ก.แรงงาน เตรียมแผนอพยพแรงงานในลิเบีย ยังไม่ยืนยันมีคนไทยเสียชีวิต

นาย สุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศลิเบีย ซึ่งล่าสุดเริ่มมีความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ว่าได้ประสานให้เตรียมเคลื่อนย้ายแรงงานไทยในประเทศลิเบียไปอยู่ในจุดที่ ปลอดภัย พร้อมให้พกหนังสือเดินทางและของมีค่าติดตัว เพื่ออพยพได้ในทันที โดยแผนในเบื้องต้นจะให้แรงงานไทยไปรวมตัวที่สนามบินและสถานทูตไทยประจำ ลิเบีย ก่อนจะอพยพคนไทยออกนอกประเทศใน 3 ทาง คือ 1.ทางบก ออกทางชายแดนติดกับประเทศตูนิเซีย 2.ทางน้ำ ได้ติดต่อเรือขนส่งผู้โดยสารไปยังประเทศมอลตา และประเทศในทวีปแอฟริกา และ 3.ทาง อากาศ ได้เช่าเหมาลำเครื่องบิน ซึ่งได้ประสานกับทางการประเทศอิตาลีและอียิปต์ไว้แล้ว หากมีเหตุการณ์คับขันก็พร้อมจะเดินทางไปรับแรงงานไทยยังที่เกิดเหตุทันที เชื่อว่าจะสามารถเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง

นาย สุธรรม กล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า ขณะนี้มีแรงงานไทยเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานการยืนยันที่ชัดเจนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้ประสานงานตรวจสอบสถานการณ์ตลอดเวลา รวมทั้งให้กรมการจัดหางานประสานไปยังกรมการกงสุลทุกประเทศที่กำลังมี สถานการณ์ความไม่สงบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเมืองที่เกิดเหตุ และพร้อมจะอพยพแรงงานไทย ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (22 ก.พ.) เวลา 10.00 น. กรมการจัดหางานจะนัดประชุมบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ ลิเบียทุกบริษัท มาซักซ้อมข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือ

ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานในลิเบีย ทั้งสิ้น 23,000 คน ในประเภทกิจการก่อสร้าง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่สัญญาการจ้างงานยังไม่สิ้นสุด เฉพาะที่เมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นจุดปะทะดุเดือด มีแรงงานไทยจำนวน 2,000 คน อาจต้องใช้การอพยพทางอากาศ ส่วนเมืองหลวงตริโปลี มีแรงงานไทยหลักหมื่นคน ซึ่งเป็นพื้นที่ติดทะเล หากมีการอพยพอาจต้องใช้เส้นทางทางเรือ ขณะที่เมืองคูฟา มีแรงงานไทยไม่มากนัก

(สำนักข่าวไทย, 21-2-2554)

เมียคนงานไทยในลิเบียห่วงสามีเหตุประท้วง

จาก เหตุประชาชนชาวลิเบียได้มีการ ชุมนุมประท้วงขับไล่ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี่ ประธานาธิบดีลิเบีย และได้มีราษฎรชายไทย ในพื้นที่ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศลิเบีย จำนวนมาก โดยผู้สื่อข่าวไปสอบถามและสัมภาษณ์หาข้อมูลกับภรรยาของคนงานไทยกับเหตุการณ์ ในลิเบีย เช่น นางอุบลรัตน์ เอมอยู่ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 52 หมู่ 4 ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ.ตาก ซึ่งสามีไปทำงานอยู่ที่ลิเบีย กล่าวทั้งน้ำตาด้วยความเป็นห่วงว่า สามีตนเองได้ไปทำงานได้ประมาณ 6 เดือน ขณะนี้ติดต่อทางโทรศัพท์ยากมาก รู้สึกเป็นห่วงอย่างมาก หากเหตุการณ์ไม่ดีทางสถานทูตคงเข้าไปช่วยเหลือในการส่งกลับ ล่าสุด ที่ได้ติดต่อสามีบอกว่าออกไปไหนไม่ได้อันตรายต้องอยู่แต่ในแคมป์การกินอยู่ ลำบากมาก

ทางด้าน นางจันทร์วัน ราชสอด อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 60/1 หมู่ 6 ต.ตากออก อ.บ้านตาก จ.ตากสามีชื่อนายเทียน ราชสอด อายุ45 ปี มีบุตรด้วยกัน 2 คน ไปพร้อมกับสามีของอุบลรัตน์ ขณะนี้ติดต่อไม่ได้เป็นห่วงมาก ถ้าอันตรายมากอยากให้กลับ เช่นเดียวกับ นางยุพิน ชัยชนะ อายุ 45 ปี ซึ่งสามีชื่อ นายมงคล ชัยชนะ อายุ 38 ปี ไปทำงานเป็นหัวหน้าคนงานอยู่ที่ประเทศลิเบียเช่นกัน แต่อยู่คนละแห่งกับ 2 รายแรก ได้โทรศัพท์ติดต่อกับสามี โดยสามีบอกว่า ขณะนี้พื้นที่ที่อยู่อันตรายอย่างมาก เพราะผู้ประท้วงได้ราดน้ำมันเตรียม
เผาเมือง โดยคืนนี้จะมีเครื่องบิน จำนวน 3 ลำ จะมารับที่สนามบินใกล้ที่ทำงาน แต่ทุกคนต้องวิ่งไปที่สนามบินไกล ประมาณ 3 กิโลเมตร จะรอดไม่รอด ก็ตอนวิ่งนี่แหละ โดยเครื่องบินจะพาไปต่อเครื่องที่ตูนีเชีย เพื่อกลับประเทศไทย

(ไอเอ็นเอ็น, 22-2-2554)

คนงานพีซีบีบุกเครือสหพัฒน์หวังพบนายจ้าง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลาประมาณ 08.30 คนงานพิซีบี ที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยกว่า 500 คน โดยอ้างเหตุโรงงานไฟไหม้ ซึ่งในครั้งนั้นมีคนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย ครั้งนี้มีคนงานกว่า 200 คน รวมกันเดินทางไปยังตึกสหพัฒนพิบูลย์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ของทางตึกเมื่อได้ทราบข้อมูลปัญหาคนงานและ แจ้งว่า ทางนี้จะรับแต่เรื่องของอาหารอุปโภคบริโภค เมื่อได้ยินเช่นนั้นทางแกนนำที่นำขบวนไป จึงตัดสินใจร่วมกันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม อีกกลุ่มแยกออกไปที่ บ.สหพัฒน์อินเตอร์โฮลดิ้ง ซ.สาธุประดิษฐิ์ 58 หลังจากอีกกลุ่มไดแยกตัวออกไปแล้ว
 
เจ้าหน้าที่ของสหพัฒนพิบูลย์ได้เชิญคนงานที่เหลือเข้าไปใน โรงอาหาร พร้อมทั้งเลี้ยงน้ำดื่ม และได้เชิญคุณจี้ด(ไม่บอกชื่อจริง) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของสหพัฒน์ฯมาพูดคุยด้วยเมื่อทางตัวแทนได้แจ้ง ข้อมูลให้ทราบแล้ว คุณจี้ดกล่าวว่า "เรื่องของทางบริษัท พีซีบี นั้นทางนี้ไม่ทราบข้อมูลเลย ทางนี้จะรัีบแต่ในเรื่องของอาหารอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่แต่จะรับเรื่องไว้ และจะพูดคุยกับคุณสันติ วิลาศศักดานนท์ ให้ช่วยตามเรื่องให้ ไม่คิดว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ เพราะนโยบายของทางสหพัฒน์ฯคือ การอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ไม่ทอดทิ้งกัน ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ลอยแพพนักงาน 500 กว่าคนนี้จะกิดขึ้น และขอโทษที่ให้การต้อนรับที่ไม่ดีในตอนแรกเพราะตกใจที่มากันเยาะกลัวว่าจะมี ปัญหา"
 
ทางตัวแทนอีกกลุ่มที่เดินทางไปถึงยังตึกสหพัฒน์อินเตอร์โฮลดิ้ง ซ.สาธุประดิษฐ์58  เวลาประมาณ 14.00น.ได้ ยื่นหนังสือให้กับคุณสุจิตรา โพธิ์สุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายสำนักงานของทางบริษัทฯ กล่าวว่า"ไม่ทราบเรื่องของทาง พีซีบี มาก่อนและนำยื่นหนังสือส่งให้กับฝ่ายบริหารอีกที โดยอ้างว่าทางบริษัทฯไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นราย หนึ่งเท่านั้น"
เมื่อได้รับข้อมูลจากอดีตลูกจ้างของพีซีบีว่า เป็นแมสเซนเจอร์ส่งเอกสารและได้มารับส่งเอกสารที่อยู่ในตึกนี้มาตลอดเป็น เวลานานแล้วในตึกนี้จะแบ่งเป็นโซนของแต่ละ
บริษัทฯที่อยู่ในกลุ่มของเครือสหพัฒน์จะมีเจ้าหน้าที่ ceo
 
ในเวลาประมาณ 15.30 น.ที่กระทรวง แรงงานได้มีการหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างนายธวัช อรรถวรรัตน์ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กับ นางรุ่งนภา ศรีเกิด /นายประกอบ พรหมสงค์ และผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี มีข้อสรุปดังนี้
 
1.บริษัทฯยอมรับว่าติดค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างจำนวน 496 คน เป็นเงิน 61,948,323.94บาท
 
2.บริษัทฯแจ้งว่าได้จ่ายค่าจ้างตามมาตรา 75 ระหว่างวันที่ 1-21 ม.ค. ให้แก่ลูกจ้างรายวันแล้วตั้งแต่ 7กพ. โดยผ่านบัญชีของแต่ละคน
 
3.บริษัทฯตกลงรับว่าจะเจรจากับธ.กรุงเทพฯให้ยินยอมเบิกเงินจำนวน 6.5 ล้านบาท มาเฉลี่ยจ่ายให้ลูกจ้างก่อนภายใน 28 กพ.นี้
 
4.กรณีแต่งตั้งตัวแทนกรรมการร่วมสำรวจทรัพย์สินของบริษัทฯ ที่ไม่ติด จำนองมาจำหน่าย ตัวแทนบริษัทฯว่าต้องหารือที่บริษัทฯก่อนจะแจ้งความคืบหน้าภายในวัน ที่28กพ.นี้
 
5.กรณีเงินภาษีที่จะได้รับคืนจากสรรพากรบริษัทฯจะนำเงินมาคืนให้ลูกจ้างทันทีที่ได้รับเงินคืน

(นักสื่อสารแรงงาน, 21-2-2554)

เผยสื่อให้พื้นที่แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย เรียกร้องความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น

21 ก.พ. 54 - มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน-คพรส. เปิดผลการศึกษา แอบมองสื่อมอง การทำงานของสื่อต่อแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย คนไร้รัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ พบทิศทางที่ดี สื่อให้พื้นที่เรียกร้องความเป็นธรรม-ชี้แจงสิทธิร้อยละ 22.33

น.ส.พร สุข เกิดสว่าง มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน กล่าวว่า มูลนิธิฯ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน จัดทำโครงการ แอบมองสื่อติดตามการทำงานของสื่อมวลชนต่อแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ทั้งกลุ่มชาติพันธ์ ผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐ ในช่วง 10 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-14 พฤศจิกายน 2553 พบว่าสื่อให้พื้นที่แก่กลุ่มเป้าหมายสม่ำเสมอ โดยเป็นการนำเสนอเนื้อหาประเภทอาชญากรรมและอุบัติเหตุมากที่สุดร้อยละ 40.04 ของ เนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเชื่อมโยงกับความรุนแรง และมักนำเสนอกลุ่มเป้าหมายในฐานะผู้กระทำผิดหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมาก ที่สุด ซึ่งผู้รับสื่ออาจมีทัศนคติเชิงลบต่อแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล

รองลงมาคือเนื้อหาเกี่ยวกับการคุ้ม ครองสิทธิ กฎหมาย และนโยบาย ร้อยละ 22.33 ของ เนื้อหาทั้งหมดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งค่อนข้างห่างกัน แต่ก็ถือเป็นทิศทางที่ดีที่สื่อให้พื้นที่เรียกร้องความเป็นธรรมหรือชี้แจง สิทธิเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนเนื้อหาที่ได้รับการเสนอน้อยที่สุดคือ เนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง ร้อยละ 2.52 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายไม่มีสิทธิในการเมือง ส่วนความถูกต้องของบริบทข้อมูล พบว่าผิดพลาดร้อยละ 12.98 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการที่สื่อยังไม่ตระหนักถึงความอ่อนไหวของประเด็น ร้อยละ 89.57 เช่น การเรียกชื่อผิด

ทั้ง นี้ ขอให้สื่อเปิดพื้นที่ให้มากขึ้นและเสนอเชิงลึก โดยทั้งหน่วยงานเอกชนและสื่ออาจหาหนทางการประสานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สื่อได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายทั้งในเชิงนโยบาย สภาพปัญหา สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งประสานความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นอ่อนไหว นอกจากนี้ หน่วยงานเอกชนจะต้องศึกษาเงื่อนไขและข้อจำกัดการทำงานของสื่อด้วย หากทำได้ สื่อก็อาจจะมีพื้นที่ในการนำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

(สำนักข่าวไทย, 21-2-2554)

ญาติแรงงานบุรีรัมย์ใน ลิเบียกว่า 20 ราย ร้องขอความช่วยเหลือหวั่นไม่ปลอดภัย

22 ก.พ. เมื่อเวลา 13.00 น.ครอบครัวและญาติแรงงานชาว อ.เฉลิมพระเกียรติ และ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ ที่เดินทางไปทำงานยังประเทศลิเบีย กว่า 20 ครอบ ครัว เกิดความวิตกกังวลจากเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงที่ประเทศลิเบีย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ได้เข้าร้องขอความช่วยเหลือ และยื่นหนังสือผ่าน นายอิทธิ คงวีระวัฒน์ จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้ประสานทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และรัฐบาล เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย ทั้งที่พัก และอาหาร หากเกิดสถานการณ์ประท้วงรุนแรง ก็ให้ช่วยเหลือในการนำแรงงานเดินทางกลับประเทศด้วยความปลอดภัย
      
โดยขณะนี้ ครอบครัว และญาติพี่น้อง ของแรงงานชาวบุรีรัมย์บางรายไม่สามารถติดต่อสามี หรือญาติ ที่ไปทำงานที่ประเทศลิเบียได้ จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากเหตุประท้วงรัฐบาลในประเทศลิเบียที่ กำลังรุนแรงบานปลาย
      
ขณะที่ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้ญาติของแรงงานที่มาร้องขอความช่วยเหลือ ได้กรอกข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งความต้องการที่จะให้ช่วยเหลือไว้ เพื่อจะประสานทางกรมการจัดหางาน ให้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
      
ส่วนญาติแรงงานที่ยังไม่ได้มาแจ้งขอรับความช่วยเหลือ ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปที่บ้านเพื่อสอบถามข้อมูลของแรงงาน ความประสงค์ที่ต้องการให้ช่วยเหลือ พร้อมทั้งชี้แจงสถานการณ์เหตุการณ์ประท้วงที่ประเทศลิเบียให้ญาติของแรงงาน ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย
      
นางจุรี ชุบไธสง อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 8 บ้านหนองเรือ ต.กู่สวนแตง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ กล่าวทั้งน้ำตา ว่า สามีเดินทางไปทำงานประเทศลิเบีย เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2553 โดยผ่านทาง บริษัท จัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด ตำแหน่งคนงานทั่วไป อยู่ที่ EL ALEMEIN STREET NO.26,EL FUW P.O.BOX 17170 BENGHAZI ลิเบีย ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ประท้วงเกิดขึ้น จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถติดต่อสามีที่เดินทางไปทำงานยังประเทศลิเบียได้ จึงกังวลและเป็นห่วงสามีมาก เกรงจะเป็นอันตราย
      
จึงอยากเรียกร้องให้ทางกระทรวงแรงงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ได้ดำเนินการช่วยเหลือสามีทั้งเรื่องความปลอดภัย ที่พัก และอาหาร อย่างเร่งด่วนด้วย เพราะขณะนี้ยังไม่ทราบชะตากรรม อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์สงบลง ก็อยากให้สามีทำงานต่อ เพราะยังมีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนายทุน เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานกว่า 130,000 บาท หากยังทำงานต่อก็อยากให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ด้วย
      
ด้าน นางอนงค์ ผาสุขสม อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 8 บ้านหนองเรือ ต.กู่สวนแตง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ เล่าทั้งน้ำตา ว่า สามีเพิ่งเดินทางไปทำงานประเทศลิเบีย เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2554 ที่ผ่านมา ตำแหน่งช่างประกอบท่อ อยู่ที่ P.O.BOX 80062 GARARISH ST.TRII LIBYA ลิเบีย ก็ยังไม่สามารถติดต่อสามีได้เลย ไม่รู้ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง แต่ทราบจากเพื่อนที่ไปด้วยกันบอกว่าสามียังปลอดภัยดี จึงอยากเรียกร้องให้ทางรัฐได้ช่วยเหลือ และติดต่อแรงงานไทยที่ลิเบียว่าทุกคนยังปลอดภัยดีอยู่หรือไม่ เพราะว่าญาติทางประเทศไทยมีความเป็นห่วง เนื่องจากสถานการณ์ประท้วงในประเทศลิเบียเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
      
ขณะที่ นายอิทธิ คงวีระวัฒน์ จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า จากข้อมูลมีแรงงานชาวบุรีรัมย์ไปทำงานที่ประเทศลิเบีย จำนวน 480 คน ใน 9 อำเภอ ได้แก่ อ.พุทไธสง, คูเมือง, บ้านใหม่ไชยพจน์, เฉลิมพระเกียรติ, นาโพธิ์, กระสัง, ลำปลายมาศ, แคนดง และ อ.สตึก ซึ่งขณะนี้มีญาติของแรงงานได้เข้ามาร้องขอความช่วยเหลือแล้วจำนวน 22 ครอบครัว แต่ยังไม่มีแรงงานที่แจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับ
      
อย่างไรก็ตาม ทางจัดหางานจังหวัดก็ได้มีการประสานกับทางกรมการจัดหางาน ให้ดำเนินการช่วยเหลือแรงงานทั้งด้านที่พัก อาหาร และด้านความปลอดภัยแล้ว พร้อมทั้งจะได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย ก็จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังที่ปลอดภัย หรือเดินทางกลับประเทศในทันที
      
ขณะเดียวกัน ทางจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสอบถามข้อมูลจากญาติแรงงาน ที่ไปทำงานประเทศลิเบีย ถึงความต้องการของญาติและแรงงานว่าประสงค์จะให้ทางราชการช่วยเหลือแรงงานที่ ลิเบียด้านใดบ้าง เพื่อจะนำข้อมูลความต้องการรายงานไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้นั้น ยังได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ญาติของแรงงานที่ไปทำงานลิเบียเกิดความวิตกกังวล และยืนยันว่า ทางภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือแรงงานลิเบียทุกคน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-2-2554)

จ่ออพยพทางเรือ -2.5 หมืนไทยในลิเบีย

สถานการณ์ ล่าสุดในประเทศลิเบียยังคง ทวีความรุนแรงอย่างหนักและบานปลายสู่กรุงตริโปลี เมืองหลวง มีรายงานผู้เสียชีวิตว่าอาจมียอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึง 800 ราย ขณะที่โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย แถลงยืนยันว่าตนยังอยู่ในกรุงตริโปลี ปฏิเสธการสังหารหมู่ผู้ชุมนุม หลังจากนานาประเทศออกแถลงการณ์ประณาม และบางประเทศเริ่มเรียกทูตกลับเป็นการประท้วงนั้น ในส่วนของไทย กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงแรงงาน เปิดประชุมด่วนเพื่อหารือถึงการช่วยเหลือคนไทยในลิเบียแล้ว

นาย เจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ แถลงผลการประชุมหารือการให้ความช่วยเหลือคนไทยในประเทศลิเบีย ว่า ในกรุงตริโปลี มีคนไทยอยู่ราว 10,000 คน ขณะที่ล่าสุดทราบว่า เมืองเบงกาซี ทางภาคตะวันออกของลิเบีย มีคนไทยอยู่ราว 2,000 คน ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในเมืองดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม จะยังไม่อพยพคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานกว่า 25,000 คน ออกจากลิเบีย ในชั้นนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์แบบวันต่อวัน

สำหรับ แผนการอพยพ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ติดต่อประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในอิตาลีกับกรีซ เพื่อให้ส่งเรือจากเกาะซิซิลีและมอลตาไปรับ ส่วนการอพยพทางอากาศนั้นทำไม่ได้ เนื่องจากลิเบียประกาศปิดน่านฟ้าแล้ว

นาย เจษฎา กล่าวต่อว่า จากการเชิญเอกอัคร ราชทูตประจำอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม โมร็อกโก และตุรกีมาประชุม เห็นพ้องกันว่า การอพยพแรงงานที่ขณะนี้ปลอดภัยอยู่ในที่พัก ออกมาภายนอกจะมีอันตรายมากกว่า จึงแนะนำให้อยู่แต่ภายในแคมป์งาน และกักตุนอาหาร น้ำดื่ม ไว้ในกรณีฉุกเฉิน สำหรับแรงงานทั้งหมดกับนักเรียนไทย 27 คน ในกรุงตริโปลี ยังปลอดภัยดี และยังไม่มีใครแจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ

นอก จากนี้ นายเจษฎา ยังระบุอีกว่า ทางศูนย์ติดตามสถานการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศนั้นกำลังจับตาดูสถานการณ์ ในประเทศบาห์เรน มีคนไทย 3,300 คน นักศึกษา 8 คน อิหร่าน มีคนไทย 550 คน เยเมน มีคนไทย 50 คน นักศึกษา 10 คน คูเวต มีคนไทย 3,000 คน นักศึกษา 45 คน แอลจีเรีย มีคนไทย 1,000 คน โมร็อกโก มีคนไทย 100 คน นักศึกษา 60 คน จอร์แดน มีคนไทย 150 คน นักศึกษา 60 คน และอียิปต์ ส่วนลิเบียนั้นกำลังจับตามองเป็นพิเศษ หากญาติของคนไทยในลิเบียต้องการขอความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ติดต่อมาที่กองคุ้มครองแรงงานลิเบียได้ที่ 0-2575-1046-9

ส่วน ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหา ได้เชิญบริษัทจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศ มาร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบเรียบ ร้อยในประเทศลิเบียและประเทศตะวันออก กลาง 30 บริษัท

จากนั้น นายจีรศักดิ์กล่าวถึงผลการประชุมว่า ขณะนี้แรงงานไทยในลิเบียมีอยู่ประมาณ 23,600 คน ซึ่งจากการประชุมติดตามสถานการณ์ คนงานส่วนใหญ่ยังปลอดภัย ไม่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ได้รับรายงานว่ามีแรงงานเวียดนามเสียชีวิต 1 ราย

อธิบดี กรมการ จัดหางาน กล่าวว่า บางพื้นที่ในลิเบียยังปฏิบัติงานได้ เนื่องจากนายจ้างไม่ได้สั่งหยุดงาน แต่ในเมืองเบงกาซี และเมืองตริโปลี ที่อยู่ในเขตการชุมนุมประท้วงนั้น นายจ้างสั่งหยุดงานทั้งหมดและสั่งให้คนงานหลบอยู่ในแคมป์ที่พัก เนื่องจากหากเดินทางหรือออกมานอกที่พักอาจโดนปล้นสะดมระหว่างทางได้ สำหรับการอพยพนั้น กรมการจัดหางานได้เตรียมแผนเคลื่อนย้ายคนงาน หากเกิดความรุนแรงขึ้น โดยวิธีที่ประหยัดและสามารถขนย้ายแรงงานได้มากที่สุด คือเส้นทางเรือไปประเทศมอลตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี เพราะบรรทุกคนได้ครั้งละ 1,200 คน ขณะนี้มีบริษัทจัดส่งแรงงานบางแห่ง จัดเตรียมเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับแรงงานไทยที่ลิเบียตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ก.พ. แล้ว แต่เนื่องจากติดกลุ่มผู้ชุมนุม จึงเอาเครื่องลงจอดรับแรงงานไทยที่มาอยู่รอที่สนามบินจำนวน 50 คนไม่ได้ ล่าสุด ผู้ดูแลแคมป์ที่พักได้นำรถมารับแรงงานไทยกลุ่มนี้กลับแคมป์แล้ว

(ข่าวสด, 23-2-2554)

คนงานตะวันออกบุกพรรคประชาธิปัตย์ ร้องถูกจ้างไม่เป็นธรรม

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มประชาชนอ้างว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทต่างชาติ ซึ่งรับผลิตยางรถยนต์ ในจังหวัดระยอง อาทิ บริษัทแม็กซีส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง บริษัทพีซีบี เซ็นต์เตอร์ จำกัด และบริษัทฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย จำกัด ประมาณ 200 คน ได้มารวมตัวชุมนุมเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากพรรคประชาธิปัตย์ ฐานะแกนนำรัฐบาล เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากบริษัทดังกล่าวเลิกจ้างไม่เป็นธรรม รวมแล้วกว่า 3,000 คน โดยไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมจะปักหลักที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ จนกว่าจะได้พบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งหากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้พบก็จะพาผู้ใช้แรงงานที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งขณะนี้ปักหลักที่หน้ากระทรวงแรงงานนับพันคนมาสมทบ ทำให้ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลความสงบเรียบ ร้อย จำนวน 1 กองร้อย จากกองบังคับการตำรวจภูธรบุรีรัมย์ และตำรวจนครบาล สน.บางซื่อ

(มติชน, 23-2-2554)

สหภาพ อสมท.ร้องสอบ 'สุรพล-ธนวัฒน์' บริหารไม่โปร่งใส

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  นำ โดยนางอรวรรณ ชูดี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท. ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ตรวจสอบการบริหารงานภายใต้การกำกับของนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บมจ.อสมท. และนายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.ที่อาจมีพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ ไม่โปร่งใส ขาดหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพในการทำงาน จนส่งผลกระทบต่ออนาคตขององค์กร

ทั้งนี้ การยื่นหนังสือให้ตรวจสอบการทำงานของนายสุรพลกับนายธนวัฒน์ครั้งนี้ เป็นผลมาจากการนัดหารือพนักงาน บมจ.อสมท.เมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ ผ่านมา จนได้ขอยุติร่วมกันว่าจำเป็นต้องยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีในฐานะกำกับการ บริหารราชการแผ่นดินพิจารณาตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน บมจ.อสมท.ดังนี้ 1. มีการปฏิบัติหน้าที่ไม่โปร่งใส ไม่รักษาผลประโยชน์ของ บมจ.อสมท.จากกรณีการกำกับดูแลคู่สัญญาสัมปทานช่อง 3 ที่ต่อสัญญาไปอีก 10 ปี โดยได้รับค่าตอบแทนคงที่ตลอดอายุสัญญาจำนวน 2,002 ล้านบาท ขณะที่ประธานกรรมการ  บมจ.อสมท.เจรจาขอให้ช่อง 3 ชดเชยค่าเสียหายจำนวน 405 ล้าน บาท แต่ยังมีข้อโต้แย้งจากบุคคลภายนอก กรรมการบมจ.อสมท.ส่วนหนึ่ง จนเกรงว่าท้ายที่สุดจะทำให้ บมจ.อสมท. จะเสียผลประโยชน์ รวมถึงกรณีการให้บริษัททรูวิชั่นส์มีโฆษณาตามมติคณะกรรมการ บมจ.อสมท.ซึ่งมีการระบุให้จ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเป็นเงินร้อยละ 6.5 ของรายได้ ก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่จนถึงขณะนี้ บมจ.อสมท.ยังไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ

อีก ทั้งกรณีการจัดหาวัสดุด้วยวิธีระบบพิเศษ เทเลพรีเซนซ์ ระยะเวลา 24 เดือนในวงเงิน 24 ล้าน บาท โดยอ้างถึงการไปดูงานของกรรมการ บมจ.อสมท.ที่มีบริษัท ซีสโก้ ซีสเตมส์ สหรัฐอเมริกา ทำให้มีการตั้งเรื่องจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวด้วยวิธีพิเศษ อ้างว่ารองรับการสื่อสารประชุมทางไกลกับบุคคลสำคัญที่ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา ทั้งที่ บมจ.อสมท. มีรถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมและห้องส่งที่พร้อมรองรับภารกิจต่างๆ อยู่แล้ว

2. การ บริการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส สร้างความแตกแยกภายในองค์กร มีการล้วงลูกการบริหาร การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยเฉพาะความพยายามผลักดันให้มีการบรรจุผู้บริหารสัญญาจ้าง โดยจะให้ลูกจ้างสัญญาจ้างใน บมจ.อสมท.เฉพาะ 3 ตำแหน่ง คือ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (ซีเอฟโอ) และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานตรวจสอบภายใน ซึ่งไม่มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งใดทำเช่นนี้ เป็นการปิดกั้นโอกาสในการสรรหาบุคลากรมืออาชีพในตำแหน่งหลักได้อย่างเปิด กว้าง และสอดคล้องกับความจำเป็นทางธุรกิจ และยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจพนักงานในการเติบโตตามสายงาน

นอก จากนี้ยังมีการจ้างบริษัทปรับ ปรุงโครงสร้างองค์กรซึ่งมีความพยามปิดกั้น การมีส่วนร่วมจากสหภาพฯ ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน อีกทั้งระหว่างนี้ได้มีการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานหลายระดับโดยไม่ ผ่านสำนักทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งมีการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดกรรมการผู้อำนวยการใหญ่มาดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เนื่องจากคณะกรรมการ บมจ.อสมท.ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ ประเมินผลงานของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

3. ขาด ประสิทธิภาพเชิงบริหาร กระทบต่ออนาคตขององค์กร มีความล่าช้าในการเตรียมแผนรองรับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ไม่มีความชัดเจนเรื่องแผนงานของธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการจัดซื้ออุปกรณ์จำนวนหลายร้อยล้านบาท แผนการเช่าสัญญาดาวเทียมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งที่คาดว่าจะมีกำไรเพียงปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวกับตัวแทนสหภาพที่เข้ายื่นหนังสือตอนหนึ่งว่า ขอให้สหภาพฯรวบรวมประเด็นปัญหาเข้ามา เรื่องไหนที่คิดว่าไม่โปร่งใสเสนอมา และตนจะส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ เพื่อทำหนังสือถึงผู้บริหาร อสมท.และประธานบอร์ด อสมท.เพื่อให้ชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ ทั้งเรื่องของค่าโฆษณาของทรูวิชั่น ไปเจรจาความเสียหายให้ประธานบอร์ดชี้แจง ที่ไปเรียกค่าเสียหายจากช่อง 3 คือ อะไร พร้อมกับยืนยันว่า เรื่องของการจัดหาวัสดุพิเศษระบบเทเล พรีเซนซ์ ไม่เกี่ยวสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นเรื่องที่สำนักนายกฯ มีโครงการนี้อยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ที่การศึกษาความคุ้มค่าระหว่างการเช่าหรือซื้อมา ไม่เกี่ยวกันเป็นเรื่องที่ ผอ.อสมท.ต้องชี้แจงกับทางสหภาพฯ.

