ชวนจับตาการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กองทุนทดแทน

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

นับจากที่ พ.ร.บ.เงินทดแทนประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 การทำงานของกระทรวงแรงงานก็ทำงานตั้งรับมาโดยตลอด ถึงวันนี้เข้าสู่ 17 ปีแล้วที่กฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เพิ่งจะมีการแก้ไขเข้าสู่สภาด้วยมติคะแนนเสียง 334 เสียง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พ.ร.บ.เงินทดแทนดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่มี นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เป็นประธานและมีกรรมาธิการฝ่ายผู้ใช้แรงงานได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นกรรมาธิการ ร่วมนั่งแปรญัติเพื่อปรับปรุงกฎหมาย คือ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ถูกผลกระทบโดยตรงและคุณมนัส โกศล สถิติข้อมูลจากผลการทำวิจัยระยะสั้นของสภาเครือข่ายฯร่วมกับมูลนิธิอารมณ์ พงษ์พงัน โดยได้รับงบสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 2552 ตัวอย่างข้อมูลตัวเลขสถิติสะสมของการสูญเสียสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานไทย ตั้งแต่ ปี 2531 - 2552 (21 ปี) จะยิ่งตกใจมากเพราะ
-สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 3,598,180 ราย
-สถิติการสูญเสียอวัยวะบางส่วนจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 71,225 ราย
-สถิติการเป็นโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 54,396 ราย
-สถิติการตายหรือเสียชีวิตจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 15,931 ราย

...และนี่คือตัวเลขของคนงานที่เข้าถึงสิทธิ กองทุนเงินทดแทนเท่านั้น เพราะอุบัติเหตุและเป็นโรคที่เห็นชัดไม่นับรวมโรคที่เกิดจากสารเคมีหลายชนิด เข้าสู่ร่างกายป่วยเรื้อรังและตายฟรีหรือโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการ ทำงาน ไม่รู้อีกจำนวนเท่าไหร่ “เพราะชีวิตคนงานกำลังเสี่ยงกับเครื่องจักรอันตรายและภัยจากสารเคมีร้าย แรงอยู่ทุกวินาทีทุกลมหายใจ"

อุตสาหกรรมไทยเรา
-เน้นแรงงานราคาถูก การทำโอที (12 ชม.ต่อ 6 วันต่อสัปดาห์) หรือ 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งในต่างประเทศเขาทำงานกันแค่ 35 ชม. ต่อสัปดาห์เท่านั้น

-เทคโนโลยีต่ำ แต่การแข่งขันสูง โดยเฉพาะแข่งกันกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาด้วยกัน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม

-ขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทำข้างนอก ใช้คนงานข้ามชาติ ขาดสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง

-ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นและอุบัติเหตุต่างๆ และโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการทำงานด้วยการเร่งการผลิตจนทำให้คนงานต้องเป็น โรคโครงสร้างกระดูกจำนวนมากเกือบทุกอุตสาหกรรม หรือสถิติสูงสุด แต่ก็มีปัญหาในการเข้าถึงสิทธิเงินทดแทนยากเย็น ในขณะที่เกือบทุกประเทศมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยโรค

แม้พวกเราขบวนการแรงงาน และร่วมกับหลายๆ องค์กร ร่วมกันผลักดันจนกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน มาตรา 44 ระบุว่า“คนงานย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสภาพในการทำงานรวม ทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นสภาวะการทำงาน หรือ ครม.มีมติเมื่อ 11 ธันวาคม ปี พ.ศ.2550 ยกเรื่อง สุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน เป็นวาระแห่งชาติ “คนงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี แต่หาได้มีงบประมาณในการทำงานไม่ มีกฎหมายและมีมติ ครม.แล้วก็ตามทีปัญหาสุขภาพความปลอดภัยก็ไม่ได้ลดลงเลย รวมถึงคนงานยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่ดีพอตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสิทธิ มนุษยชน

ทางออกก็คือขบวนการแรงงาน ภายใต้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานที่มี 17 องค์กร และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้จากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน พยายามผลักดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ได้บรรจุการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯไว้ในหมวด 7 มาตรา 52 ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม2554 และต้องบังคับใช้ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ และกระทรวงแรงงานกำลังเรียกประชุมคณะกรรมการยกร่าง พรฎ.ครั้งแรก ในวันที่ 3 มีนาคม 2554 นี้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน โดยมีตัวแทนฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมยกร่างดังกล่าว

แต่ทั้งนี้หาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...มาตรา 10 ไม่ขยายดอกผลมาไว้ในกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในหมวด 6 ตามมาตรา 45(2) ร้อยละ 20 ต่อปีเพื่อบริหารจัดการส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน การทำงาน สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กำลังจะเกิดขึ้นมาก็จะเป็นสถาบันที่ด้อย เปลี้ยเสียแขนขา ทำอะไรไม่ได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ผลักดันกฎหมายเพื่อให้มีการส่งเสริมป้องกัน เสียก่อน ที่จะเกิดเจ็บป่วย เรื้อรัง พิการ สูญเสียสุขภาพ และตายฟรี ต่อไป

และผลจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นก็ต้องเชิญติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณากฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ ห้อง 3701 รัฐสภา 3 ซึ่งเราต่างหวังว่าคณะกรรมาธิการ ส.ส.ทุกท่านคงจะได้เล็งเห็นเจตนารมณ์นี้

(วันที่24ก.พ.54)
สุขภาพดีคือชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัยคือหัวใจของการทำงาน

 

หมายเหตุ: เราจะมีการจัดเวทีสาธารณะเปิดสภาผู้ป่วยฯในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ห้องราชาโรงแรมรัตนโกสินทร์ ติดต่อได้ที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และให้คำแนะนำ คำปรึกษาด้านสุขภาพ และสิทธิแรงงาน กรณีลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงาน สำหรับแรงงานในระบบภาคอุตสาหกรรม (Wellness Worker Center )

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย) เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร. 02-9512710, 02-9513037 ทุกวัน. จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-21.00 น. http://www.wept.org, E-mail :wept_somboon@hotmail.com
 

 

ชื่อบทความเดิม: จะส่งเสริมป้องกันหรือ จะให้คนงาน เจ็บป่วย พิการ ตาย ก่อนหรือไง? กับการปันงบดอกผลจากกองทุนเงินทดแทน 20%ให้กับกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท