Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

..The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born; in this interregnum a great variety of morbid symptoms appear.Antonio Gramsci, Selections from Prison Notebooks, 1971, p.276…

สิ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอในเดือนแห่งความรัก ที่มีสัญลักษณ์วันวาเลนไทน์กับคู่รักไทยในสมัยใหม่ มีลักษณะร่วมกับสากล ก็คือ ทุกคนยอมรับวันแห่งความรัก และถ้าเรานึกถึงสมมติสร้างภาพยนตร์รักโรแมนติคกับสงคราม โดยถ้าเรารู้สึกเหมือนคนที่อกหัก และเลิกรัก หรือคนรักหายไป เป็นส่วนหนึ่งเหมือนคนที่ต้องการคนรักกลับคืนดี จึงทำให้นึกถึงภาพยนตร์ หรือละครทีวี ที่มีลักษณะปลุกใจรักชาติ และตัวละคร ก็ต้องการเรียกร้องดินแดนที่หายไปอย่างคลุ้มคลั่ง
ในประเทศของเรา ซึ่งถ้าเราเป็นประชา+อธิปไตย=ประชาธิปไตย โดยมีสันติภาพอย่างชอบธรรม  ซึ่งเราต้องไม่แตกแยกกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่องอธิปไตยของอำนาจของรัฐไทยด้วย 

บทเรียนภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก : เราไม่มีสุขใดเสมอด้วยสันติภาพ
ประวัติการสร้างภาพยนตร์ในกรณี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งมีปรากฏการสร้างภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ 2475 และต่อมาภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์วันรัฐธรรมนูญ โดยวิธีการของคณะราษฎร ก็ใช้ภาพยนตร์เป็นสื่ออุดมการณ์กับสถาบันทหาร เช่น กรณีภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ กบฏบวรเดช ในพ.ศ.2477 เป็นชัยชนะของทหารผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แน่นอนว่า ภาพยนตร์ยังมีบทบาทต่อสังคมการเมือง ต่อมาทั้งเรื่องภาพยนตร์เลือดทหารไทย ซึ่งผู้เขียนเคยศึกษาเรื่องภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก และผู้อ่านสามารถดูเพิ่มเติมจากการอ้างอิงนี้(1) จึงคิด ถึงประโยคว่า ไม่มีสุขใดเสมอด้วยสันติภาพ ที่มีปรากฏในภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกของปรีดี พนมยงค์ สะท้อนนัยยะของความสงบสุข ดังกล่าวนั้นเอง

จากภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก โดยสรุปย่อๆ คือ ตัวละครคู่พระเอก นางเอกในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ความจริง แต่นั่นคือ สิ่งสมมติตามประวัติศาสตร์ สัมพันธ์ปมปัญหาแผนที่ และเขตแดนขึ้นมาเป็นปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งผู้เขียนเคยอธิบายไปแล้ว จึงอธิบายย่อๆ โดยตั้งแต่สมัยช่วงสงครามอินโดจีน พร้อมบริบทของภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ในช่วงพ.ศ.2483 จนกระทั่งในปัจจุบัน และถ้าเรานึกถึงกรณีเหมือนข้อเท็จจริงของความขัดแย้งทางสังคม ไม่ว่าปัญหาแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ก็มีภาพยนตร์ภาคใต้เพื่อทำความเข้าใจ และผู้เขียนคิดถึงในแง่ประเด็นสร้างการรับรู้ต่อคนไทย(2) และปัญหารัฐระหว่างประเทศ ก็สลับซับซ้อน โดยผู้เขียน ต้องการชี้ให้เห็นภาพร่วมบรรยากาศถึงเดือนแห่งความรัก ที่มีคู่รัก แต่งงานกัน ก็ถ้ามีความรักและความสามัคคีในครอบครัว และลูกสืบทอดต่อมา โดยไม่ขัดแย้งแตกแยกปะทะเลิกแยกทางกัน ซึ่งสะท้อนผ่านพ่อ แม่ เป็นครอบครัวถึงลูกหลาน เป็นส่วนหนึ่งของต้นตระกูลในประเทศไทย 