(ไทยรัฐ, 23-2-2554)

เดินหน้าประกันสังคมแรงงานนอกระบบ ตั้งเป้าปีแรก 2.4 ล้านคน

สโมสรทหารบก 23 ก.พ. - นายกรัฐมนตรีแจงเครือข่ายแรงงานนอกระบบเดินหน้าระบบประกันสังคมมาตรา 40 เปิดให้แรงงานนอกระบบเป็นผู้ประกันตน 2 ทางเลือก จ่ายเดือนละ 100 กับ 150 บาท รัฐอุดหนุน 30 กับ 50 บาท ตามลำดับ เปิดรับสมัครวันแรงงานปีนี้ รมว.แรงงาน ตั้งเป้า 2.4 ล้านคนสมัครในปีแรก

สำนัก งานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน จัดการประชุมสัมมนา "ปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ ประกันสังคมไทยเข้มแข็ง : การสร้างระบบคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมให้กับแรงงานนอกระบบ" โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ขับรถแท็กซี่-สามล้อ กรุงเทพฯ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ชมรมผู้ค้าหาบเร่แผงลอย รถจักรยานยนต์รับจ้าง รวมถึงประชาชนสาขาอาชีพต่าง ๆ รวมกว่า 2,000 คน เพื่อรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองประกันสังคมให้ แรงงานนอกระบบ จำนวน 24 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นของขวัญปีใหม่ข้อแรกใน 9 ข้อ ภายใต้แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทยครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส ทั่วประเทศ ที่จะทำให้แรงงานนอกระบบได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยมีสิทธิประโยชน์ 2 ทางเลือก ได้แก่ การจ่ายเงินสมทบ 100 บาท และ 150 บาท ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป

สำหรับทางเลือกที่ 1 การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 100 บาท ประกอบด้วยประชาชนจ่าย 70 บาท รัฐบาลอุดหนุน 30 บาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต ส่วนทางเลือกที่ 2 การจ่ายเงินสมทบ 150 บาท แบ่งเป็นประชาชนจ่าย 100 บาท รัฐบาลอุดหนุน 50 บาท จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมกรณีบำเหน็จชราภาพ ซึ่งผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบกรณีบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน

ทั้งนี้ การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ดังกล่าว สามารถจ่ายเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ โดยสามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ตั้งแต่วันแรงงาน วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก หรือสอบถามรายละเอียดที่โทร. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ใน การสัมมนา ตัวแทนศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ยื่นข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้เครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่ต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว ขอให้การจ่ายเงินประกันสังคมกับการสมทบเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ บูรณาการเป็นจุดเดียวกันเพื่อความสะดวก และขอให้ส่งเสริมเรื่องอาชีวอนามัยของแรงงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับจะประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามข้อเรียกร้องดัง กล่าว

ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ในการดำเนินการแก้กฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางโครงการดังกล่าว สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือความไม่รู้และไม่เข้าใจของแรงงานในเรื่องสิทธิ ประโยชน์ที่จะได้และไม่มีการเสียสิทธิของหลักประกันอื่น ๆ แต่อย่างใด ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2554 จะมีแรงงานนอกระบบสมัครเข้าร่วม 2.4 ล้านคน ส่วนการบริหารกองทุนจะแยกจากกองทุนประกันสังคมเดิม ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้ว 2 ปี จะประเมินถึงการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์อีกครั้ง

(สำนักข่าวไทย, 23-2-2554)

กมธ.แรงงานเรียกร้องรัฐบาลช่วยแรงงานไทยในลิเบีย

23 ก.พ. 54 - นาย สุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบียกว่า 23,600 คน ให้กลับประเทศโดยเร็วที่สุด หลังเกิดเหตุการณ์จราจลจากการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งขณะนี้มีบางส่วนที่ได้เดินทางกลับ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดหาเครื่องบินเช่าเหมาลำ จากกองทัพอากาศและการบินไทย นำแรงงานกลับประเทศ หลังจากกระทรวงแรงงาน จะให้การช่วยเหลืออพยพทางเรือ ซึ่งมีความล่าช้า ทำให้ไม่ได้รับความปลอดภัย ขณะเดียวกัน ขอให้ช่วยเยียวยาความเดือดร้อนของคนไทย ที่ไปทำงานในลิเบีย เนื่องจากบางคนยังไม่ได้รับค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งที่ต้องกู้หนี้ยืมสิน ส่วนกรณีเหตุแผนดินไหวที่เมืองไครซ์เชิร์ต ประเทศนิวซีแลนด์ ขอให้รัฐบาลส่งคนไปดูแลอย่างใกล้ชิด

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 23-2-2554)

ก.แรงงานเผยอพยพออกจากลิเบียได้แล้ว โดยบริษัทจัดส่งแรงงานไทยเป็นผู้ช่วยเหลือ

24 ก.พ. 54 - นาย สุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดมีแรงงานไทยสามารถอพยพหนีภัยจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองใน ประเทศลิเบียได้แล้ว 2,000 คน โดยบริษัทจัดส่งแรงงานเป็นผู้ช่วยเหลือผ่าน 3 เส้นทาง ได้แก่ ผ่านชายแดนประเทศตูนีเซียจำนวน 2 ชุด ชุดละ 600 คน ผ่านชายแดนอียิปต์ กว่า 500 คน และเส้นทางเรือ จากท่าเรือเบงกาซี่ ไปเมืองอิสตันบลู ประเทศตุรกี กว่า 500 คน โดยใน เวลา 01.00 น. ของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นี้ ตนเองและเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน จะเดินทางไปยังประเทศมอลตา เพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งช่วยเหลือแรงงานไทยที่ยังคงติดค้างในประเทศลิเบียออกมายังที่ ปลอดภัย ทั้งนี้ แรงงานไทยที่สามารถเดินทางออกจากลิเบียได้แล้ว จะยังอยู่ในประเทศที่เดินทางไปและยังไม่กลับประเทศไทย เพื่อรอการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง หากสถานการณ์คลี่คลายเร็ว นายจ้างจะพากลับเข้าทำงานอีกครั้ง แต่หากยืดเยื้อก็จะเดินทางกลับประเทศไทย

โฆษกกระทรวง แรงงาน กล่าวอีกว่า ตนเอง และ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กำลังหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ ในการช่วยเหลือแรงงานไทย โดยช่วงบ่ายจะนำข้อมูลที่ได้มาประชุมร่วมกับบริษัทจัดส่งแรงงานไทย เพื่อประสานกับนายจ้างชาวต่างชาติ

สำหรับแรงงานไทย หรือครอบครัว ที่ต้องการติดต่อขอรับการช่วยเหลือสามารถโทรไปที่ 085-4810243 ,085-4810244 ,085-4810245 ตลอด 24 ชั่วโมง และโทรสายด่วน 1694 ในช่วง 09.00 -16.30 น. ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ของคณะกระทรวงแรงงานที่จะเดินทางไปช่วยเหลือคือหมายเลข 081-6469999

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 24-2-2554)

คาดแรงงานไทยอพยพจากลิเบียถึงไทย 27 ก.พ.

24 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 14.00 น. นายจักรกฤษณ์ สุวรรณสาร ประธานที่ปรึกษา บริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด เปิดเผยว่า แรงงานในส่วนของบริษัทกว่า 2,000 คน อยู่ระหว่างเดินทางออกจากลิเบียทางประเทศตุรกี อียิปต์และตูนีเซีย และคาดว่าแรงงานชุดแรกจะเดินทางโดยเครื่องบินมาถึงกรุงเทพฯชุดแรกไม่เกินวัน อาทิตย์นี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปตัวเลขว่าจะกลับชุดแรกเท่าใด

ทั้งนี้ แรงงานที่บริษัทจัดหางาน เงินและทองพัฒนา จำกัดจัดส่งไปลิเบียมีทั้งหมด 6,000 คน อยู่ระหว่างกลับมาพักร้อน 600 คน ประสงค์ขออยู่ต่อในลิเบีย 2,600 คน ที่เหลืออยู่ระหว่างเดินทางกลับ

"ใน ส่วนแรงงานที่ประสงค์อยู่ต่อ เราจัดให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและดูแลอย่างเต็มที่ ยืนยันว่าไม่มีแรงงานไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว แรงงานที่มาถึงอียิปต์เมื่อมาถึงเมืองอเล็กซานเดรียจะให้พักฟื้น 1 วัน แล้วค่อยขึ้นเครื่องกลับ ส่วนที่ไปตุรกียังไม่ได้รับรายงาน และที่ตูนีเซีย พรุ่งนี้ผมไปถึงที่นั่นแล้วจะให้ขึ้นเครื่อง"นายจักรกฤษณ์กล่าว

(ไทยโพสต์, 24-2-2554)

คนงาน PCB บุก ธ.กรุงเทพ (สีลม) หวังดูเงินนายจ้างมาบรรเทาทุกข์

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 54 - เวลา 13.50 น.ขบวนของคนงานพีซีบีได้เคลื่อนโดยการใช้รถยนต์ 8 คัน ไปธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม  การเคลื่อนครั้งนี้เพื่อไปตรวจสอบว่าเงิน 6.5 ล้าน บาทนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ตามที่นายจ้างสั่งจ่ายให้คนงานเพื่อบรรเทาทุกข์ขณะที่รอการเจรจาค่าชดเชยตาม กฎหมาย โดยได้รับการอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตลอดระยะเส้นทาง เมื่อเวลาประมาณ 15.25 น.ขบวนได้เคลื่อนถึง ธ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ (สีลม) พนักงานของธนาคารได้ต้อนรับและพาตัวแทนเข้าไปรอผู้บริหารของธนาคารในห้องพัก ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและได้รับการประสานงานจาก คุณชัยสิทธิ ประธานสหภาพแรงงานธนาคาร และกล่าวว่าโครงสร้างเศรษฐกิจเอารัดเอาเปรียบดังคำที่ว่า จนกระจุก รวยกระจายคนระดับล่างลุกขึ้นสู้ จึงทำให้คนสนใจ
 
หลังจากนั่นตัวแทนทั้งหมดได้ขึ้นเจรจากับผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯพบว่ามีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงานสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั่งรออยู่ที่นั้นแล้ว 3 คน ทราบว่ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเงิน 6.5 ล้านบาทเช่นเดียวกันกับคนงานพีซีบี
 
คุณภัทรณัฐ ตัวแทนคนงานพีซีบี สอบถามกับผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯว่าเงินจำนวน 6.5 ล้านบาทมีอยู่จริงหรือไม่ บริษัทฯอ้างว่าธนาคารมีเงื่อนไขว่าถ้ารับเงินจำนวน 6.5 ล้านบาทแล้วต้องไม่เอาผิดกับบริษัทฯและ สามารถนำเงินจำนวนนี้มาให้คนงานได้บรรเทาความเดือดร้อนได้หรือไม่รวมถึง การที่ธนาคารได้เข้ามาถือหุ้นอยู่นั้นจะรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร
 
คุณนิพล ตัวแทนคนงานอีกคนหนึ่ง สอบถามอีกว่า สินทรัพย์ที่บริษัทฯได้จำนองไว้กับธนาคารนั้นมีอะไรบ้างและในส่วนที่เหลือ จากการจำนองและเงินตรงนี้จะอนุมัติได้เมื่อไหร่ ส่วนไหนบ้าง
 
ผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯ ได้ตอบคำถามกับคุณภัทรณัฐว่า เงินจำนวน 6.5 ล้าน บาทนี้มีอยู่จริง ส่วนจะนำออกมาให้ได้หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับคุณธวัชเพาะเป็นเจ้าของเงิน ที่ขณะนี้คุณธวัชเบิกเงินไปใช้ไม่ได้เพาะธนาคารได้บล็อกเงินไว้เพาะธนาคาร เป็นเจ้าหนี้อยู่ในส่วนที่ธนาคารเข้ามาถือหุ้นไว้นั้น ผู้ถือหุ้นไม่ร่วมรับผิดชอบ เพาะถูกบังคับต้องเข้าไปลงทุนเพื่อฟื้นฟู่และปรับโครงสร้าง โดยเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นเพื่อเปลี่ยนจากหนี้เป็นทุน แบงก์ทำธุรกิจ ส่วนหนึ่งก็ต้องเอาคืน ถ้าไม่เอาคืนจะตอบคำถามผู้ถือหุ้นได้อย่างไร และได้ตอบคุณนิพลว่า ทรัพย์แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่จำนองและไม่จำนอง ที่ดิน อาคารและเครื่องจักรเป็นทรัพย์สินที่ติดจำนองส่วนที่เหลือนั้นคนงานต้องรู้ ว่าเหลืออะไรบ้างที่ยังไม่ติดจำนอง ส่วนเงินจะอนุมัติได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับคุณธวัชเจ้าของบริษัทฯ
 
ระหว่างนั้น นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกับตัวแทนคนงานของบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ได้ตามขึ้นไปสบทบในการเจรจาด้วย
 
เจ้าหน้าที่จากสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานได้เจรจากับผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯว่า เป็นไปได้ไหมที่ธนาคารจะบล็อกเงินไว้เหมือนเดิม แต่ให้คุณธวัชมาเซ็นโอนเงินให้เจ้าหน้าที่เพื่อที่จะจ่ายค่าชดเชยในส่วนนี้ ให้กับลูกจ้างและได้โฟนอินคุยกับคุณธวัชว่า ขณะนี้อยู่ที่ ธ.กรุงเทพฯ มีผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯ ยินยอมที่จะผ่อนผันให้เอาเงินออกมาจ่ายค่าชดเชยบางส่วนให้กับคนงาน และอยากทราบว่าจะมาทำเรื่องกับทางธนาคารได้เมื่อไหร่ จะให้ทางธนาคารทำเอกสารเพื่อให้คุณธวัชมาเซ็นในวันพรุ่งนี้ เวลา 11.00 น.มา พบที่ ธ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ (สีลม) และโอนเงินให้เจ้าหน้าที่ เพื่อเข้าบัญชีสำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ในนามของลูกจ้างบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด
 
เวลา 17.35 น. ตัวแทนคนงาน พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้บริหารของ ธ.กรุงเทพฯ และผู้แทนสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ร่วมเจรจาหารือเกี่ยวกับเงินของบริษัทฯจำนวน 6.5 ล้านบาท โดยมีข้อสรุปร่วมกันดังนี้
 
1.  ธนาคารกรุงเทพฯตกลงให้ ผู้แทนบริษัทฯมาทำเรื่องยินยอมให้เบิกเงินของบริษัทฯ จำนวน 6.5 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายค่าชดเชยบางส่วนให้แก่ลูกจ้าง
 
2.  ให้ผู้แทน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรีมาเปิดบัญชีกับธนาคาร กรุงเทพฯ เพื่อรับเงินโอนจากบริษัทฯ จำนวน 6.5 ล้านบาท เพื่อจัดสรรจ่ายให้กับลูกจ้างต่อไป
 
3.   ผู้แทนบริษัทฯแจ้งว่าจะมาติดต่อเพื่อทำเรื่องกับธนาคารในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลาประมาณ 09.30 น.
 
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาคนงานพีซีบี คือการที่นายจ้างประกาศปิดกิจการเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายกำหนด บริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือสหพัฒน์ฯศรีราชา จ.ชลบุรี มีพนักงาน 500 กว่าคน ทำกิจการผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ 23 มิ.ย. 2553 บริษัทพีซีบีเกิดเหตุเพลิงไม้อย่างรุนแรงภายในโรงงาน ทำให้มีพนักงานเสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 20 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้บาดเจ็บสาหัสจากการถูกไฟไหม้ 7 ราย ซึ่งขณะนี้ทั้ง 7 ราย ยังต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ จ.ระยอง หลังเกิดเหตุ ทางโรงงานจำเป็นต้องแจ้งปิดกิจการชั่วคราว ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 โดยจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน 75% ตาม กฎหมาย และสื่อสารให้คนงานวางใจว่าจะมีการปรับปรุงโรงงานเพื่อให้กลับเข้ามาทำงาน ได้อีก แต่ท้ายสุดตัวแทนบริษัทฯแจ้งคนงานว่า บริษัทจะปิดกิจการ(ถาวร) ในวันที่ 27 ม.ค. 2554 โดยจะมีเงินจ่ายค่าชดเชยรวม 6.5 ล้านบาท และห้ามพนักงานฟ้องร้องใดๆบริษัทอีก หมายความว่า คนงานซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในบริษัทแห่งนี้มานานกว่า 10 ปี จะไม่ได้ค่าชดเชยตามอายุงานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ล้านบาท 7 เดือนที่ผ่านมา คนงานได้รับความเดือดร้อนมาก การจะหางานใหม่ก็ลำบาก เพราะส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมาก คนงานบางคนมีอายุมากกว่า 50 ปี
 
ส่วนการนัดชี้ขาดของคนงาน MAXXIS นั้นต้องเป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย การไตรส่วนข้อเท็จจริงต้องรอข้อมูลประกอบการชี้ขาดในวันพรุ่งนี้ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ส่วนเรื่องอื่นไม่มีความคืบหน้า
 
ด้านคนงานของฟูจิตสึ กระทรวงแรงงานได้ใช้อำนาจในการสั่งให้นายจ้างต้องเจรจากับลูกจ้างและต้องจบในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554

(นักสื่อสารแรงงาน, 24-2-2554)
 

เตรียมส่งทีมแพทย์ ดูแลแรงงานไทยในลิเบียขึ้นเรือล็อตแรก

24 ก.พ.- เมื่อเวลา 15.30 น. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ล่าสุดได้ประสานกับกองทัพ จะส่งทีมแพทย์ทหารเรือ 2 คน และพยาบาล 3 คน เดินทางไปกรุงโรมในวันที่ 25 กุมภาพันธ์  เพื่อดูแลเรื่องสุขภาพของแรงงานไทย 2 พันคน ล็อตแรก ที่กำลังจะอพยพทางเรือออกจากกรุงทริโปลี  คาดว่าเรือลำดังกล่าวจะออกจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี ในสุดสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ หลังจากรับแรงงานอพยพล็อตแรกที่จะเดินทางออกจากลิเบีย เนื่องจากท่าเรือในจาร์บาห์  ประเทศตูนีเซีย เป็นท่าเรือขนาดเล็ก อาจไม่สามารถรองรับเรือลำใหญ่ได้  จึง อาจจะเปลี่ยนไปขึ้นที่ท่าเรือกรุงตูนิส ของตูนีเซีย ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่กว่า ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาจจะใช้เวลาเดินทางมากขึ้น โดยจากท่าเรือทริโปลี ไปยังท่าเรือในกรุงตูนิส ราว 7-8 ชั่วโมง

นอกจากนี้ นายชวนนท์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพบตัวนักเรียนพยาบาล 2 คน จาก 6 คน ที่สูญหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้วนั้น ว่า ได้ตรวจสอบกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเวลลิงตันแล้ว ยืนยันจนถึงขณะนี้ยังไม่พบใครเพิ่มเติม.

(สำนักข่าวไทย, 24-2-2554)

วอนญาติแรงงานไทยในลิเบียอย่าตื่นข่าวลือ

บ่ายวันนี้ (24 ก.พ.) ญาติของแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่สงบในประเทศลิเบียกว่า 200 คน เข้ายื่นความจำนงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ช่วยเหลือแรงงานในประเทศดังกล่าว โดยนางเพ็ญจันทร์ บุญฮก ผู้ช่วยจัดหางานจังหวัด ชี้แจงว่า รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่อยู่แล้ว โดยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า แรงงานไทยในประเทศลิเบียกว่า 20,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในจุดปลอดภัยและไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ขอให้ญาติติดตามข่าวจากทางกระทรวงฯ อย่าเชื่อข่าวลือ ซึ่งรัฐบาลได้ประสานให้แรงงานไทยในลิเบียนำหนังสือเดินทางและของมีค่าติดตัว ไว้ตลอดเวลา ส่วนแนวทางการอพยพที่เตรียมไว้มี 3 ทาง คือ ทางบกออกทางชายแดนที่ติดกับประเทศตูนิเซีย ส่วนทางน้ำได้ติดต่อเรือเช่าเหมาลำเครื่องบิน ซึ่งได้ประสานกับทางการประเทศอิตาลีและอียิปต์ไว้แล้ว หากมีเหตุการณ์คับขันจะสามารถเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง สำหรับ จ.นครราชสีมา มีแรงงานไปทำงานในลิเบียกว่า 2,300 ราย เป็นงานก่อสร้าง และมีญาติมาแจ้งขอความช่วยเหลือแล้วกว่า 500 ราย

วัน เดียวกัน ที่หอประชุมเปรม ติณสูลานนท์ หลังศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการให้นายแสงเงิน ขาวลิขิต จัดหางานจังหวัด ประสานให้ความช่วยเหลือแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศลิเบีย

ด้าน น.ส.ทิพวรรณ จันทร์ชนะ แรงงานจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากการประสานข้อมูลกับกระทรวงแรงงาน ทราบว่ามีแรงงานชาวกาฬสินธุ์ไปทำงานอยู่ที่ประเทศลิเบียกว่า 400 คน ส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือ ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อม และล่าสุดเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานได้เดินทางไปประเทศลิเบีย เพื่อประสานการอพยพแรงงานกับสถานทูตไทยและบริษัทจัดหางาน โดยเตรียมไว้หลายช่องทาง เพื่อให้แรงงานไทยทุกคนปลอดภัย ซึ่งวันนี้ (24 ก.พ.) ยังคงมีญาติของแรงงานจากหลายอำเภอทยอยมาแจ้งขอความช่วยเหลือกับแรงงาน จังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้กรอกข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงความต้องการที่จะให้ช่วยเหลือ เพื่อส่งเรื่องไปยังกรมการจัดหางานให้หาทางช่วยเหลือ

เช่นเดียวกับ จ.หนองบัวลำภู มีญาติของแรงงงานเข้าร้องขอความช่วยเหลือกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดกว่า 40 ครอบครัว ซึ่ง จ.หนองบัวลำภู มีแรงงานไปทำงานในประเทศลิเบียประมาณ 60 คน โดยญาติของแรงงานวิตกกังวลอย่างมากกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในลิเบีย ซึ่งสำนักงานจัดหางานจังหวัดได้ให้ญาติทำหนังสือร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อเป็นข้อมูลในการประสานกรมการจัดหางาน และกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว.

