บันทึกเมษา-พฤษภา 53: การยกระดับของความรุนแรง ความกลัว การป้องกันตนเอง และความโกรธ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

หมายเหตุต้นฉบับ : งานเขียนในลักษณะ “บันทึก” ชิ้นนี้ ถูกเขียนขึ้นหลังวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 (ราว 1 เดือน) สำหรับประกอบการจัดทำรายงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีสาหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 (ดูรายละเอียดของรายงานของคณะกรรมการบางส่วนได้ใน http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1297770830&grpid=01&catid=&subcatid= )

แน่ นอนที่สุด “คนเสื้อแดง” บางส่วนอาจจะไม่ชอบ และค่อยข้างมีลักษณะส่วนตัวอยู่บ้างก็ตาม แต่เห็นว่าอาจจะมีบางด้านที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเคลื่อนไหวที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต จึงอนุญาตนำเสนอในที่นี้

หาก ““บันทึก” นี้มีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขออุทิศให้กับพี่น้องเสื้อแดงที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และพยายามทุกวิถีทางที่จะปกป้องรักษาชีวิตของคนอื่น

 

1.ฐานะของผู้เขียน

          สำหรับการเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง”นั้น ผู้เขียนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในหลายฐานะ คือ 1) ในฐานะของนักศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่พยายามติดตามและศึกษาขบวนการเคลื่อนไหว-ไม่เฉพาะการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเท่านั้น-ในมิติต่างๆ รวมทั้งประเด็นข้อเถียงที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม-ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม-เป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนปัญหาและเป็นพลังที่สำคัญที่จะผลักดันสังคมการเมืองไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง 2) ในฐานะผู้สนับสนุนและเห็นอกเห็นใจคนเสื้อแดง ก่อนจะเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหว“คนเสื้อแดง” ผู้เขียนเป็นสมาชิกของ “เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร” ที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การแทรกแซงทางการเมืองของผู้ที่ไม่มีสิทธิอำนาจ รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ ได้ยุติบทบาทที่เป็นทางการหลังจากนั้น ดังนั้น ด้วยจุดยืนดังกล่าว จึงสนับสนุนความเห็นและข้อเรียกร้องของขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงใน ด้านที่วิพากษ์วิจารณ์-ต่อต้านการแทรกแซงทางการ เมืองของผู้ที่ไม่มีสิทธิอำนาจ หรือตามคำนิยามของพวกเขาว่า “อำมาตย์” และรู้สึกเห็นอกเห็นใจเมื่อพวกเขาและการเคลื่อนไหวของพวกเขาถูกลดทอนทำให้ ไม่มีความหมายทางการเมือง ดูถูกดูแคลน เหยียดหยาม ด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งถูกใช้ความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา  3) ในฐานะผู้ปฏิบัติงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ที่ผู้เขียนเข้าใจว่า มีเป้าหมายสูงสุด คือ ต้องการให้ความขัดแย้งหรือการต่อสู้ที่เกิดขึ้นอยู่บนวิถีทางของสันติ โดยในฐานะหลังนี้ ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ให้ติดตามการเคลื่อนไหว เข้าร่วมสังเกตการณ์ในที่ชุมนุมหรือการดำเนินกิจกรรมของคนเสื้อแดง เพื่อรายงานข้อมูล-ข้อเท็จจริง วิเคราะห์สถานการณ์ หรือแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง เพื่อป้องกัน ยุติความรุนแรงที่จะอาจจะเกิดขึ้นได้ และทำให้ความขัดแย้งดำเนินไปอยู่บนวิถีทางของสันติ

2. ก่อน 10 เมษายน 2553 : แรงกดดันจากภายในขบวนการเคลื่อนไหว

          หลังเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด” ในปี 2552 ที่ การชุมนุมของคนเสื้อแดงถูกสลายด้วยความรุนแรง และภาพความเป็น “ผู้ร้าย” และ “ผู้ใช้ความรุนแรง” ถูกทำให้เป็นภาพตัวแทนของคนเสื้อแดง แม้หลายส่วนจะคาดหมายกันว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในเมืองหลวงครั้งนั้น จะนำมาสู่ความถดถอยของขบวนการเคลื่อนไหว แต่สิ่งที่เกิดขึ้น กลับตรงกันข้าม กล่าวคือ “สงกรานต์เลือด”  ได้สร้างความรู้สึกคับ แค้นใจ และ “สองมาตรฐาน” ในการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ต่อการชุมนุมของเขาเมื่อเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และรอคอยการกลับมาใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกัน ในแง่ขององค์กรการเคลื่อนไหว มีการพยายามสรุปบทเรียน จัดกิจกรรมย่อยๆ รวมทั้งการทำงานในระดับพื้นฐานในพื้นที่ ผ่านการจัดตั้ง-ฝึกอบรมแกนนำย่อยและมวลชนในต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อเตรียมการสำหรับการต่อสู้ครั้งใหม่ ซึ่งส่งผลใน 2 ประการที่สำคัญคือ เกิดการขยายตัวของมวลชนคนเสื้อแดง และเมื่อเข้าใจว่าองค์กรมีการจัดการ มีระบบ  มีความเข้มแข็งมากขึ้น ก็ทำให้ผู้เข้าร่วมมีความเชื่อมั่นในการต่อสู้มากขึ้น

          ในการชุมนุมใหญ่ในเดือนมีนาคม 2553  ได้ มีการลดระดับข้อเรียกร้องจากเดิมที่มุ่งเป้าไปที่การต่อสู้ โค่นล้ม “อำมาตย์” มาเป็นเป้าหมายระยะสั้นคือ “ยุบสภา” เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยในการเตรียมการเคลื่อนไหวเพื่อระดมคนเพื่อการชุมนุมใหญ่ในต่างจังหวัด นั้น แกนนำได้ประกาศในลักษณะที่สร้างความคาดหวังกับผู้เข้าร่วมชุมนุมไว้สูงมาก คือ ในระดับเป้าหมาย คือ การชุมนุมที่แตกหักกับรัฐบาล "ไม่ชนะ ไม่เลิก" (คล้ายกับพันธมิตรฯ) โดยการระดมคนให้ได้มากที่สุด คือ 1 ล้าน คน โดยส่วนหนึ่งคาดหมายว่า การระดมคนเข้าร่วมได้มาก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการที่จะนำไปสู่ผลที่คาดหมายไว้ และแม้ในการเริ่มต้นชุมนุมใหญ่จริงในวันที่ 14 มีนาคม 2553 จะ มียอดผู้เข้าร่วมชุมนุมจริงน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่กล่าวได้ว่า เป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเคลื่อนไหวมา (มากกว่าช่วงเดียวกันในปี 2552)

          ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้  ทำ ให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมมีความคาดหวังต่อการเคลื่อนไหวที่สูงมาก รวมทั้งมาตรการในการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย แต่ในอีกทางหนึ่ง จากการบอกเล่าของแกนนำ[ระดับรองๆลงมา] นอกจากการเตรียมคน หรือการวางแผนการเคลื่อนขบวน จัดการการชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯแล้ว ไม่ได้มีการวางแผน ขั้นตอน จังหวะก้าว รองรับการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบแต่อย่างใด ดังนั้นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหลังจากการระดมเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงมีลักษณะเป็นการ “คิดแบบรายวัน” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์มากกว่าจะมีการจัดวางเป็นขั้นตอน-จังหวะ รวมทั้งการกำหนดว่าจากเป้าหมายสูงสุดที่ตั้งไว้ ได้แค่ไหน-ระดับไหน (ต่ำกว่าข้อเรียกร้องที่ตั้งไว้) จะเรียกว่าเป็นความสำเร็จและยอมรับได้

          หลังจากการมาชุมนุมตามที่ได้นัดหมายกัน และแกนนำได้ประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง ในวันที่ 15 มีนาคม 2553 ผู้ชุมนุมเดินทางไปที่กรมทหารราบที่ 11 เพื่อเรียกร้องให้นายกฯ ยุบสภา และเดินทางกลับโดยทันที 16 มีนาคม 2553 เจาะเลือดแล้วนำไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ 17 มีนาคม 2553  นำเลือดเหลือไปเทที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี และ 20 มีนาคม 2553  แห่ขบวนที่ใหญ่ที่สุด ทั่วกรุงเทพฯ นำโดยรถมอเตอร์ไซต์และรถยนต์ส่วนตัวนับหมื่นคัน คือ ราว 1 สัปดาห์ หลังจากการเริ่มการชุมนุม ที่แกนนำไม่ได้มีมาตรการในการกดดันรัฐบาลอย่างจริงจังตามความเห็นของผู้เข้า ร่วมและไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ภายใน 1 สัปดาห์อย่าง ที่แกนนำได้ประกาศไว้ก่อนหน้านั้น แรงกดดันจากผู้ชุมนุมความที่เกิดจากความคาดหวังที่สูงที่ตั้งไว้ก่อนหน้า นั้นกลับมากดดันผู้นำการชุมนุม

          กล่าวคือ ผู้ร่วมชุมนุมบางส่วนได้วางแผนการเข้าร่วมการเคลื่อนไหวครั้งนี้ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เท่านั้น และคิดว่าแกนนำจะมีมาตรการในการกดดันที่สูง รู้แพ้รู้ชนะอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้น กลับแตกต่างออกไป คือ รู้สึกว่ามาตรการวิธีการต่างๆ นั้น ไม่ใช่การต่อสู้อย่างจริงจังและไม่สามารถที่จะนำไปสู่ผลแพ้ชนะได้ บางคนรู้สึกว่าแกนนำไม่ได้นำพวกตนมา “ต่อสู้” อย่างที่ประกาศไว้ข้างต้น เพราะวิธีการและมาตการในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อรัฐบาล หรือไม่ได้ใช้มวลชนจำนวนมากให้เป็นประโยชน์สูงสุด ดังนั้น มวลชนจำนวนหนึ่งจึงรู้สึกไม่พอใจ และมีบางกลุ่มในภาคเหนือนัดประชุมกลุ่มย่อยและตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน ขณะที่บางส่วนแกนนำจากส่วนกลางต้องไปเคลียร์เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุม ถึงแม้จะมีกลุ่มหรือคนที่เดินทางกลับบ้านด้วยเหตุความไม่พอใจต่อแกนนำจำนวน ไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางกลับเพื่อสับเปลี่ยนกำลังของคนที่เดินทางมา จากต่างจังหวัด แต่ความรู้สึกไม่พอใจในกลุ่มผู้ชุมนุมก็พบเห็นได้จำนวนมากจากการที่ไม่ได้ เป็นไปตามความคาดหวังที่ถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านั้น แม้ว่าการเคลื่อนขบวนในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก “คนกรุงเทพ” จะมีส่วนช่วยในด้านอารมณ์ความรู้สึกอยู่บ้างก็ตาม บางคนถึงกับบ่นว่า “กูออกมาสู้โว้ย ไม่ได้ออกมานั่งๆนอนๆ ในที่ชุมนุมเฉยๆ” โดยแกนนำจำนวนหนึ่งก็รับรู้ถึงความรูสึกไม่พอใจนี้ และพยายามที่จะเข้าไปพูดคุย ทำความเข้าใจกับแกนนำหรือกลุ่มย่อยๆ ดังกล่าว

          แรงกดดันนี้  มา จากการสร้างความคาดหวังที่สูงเกินไปของแกนนำในช่วงระหว่างการระดมคนเพื่อ เข้าร่วมการชุมนุมใหญ่ และความกระตือรือร้นที่อยากจะต่อสู้ให้รู้แพ้ชนะของผู้เข้าร่วมเอง ที่เก็บสะสมมาตั้งแต่การถูกสลายการชุมนุมใหญ่เมื่อสงกรานต์ปี 2552   ซึ่ง ทั้งสองนี้มีผลซึ่งกันและกัน และการประเมินสถานการณ์หรือความสามารถของตนเอง “สูงเกินไป” หรือประเมินฝ่ายตรงกันข้ามต่ำ โดยแกนนำท่านหนึ่งได้วิเคราะห์ในการประชุมย่อยกับนักกิจกรรมที่เข้าร่วมสนับ สนุน  ก่อนการมีการเจรจากับฝ่ายรัฐบาล (28-29  มีนาคม 2553) ว่า สาเหตุที่เป็นนี้เพราะมวลชน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของขบวนการเสื้อแดง ไม่มีประสบการณ์การเคลื่อนไหวมาก่อน - ต่างกับคนที่มีประสบการณ์ในยุคของเขา ที่มีแนวโน้มที่จะเข้าใจ การวิเคราะห์ที่ดี ไม่มีลักษณะอัตวิสัยจนมากเกินไป-ทำ ให้อยากรบเร็วชนะเร็ว และเสนอว่า นักกิจกรรมที่เข้าร่วมหากมีโอกาสควรจะมีส่วนในการเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับ ผู้เข้าร่วมชุมนุมว่า แม้เราจะมีข้อเรียกร้องในระดับให้ยุบสภาก็ตาม แต่คู่ต่อสู้ของเรานั้นมีความเข้มแข็งมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากในการได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็ว และต้องดำเนิกการเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างอดทนและไม่สุ่มเสี่ยงจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ถูกปราบปรามได้ง่าย

          ปัญหา เรื่องความคาดหวังที่ตั้งไว้สูง ความเข้าใจต่อการเคลื่อนไหว และความไม่พอใจต่อมาตรการการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมที่เห็นว่าไม่สามารถที่ จะนำไปสู่เป้าหมายได้ แสดงออกอย่างชัดเจนในช่วงที่มีการเจรจาระหว่างแกนนำกับรัฐบาลในระหว่างวัน ที่ 28-29  มีนาคม 2553 แม้ว่าด้านหนึ่ง พวกเขาจะแสดงออกว่าไม่พอใจที่ในเวทีการเจรจา ตัวแทนของพวกเขาไม่สามารถที่จะมีการพูดถึงประเด็นปัญหาต่างๆได้เต็มที่และ เสียเปรียบในทางเชิงชั้นกับฝ่ายรัฐบาล แต่ด้านที่สำคัญมากคือ พวกเขาเห็นว่าการเจรจาเป็นการประนีประนอม ต่อรองเรื่องเวลา และไม่สามารถที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ โดยมีการกระจายและติดสต็กเกอร์ที่จัดทำขึ้นโดย “แดงปิ่นเกล้า” ในที่ชุมนุมว่า “เลิก... เจราจา ยุบสภาทันที” และผู้ชุมนุมเห็นด้วย ตบมืออย่างกึกก้องกับข้อเสนอของจตุพร พรหมพันธุ์ บนเวทีปราศรัยในคืนวันที่ 28 มีนาคม 2553 ว่า หากการเจรจาในวันที่ 2 ไม่เกิดประโยชน์อะไรหรือเป็นอย่างเช่นในวันที่ผ่านมา การเจรจาในวันที่ 2 นั้น ก็จะเป็นวันสุดท้าย และผลที่เกิดขึ้นตามมาก็เป็นดังตามที่คาดไว้ จตุพร พรหมพันธุ์ ได้ตัดบท ขอยุติการเจรจาลงเท่านั้น (ขณะที่วีระ มุสิกะพงศ์ แสดงให้เห็นว่า ต้องการเปิดช่องทางในการเจรจาไว้สำหรับในอนาคต) แม้ว่าในตอนหลังจะมีการเปิดเผยว่า ได้รับสัญญาณจากเวทีการชุมนุมโดยณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ก็ตาม

          แม้ ว่าการยุติการเจรจาจะเกิดขึ้นผ่านแกนนำ และแกนนำมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจดังกล่าวก็จริง แต่กล่าวได้ว่า ความไม่พอใจของผู้ชุมนุมต่อมาตรการดังกล่าวมีอิทธิพลหรือมีส่วนผลักดัน เรื่องนี้ไม่น้อย ดังที่เห็นได้จากการที่แกนนำต้องออกมาทำความเข้าใจ ชี้แจงกับผู้เข้าร่วมการชุมนุมหลายครั้ง

          เป็น เรื่องที่ค่อนข้างปกติสำหรับการจัดการชุมนุม ไม่เฉพาะของคนเสื้อแดงเท่านั้น สิ่งที่ผู้นำหรือผู้จัดการชุมนุมต้องเผชิญไม่ใช่เฉพาะฝ่ายต่อต้านการเคลื่อน ไหวหรือฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้น แต่รวมทั้งการจัดการบริหารอารมณ์ความรู้สึกและความคาดหวังของผู้เข้าร่วมการ ชุมนุมด้วย นั่นคือ ต้องพยายามหามาตรการที่สร้างแรงกดดันต่อฝ่ายตรงกันเพิ่มขึ้นหรือยกระดับ มาตรการในการกดดันนั่นเอง เมื่อการเคลื่อนไหวเฉพาะที่ได้ดำเนินการมาแล้ว มีแนวโน้มว่าส่งผลสะเทือนหรือสร้างแรงกดดันได้ไม่มากนัก และแนวโน้มที่สำคัญในส่วนนี้คือ การหันไปใช้วิธีการที่เป็นการท้าทายหรือขัดขวางระบบการเมืองปกติ (disruptive action) มากขึ้น  เพื่อ ที่จะดึงให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้ามาทำการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มความสุมเสี่ยงในการที่จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย (กรณีที่ผิดกฎหมาย) หรือถูกปราบปรามได้ด้วยเช่นกัน

          การระดมคนเพื่อ “เคลื่อนขบวนใหญ่” ในวันวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2553 เพื่อ รณรงค์ออกไปทั่วกรุงเทพฯ นั้น กล่าวได้ว่า เป็นการผสมผสานกันแบบกล้าๆกลัวๆ ของแกนนำระหว่างความต้องการที่จะยกระดับมาตรการการเคลื่อนไหว “ขัดขวางกรุงเทพฯ” กับ “การรณรงค์” เพื่อชี้แจงกับประชาชน ซึ่งแม้จะมีผลดีในทางจิตวิทยาต่อผู้ชุมนุมก็ตาม แต่ก็ไม่อาจที่จะตอบสนองเป้าหมายในการกดดันต่อรัฐบาลได้ เนื่องจากแม้การเคลื่อนขบวนใหญ่ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบร่วม 8 ชั่วโมง ซึ่งได้เข้าไปขัดขวางการใช้ชีวิตปกติของคนกรุงเทพที่ขบวนเคลื่อนผ่านก็แต่เป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือเพียงหนึ่งวันเท่านั้น

ขณะที่ในอีกสัปดาห์ต่อมา แกนนำได้ประกาศระดมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 27 มีนาคม 2553 โดย ไม่ได้แจ้งเป้าหมายของการเคลื่อนไหวหรือรายละเอียดของกิจกรรมล่วงหน้า บอกเพียงแต่ว่าจะมีการลงมติเกี่ยวกับ “มาตการปลดแอกรัฐไทยออกจากอำนาจทหาร” โดยในวันดังกล่าว นปช. ได้เคลื่อนขบวน 8 สาย ไปกดดันแคมป์ทหารรอบพื้นที่ชุมนุมจำนวน 8 จุด ให้ถอนกำลังกลับหน่วย กรมกองของต  ถึงแม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ โดยทหารทุกจุดจะยอมถอนกำลังออกจากที่ตั้งทั้งหมด (ยกเว้นในทำเนียบรัฐบาล) แต่ก็ไม่สามารถที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังที่ประกาศหรือโฆษณาได้แต่อย่างใด

ท้ายที่สุด หลังจากการยุติการเจราจา การยกระดับของการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลก็เกิดขึ้น ตามตรรกะของมัน โดยหันไปใช้วิธีการขัดขวางท้ายระบบการเมืองปกติ (disruptive action) ที่มีลักษณะสำคัญมาก ในวันที่ 3 เมษายน 2553 โดยการเข้าไปครอบครอง-ยึด พื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบ อันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ในการชุมนุม ซึ่งวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ใช่เป็นเพียงการท้าทาย-ขัดขวางต่อรัฐบาลเท่านั้นแต่เป็นการขัดขวางชีวิตของเมืองหลวงและคนกรุงเทพฯจำนวนหนึ่ง

3. 10 เมษายน 2553 :  ความรุนแรงและผลกระทบต่อการชุมนุมภาพรวม

            การ เคลื่อนขบวนไปปักหลักชุมนุมอย่างยืดเยื้อที่แยกราชประสงค์อีกจุดหนึ่ง แน่นอนที่สุดย่อมสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลมากขึ้น แม้ว่าจะทราบภายหลังว่า การตัดสินใจดังกล่าวของแกนนำในเรื่องนี้ไม่ได้มีการปรึกษาหารือหรือตัดสินใจ อย่างรอบคอบมาก่อน (ทราบว่า ตอนแรกตั้งใจจะไปปักหลักเพียง 1 วัน ที่มีการเคลื่อนขบวนออกไปเท่านั้น และการตัดสินใจปักหลักยืดเยื้อเกิดขึ้นในภายหลัง ตอนเย็นของวันนั้น) แต่ผู้ชุมนุมที่ต้องการให้สร้างแรงกดดันกับรัฐบาลมากขึ้นส่วนใหญ่สนับสนุนมา ตการดังกล่าว เห็นว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่ได้ยึดกุมหัวใจทางเศรษฐกิจและการค้าของ คนกรุงเทพ และบีบให้รัฐบาลต้องตัดสินใจ มีการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ตามมาของมาตรการในลักษณะนี้คือ การเผชิญหน้าและความเสี่ยงของความเป็นไปได้ของการถูกปราบปรามที่มากยิ่งขึ้น ไปด้วย ซึ่งมาพร้อมกับความตึงเครียดในการชุมนุม

โดย ทันที หลังจากผู้ชุมนุมได้ไปปักหลักที่แยกราชประสงค์ สถานการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น รัฐบาลได้ออกประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่เนื่องจาก “การชุมนุมที่แยกราชประสงค์เป็นจุดสำคัญซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ” และมีการเรียกร้องให้กลับมาชุมนุมที่ผ่านฟ้าเพียงจุดเดียว และตามมาโดยการสร้างแรงกดดันและเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับจากเจ้าหน้าที่ ทั้งตำรวจและทหารโดยตลอดในบริเวณรอบๆ พื้นที่ชุมนุมและจุดอื่นที่มีการเคลื่อนขบวนออกไป

          ก่อนเที่ยงของวันที่ 10 เมษายน 2553 เมื่อมีข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุมอย่างแน่นอนแล้ว (หลังจากมีข่าวลือมาหลายวัน) ผู้เขียนกับเพื่อนต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางไปที่จะใดเพราะไม่ทราบอย่างแน่ นอนว่ารัฐบาลจะเข้าทำการสลายที่ราชประสงค์หรือผ่านฟ้า-ราชดำเนินหรือทั้งสองที่ แม้ว่าก่อนหน้านั้นรัฐบาลจะประกาศว่าต้องการขอพื้นที่ราชประสงค์คืนและยินยอมให้มีการจัดการชุนมุมที่ผ่านฟ้า-ราชดำเนินได้ ผู้เขียนกับเพื่อนเกือบ 20 คน ตัดสินใจเดินทางไปที่ผ่านฟ้า-ราช ดำเนิน เพราะไม่เชื่อข้ออ้างของรัฐบาลเรื่องการขอพื้นที่ราชประสงค์คืน (ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง เป้าหมายจะต้องเป็นราชประสงค์ ไม่ใช่ผ่านฟ้า-ราช ดำเนิน) และด้วยเหตุผลอื่นที่มากกว่าข้อเรียกร้องการยุบสภาที่อีกฝ่ายยินยอมไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าการยุบสภาเป็นเพียงข้อเรียกร้องหรือขั้นตอนไปสู่อย่างอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปราบปราม-กำราบขบวนการดังกล่าวตั้งแต่ต้น อย่างที่เคยพยายามดำเนินการมาแล้วตั้งแต่การชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม 2550 และสงกรานต์เลือด 2552 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการชุมนุมใน 2 พื้นที่ การชุมนุมที่ผ่านฟ้า-ราช ดำเนินมีลักษณะที่ง่ายต่อการปราบปรามกว่า เนื่องจากมีผู้ชุมนุมน้อยกว่า มีพื้นที่กว้าง มีทางเข้าออกเคลื่อนกำลังได้หลายทาง และมีความเสี่ยงต่อการเสียหายน้อยกว่า

          การประเมินของพวกเราถูกต้อง เมื่อเดินมาถึงผ่านฟ้า-ราชดำเนินราวเที่ยงวัน พวกเราไปรวมตัวกันที่แนวของทหารที่แยกจปร. ทางขึ้นสะพานพระราม 8 จุด นี้ ยังไม่มีการปะทะ แต่พบว่า นอกจากทหารที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จะมีโล่และกระบอง ปืนที่ใช้ยิงกระสุนยางแล้ว ก็ยิงมีอาวุธร้ายแรงอย่างเช่นปืน M 16 ด้วย ในจุดนี้ ผู้ประชุมพยายามเอารถยนต์ รั้วเหล็ก และตัวเองไปขวางทหาร และพยายามขอร้องไม่ให้ปราบปรามประชาชน ขณะที่ทหารที่อยู่บนรถเครื่องเสียงก็ประกาศให้ผู้ชุมนุมสลายการชุมนุมเนื่อง จากเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

พวก เราอยู่ในจุดดังกล่าวได้สักพักหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงปืนดังถี่รั่ว จำนวนมาก จากอีกด้านหนึ่ง คือ บริเวณทำเนียบรัฐบาล ผู้เขียนและเพื่อนอีกส่วนหนึ่งจึงวิ่งไปที่จุดที่มีเสียงปืน ระหว่างทางซึ่งไม่ได้ไกลมากนัก มีรถเตอร์ไซต์หลายคันนำผู้รับได้รับบาดเจ็บวิ่งสวนเข้ามา บางคนศรีษะแตกและมีรอยบวมขนาดใหญ่ บางคนมีบาดแผลแตกและรอยบวมขนาดใหญ่ที่ร่างกาย (ซึ่งทราบต่อมาภายหลังว่า เป็นบาดแผลที่เกิดจากกระสุนยาง) เมื่อไปถึงหน้าสหประชาชาติ ใกล้สะพานมัฆวาน ผู้เขียนเห็นผู้ชุมนุมพยายามใช้ขวดน้ำ สิ่งของไม้ ก้อนอิฐ ที่อยู่บริเวณนั้นขว้างไปยังแนวของเจ้าหน้าที่ และขณะที่มีการยิงปืนและแก็สน้ำตาจากแนวของทหารอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนใช้ผ้าที่เตรียมไว้ชุมน้ำเพื่อปิดจมูก และวิ่งเข้าไปหลบวิถีกระสบยางที่เชิงสะพานและพยายามถ่ายรูปไว้ ผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหน้าสุดวิ่งกลับมาหาน้ำล้างหน้าบรรเทาพิษจากแก็สน้ำตา เมื่อเสียงปืนหยุด ผู้ชุมนุมก็จะเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ ขว้างปาสิ่งของ เช่น ขวดน้ำ ก้อนหิน แม้กระทั่งสาก หรือครก จาน กะละมัง สิ่งที่หาได้บริเวณนั้น ใส่เจ้าหน้าที่อีก และเมื่อเสียงปืนดังขึ้น ก็จะถอยและวิ่งหาที่หลบ เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้ง ราวเกือบหนึ่งชั่วโมง ครั้งหลังสุด เมื่อเสียงปืนหยุดลง ผู้ชุมนุมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ซึ่งยังปักหลักอยู่บางส่วนโดยไม่มีอาวุธ อย่างอื่นนอกจากโล่และกระบอง และพยายามผลักดันในเชิงขอร้องว่า อย่าทำร้ายประชาชน ประชาชนไม่มีอาวุธ และให้กลับเข้าไป แต่ก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมอีกบางส่วนซึ่งเป็นคนหนุ่มที่รู้สึกโกรธแค้น พยายามเข้าไปทำร้าย ทุบตีเจ้าหน้าที่ แต่กลุ่มการ์ดและผู้ชุมนุมส่วนใหญ่พยายามล็อคตัวหรือกันเอาไว้เพื่อไม่ให้ เข้าถึงหรือขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่อีก จนในที่สุด เจ้าหน้าที่ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในทำเนียบรัฐบาลและบริเวณหลังแยกมิสกวัน

ผู้ ชุมนุมเล่าว่า ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ทหารได้ตั้งแนวและเข้ามาสลายการชุมนุมถึงบริเวณหน้าสหประชาชาติ แล้ว แต่พวกเขาพยายามสกัด ต่อต้านการสลายจนเจ้าหน้าที่ต้องถอยร่นออกไป หลังจากการปะทะยุติในจุดนี้ยุติลง ผู้ชุมนุมได้นำปลอกกระสุนปืน M 16 และ กระสุนปืนที่ยังมีหัวกระสุนอยู่อีกจำนวนหนึ่งแสดงให้ผู้สื่อข่าวถ่ายรูป เพื่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้กระสุนยางเพียงอย่างเดียวอย่างที่อ้าง กัน

หลังจากการปะทะยุติลงสักพักหนึ่ง  พวก เรามานั่งพักอยู่หน้ากองทัพบก เพื่อรอดูสถานการณ์และเช็คข่าวว่าฝ่ายรัฐบาลและทหารจะเอาอย่างไรกับการ ชุมนุมต่อ และได้รับข่าวว่าอย่างไรเสียรัฐบาลจะสลายการชุมนุมให้ได้ภายในตอนเย็น  ราวเกือบสี่โมง พวกเราเดินมาที่หน้ากระทรวงเกษตรฯ พบป้า 2 สองคนจากภาคอิสาน อายุรวมกันน่าจะมากกว่า 120 ปี ที่แม้จะตกอยู่ในอาการหวาดกลัว แต่ก็ยังทำหน้าที่ของตนคือ เตรียมข้าวเหนียวและปลาแห้ง และแจกจ่ายให้กับผู้ชุมนุมที่ผ่านไปมา พร้อมกับด่าทอ สาปแช่งรัฐบาลและทหารที่เข้าทำการสลายการชุมนุม พวกเราได้อาหารมื้อแรกของวันจากป้าทั้งสองคนนั้น

หลัง จากทานอาหารเสร็จ ผู้เขียนได้รับยินประกาศบนเวทีว่า มีกำลังทหารมาประชิดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสี่แยกคอกวัว จึงเดินไปที่จุดดังกล่าว เมื่อไปถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พบรถหุ้มเกราะและทหาร พร้อมอาวุธครบมือตั้งอยู่ที่ตรงถนนทางด้านขวาของอนุสาวรีย์ ในซอยหน้าโรงเรียนสตรีวิทย์ ขณะที่ผู้ชุมนุมได้ยืน-นั่ง ขวางไม่ให้ทหารเคลื่อนออกมาจากซอยได้ บางคนที่อยู่ด้านหน้าได้ถือพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและชูขึ้นเพื่อให้ทหารเห็น

ราว 5 โมง เย็น เฮลิคอปเตอร์ที่บินวนอยู่ไม่สูงนัก ได้ทิ้งแก็สน้ำตาลงมาที่อนุสาวรีย์หลายรอบ เมื่อมีแก็สน้ำตาตกลงมา ผู้ชุมนุมจะวิ่งกระจายกันหลบแก็สน้ำตา บางคนก็หากะละมังหรือถังมาครอบไว้ เมื่อควันน้อยลงผู้ชุมนุมก็กลับมาที่อนุสาวรีย์ใหม่ เพื่อบล็อกทหารไว้เหมือนเดิม นอกจากนั้นที่เวทีสะพานผ่านฟ้าก็ถูกแก็สน้ำตาเหมือนกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน ทางเวทีผ่านฟ้า โดยคุณวิสา คัญทัพ ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมมารวมตัวกันอย่างสงบหน้าเวทีเพื่อความปลอดภัย พร้อมประกาศว่าหากต้องการจับกุมแกนนำก็ให้เข้ามาจับกุมได้ที่เวทีโดยจะไม่ทำ การต่อสู้ขัดขืน เพื่อป้องกันการสูญเสีย

ผู้ เขียนและเพื่อนอีกจำนวนหนึ่งที่กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ นัดไปรวมตัวกันที่สี่แยกคอกหัว ซึ่งกำลังทหารตั้งอยู่อีกจุดหนึ่ง ในซอยฝั่งถนนข้าวสาร ห่างจากสี่แยกราว 100 เมตร และหาซื้ออาหารรับประทานเพื่อเตรียมตัวรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป พวกเราแซวกันเองว่า “ฉลาดว่ะ” ที่มาอยู่ตรงจุดนี้ เพราะน่าจะปลอดภัยที่สุด เนื่องจากหากเกิดการปราบปรามอีกรอบหนึ่งจุดนี้คงไม่หนักมากเพราะมีชาวต่าง ประเทศอยู่ด้วยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พวกเราเชื่อกันว่า การปราบปรามของฝ่ายทหารจะไม่ยุติลงเท่านี้ จึงปักหลักกันอยู่บริเวณนั้น

หลังเคารพเพลงชาติราว 45 นาที ทหารที่นั่งอยู่ถูกสั่งเสียงดังมากให้ลุกขึ้นจัดแถวเตรียมพร้อม ผู้ชุมนุมเห็นดังนั้นก็ได้ส่งเสียงบอกคนอื่นๆ ให้มาตั้งแถวรับ โดยมีการนำแผงเหล็กมากั้น ต่อด้วยตัวผู้ชุมนุมที่ตั้งแถวเป็นแนวหน้ากระดานเพื่อผลักดันกับเจ้าหน้าที่ มีการนำรถกระบะเข้ามาอยู่ด้านหลังอีกแนวหนึ่ง ผู้เขียนกระโดดขึ้นรถยนต์เพื่อถ่ายรูป ขณะที่เพื่อนอีกส่วนหนึ่งเข้าไปอยู่แถวหน้าเพื่อผลักดันกับทหาร ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งได้นำไม้ขนาดความยาว 1-1.5เมตร มาแจกจ่ายกันเพื่อต่อสู้-ป้องกัน อีกไม่กี่นาทีต่อมา ทหารเริ่มขยับเข้ามาหาแถวผู้ชุมนุมและเกิดการผลักดันกัน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหลังเริ่มขว้างสิ่งของ เช่น ขวด ก้อนหิน ไม้ เข้าใส่แนวของทหาร ของพวกนี้จำนวนหนึ่งก็โดนผู้ชุมนุมด้วยกันเองด้วย และเกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้แถวหน้าของผู้ชุมนุมต้านไว้ไม่ไหวและแตกในที่ สุด และมีการข้วางปา ปะทะ ผลักดันกันไปมาอีกช่วงหนึ่ง ก็เกิดเสียงปืนดังขึ้น

แม้ จะมีการการยิงจากฝั่งเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ชุมนุมส่วนมากที่อยู่บริเวณนั้นก็ไม่กลัว พยายามใช้สิ่งของที่มีอยู่ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ เช่น ไม้ อิฐบล็อกที่ปูทางเท้า รวมทั้งระเบิดเพลิง โมโลต๊อบที่ทำขึ้นเอง ขว้างใส่ทหารที่บุกเข้ามา และใช้ไม้ไล่ตีกลับไป และเมื่อมีการยิงกลับมาอย่างหนักก็ถอยร่นกลับมา เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ราวครึ่งชั่วโมง

เพื่อนของผู้เขียนได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางและอีกหนึ่งคนเป็นตะคริว พวกเราจึงถอยออกมาปฐมพยาบาลด้านหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา หลังจากนั้นผู้เขียนก็สังเกตว่าเสียงปืนก็เปลี่ยนไป และมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บถูกหามออกมาอย่างต่อเนื่อง และพวกเราก็เข้ามาหลบและพักอยู่ด้านในอนุสรณ์สถาน

พวก เรารู้ว่านั่นคือ กระสุนจริง และภาวะแบบนั้นพวกเราไม่กล้าที่จะเข้าไปอยู่ในแนวปะทะอีกแล้ว ถึงแม้ว่าพวกเราซึ่งเป็นนักกิจกรรมจะเคยเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ในการสลาย การชุมนุมหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยเผชิญหน้ากับวิธีการสลายการชุมนุมอย่างนี้มาก่อน แต่มีคนเสื้อแดงอีกจำนวนหนึ่งกล้า ด้วยเหตุผลที่หลายคนพูดคุยกันและการประกาศระดมกำลังคนมายังจุดต่างๆ ก่อนจะเกิดเหตุความรุนแรงในตอนค่ำว่า มา “ปกป้อง” พี่น้องเรา ซึ่งหมายถึง ผู้ชุมนุมที่เหลือ จากการปราบปรามของทหาร

ในการสลายการชุมนุมปกติของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาสลายการชุมนุมของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ที่พวกเราเคยเข้าร่วม อย่างกรณีสมัชชาคนจน  สิ่งที่เจอก็คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่และกระบอง การเผชิญหน้า-การ ตั้งแนวผลักดันกับเจ้าหน้าที่ในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ สิ่งที่รู้แน่นอนคือ อย่างมากที่สุดหากจะได้รับบาดเจ็บก็จะเป็นในลักษณะที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น ถูกตีหัวแตก แขน-ขาหัก มีเจ้าหน้าที่น้อยคนนักที่จะตีพวกเราอย่างรุนแรงด้วยความโกรธแค้น บางคนก็ตีไม่หนักมากเพื่อให้กลัว ให้แตกแถว หรือผลักให้ล้มเสียมากกว่า ขณะที่พวกเขาก็รู้ว่าตัวเองจะไม่ถูกทำร้ายอย่างรุนแรงเช่นเดียวกันเพราะพวก เขาเห็นว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธแต่อย่างใด

ด้าน บนของอนุสรณ์สถานกลายเป็นที่หลบกระสุนพวกเราและผู้เข้าร่วมชุมนุมอื่นๆ เกือบร้อยคน ขณะที่มองออกไปที่สี่แยกก็เห็นร่างของผู้ชุมนุมถูกหามมาส่งที่รถพยาบาลคน แล้วคนเล่า สักพักใหญ่ก็มีรุ่นน้องที่ธรรมศาสตร์วิ่งมาบอกว่าเห็นคนชุดดำราว 5-6 คน พร้อมอาวุธเดินเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุม เสียงปืนยังดังขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะ รวมทั้งระเบิดดังขึ้นด้วย พวกเรายังปักหลักอยู่ที่เดิม นานมากขนาดไหนไม่รู้ จนกระทั่งได้ยินเสียงประกาศจากเวทีว่ามีการเจราจาหยุดยิง และขอให้ทุกฝ่ายหยุดยิง หลังจากนั้น เสียงปืนจึงหยุดลง

เมื่อ เหตุการณ์ความรุนแรงยุติลง ผู้เขียนและผู้ชุมนุมอื่น ได้เดินไปดูที่จุดเกิดเหตุ ดูรอยเลือด รอยกระสุนตามรถ ผนังอาคารต่างๆ พร้อมกับการเล่าเรื่องของผู้อยู่ในเหตุการณ์ให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ใน เหตุการณ์ฟัง

คืน นั้น ผู้เขียนและเพื่อนๆ นอนที่บริเวณด้านบนของอนุสรณ์สถาน เพื่อรอดูเหตุการณ์ เพราะไม่มีใครแน่ใจว่าจะอะไรขึ้นอีกในคืนนั้น เพราะในประเทศนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ แม้จะรู้ว่าตัวเองอาจจะไม่สามารถที่จะช่วยเหลืออะไรได้เลยก็ตาม

หลังจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 สิ่งที่เกิดขึ้น สำหรับผู้ชุมนุม คือ (1) ความเชื่อที่ว่ารัฐบาลและผู้มีอำนาจ ต้องการปราบปราม-กำจัด คนเสื้อแดงนั้นถูกทำให้เป็นจริง ไม่มีใครเชื่ออีกแล้วว่าพวกเขาจะไม่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงอีก และตามมาด้วยความกลัวและความหวาดระแวงต่อการปราบปราม (2) ความโกรธแค้นชิงชังต่อรัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่รุนแรงมากขึ้น  (3) ความต้องการที่จะแก้แค้น เอาคืนให้กับเพื่อนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งในที่นี้มิได้หมายถึง การฆ่าเพื่อล้างแค้น แต่หมายถึง การเอาผู้ที่กระทำผิดมาลงโทษ และสืบสานเจตนารมณ์ของเพื่อนผู้เสียสละ นั่นคือ การมุ่งไปสู่เป้าหมายที่เรียกร้องให้ได้

4. หลัง 14 พฤษภาคม 2553

หลังจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 การชุมนุมที่ผ่านฟ้าถูกย้ายไปรวมกันที่ราชประสงค์ทั้งหมดในวันที่ 14 เมษายน   แต่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ฝ่ายผู้ชุมนุมกลับเป็นฝ่ายตั้งรับเป็นด้านหลัก คือ ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว มีลักษณะถูกปิดล้อมในด้านต่างๆ  เกิดเหตุความรุนแรง และการเผชิญหน้ารอบๆ ที่ชุมนุม ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ การพยายามป้องกันการปราบปราม เช่น สร้างป้อมปราการ-ด่านขึ้นมาโดยใช้ยางรถยนต์และไม้ไผ่ 6 จุดทุกแยกที่สามารถเข้าสู่แยกราชประสงค์ได้ เพื่อป้องกันการเข้าสลายการชุมนุมของทหาร ในวันที่ 20 เมษายน 2553 หรือการที่ผู้ชุมนุมในต่างจังหวัดหรือจังหวัดรอบนอกพยายามขัดขวางการเดินทาง เข้ากรุงเทพฯ ของกำลังตำรวจหรือทหาร ขณะที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากที่อยู่ตามจุดต่างๆ ล้วนมีอาวุธประจำกาย คือ ไม้ไผ่ปลายแหลมกันแทบทุกคน และสถานการณ์การชุมนุมก็ยิ่งตึงเครียดมากขึ้น คือ ต้องคอยระวังว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาสลายการชุมนุมตอนไหน

          เมื่อรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีประกาศ Road Map ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 ผู้ เขียนภาวนาขอให้ผู้นำตัดสินใจรับข้อเสนอของรัฐบาลโดยทันที โดยไม่ต้องสนใจรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องอื่นแต่อย่างใด แค่ได้ข้อยุติเรื่องการเลือกตั้งใหม่ก็น่าจะเพียงพอต่อการยุติการชุมนุม เพราะเชื่อว่านี่เป็นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นอีกหากไม่ เป็นเช่นนั้น  

          ในช่วงนี้ ในตอนกลางคืน  หลาย ครั้งที่ผู้เขียนไปนอนที่บริเวณแยกศาลาแดงซึ่งเป็นจุดที่ล่อแหลมและตึง เครียดมากที่สุด และมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยในช่วงนี้ผู้ชุมนุมที่อยู่ในจุดดังกล่าว ในตอนกลางคืน แทบจะไม่ได้นอน และตื่นตระหนกต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยรอบตลอดเวลา

          รัฐบาลได้ทำการปิดล้อมที่ชุมนุมและใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13  พฤษภาคม 2553 ในวันที่ 14 เมษยน 2553 ตอนเที่ยง ผู้เขียนอยู่ในกลุ่มช่างภาพ-นัก ข่าว ที่แนวหลังของทหาร บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสวนลุมพินี หน้าอาคารลุมพินีพาร์ควิว ซึ่งก่อนที่ทหารจะมาตั้งตรงนี้ พวกเขาได้เข้าสลายการชุมนุมที่แยกวิทยุก่อน และผลักดันให้ผู้ชุมนุมถอยไปอยู่บริเวณใต้สะพานลอย ปากซอยงามดูพลี โดยทหารใช้ปืน (ในเบื้องต้นเข้าใจว่าเป็นกระสุนยาง) ยิงไปที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรื่อยๆ เพื่อผลักดันให้ถอยห่างออกไป ขณะที่ผู้ชุมนุมได้จุดพลุขนาดเล็กมายังแนวทหาร และยิงหนังสติ๊กตอบโต้เป็นบางครั้ง มีรถพยาบาลวิ่งมารับผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่งไปส่งโรงพยายาบาล  ผู้เขียนเดินตามหลังแนวของทหารไปถึงปากซอยงามดูพลี ขณะที่ผู้ชุมนุมก็ถอยออกไปเรื่อยๆ ให้ห่างแจกแนวของทหารราว 150 เมตร และตอบโต้กับทหารเป็นระยะๆ ระหว่างทางผู้เขียนเดินเก็บปลอกกระสุนที่ตกอยู่ตามพื้น พบว่า ไม่ได้มีแค่กระสุนยางที่ใช้กับปืนลูกซองเท่านั้น แต่รวมถึงกระสุนปืน M  16 ด้วย นอกจากจุดนี้แล้ว ผู้เขียนได้ยินเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะตั้งแต่ตอนเช้าบริเวณสวนลุมพินี

          ผู้ เขียนออกจากจุดดังกล่าวในตอนค่ำ กลับมาติดตามข่าวการปะทะ พบว่ามีประชาชนที่รวมตัวกันรอบพื้นที่ชุมนุมเนื่องจากเข้าไปในราชประสงค์ไม่ ได้และถูกยิงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก และได้ออกไปสำรวจจุดต่างๆ โดยรอบ ในวันต่อมา 15 มีนาคม 2553 ผู้ เขียนและเพื่อนนักกิจกรรม ร่วมกับครูประทีบ อึ๊งทรงธรรม ฮาตะ และ สนนท. ได้ตัดสินใจจัดตั้งเวทีชุมนุมขึ้นที่บริเวณสามแยกตลาดคลองเตย (และในวันต่อมา ได้ประสานกับกลุ่มเพื่อนให้ช่วยจัดตั้งเวทีการชุมนุมในลักษณะเดียวกัน ในจุดที่มีผู้ชุมนุมมารวมตัวกันรอบแยกราชประสงค์ คือ หน้าพรรคเพื่อไทย-แยก สามย่าน, ใต้ทางด่วนดินแดง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นต้น) เพื่อเป้าหมายที่เป็นทางการ คือ เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน แต่สิ่งที่พวกเรามีอยู่ในใจ คือ เราหวังว่า การจัดการชุมนุมอย่างสันติในรอบนอกในลักษณะนี้จะส่งผลให้ 1) สนับสนุนการชุมนุมที่ราชประสงค์ คือ ทำให้ฝ่ายปราบปราม รัฐบาล เห็นว่านอกจากมีผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์แล้ว ยังมีการชุมนุมอย่างสงบและสันติรอบๆอีกด้วย เพื่อสร้างแรงกดดันต่อฝ่ายรัฐบาล ทำให้การตัดสินใจใช้ความรุนแรงเข้าไปสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เป็นเรื่อง ที่ยากลำบากมากขึ้น 2) ลดการสูญเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บของผู้ชุมนุมที่จะเดินเข้าไปเผชิญหน้ากับ ทหาร หรือพยายามที่จะฝ่าวงล้อมของทหารที่ปักหลักอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อเข้าไปรวมตัวและช่วยเหลือเพื่อนๆที่อยู่ในราชประสงค์ ซึ่งการกระทำเช่นนั้นมีแต่เจ็บและตายเท่านั้นดังที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมา

          พวก เราเดินทางไปรวมตัวกันที่สามแยกตลาดคลองเตยในตอนเย็น เมื่อผู้ชุมนุมที่รวมตัวอยู่แถวนั้น (จำนวนหนึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นคนขับแท็กซี่) เห็นและทราบว่าครูประทีปและทีมงานจะมาจัดตั้งเวทีปราศรัยและชุมนุมในจุดดัง กล่าว พวกเขาตบมือโห่ร้อง แสดงความดีอกดีใจ ที่พวกเขาจะได้มีผู้นำในการเคลื่อนไหว เนื่องจากก่อนหน้านี้ พวกเขารวมตัวกันอย่างไร้การนำและไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดีกับสถานการณ์ดัง กล่าว

          พวก เราใช้รถกะบะสี่ล้อเป็นเวทีปราศรัยเล็กๆ สิ่งแรกที่ต้องพยายามที่จะทำก็คือ การพยายามชี้แจงวัตถุประสงค์ของการชุมนุมอย่างสงบและสันติ ไม่มีอาวุธ และที่สำคัญ คือ โน้มน้าวให้เห็นว่าการกระทำอย่างนี้จะช่วยเพื่อนที่ราชประสงค์ได้อย่างไร  ดีกว่าสถานการณ์เมื่อ 2 วันที่แล้ว และลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างไร โดยในคืนแรก (15 สิงหาคม 2553) มีผู้ชุมนุมที่บริเวณตลาดคอลงเตยไม่มากนัก ขณะที่ส่วนหนึ่งไปรวมตัวกันที่บริเวณใต้ทางด่วนพระราม 4 เหมือนที่เคยเป็นมาก่อนหน้านั้น

การรักษาความปลอดภัย ที่ไร้อาวุธ และไม่ต่อสู้

          ภารกิจ ที่ผู้เขียนได้รับในคืนวันนั้น คือ การจัดระบบรักษาความปลอดภัยในการชุมนุม มีพื้นที่ต้องรับผิดชอบคือ ด้านซ้าย ตั้งแต่สี่แยกคลองคลองเตยมาถึงเวทีปราศรัยชุมนุมซึ่งเป็นสามแยกตรงป้อมตำรวจ ทางด้านหน้า ถึงโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์  ขณะที่ทางด้านขวา ไปถึงหน้าทางเข้าชุมชนเทพประทาน ห่างจากเวทีประมาณ 150 เมตร เหตุที่พวกเราจำกัดพื้นที่รับผิดชอบในการชุมนุมเนื่องจากไม่ทราบว่าใครเป็น ใครในสถานการณ์ดังกล่าว และกำจัดการเคลื่อนไหวในลักษณะที่สันติ ปราศจากอาวุธเท่านั้น ทั้งนี้ มีผู้สมัครมาเป็นการ์ดอาสาจำนวนราว 100 คน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วไปและอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มากนัก มาจากการ์ด นปช. ที่ไม่สามารถที่จะกลับเข้าไปในพื้นที่การชุมนุมได้

เมื่อ ผู้เขียนชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ทั่วไปของการจัดการชุมนุมอย่าง ละเอียดอีกครั้ง การ์ดอาสาทุกคน เข้าใจดีและเห็นชอบด้วย แต่เมื่อถึงขั้นตอนของการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยที่การ์ดทุกคนจะต้อง ไม่มีอาวุธ และหากเจ้าหน้าที่จะเข้าทำการจับกุมหรือสลายการชุมนุม แกนนำจะยอมให้จับกุม และการ์ดจะต้องไม่ต่อสู้หรือขัดขืน หน้าที่ของการ์ดมีหน้าที่เพียงตรวจตรา รักษาความเรียบร้อยของการชุมนุม ตรวจตราอาวุธ และอำนวยความสะดวกต่างๆ เท่านั้น การ์ดอาสาบางส่วนที่เป็นการ์ด นปช. เริ่มตั้งคำถามหรือสงสัยกับวิธีการปฏิบัติดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า เขาไม่สามารถที่จะทำอย่างนั้นได้ หากไม่มี “เครื่องมือ” [ไม่ได้หมายถึงอาวุธอย่างปืนหรือระเบิดแต่อย่างใด แต่หมายถึง พวกไม้ เหล็กหรือประทัดยักษ์ พลุ เป็นต้น] ไว้ ต่อสู้หรือป้องกันการก่อกวนจากฝ่ายตรงกันข้าม อย่างน้อยก็ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกลัว หรือยื้อเวลาหากมีการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่

ผู้ เขียนไม่มีคำอธิบายที่ดีนักในเรื่องนี้ แต่พยายามเน้นย้ำถึงเป้าหมายว่าไม่ได้ต้องการมาต่อสู้กับทหาร แต่ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการปราบปรามประชาชน และการไม่ต่อสู้และไม่มีอาวุธนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียน้อยกว่ากรณีแรกหากเกิดการปราบปราม และหากจะเกิดอะไรขึ้นให้มาแจ้งกับทางด้านเวที พวกเรา “แกนนำ” จะไปอยู่ด้านหน้า และไม่ทอดทิ้งกัน จะเกิดอะไรขึ้นก็ให้เกิดด้วยกัน ขอให้เชื่อมั่นต่อกัน

ใน อีกวันถัดมา ทั้งที่สี่แยกคลองเตยและหน้าโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ถูกปิดด้วยยางรถยนต์ เปิดให้รถวิ่งเข้าออกได้ช่องทางเดียว ครูประทีปได้รับการข้อร้องจากชาวบ้านที่อาศัยแถวนั้นให้เปิดถนนทั้งหมด และนำยางรถยนต์ออกไป เพราะพวกเขากลัวว่าจะมีการเผาเกิดขึ้น พวกเราประชุมกัน เห็นว่าควรจะเอายางรถยนต์ออกทั้งหมด เพราะต้องการให้รถผ่านไปมาสะดวกในตอนกลางวันและไม่ต้องการให้พื้นที่ชุมนุม ที่คลองเตยเป็นเหมือนราชประสงค์ไปอีกที่หนึ่ง คือ มีป้อมค่ายเหมือนสถานที่สู้รบทำสงครามมากกว่าพื้นที่ชุมนุมอย่างสันติ เพราะเห็นว่าสถานที่การชุมนุมมีผลต่อหรือกำหนดความเข้าใจต่อการชุมนุมของผู้ ชุมนุมเองและฝ่ายอื่นๆ

เข้า ใจว่าในตอนเย็นครูประทีปได้ไปคุยกับการ์ดในจุดดังกล่าวแล้ว แต่ยางรถยนต์ก็ไม่ถูกย้ายออกแต่อย่างใด ผู้เขียนจึงเข้าไปพูดคุยกับพวกเขาใหม่อีกครั้ง โดยพวกเขายืนยันว่า หากให้เอาออกไปทั้งหมดพวกเขาคงช่วยงานอีกไม่ได้ เพราะนอกไม่ให้มี “เครื่องมือ” อะไรสักอย่างไว้ป้องกันตัวเองแล้ว ก็ยังจะเอาที่กำบังออกอีก หากถูกโจมตีหรือก่อกวนพวกเขาก็จะตกเป็นเป้านิ่ง ในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่า ให้ย้ายยางรถยนต์มาไว้ที่ตรงมุมหนึ่งของถนนเพื่อไว้เป็นที่พัก กำบังตนเอง และจะไม่มีการเผายางรถยนต์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นซึ่งเป็น “พวกเรา” ได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้จริงๆแล้ว ผู้เขียนก็ไม่รู้จริงๆ ว่า คนที่อยู่แถวไหนเป็นพวกไหนกันแน่ ถึงแม้จะมีเพื่อนแถวนั้น บอกว่าส่วนใหญ่เป็นเสื้อแดงหรือสนับสนุนเสื้อแดง แต่มั่นใจว่าการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือดำเนินการที่จะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่แถวนั้น เป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับการชุมนุม

ตลอดการชุมนุม 4-5 วัน ในฐานะผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานกับการ์ดอาสา ผู้เขียนได้รับแต่ข่าวเรื่องการเคลื่อนของกองกำลังทหารเข้ามาสลายการชุมนุม การเข้ามาของฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อทำการก่อกวนต่างๆ จากการ์ด และการตื่นตระหนกของพวกเขาต่อเรื่องดังกล่าวตลอดเวลา แม้ว่าทางการ์ดที่ทำหน้าที่ลาดตระเวนจะไม่ได้แจ้งหรือรายงานเรื่องดังกล่าว ก็ตาม แต่ผู้เขียนก็ทำได้เพียงแต่ชี้แจงเขาว่ามีหน่วยลาดตระเวนอยู่รอบนอกแล้ว และขอให้ทำหน้าที่เพียงรักษาความปลอดภัยอยู่ในที่ตั้งเท่านั้น

การจัดการ ควบคุมควบคุมการชุมนุมบนเวทีปราศรัย

          หลังจากวันแรก เมื่อทราบข่าวว่า มีการตั้งเวทีปราศรัย-ชุมนุมที่แยกคลองเตยโดยครูประทีปและคณะ ก็มีผู้มาร่วมชุมนุมเพิ่มขึ้นทุกวัน  ดัง นั้น สิ่งที่ต้องเน้นย้ำกันทุกวันในตอนค่ำซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมมาก ที่สุดก็คือ การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี และแนวทางในการปฏิบัติที่ไม่ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่และไม่มีอาวุธ โดยผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการอธิบายเรื่องนี้บนเวที และแนวทางปฏิบัติต่างๆ ในการชุมนุม รวมทั้งอันตรายและการสูญเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าไปในแนวปะทะ และแม้กระทั่งเรื่องของการทำงานของสันติวิธีและความเป็นไปได้ของความสูญเสีย ที่น้อยกว่าหรือความปลอดภัยที่มีมากกว่าโดยเปรียบเทียบ พวกเราอาจจะอธิบายได้ไม่ดีนัก แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเห็นด้วยกับพวกเราและอยู่กับที่บริเวณที่ชุมนุมเป็น หลัก ระหว่างพัก เมื่อผู้เขียนเข้าไปคุยกับผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่ง อย่างน้อยเขาก็บอกว่า รู้สึกว่าปลอดภัย ไม่อันตรายมาก เมื่อมาร่วมชุมนุมกับเรา และการกระทำอย่างนี้ก็เป็นการสนับสนุนพี่น้องที่ราชประสงค์ และไม่เห็นด้วยกับการ “ฝ่าเข้าไปที่ราชประสงค์ให้พวกมันยิง”

         ขณะเดียวกัน บนเวทีปราศรัย แน่นอนที่สุด เมื่อมีเวทีตั้งขึ้น ก็มีนักปราศรัย “ขาจร” ก็มาขอขึ้นเวทีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากที่จะปฏิเสธ แต่พวกเราก็ตระหนักว่า คนเหล่านี้ต่างกับเราก็คือ พวกเราเป็นผู้จัดการชุมนุม อยู่กับการชุมนุมตลอด และต้องรับผิดชอบต่อผู้ชุมนุมที่เข้าร่วมกับเรา ขณะที่บางคนอาจจะปราศรัย “เอามัน” แสดงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว กล้าต่อสู้ แล้วก็จากไป ดังนั้น สำหรับคนที่เราไม่สนิทหรือไม่รู้จักมาก่อนว่า เป็นใคร หรือ มีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร ทางทีมงานก็จะช่วยกันพยายามอธิบายเป้าหมายให้ทราบ และขอร้องในประเด็นสำคัญคือ อย่าปลุกระดม สร้างความโกรธแค้นมากเกินไป และชวนประชาชนฝ่าแนวเข้าไปที่ราชประสงค์ รวมทั้งการเผา-ทำลายทรัพย์สินต่างๆ แต่ผู้ปราศรัยบางคนก็ “หลุด” บ้างเหมือนกัน [อาจจะตั้งใจหรือไม่ไม่อาจทราบได้] พิธีกร ต้องคอยตัดบทหรือแก้ไขชี้แจงทันที รวมทั้งการพยายามเน้นย้ำเรื่องการใช้ความรุนแรงว่าจะสร้างปัญหาเรื่องความ ชอบธรรมให้กับขบวนการเคลื่อนไหว ง่ายต่อการปราบปรามและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมากขึ้น หากเกิดอะไรขึ้นขออย่าให้ทำลายทรัพย์ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่แถวที่ชุมนุม เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะเป็นพี่น้องของพวกเรา แต่มันไม่เกิดประโยชน์อะไรสำหรับเป้าหมายของการต่อสู้ ทำให้เสียแนวร่วม และสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น เป็นต้น

          โดยภาพรวม การจัดการชุมนุมของพวกเรา ที่คลองเตย ตั้งแต่วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2553  ดำเนิน ไปด้วยดี ไม่มีปัญหาสำคัญ นอกจากปัญหาในลักษณะที่เป็นการจัดการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพราะพวกเรามีทีมงานไม่มากนัก และพวกเรา ยกเว้นครูประทีป เป็นหน้าใหม่สำหรับผู้ชุมนุม ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมที่มาก็ต่างคนต่างมา ไม่รู้จักกันมาก่อน เลยทำให้การจัดการบริหารมีอุปสรรคบ้าง แต่พวกเราพยายามที่จะแจ้งเรื่องต่างๆ ให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมรับรู้และช่วยกันแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ เป็นระยะๆ และทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปได้ ผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ดีมาก ขาดเหลืออะไรขอให้แจ้งหรือประกาศให้ทราบ ไม่นานนักก็จะมีผู้เข้ามาบริจาคโดยทันที