ทั้งนี้ ผู้เขียนอธิบายต่อง่ายๆว่า เช่นเดียวกับยกตัวอย่าง ภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ที่มีพระเอก และนางเอกเป็นคู่รัก ซึ่งสร้างจินตนาการต่อมาถึงความรัก และครอบครัว เหมือนละครทีวีเกี่ยวกับสงครามรบ ก็มีเรื่องความรัก มีธง บทเพลงประกอบภาพยนตร์เหมือนละครทีวี และเรื่องราวคู่รัก เป็นครอบครัวสะท้อนภาพส่วนหนึ่งของสายเลือดของครอบครัวเป็นอาณาจักร ในส่วนประกอบความเป็นชาติดังกล่าวเป็นพื้นฐาน เหมือนภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก จึงยกตัวอย่างเสียงในจินตกรรมของภาพยนตร์ดังกล่าว และอธิบายต่อถึงความรักชาติ หรือรักประเทศ ก็ไม่ได้แตกต่างจากความรักแบบอื่นๆ ในแง่ที่ต้องมีองค์ประกอบของการจินตนาการถึงความรักรวมอยู่ด้วย(3) 

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอธิบายส่วนองค์ประกอบการแย่งชิงอำนาจฝ่ายต้องการ ชัยชนะในความรัก และฉายภาพเรื่องตัวละคร คือ คนอกหักจากอำนาจ ต้องการแย่งชิงต่อสู้แตกหัก รอเวลากลับมาในสังคม เพราะคนอกหัก ตกอยู่ภายใต้สภาวะแปลกแยก กลายเป็นคนแตกแยกกับสังคม โดยคู่รัก ที่มีบ้านหลังหนึ่งเหมือนประเทศ ซึ่งมีพ่อแม่ของคู่รักอยู่ในบ้าน แต่ว่าคู่รักหรือคู่ขัดแย้งชนเพื่อนบ้าน ที่อยู่ข้างบ้านเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะนี้ คือ เสื้อเหลืองกับรัฐอภิสิทธิ์จากเดิมเป็นคู่รักกัน เปลี่ยนไปเหมือนคู่รักทะเลาะกันเป็นความย้อนแย้งนั่นเอง ส่วนเสื้อแดง ถ้าเราไม่อยากยุ่งเรื่องคู่รักขัดแย้งกัน เหมือนเราดูภาพยนตร์และละครทีวีเกี่ยวกับสงคราม การต่อสู้และความรักก็ซาบซึ้งแล้ว 

การเมืองเหมือนภาพยนตร์พันธมิตรฯเป็นคู่รักอกหักรัฐ กระทบเพื่อนบ้านเป็นคู่รบไม่เข้าใจกัน
การเมืองของพันธมิตรฯ กำลังไปสู่การต่อสู้กับเส้นตายโดยรัฐบาล ซึ่งผู้เขียนได้เคยเขียนในประชาไทอย่างต่อเนื่องมาแล้ว ในส่วนของเรื่องเส้นเขตแดน-ม็อบมีเส้น กับสถานการณ์ทางการเมือง รวมทั้งเรื่อง “ปัญหารัฐธรรมนูญ 2550 :นิยายและความจริง ในภาพสะท้อนเราใกล้ชิดเส้นชัย” และ“เกร็ดเรื่องวันกองทัพไทย และ…สู่อนาคตทหารไทยนี้รักสงบ” แต่ถึงรบไม่ขลาดตามแบบเพลงชาติ ที่มีเรื่องทหารไทยกับทหารกัมพูชา และม็อบพันธมิตรฯ ก็วิเคราะห์ในมุมมองจากจำนวนของผู้ชุมนุม หรืออะไรก็ตาม แต่ผู้เขียนโฟกัสไปที่สถานการณ์ระส่ำระส่ายของความเคลื่อนไหว เช่น ประธานสภาฯ คือ ชัย ชิดชอบ ออกตัวนัยยะต้องดูวันที่ 18 ก.พ.(วันมาฆบูชา) ซึ่งปัญหาชายแดนการสู้รบที่ผ่านมา ก็ทำให้เห็นภาพพันธมิตรแจกของช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งชาวบ้าน-ทหาร โดยสะท้อนต้นทุน และผู้สนับสนุนต่อพันธมิตรฯด้วย

 

โดยสาเหตุการเชิดชูสนับสนุนชาตินิยม ก็รักชาติมาก่อนทั้งรัฐบาลและเสื้อเหลือง เหมือนพันธมิตรฯกับรัฐบาลในอดีตเป็นคู่รักกลับกลายเป็นคู่ขัดแย้งเป็นคู่รบ ก็เป็นสิ่งที่ผู้เขียนวิเคราะห์ไว้ว่าพันธมิตรฯ จะชนะรัฐบาลได้ ในรูปแบบใด สักอย่างก็ตาม ซึ่งผู้เขียน ไม่กลัวผิดพลาดในการวิเคราะห์ โดยบ่อยครั้งที่ผู้เขียนยังวิเคราะห์สาวไม่ถูก ก็ตลกอกหักบ่อยๆ เนื่องโดยส่วนตัวไม่อยากให้มีรัฐประหาร เพราะส่วนตัวก็ไม่ได้ยินดีเท่าไหร่ ให้พันธมิตรชนะแถมเกรงว่าจะสูญเสียเลือดเนื้อชีวิต ต่างๆนานา โดยผู้เขียนพยายามวิเคราะห์ตามความเป็นจริง แล้วการประเมินเกมส์ไพ่การเมืองอย่างเป็นจริง 