(สำนักข่าวไทย, 24-2-2554)

ทีม ก.แรงงานบินไปดูแลการอพยพคนไทยในลิเบีย

25 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 00.05 น. ที่ผ่านมา นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน นำทีมช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศลิเบีย  ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว ด้วยเที่ยวบิน TG 944 ไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี และต่อไปยัง ตูนิเซีย และเดินทางต่อไปยังชายแดนของประเทศลิเบีย เพื่อนำแรงงานไทยในลิเบีย จำนวน 4,000 คน เดินทางกลับประเทศไทย

นาย ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเดินทางไปลิเบีย ของเจ้าหน้าที่ จากกระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นการไปเตรียมตัวล่วงหน้า หลังกระทรวงฯ ได้ทำการเช่าเรือเหมาลำจากอิตตาลี ซึ่งบรรจุคนได้ 2,000 คน ไปรับแรงงานไทยจำนวน 2,000 คน จากลิเบีย ไปยังตูนิเซีย โดยคาดว่า เรือจะถึงลิเบีย ประมาณสุดสัปดาห์นี้ หลังจากนั้น จะทำการเช่าเครื่องบินเหมาลำไปรับที่ตูนิเซีย กลับประเทศไทย

ขณะที่เรือเช่าเหมาลำดังกล่าวจะกลับ ไปลิเบีย อีกครั้ง เพื่อรับแรงงานไทยอีกชุดหนึ่งจำนวน 2,000 คน ไปส่งที่อิตาลี เพื่อขึ้นเครื่องบินจากกรุงโรม กลับประเทศไทย โดยแรงงานไทยทั้ง 4,000 คน นี้ จะมาถึงประเทศไทยเมื่อไรนั้นยังไม่สามารระบุได้ โดยภายในเรือจะมีทีมแพทย์จากกองทัพเรือจำนวน 6 นาย คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งคณะแพทย์จะออกเดินทางไปในคืนพรุ่งนี้ ขณะที่ต้นสัปดาห์ จะมีเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังลิเบีย อีกคณะ ดูพื้นที่ ที่จะพาแรงงานที่เหลือไปอยู่ในภาคใต้ของลิเบีย ซึ่งสามารถรองรับได้จำนวน 4,000 คน ส่วนที่เหลือยังอยู่กับนายจ้างในลิเบีย ต่อไป เพราะยังมีหลายพื้นที่ไม่มีเหตุรุนแรง ขณะอีกส่วนหนึ่ง นายจ้างจะพาอพยพกลับมาเอง เพราะเป็นพันธสัญญา อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงงานไทยบางส่วนที่นายจ้างพากลับมาเอง โดยบริษัทเงินและทองพัฒนา จะนำแรงงานไทยกลับมาในวันเสาร์นี้

นอกจากนี้ นายธานี ยังได้กล่าวถึง ความคืบหน้าการติดตาม 6 คนไทย ที่ยังสูญหายขณะเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์ ว่า ขณะนี้ยังไม่พบ 6 คนไทยแต่อย่างใด

 (ไทยโพสต์, 25-2-2554)

แรงงานนอกระบบชวนรวมกลุ่มต่อ รัฐสมทบประกันสังคมเท่าเทียมไม่ใช่  1 ปีทิ้ง

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16.00-20.00 น. ณ ลานอเนกประสงค์ การเคหะทุ่งสองห้อง มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เคหะทุ่งสองห้อง ได้มีการจัดเวทีรณรงค์ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยสัญจร สอนประวัติศาสตร์ สร้างสำนึกประชาธิปไตย โดยมีผู้เข้าร่วม 100 กว่าคน
 
นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกล่าวว่า การจัดเวทีร่วมกับแรงงานนอกระบบนี้เป็นเวทีที่ 3 แล้ว เป็นการให้การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย และมุมมองประชาธิปไตยของแรงงานนอกระบบ ซึ่งแรงงานนอกระบบถือเป็นแรงงานจำนวนมากของประเทศ ที่อยู่ในชุมชนต่างๆ ซึ่งพบประเด็นข้อเสนอทั้งส่วนของแรงงานนอกระบบการเคหะร่มเกล้า แรงงานนอกระบบภาคเหนือ และวันนี้แรงงานนอกระบบการเคหะทุ่งสองห้อง มีความเหมือนกันคือ ต้องการที่จะมีสวัสดิการ และเห็นด้วยกับการขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ด้วยเห็นว่า การแก้ไขประเด็นปัญหาแรงงานต้องอาศัยนักการเมือง ซึ่งแรงงานนอกระบบก็มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งเข้าไปรับใช้แรงงานนอกระบบ แต่ปัญหาคือเลือกแล้วนักการเมืองไปไหน ไม่เคยกลับมาหาแรงงานนอกระบบที่เลือกตั้งเข้าไป
ชีวิตของแรงงานทุกคน ประชาชนทุกคนเกี่ยวข้องกับการเมือง อย่าให้การเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตเราเพียงแค่การใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น เราควรมีส่วนร่วมกับการเมืองทั้งการใช้สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการบริหารบ้านเมือง สิทธิในการเสนอกฎหมายกับนักการเมืองที่เป็นตัวแทนเราด้วย
 
คุณชลาลัย  ศรีทอง นักวิชาการแรงงานชำนาญการสำนักงานประกันสังคม พื้นที่ 2 กล่าวถึงประเด็นสิทธิประกันสังคมนั้นมี 3 ระบบ ประกอบด้วย 1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งเป็นแรงงานในระบบทำงานในสถานประกอบการมีนายจ้าง มีสิทธิประโยชน์ 7 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร คลอดบุตร ว่างงาน และชราภาพ 2.  ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นแรงงานที่ออกจากระบบประกันตนมาตรา 33 ก่อนจึงมีสิทธิเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งได้รับสิทธิน้อยกว่ามาตรา 33 เพียงหนึ่งกรณีคือกรณี ว่างงานเท่านั้น
 
ในส่วนของแรงงานนอกระบบนั้นรัฐบาลได้ประกาศการให้ความคุ้มครอง ประกัน สังคมมาตรา 40 โดยผู้ที่ต้องการเข้าสู่ระบบสามารถเลือกชุดสิทธิประโยชน์ดังนี้
 
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเป็นผู้ป่วยใน 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน โดยต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3ใน 4 เดือน เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 15 ปีซึ่งเงินทดแทนขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และเงินค่าทำศพ 20,000 บาท ต้องจ่ายเงินสมทบ 6 ใน 12 เดือน
ชุดประโยชน์ที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท โดยผู้ประกันตน 100 บาท รัฐจ่ายสมทบร่วม 50 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์ เพิ่มจากชุดสิทธิประโยชน์ที่ 1 คือ หลักประกันยามชราภาพ จ่ายเป็นบำเหน็จชราภาพรับเป็นเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปี
 
ทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ และอายุไม่เกิน 60 ปีบ ริบูรณ์ แสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนาในวันสมัคร โดยสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือหน่วยงานเคลื่อนที่ หรือสมัครผ่านตัวแทน การจ่ายเงินสมทบและรับสมุดเงินสมทบ-สิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554
 
นายสมคิด  ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ นำเสนอถึงความหมายแรงงานนอกระบบว่า แรงงานนอกระบบในความหมายประกอบด้วย ผู้รับงานไปทำที่บ้าน หาบเร่แผงลอย คนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ผู้ประกอบอาชีพอิสระต่างๆ แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสวัสดิการใดนอกจากสวัสดิการบัตรทองหรือขณะ นี้รัฐบาลบอกว่าบัตรประชาชนใบเดียวสามารถใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลได้
 
การเคลื่อนไหว แรงงานนอกระบบได้มีการเคลื่อนไหวให้รัฐบาลจัดระบบสวัสดิการให้ เช่นระบบประกันสังคมเพื่อให้ขยายมาคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ใช้เวลามานานนับ 20 ปี โดยความร่วมมือกับองค์กรแรงงานต่างๆทั้งแรงงานในระบบ องค์กรพัฒนาเอกชน จนวันนี้ รัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศขยายประกันสังคมจากเดิม มีเพียง 3 กรณี ตาย ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร จ่ายแพงมาก ขณะนี้จ่ายถูกลง และได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาว่ารัฐจะสมทบช่วยแรงงานนอกระบบเพียงปีเดียว เครือข่ายแรงงานทุกกลุ่มคงต้องเหนื่อยต่อเพื่อให้รัฐเข้ามาดูแลแรงงานนอก ระบบให้จริงจังกว่านี้
 
แต่เหนือสิ่งใด คือ แรงงานนอกระบบต้องมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อการใช้พลังในการบอก รัฐบาลว่าแรงงานนอกระบบต้องการสวัสดิการอะไร รูปแบบไหน วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 นี้ เราต้องออกไปร่วมกับแรงงานทุกกลุ่มเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล และเป็นช่วงที่ประกาศประกันสังคมให้คุ้มครองแรงงานนอกระบบเช่นกัน หากแรงงานอกระบบไม่มีการรวมตัวกันต่อรองทางการเมืองนักการเมืองก็จะไม่เห็น หัว แรงงานนอกระบบต้องไม่ปล่อยให้นักการเมืองใช้อำนาจตามอำเภอใจ การที่แรงงานนอกระบบเลือกนักการเมืองเข้าไปเพื่อให้ตัวแทนในการต่อรองออ กฎหมาย จัดสวัสดิการให้กับแรงงานนอกระบบ หากไม่ทำครั้งหน้าก็ไม่ต้องเลือก แรงงานนอกระบบต้องเชื่อมั่นในพลังการรวมตัวต่อรองด้วย
 
นางนีรมล  สุทธิพันธ์พงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบการเคหะทุ่งสองห้อง กล่าวว่า จากการที่ตนเองได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ได้เห็นความเข้มแข็งของกลุ่มผู้หญิง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ที่มีการรวมตัวกันมีสมาชิกล้านกว่าคน เวลาที่เครือข่ายแรงงานต้องการต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ก็จะได้รับการตอบรับจากรัฐบาล เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ทางกลุ่มมีการจัดสวัสดิการกองทุนในหลายรูปแบบ เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ 200 กว่าแห่ง รวมทั้งมีธนาคารของกลุ่มแรงงานขายของมือ 2 ซึ่ง แรกๆมีรัฐมองว่าเป็นไปได้ยากแต่ในที่สุด ธนาคารนี้อยู่ได้บริหารกันได้อย่างมีระบบ ซึ่งตนคิดว่าในส่วนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบซึ่งขณะนี้มีการรวมตัวกันทั้ง หมด 5 ภูมิภาค ประกอบด้วยเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคใต้ เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคอีสาน เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคกลาง และเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคกรุงเทพมหานคร ซึ่งเบื้องต้นมีสมาชิก 1,000 กว่าคน โดยเริ่มที่จะจัดสวัสดิการให้กันในกลุ่ม โดยคลาดว่าจะมีการหาสมาชิกเพิ่มมากขึ้น
 