          ควร กล่าวไว้เพิ่มเติมว่า แม้เวทีที่คลองเตยจะตั้งขึ้นอย่างอิสระจากเวทีที่ราชประสงค์ แต่ก็มีการประสานงานกันระหว่างราชประสงค์และการชุมนุมจุดต่างๆรอบ ๆ และทางเวทีใหญ่ราชประสงค์ก็ได้ประกาศให้ประชาชนที่เข้าไปรวมตัวที่ราช ประสงค์ไม่ได้ให้มารวมตัวกันรอบนอก ซึ่งจุดที่คลองเตยก็เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดที่มีการปักหลักการชุมนุมต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะที่จุดอื่นๆ มีเพียงเวทีปราศรัยในตอนค่ำเท่านั้น ขณะเดียวกัน ในแง่ทิศทาง ทางด้านเวทีราชประสงค์ก็เห็นด้วยกับแนวทางที่ทางพวกเราเสนอ โดยแกนนำอย่างณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ได้โฟนอินมาที่เวทีคลองเตยในตอนค่ำของวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 นอก จากนั้น หลังจากการชุมนุมในวันแรก ได้มีการ์ดจาก “ส่วนกลาง” ได้เข้ามาช่วยเหลือผู้เขียนและการจัดการชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการกับผู้ที่เข้ามาป่วน สร้างความวุ่นวายในที่ชุมนุม หรือแม้กระทั่งคนที่มีบัตรการ์ดนปช.เอง ที่เข้ามาแสดงอาการ “กร่าง”  แสดงอำนาจบาดใหญ่ต่อผู้ชุมนุมหรือพวกผู้เขียนเองที่ไม่ใช่แกนนำที่พวกเขาเคยรู้จักมาก่อน

ใต้สะพานทางด่วน พระราม  4 –บ่อนไก่

          บริเวณใต้ทางด่านพระราม 4 ห่างจากเวทีที่แยกคลองเคยราว 500 เมตร เป็นจุดที่มีผู้ชุมนุมรวมตัวกันก่อนที่พวกเรามาตั้งเวทีปราศรัย โดยผู้ชุมนุมได้นำยางรถยนต์ มาตั้งไว้บริเวณใต้ทางด่วนเพื่อป้องกันกระสุนจากทหาร นอกจากนั้น ห่างออกไปจากใต้ทางด่วนไปอีกเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงสะพานลอยที่ปากซอยงามดูพลี ใกล้ธนาคารกรุงเทพฯ  ผู้ชุมนุมได้นำยางรถยนต์มาเผาไว้อีก 2-3 จุด โดยผู้ชุมนุมให้เหตุผลว่าเพื่อสร้างควัน ปิดบังไม่ให้เจ้าหน้าที่มองเห็นผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหลัง และสามารถยิงด้วยปืนสไนเปอร์ได้ เหตุผลนี้มาจากประสบการณ์ของพวกเขาในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา

          ผู้เขียนได้เข้าไปในจุดดังกล่าวในวันที่ 16  พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของ การจัดการชุมนุมของพวกเรา คนส่วนใหญ่ที่รวมตัวกันอยู่ในจุดนี้จะเป็นคนหนุ่มเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในอาการโกรธแค้นเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรง เพราะพวกเขาเห็นเพื่อนหรือญาติของพวกเขาถูกยิงบาดเจ็บ เสียชีวิต จำนวนมากในจุดปะทะบริเวณนี้นับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นมา และมีบางส่วน แต่สัดส่วนไม่มากนัก มีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง เมาสุรา และไม่ยอมฟังใคร  รวม ทั้งยุยงให้คนอื่นใช้ความรุนแรง เช่น ลุยเข้าไปไกล้แนวทหาร (ซึ่งจะถูกยิง) ชวนให้เผาสถานที่ต่างๆ หรือทะเลาะกับผู้คนในชุมชนรอบข้างโดยอ้างว่าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองที่ยิงปืน หรือหนังสติ๊กใส่ผู้ชุมนุม (ในประเด็นหลังนี้ไม่บอกได้ว่ามีการกระทำอย่างนั้นจริงหรือไม่) แต่ขณะเดียวกัน ก็มีคนอื่นเข้ามาห้ามปรามเช่นกัน ทั้งหมดนี้ มีส่วนทำให้การรวมตัวกันบริเวณนี้ โกลาหล วุ่นวาย ควบคุมกันไม่ได้ โดยในเบื้องต้น พวกเราพยายามแยกการชุมนุมออกจากการเคลื่อนไหวในจุดนี้ เพราะพวกเราไม่รู้จักใครเลยและไม่สามารถกุมสถานการณ์ในจุดนี้ได้ดังที่กล่าว มาแล้ว ต่อมาเมื่อคุณครูประทีป และผู้นำท้องถิ่นจากคลองเตย ซึ่งเป็นแกนนำในการชุมนุมเข้าไปแนะนำตัว พูดคุยกับพวกเขา รวมทั้งขอร้องว่าอย่าเผาทำลายทรัพย์สิน อาคาร และชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (ก่อนหน้านี้มีคนมาแจ้งว่ามีการยุยงให้มีการเผาชุมชนใกล้เคียงและจะทะเลาะ กับผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น) คนส่วนใหญ่ก็ให้การต้อนรับและยอมรับเป็นอย่างดี และการชุมนุมทั้ง 2 จุดก็ถูกเชื่อมโยงกันอย่างอัตโนมัติ เมื่อมีปัญหาอะไร พวกเขาก็จะประสานมาที่บริเวณคลองเตย และมีการติดต่อประสานงานกับบางระดับ

          ในช่วงนี้เอง ผู้เขียนได้รู้จักกับกลุ่มเยาวชนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในแถวหน้า ถัดไปจากใต้สะพานซึ่งมีคนส่วนใหญ่รวมกลุ่มอยู่  ทราบ ในเวลาต่อมาว่า เยาวชนกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งคือผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้นี่เอง โดยกลุ่มเหล่านี้เขากำหนดหน้าที่ให้กับตัวเขาในการอยู่แถวหน้าสุด สร้างแนวยางรถยนต์และเผาเพื่อสร้างควันไฟ  ยิงบั้งไฟ ขนาดเล็ก ขว้างประทัดยักษ์ ระเบิดปิงปอง ระเบิดประดิษฐ์เอง ซึ่งมีเสียงดังมากเหมือนระเบิด หรือแม้กระทั่งหนังสติ๊ก ตอบโต้กับทหาร โดยพวกเขาอธิบายกับผู้เขียนว่า เพื่อให้ทหารเข้าใจว่าพวกเขามีอาวุธ และต้องระวังหน้าระวังหลัง ไม่กล้าบุกเข้าไปสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ และไม่กล้าบุกเข้ามาสลายการชุมนุมของพี่น้องที่ใต้ทางด่วนและคลองเตย และหากทหารบุกเข้ามาทางคลองเตย ให้บอกพี่น้องผู้ชุมนุมว่า ไม่ต้องกลัว พวกเขาจะพยายามสกัด และหน่วงเวลาให้ได้มากที่สุด

          นอกจากบั้งไฟขนาดเล็ก หนังสติ๊ก ระเบิดขวด-เพลิง ประทัดยักษ์ ระเบิดปิงปอง ท่อแป๊บตัดสำหรับจุดยิงระเบิดที่ทำเองแล้ว ผู้เขียนไม่พบอาวุธร้ายแรงประการใดจากจุดดังกล่าว นอกจากเนื้อตัวและเสื้อผ้าที่เปื้อนดำ และร่างกายที่อ่อนเพลียของพวกเขาที่แทบจะไม่ได้พักผ่อนในช่วงหลายวันที่ผ่าน

          ในวันต่อมา พวกเขาได้ขยับแนวยางรถยนต์ซึ่งเป็นแนวที่ใหญ่ที่สุดออกจากจุดใต้สะพานออกไปอีกราว 100 เมตร ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ป้องกันการยิงจากแนวของทหารได้มากขึ้น หลังจากเสร็จภารกิจดังกล่าว มีคนมาแจ้งที่หลังเวที และถามว่าจะให้รุกเข้าไปอีกหรือไม่ เพื่อจะที่ไปเผาตึกที่พวกเขาเชื่อว่าทหารอยู่บนนั้นและยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งพวกเขาคิดว่าพอที่จะสามารถทำได้ พวกเราห้ามโดยให้เหตุผลว่า เสี่ยงและอันตรายเกินไป และหากสิ่งที่พวกเขาต้องการคือ ปกป้องชีวิตของพี่น้องเรา ซึ่งเหมือนกับผู้เขียนนั้น พวกเขาทำดีที่สุดแล้ว และอย่างน้อยก็เพียงพอในสถานการณ์ตอนนั้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงอีก เพราะหากเขารุกเข้าไปอีกพวกเขาจะตกเป็นเป้าของกระสุนทันที พวกเราตกลงกันว่าจะไม่รุกพื้นที่เข้าไปอีกและให้พวกเขามีหน้าที่คอยบอกและ เตือนคนอื่นๆ ไม่ให้เข้าไปอยู่ในวิถีกระสุนของทหาร

          ผู้ เขียนมีข้อสังเกตว่า คนที่อยู่แถวหน้า โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่มเยาวชนที่ได้รู้จักนี้ ไม่ได้เป็นคนที่มีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หรือนิยมความรุนแรงแต่อย่างใด คนเหล่านี้มีสติสัมปชัญญะอย่างดี และมีเหตุผล โดยทำสิ่งเหล่านั้นภายใต้ความคิดที่ว่า นี่คือภารกิจของพวกเขาในฐานะ “แนวหน้า” เพื่อปกป้องชีวิตของอื่น ต่างกับคนที่มีลักษณะก้าวร้าว รุนแรงบางคน ที่คอยตะโกน ลุยมันเลย เผามันเลย ที่อยู่บริเวณใต้ทางด่วน ซึ่งบางส่วนก็มีอาการเมา