เมื่อถ้าเรานึกถึงภาพยนตร์เรื่องสงครามของจีนต่างๆ ซึ่งมักอ้างตำราพิชัยสงครามของซุนวู ในเรื่องรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง(ลองดูเพิ่มเติมข้อมูลตำราฯบางส่วนในวิกกีพีเดีย ภาษาไทย) และประเด็นสำหรับมุมมองของผู้เขียน คือ ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายที่ชนะนั้น จะรู้ว่าจะรบก่อน จึงออกรบ ดังกล่าวนั้น 

ซึ่งพล.ต.จำลอง ศรีเมือง อาจจะไม่ได้อ่านตำราพิชัยสงคราม แต่ว่าจำลอง เคยเป็นทหารรบมาก่อน และก็อาการพูดของพล.ต.จำลอง น่าสนใจในภาวะเหมือนคนอกหัก หรือแตกหักกับรัฐบาล โดยจำลองกล่าวว่า “ตนได้ร่วมกับพี่น้องประชาชนบางกลุ่มบางเหล่า ต่อต้านคัดค้านเพื่อบ้านเมืองมา แล้วทั้งหมด 8 ครั้ง แต่ละครั้งแทบไม่เห็นชัยชนะ แต่ไม่รู้เป็นไงชนะทุกครั้ง และครั้งที่ 9 นี้แพ้ไม่ได้ ครั้งนี้ถ้าแพ้หมายถึงคนไทยทั้งหมดแพ้ เพราะดินแดนเป็นของคนไทย 63 ล้านคน เพราะฉะนั้นคราวนี้ไม่มีทางแพ้ สู้ที่นี่ สู้ตรงนี้ สู้จนชนะ” เป็นต้น 

ฉะนั้น น่าสังเกตว่า คนที่รู้ว่าจะชนะ จึงออกมารบนั่นแหละ เพราะเหตุการณ์เลื่อนการชุมนุมมาตั้งแต่เดือนพ.ย.-ธ.ค.53 ถ้าเรายังทบทวนจำกันได้ คือ การเปิดเกมต่อมาปลายเดือนธ.ค.ในเรื่องคนไทยทั้ง7คนและการเคลื่อนขบวนของกอง ทัพธรรมโดยสันติอโศก ซึ่งการเคลื่อนทัพ ถ้าเราเคยดูภาพยนตร์กันมา ก็เป็นระบบ-ระเบียบอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งในแง่การทำงานทหารของจำลอง ต้องประเมินการรบมาก่อนอยู่แล้วและองค์ประกอบก็ขึ้นอยู่กับบุคคลเบื้องหลัง โดยข้อน่าสังเกต ก็คือ พลเอก เปรม ตั้งแต่ข่าวออกมาว่า ห่วง 7 คนไทย และต่อมา ก็วีระ สมความคิดติดคุก ฯลฯ รวมทั้งสถานการณ์สู้รบชายแดนจริง เหมือนภาพยนตร์เกี่ยวกับสงคราม และละครทีวีเกี่ยวกับสงคราม 

ความย้อนแย้ง “คู่รัก เปลี่ยนเป็นคู่รบ” บ่งชี้อาการผิดปกติของการแตกหักทางการเมือง
ปัญหาของการเมืองไทยเป็นเรื่องการเมืองภายในของเสื้อเหลืองกับรัฐบาล ล้ำเส้นเข้าสู่ปัญหาของกัมพูชา สิ่งที่ผู้เขียน ก็อ้างAntonio Gramsci และการปรากฏ(appear) ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้เป็นเรื่องอาการผิดปกติของการแตกหักทางการเมือง และปัญหาการแจกของให้สงครามของพันธมิตร เป็นมากกว่าการไปช่วยแจกของให้ผู้ ประสบภัยน้ำท่วม แม้ว่าพันธมิตรฯ จะสร้างแนวร่วมก็แล้ว แต่การปลุกใจให้รุกฆาต ก็ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่ชายแดน และการเมืองของรัฐบาล ก็ถูกพันธมิตรฯ รุกต่อสู้ทางอุดมการณ์อย่างไม่หยุดนิ่งนั่นเอง 