ทั้งนี้มีคนร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมากโดยมี การพูดถึงสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพว่า ยังเป็นระบบที่มีปัญหาเรื่องของการส่งตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาลในพื้นที่ และยังมีปัญหาเรื่องเตียงไม่พอ รักษาเบื้องต้นให้คนป่วยกลับไปนอนที่บ้านก่อนเพื่อรอเตียงว่างแทนการส่งตัว ไปโรงพยาบาลในระบบ นี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา ลุงอีกคนลุกขึ้น

มา เล่าว่า ปัญหาการจัดการระบบไม่ดีพอ เพราะรัฐไม่พูดเรื่องปัญหาพูดแต่สิ่งดีๆ เช่นรักษาพยาบาลเพียงยื่นบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ แต่จริงแล้วยังต้องจ่ายเงินค่ายาอยู่ มียานอกบัญชี ระบบการส่งต่อเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยต้องหนักแค่ไหนจึงจะส่ง การรักษาพยาบาล แพทย์มีปัญหาอย่างไร มีเพียงพอกับระบบหรือไม่ รัฐบาลพูดไม่หมดพูดเพียงแง่ดีเท่านั้น
 
เวทีมีการตั้งคำถามเรื่องการเมืองประชาธิปไตย มีผู้เข้าร่วมตอบปัญหาจำนวนมากเพื่อรับรางวัลย์จากทีมงาน เช่นเสื้อ และหมวกประกันสังคม จากนั้นได้มีการฉายวีดิทัศน์ เรื่องแรงงานไทยรู้สิทธิ ร่วมสร้างประชาธิปไตย และแจกเอกสารแผ่นพับ ซีดี เพลง มีการตั้งโต๊ะของเจ้าหน้าที่ประกันสังคมให้ความรู้กับผู้ที่เดินผ่านไปมา พร้อมทั้งเปิดรับสมัครผู้ต้องการเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 รวมถึงการแสดงของวงดนตรีภราดร

(นักสื่อสารแรงงาน, 25-2-2554)

นายกฯ จี้ผู้ว่าฯ ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมแรงงานนอกระบบ

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ติดตามการปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านการประชุมทางไกลระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยประชุมร่วมกับส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ แพร่ ขอนแก่น นครปฐม ชลบุรี เรื่องประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ

นายก รัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพยายามขยายการคุ้มครองประกันสังคมให้แรงงานนอกระบบ เพราะเห็นว่าเป็นระบบสวัสดิการที่มีความมั่นคง ยั่งยืน ทุกคนเป็นเจ้าของในการบริหารจัดการ ทำให้ประชาชนมีหลักประกัน หากเจ็บป่วย และมีรายได้ในช่วงปลายของชีวิต หลังจากเลิกทำงานแล้ว ในอดีตพยายามขยายระบบประกันสังคมเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาทำได้เฉพาะประชาชนที่ทำงานในสถานประกอบการ แต่ยังมีประชาชนคนทำงานอีกกว่า 20 ล้าน คนที่ไม่มีแรงจูงใจ เพราะไม่สามารถสมทบเงินในระบบได้ และไม่มีความชัดเจนว่าหน่วยงานอื่นจะอุดหนุนอย่างไร ในที่สุดรัฐบาลจึงมีนโยบายเปิดโอกาสเป็นทางเลือกให้ 2 ทาง คือ ประชาชนจ่าย 70 บาทต่อเดือน รัฐจะสมทบให้ 30 บาท ถือเป็นเบี้ยประกัน 100 บาทต่อเดือน ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ 3 ด้าน คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ส่วนสิทธิบำเหน็จชราภาพ ก็ต้องจ่ายเดือนละ 100 บาท รัฐอุดหนุน 50 บาท ได้สิทธิเหมือนกรณีแรกแต่เพิ่มบำเหน็จชราภาพ

นาย อภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้ประกาศเป็นของขวัญไปแล้วเมื่อปีใหม่ จากนั้นกระทรวงแรงงานพยายามปรับกฎระเบียบ แนวทาง กฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับนโยบายนี้ และตรากฎหมาย แก้กฎหมายประกันสังคม แก้ไขกฎหมายกองทุนเงินออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อดำเนินการให้เรื่องนี้เดินหน้าไปได้ โดยตั้งเป้าหมายจะทำให้สำเร็จในวันที่ 1 พฤษภาคม นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ทันที ตนขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และอำนวยความสะดวกให้ ประชาชนที่จะมาใช้โครงการดังกล่าว

(สำนักข่าวไทย, 25-2-2554)

แรงงานไทยลิเบียล็อตแรกถึงตุรกีแล้ว

นายประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากรายงานล่าสุด พบว่าแรงงานไทยในลิเบีย 28 คน ที่เดินทางออกจากท่าเรือเบงกาซี่ ประเทศลิเบียเป็นกลุ่มแรก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จากการพาหลบหนีภัยของนายจ้างชาวจีน บ.ชิโนไฮโด ได้เดินทางถึงประเทศตุรกี ตั้งแต่เมื่อคืนนี้แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการหาตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศไทย

ส่วนทีมช่วยเหลือแรงงานไทยของรัฐบาล นำโดย นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน จะเดินทางถึงประเทศตูนีเซียประมาณ 15.00 น.วันนี้(25 ก.พ.) และจะเข้าพื้นที่ตรวจสอบ ตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือแรงงานไทยทันที ส่วนการดำเนินงานช่วยเหลือในประเทศไทย กรมการจัดหางาน ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน ไปประจำที่กระทรวงการต่างประเทศแล้ว 2 คน เพื่อเกาะติดสถานการณ์ที่ประเทศลิเบียอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้แรงงานไทยในลิเบียและญาติสามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือ จากศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในต่าง ประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โทร.085-4810243-5 และ 080-2221983-4 หรือสายด่วน 1694

(ครอบครัวข่าว, 25-2-2554)

คาดแรงงานไทยชุดแรกจากลิเบียถึงไทยพรุ่งนี้

25 ก.พ. 54 - "ประวิทย์ เคียงผล" รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เผยการช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย ล่าสุดแรงงานไทยทยอยออกจากลิเบียแล้ว 2,700 คน บางส่วนกำลังทยอยเดินทางออกตามพรมแดนที่ติดกับอียิปต์ และตูนีเซีย คาดเย็นวันนี้ เรือโดยสารที่จะเข้าไปรับแรงงานไทยจากอิตาลีจะเดินทางถึงกรุงตริโปลี โดยจะนำแรงงาน 2,000 คน ส่งไปที่ศูนย์อพยพตูนีเซียจากนั้นจะกลับมารับแรงงานอีก 2,000 คนไปส่งที่อิตาลี คาดแรงงานที่จำเป็นต้องอพยพเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยมีประมาณ 8,000 คน จาก 23,000 คน สำหรับแรงงานที่อพยพมาก่อนหน้านี้ ชุดแรกได้อพยพทางเรือโดยสารประมาณ 400 คนไปตุรกี ขณะนี้กำลังขึ้นเครื่องบินกลับประเทศไทยและจะถึงไทยในวันพรุ่งนี้ (26 ก.พ.)

(สำนักข่าวไทย, 25-2-2554)

แรงงานไทยในลิเบียส่วนหนึ่งกำลังจะข้ามไปมอลต้า,กรีซ

25 ก.พ. 54 - ผู้ รับอนุญาตบริษัทจัดหาแรงงานไทยไปต่างประเทศ บริษัทเวิล์ด พาวเวอร์ เซอร์วิส คุณสุนีย์ เจนทวีพรกุล ให้สัมภาษณ์ในรายการเก็บตกจากเนชั่นภาคเที่ยงว่า มีแรงงานไทยในลิเบียที่อยู่ในความดูแลของบริษัทตน 78 คน ขณะนี้อาศัยอยู่ที่แคมป์ในเมืองมิซูราตะ ห่างจากเมืองทริโปลี เมืองหลวงของลิเบียไปทางตะวันตกราว 250 กิโลเมตร โดยแรงงานไทยทั้ง 78 คน ทำงานในโรงงานผลิตเหล็กให้กับนายจ้างสัญชาติอิตาลี

คุณ สุนีย์บอกว่า คนงานทั้งหมดอยู่ในจุดที่ปลอดภัยดี แม้อาหารไม่ขาดแคลน แต่ไม่มีข้าว มีแต่อาหารจำพวกขนมปังและไก่ การติดต่อสื่อสารยากลำบากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

คาดว่าแรงงานไทย 78 คนนี้ จะสามารถเดินทางออกจากแคมป์ทางรถยนต์ โดยบริษัทนายจ้างเป็นผู้จัดหารถยนต์แบบคันละ 10 คน เดินทางไปยังท่าเรือ เพื่อขึ้นเรือไปยังประเทศมอลต้า หรือเมืองโรม ประเทศอิตาลีในวันเสาร์นี้ จากนั้นจึงรอขึ้นเครื่องบินกลับประเทศไทย และเพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องพาแรงงานไทยเดินทางไปยังท่าเรือในตอนกลางวัน เพราะหลัง 6 โมงเย็นจะอันตราย

เบื้อง ต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า แรงงานไทยทั้งหมดนี้ จะเดินทางกลับถึงไทยเมื่อไหร่ โดยบริษัทนายจ้างที่ลิเบียได้รับการประสานจากสถานทูตไทยในลิเบียอย่างต่อ เนื่อง

สำหรับญาติแรงงานไทยในลิเบียที่ต้อง การขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 085-481-0243-5 , 080-222-1983-4 หรือ สายด่วน 1694 ในวันเวลาราชการ

(เนชั่นทันข่าว, 25-2-2554)

ทีมช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย เดินทางถึงตูนิซียแล้ว

25 ก.พ. 54 - นาย สุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน ในฐานะหัวหน้าคณะผู้ประสานงานช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ขณะนี้ทีมช่วยเหลือจากประเทศไทย ได้เดินทางถึงประเทศตูนิเซียแล้ว และเตรียมติดต่อเช่ารถยนต์เดินทางไปยังพรมแดนประเทศตูนิเซีย เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยที่ยังติดค้างตรงพรมแดนกว่า 1,000 คน โดยหากสามารถนำแรงงงานไทยทั้งหมดเข้าประเทศตูนิเซียได้ จะเร่งหาเที่ยวบินให้แรงงานไทยเดินทางกลับประเทศไทยทันที

ด้าน นายประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้ตรวจเยี่ยมด่านคนหางานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับแรงงานไทยที่จะเดินทางกลับประเทศในวันพรุ่ง นี้ โดยจะตั้งโต๊ะรับแจ้งการขอรับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ  รวม ถึงการตรวจสอบหลักฐาน ในการขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งกรณีเกิดภัยสงคราม หรือปัญหาความไม่สงบ โดยแรงงานที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 15,000 บาท  นอกจากนี้ จะมีการเตรียมรถตู้โดยโดยสาร 3 คัน ไปส่งแรงงานตามสถานีขนส่ง หรือหากกรณีที่แรงงานยังไม่พร้อมจะเดินทางกลับภูมิลำเนา ได้เตรียมที่พักชั่วคราว ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 อำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการไว้รองรับ

นาย ประวิทย์ กล่าวด้วยว่า ในวันพรุ่งนี้ แรงงานไทยชุดแรกจากลิเบีย ที่จัดส่งโดยบริษัทจัดหางาน เงินและทองพัฒนา จำกัด จะเดินทางกลับถึงประเทศไทย จำนวน 4 เที่ยวบิน รวม 45 คน โดยเที่ยวแรกจะถึงเวลาประมาณ 07.00 น. เที่ยวที่ 2 เวลา 11.35 น. เที่ยวที่ 3 เวลา 14.25 น. และเที่ยวสุดท้าย เวลา 18.30 น. นอกจากนี้ ยังจะมีแรงงานไทยจากการจัดส่งของบริษัทเงินและทองพัฒนา เดินทางกลับมาอีก 19 คน แต่เที่ยวบินยังไม่ชัดเจน ซึ่งล่าสุดได้ให้สำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศติดต่อบรรดาญาติของแรงงาน เพื่อความสบายใจและเตรียมตัวรอรับแล้ว

(สำนักข่าวไทย, 25-2-2554)

ยิงถล่ม!แคมป์คนงานไทยในลิเบีย

25 ก.พ. 54 - เวลา 20.30 น. นางจันทิมา แก้วทอง ชาวบ้าน อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่า ได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์จากนายสมจิต ไชยมา ผู้เป็นบิดา และเป็นหนึ่งในแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศลิเบีย โดยบิดาระบุว่ามีชายฉกรรจ์ชุดดำไม่ทราบจำนวน ยิงถล่มเข้ามาในแคมป์คนงานไทยซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมิซูราตาเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีแรงงานไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการยิงดังกล่าว
 
"แรง งานไทยทุกคนหวาดกลัวมากและขณะนี้ยังไม่สามารถติดต่อสถานทูตไทยในลิเบียได้ แต่ละคนไม่มีเงินติดตัวสักบาท ส่วนนายจ้างก็ไม่ยอมพาออกไป ไม่ยอมเซ็นใบผ่านทางและถูกยึดพาสปอร์ตไว้หมด"นางจันทิมา กล่าว
 
นาง จันทิมา กล่าวว่า สิ่งที่แรงงานไทยในแคมป์ต้องการในขณะนี้คือการย้ายออกจากพื้นที่อันตรายให้ เร็วที่สุด นายจ้างไม่อยากให้กลับเมืองไทยก็ไม่ว่าแต่ต้องพาไปสถานที่ปลอดภัยก่อน ทุกวันนี้คนงานในแคมป์หวาดกลัวจนร้องไห้กันหมดแล้ว นอกจากนี้ยังอยากให้รัฐบาลสนใจแรงงานในพื้นที่เสี่ยงและดำเนินการช่วยเหลือ โดยเร็ว ไม่ใช่สนใจเฉพาะคนที่ปลอดภัยและอพยพออกมาแล้ว
 
ทั้งนี้ คนงานไทยในแคมป์ดังกล่าวมีจำนวน 620 คน เดินทางไปยังประเทศลิเบียผ่านทางบริษัทจัดหางาน ไทยชาญ จำกัด

(โพสต์ทูเดย์, 25-2-2554)

แรงงานไทยหนีตายลิเบียติดค้างด่านตรวจคนเข้าเมืองตูนิเซียบาน

นาย สุธรรม นทีธรรม โฆษกกระทรวงแรงงาน ในฐานะหัวหน้าชุดช่วยเหลือแรงงานไทยและอยู่ระหว่างการเดินทางไปช่วยเหลือคน งานไทยที่ประเทศลิเบีย กล่าวเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ว่า มีคนงานไทย 1,000 คน ติดค้างอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองในประเทศตูนิเซียเพราะมีแรงงานหลายชาติ อพยพหนีภัยมาที่ตูนิเซียจำนวนมาก ทำให้การขอเอกสารเข้าประเทศเป็นไปด้วยความล่าช้า อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างประสานทางการตูนิเซียเพื่ออำนวยความสะดวกโดย เร็ว จากนั้นจะพาคนงานทั้งหมดขึ้นเครื่องบินกลับประเทศไทย

(มติชน, 25-2-2554)

เตรียมตั้งโต๊ะลงชื่อแรงงานไทย

เมื่อ เวลา 14.45 น. วันที่ 25 ก.พ. นายประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมความพร้อมของด่านคนหางานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับคนงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศลิเบียในวันที่ 26 ก.พ.นี้ ซึ่งทางกรมการจัดหางานได้ตั้งโต๊ะรับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิ ลำเนา โดยบริษัทจัดหางานจะเป็นผู้ดำเนินการออกให้ทั้งหมด นอกจากนี้ทางกรมการจัดหางานยังจัดรถตู้จำนวน 3 คัน อำนวยความสะดวกให้กับคนงานที่ต้องการเดินทางไปสถานีขนส่งต่าง ๆ เพื่อกลับภูมิลำเนาด้วย อย่างไรก็ตามหากคนงานรายใดยังไม่มีความประสงค์จะเดินทางกลับในทันที ก็จะให้คนงานเข้าพักที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 จังหวัดสมุทรปราการเป็นเวลา 1 คืน ส่วนเงินชดเชยจากกองทุนของกระทรวงแรงงานในกรณีเสี่ยงภัยนั้นคนงานสามารถ ติดต่อขอรับได้ที่สำนักงานจัดหางานแต่ละจังหวัด ภายใน 1 สัปดาห์

ผู้ สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าของทีม ช่วยเหลือแรงงานไทยที่มีนายสุธรรม นทีทองเป็นหัวหน้าชุดว่าล่าสุดได้เดินทางถึงประเทศตูนีเซียแล้ว และเตรียมช่วยเหลือแรงงานไทยกว่า 1,000คน ที่ติดค้างที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของตูนีเซียก่อนจะช่วยส่งกลับประเทศไทย

โดย นายสุธรรม กล่าวว่า เตรียมติดต่อเช่ารถยนต์เดินทางไปยังพรมแดนประเทศตูนีเซียแล้ว เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยที่ยังติดค้างบริเวณพรมแดนกว่า 1,000 คน ซึ่งหากสามารถนำแรงงงานไทยทั้งหมดเข้าประเทศตูนิเซียได้จะเร่งหาเที่ยวบิน ให้แรงงานไทยเดินทางกลับประเทศไทยทันที.

(เดลินิวส์, 25-2-2554)

พนักงานฮิตาชิประท้วงขอขึ้นค่าแรง-ค่าครองชีพ

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 25 ก.พ. ที่บริเวณด้านหน้า บริษัท ฮิตาชิ โกบอล สโตเรจเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เขตอุตสาหกรรม 304 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี มีพนักงานของบริษัทที่ออกกะในช่วงบ่ายและเข้ากะในช่วงเย็น กว่า 1,000 คน รวมตัวประท้วงอยู่บริเวณด้านหน้าโรงงาน เรียกร้องให้ผู้บริหารของบริษัท ฯ ออกมาแก้ไขปัญหาค่าแรง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 50 นาย คอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย

จาก นั้นนายไพรัช วามวานิช รองกรรมการผู้จัดการ นายเมตต์ แสงจันทร์ ปลัดอาวุโส ที่ทำการปกครองอำเภอศรีมหาโพธิ ได้ออกมาพบกับกลุ่มพนักงาน และรับเรื่องร้องเรียน พร้อมทั้งแจ้งว่า มิสเตอร์ทาเคดะ ซัง กรรมการผู้จัดการ และนายนคร ตั้งสุจริต รองกรรมการฝ่ายบริหาร กำลังเดินทางมาพบกับกลุ่มพนักงาน เพื่อตกลงเจรจาหาข้อยุติตามที่พนักงานเรียกร้อง โดยการรวมตัวของพนักงานฮิตาชิครั้งนี้ ได้ยื่นข้อเสนอ 9 ข้อ คือ 1. เรียกร้องให้ทางบริษัท ฯ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงค่าอาหารจาก 20 บาท เป็น 40 บาท ข้อ 2 เปลี่ยนแปลงค่าอาหาร OT จาก 15 บาท เป็น 30 บาท 3. เปลี่ยนแปลงค่ากะ E และ C จาก 60 บาท เป็น 80 บาท 4. เปลี่ยนแปลงค่ากะ B จาก 40 บาท เป็น 60 บาท 5. เปลี่ยนแปลงเบี้ยขยันขั้นต่ำ จาก 500 บาท เป็น 700 บาท 6. เบี้ยขยันขั้นสูง จาก 700 บาท เป็น 900 บาท 7. เปลี่ยนแปลงเงินพิเศษ 8. เปิดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีข้อแม้คือพนักงานที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป ต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 9. ขึ้นเงินค่าแรงงานให้พนักงานตามเกรด

ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น. มิสเตอร์ทาเคดะซัง และนายนคร  ได้เดินทางมาพบกับกลุ่มพนักงานดังกล่าว ขอให้กลุ่มพนักงานส่งตัวแทนจำนวน 7 คน เข้าพบเพื่อเจรจาหาข้อตกลงกัน โดยมีมิสเตอร์ทาเคดะซัง นายนคร  นางสาวสุพิวรรณ ทันสมัย ผจก.ฝ่ายพนักงานสัมพันธ์และอุตสาหกรรมสัมพันธ์ ตัวแทนพนักงาน 7 คน ตั้งโต๊ะเจรจาต่อหน้าพนักงานที่รวมตัวกันมากขึ้นกว่า 3,000 คน ทั้งนี้การเจรจาได้ผ่านไปกว่า 2 ชม. พนักงานที่รอฟังคำตอบอยู่ข้างนอกโรงงานไม่พอใจ จึงใช้ขวดน้ำขว้างปาเข้าไปภายในโรงงาน เจ้าหน้าที่จึงเปลี่ยนที่ประชุมเข้าไปในตัวอาคารและเจรจาจน จนได้ข้อยุติว่า ตามที่พนักงานได้ยื่นข้อเรียกร้อง 9 ข้อ ทางบริษัท ฯ จะขึ้นเงินพนักงาน ตามข้อ 9 ในวันที่ 1 เมษายน 2554 ส่วนข้อ 1, 2 , 8 ขอเวลาพิจารณา 1 เดือน และข้อ 3 – 7 จะขอรับไว้พิจารณาภายใน 2 เดือน ทำให้พนักงานต่างพอใจ และได้แยกย้ายกลับบ้าน.

(ไทยรัฐ, 25-2-2554)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net