ส่วนทางฝ่ายรัฐ แก้ปัญหาโดยอ้างใช้พรบ.การชุมนุมฯ โดยเราเห็นเพียงตำรวจ แต่เราไม่เห็นทหาร ในกรณีหนึ่ง ที่มีปัญหากับเสื้อแดงในเหตุการณ์ปี2553 โดยน่าสนใจว่า ทหารของหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งสร้างความเข้าใจโดยบอกวิธีว่า “..ถ้าฝ่ายตรงข้ามมีขวัญและกำลังใจที่ดี เราก็ต้องใช้หลักธรรมชาติ คือการชี้แจงซ้ำๆ ชี้แจงบ่อยๆ ต้องใช้ลูกตื๊อ เหมือนกับเราไปจีบสาวสักคน ครั้งแรกเขาอาจจะไม่ชอบเรา แต่ต่อมาก็ต้องคิดกันแหละครับว่าจะทำยังไงต่อไป สาวคนนี้เขาชอบไม่ชอบอะไร และต้องพูดจาแบบไหนเขาจึงจะชอบ..”(สงครามจิตวิทยา และดูข้อมูลเพิ่มเติมตามอ้างอิง) เป็นการกล่าวของพันโทกอสิน กัมปนยุทธ์ ผู้บังคับกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ(4) เป็นต้น 

ดังนั้น นี่เป็นการยกตัวอย่างจากเสื้อแดงพลิกกลับมาเป็นเสื้อเหลือง เหมือนคู่รักขัดแย้งกัน ไม่มีใครเป็นผู้ฟังใครอย่างชอบเข้าใจกัน ก็มีแต่คนพูดโวยวายต้องการชัยชนะใส่กันภายในบ้าน และพ่อแม่ ที่อยู่ในบ้านก็ห้ามปรามไม่ได้ ซึ่งกรณีความเป็นจริงที่พันธมิตรฯ บอกว่าอภิสิทธิ์ ยกดินแดนให้กัมพูชา ทำให้ไทยเสียดินแดนและการสู้รบของไทยกับกัมพูชา ซึ่งถ้าเราคิดเป็นตัวละคร ภาพยนตร์ และตัวละครทีวี ในมุมมองเหมือนรัฐอภิสิทธิ์ เป็นกิ๊ก หรือชู้รักกับกัมพูชา ไม่จงรักภักดีกับเสื้อเหลือง และเสื้อแดงไม่เกี่ยวแง่มุมอยู่ห่างๆสงบๆไว้เป็นทางเลือก ก็รอดูชัยชนะของพันธมิตรเป็นการต่อสู้ของคู่รัก กลายเป็นคู่รบ เพื่อสร้างเงื่อนไขต่อไปในอนาคต ซึ่งผู้เขียนในฐานะของคนที่มีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมสันติภาพ ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 7 ก.พ.54 ที่ผ่านมา ก็ตระหนักถึงความรัก เท่านั้นจะยาวนาน โดยความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องของเรา จะเป็นบทเรียนเยียวยาให้รักเรายาว 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งเมื่อเราเห็นคนอกหักต้องการเวลา ถ้าทั้งสองฝ่ายในที่สุดจะคืนดีกัน หรือตั้งแต่แรก ทั้งสองฝ่ายแอบซ่อนความรักต่อกันไม่ ได้แสดงออกมา อยู่เบื้องหลัง และสองฝ่ายแสดงละครตีบทแตก เพื่อให้คนดูตกใจ และพะวงกับเรื่องพวกนี้ จนลืมปัญหาของเสื้อแดงไป และคนในบ้านเมืองแตกความรักสามัคคีก็ต้องการเวลา ส่วนเสื้อแดงก็รอไปก่อนใช้เวลาสะสมกำลังพลไว้ เพราะสงครามยืดเยื้อเหมือนในภาพยนตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมือง หรือที่เราเห็นในละครทีวี ซึ่งรอวันเราเข้าใจเขาเข้าใจเรา สร้างแนวร่วม และสิ่งใหม่ไทยล้วนหมายรักสามัคคี(Solidarity)กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยเป็นประชาธิปไตยและสันติภาพเป็นสากล

 

 

อ้างอิง

1. อรรคพล สาตุ้ม “ย้อนดูภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’ สงคราม สันติภาพ และชาตินิยม”

http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p=4080

2.อาสา คำภา,อรรคพล สาตุ้ม “มุสลิมในการรับรู้ของคนไทย : องค์ความรู้ที่สะท้อนถึงความไม่เข้าใจต่อความจริง” ฟ้าเดียวกัน ปีที่2 ฉ.3 กรกฏาคม-กันยายน 2547

3.เบน แอนเดอร์สัน(ฉบับแปล) ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม :281

4.ม็อบ VS ทหาร ปฏิบัติการจิตวิทยา : สงครามไร้กระสุน  โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 มีนาคม 2553 19:38 น.

 http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000038351

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net