          อย่าง ไรก็ตาม นอกจากคนกลุ่มที่มีลักษณะดังที่ได้กล่าวที่พบมาด้วยตัวเองแล้ว ผู้เขียนไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่ามีกลุ่มอื่นที่มีอาวุธร้ายแรงอย่างที่มี การอ้างกันที่ปฏิบัติการอยู่แถวหน้าหรือไม่

           ใน ตอนเย็นของวันเดียวกันนี้ ผู้เขียนกลับไปที่ดูสถานการณ์ที่บริเวณใต้ทางด่วนอีกครั้ง และเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนเจอกับสถานการณ์ที่มีกระสุนยิงมายังบริเวณดัง กล่าว พวกเราประกาศให้ผู้ชุมนุมหลบเข้าไปด้านข้างและหลังเสาทางด่วน หลังจากเสียงปืนหยุดลงไม่นาน มีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งจับกลุ่มพูดคุยกัน และต่อมาก็มีคนในกลุ่มดังกล่าวตะโกนเสียงดังบอกกับผู้ชุมนุมที่เหลือว่า มีการยิงปืนมาจากดาดฟ้าของอาคาร 4 ชั้น ห่างจากทางด่วนไปทางขวาราว 50 เมตร และให้ผู้ชุมนุมไปเผาอาคารดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีผู้ชาย 2 คน ขับรถมอเตอร์ไซต์ออกมาจากชุมชน มาแจ้งกับกลุ่มคนดังกล่าวว่า ตัวเองเป็นเจ้าของบ้านที่ถูกกล่าวถึง และตัวเองก็เป็นคนเสื้อแดงเหมือนกัน พร้อมยืนยันว่าไม่มีการยิงมาจากตึกดังกล่าวอย่างแน่นอน ถ้าผู้ชุมนุมไม่มั่นใจให้ส่งตัวแทนไปตรวจสอบที่ตึกดังกล่าวซึ่งเป็นที่พัก อาศัยของเขาได้ ตอนแรกไม่มีใครกล้าอาสาไปตรวจสอบ และก็ตะโกนโห่ไล่ผู้ชายคนนั้น

 แม้ ผู้เขียนจะไม่รู้จักคนที่อ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน แต่เชื่อว่าเขาพูดจริง จากการที่เขากล้าที่เข้ามาพูดคุยกับฝูงชนที่อยู่ในอาการโกรธแค้น โดยไม่ต้องพิจาณาว่าเขาจะเป็นฝ่ายไหน และต้องการยุติปัญหาการทะเลาะและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างคนใน ชุมชนกับผู้ชุมนุม ผู้เขียนซึ่งถือโทรโข่งอยู่ในขณะนั้น จึงประกาศว่าเพื่อความสบายใจและยุติปัญหานี้ ผู้เขียนจะเป็นตัวแทนเข้าไปตรวจสอบอาคารดังกล่าวเอง และขออาสาสมัครอีกรวมทั้งหมด 10 คน ที่ใจเย็น มีสติ รวมทั้งคนที่อ้างว่าเห็นว่ามีการยิงมาจากจุดดังกล่าวเพื่อเข้าไปตรวจสอบด้วยกัน

          ผู้เขียนและผู้ชุมนุมอีก 3 คน ขึ้นไปบนอาคารเพื่อตรวจสอบ ส่วนที่เหลือคอยอยู่ด้านล่าง เพื่อรักษาความปลอดภัย เจ้าของอาคารเปิดให้เราดูทุกห้องในอาคาร รวมทั้งจุดที่มีการอ้างว่ามีคนยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม  ไม่ พบอะไรผิดสังเกตแต่อย่างใด นอกจากกระจกหน้าต่างที่แตกที่เข้าใจว่าถูกยิงเข้ามา เมื่อกลับมาข้างล่าง ได้พบกับการ์ด นปช. (มีบัตรการ์ดนปช. และผู้เขียนเคยพบเขาในที่ชุมนุมก่อนหน้านั้น เข้าใจว่าอย่างน้อยต้องเป็นระดับหัวหน้ากลุ่มย่อย) เขาก็ยืนยันว่า ไม่มีการยิงมาจากตึกดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะเขาและคนในชุมชนได้ตั้งการ์ดรักษาความปลอดภัยของชุมชนร่วมกันตั้งแต่ คืนที่ผ่านมาแล้วเนื่องจากมีปัญหาในลักษณะเดียวกันที่กับที่ผู้เขียนเจอ และเพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยของทุกฝ่าย เจ้าของอาคารและคนในชุมชนเสนอให้ผู้ชุมนุมใต้ทางด่วนตั้งตัวแทนมาเป็นการ์ด ร่วมกับชุมชนในจุดดังกล่าวเพิ่มเติม

          หลัง จากนั้น ผู้เขียนและการ์ดคนดังกล่าวจึงมาแจ้งให้กับผู้ชุมนุมตามที่ได้ไปสำรวจมา แต่ก็มีบางคนซึ่งไม่ได้ไปด้วยไม่เชื่อโดยอ้างว่าตัวเองเห็นกับตา การ์ดคนดังกล่าวจึงต้องใช้เวลาพักใหญ่ในการชี้แจง  และเสนอว่า  หาก ไม่เชื่อก็ให้คนนั้นไปเฝ้าที่จุดดังกล่าว ทุกอย่างจึงยุติลง หลังจากนั้น มีน้องคนหนึ่งซึ่งขึ้นไปสำรวจกับผู้เขียน ดึงผู้เขียนออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุม และยืนยันว่า เขาเห็นว่ามีการยิงจากจุดดังกล่าวจริงๆ การที่เราไปสำรวจแล้วไม่พบนั้น อาจจะมาจากที่หลังเหตุการณ์ คนยิงได้ออกจากจุดไปแล้วก่อนที่พวกเราจะเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งแน่นอนผู้เขียนไม่สามารถที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ได้ แต่ก็ยันยันว่า ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ เราต้องหลีกเลี่ยงการปะทะ ทะเลาะกับคนที่อยู่ในชุมนุม แม้เขาจะไม่ได้เป็นพวกเราก็อย่าทำให้เขามาเป็นศัตรูกับเรา-เอาปืนมายิ่งใส่เราแทน ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับเรา ทำให้เสียงานใหญ่โดยไม่จำเป็น  นอกจากนั้น การตั้งการ์ดเพื่อรักษาความปลอดภัยร่วมกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งเขาเห็นด้วย ทุกอย่างจึงยุติ

          ในวันรุ่งขึ้น (18 พฤษภาคม 2553) ผู้เขียนได้รับโทรศัพท์จากเจ้าของอาคารหลังดังกล่าวว่า มีการยิงเข้าไปที่พักของเขาอีกในคืนที่ผ่านมา และขอร้องให้ผู้เขียนเข้าไปคุยกับผู้ชุมนุมในจุดดังกล่าวอีกครั้ง ผู้เขียนพร้อมกับการ์ดคนเดิม ได้เข้าไปพบเขาและผู้นำชุมชน และขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และอธิบายว่าพวกเราไม่สามารถที่จะกุมสภาพการรวมตัวในจุดดังกล่าวได้จริงๆ และรับปากตามที่เขาร้องขอคือ ให้เวทีปราศรัยที่ใต้ทางด่วน (ซึ่งมีการตั้งเครื่องเสียงในภายหลัง) ประกาศห้ามไม่ให้มีการยิงหนังสติ๊กหรืออื่นๆ ไปยังชุมชนอีก เพราะคนในชุมชนเป็นพวกเดียวกับคนเสื้อแดง และทางฝั่งชุมนุมก็ยืนยันว่าจะไม่ให้มีการยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมจากจุดดัง กล่าว เนื่องจากมีการตั้งจัดหน่วยรักษาความปลอดภัยร่วมกันตลอดเวลา แต่ระหว่างที่มีการคุย ทำความเข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว กลับมีการ์ดอีกคนหนึ่ง  (ซึ่งการ์ดคนแรกเรียกว่าพี่) เข้ามาคุยกับเจ้าของอาคารและผู้นำชุมชนในลักษณะข่มขูว่า ตนเองรู้ว่าคนในชุมชนนี้ใครเป็นใคร แต่ที่ยังไม่ทำอะไรกับชุมชนเพราะต้องพึ่งพาชุมชนในการเดินทางผ่านเข้าไปใน ราชประสงค์ ผู้เขียนพูดอะไรไม่ออก หลังจากการ์ดคนนั้นกลับไป พวกเรา (ผู้เขียนและการ์ดคนแรก) ให้คำมั่นว่าอย่างไรเสียจะพยายามช่วยกันดูแลจุดนี้ให้ได้ และกลับไปแจ้งใต้ทางด่วนประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบตามที่ได้รับปากไว้  

5. ก่อนการยุติการชุมนุม 19 พฤษภาคม 2553

            การที่สมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งได้เข้ามาเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมและพยายามติดต่อเจรจากับรัฐบาล ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ทำให้ผู้เขียนและเพื่อนลดความตึงเครียดลงได้บ้าง และหวังว่าจะเป็นทางที่จะยุติการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นมากกว่านี้ แต่ในตอนค่ำ พวกเรากลับได้ทราบข่าวที่ค่อนข้างจะยืนยันจากแหล่งข่าวว่าจะมีการใช้กำลัง เข้าสลายการชุมนุมในตอนเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นอย่างแน่นอน แม้ข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุมในลักษณะนี้จะมีเข้ามาตลอดทุกวัน แต่พวกเราส่วนใหญ่ก็จึงตัดสินใจอยู่ด้วยกันทั้งหมด โดยไม่ยอมผลัดเปลี่ยนกันกลับไปพักผ่อนเหมือนในวันอื่นที่ผ่านมา และประกาศแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบ ทำให้มีผู้ชุมนุมปักหลักค้างคืนในที่ชุมนุมมากกว่าทุกวัน  เวลาประมาณเกือบตี 4 ของวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 พี่สมบัติ คนขับแท็กซี่ (เป็นการ์ดอาสา)  โทร แจ้งให้ผู้เขียนทราบว่า พบรถหุ้นเกราะจำนวนนับสิบคันเคลื่อนออกจากค่ายทหาร ผู้เขียนพยายามถามย้ำว่า เขาเห็นด้วยตัวเองหรือไม่ เขาบอกว่าเห็นด้วยตนเอง และบอกเส้นทางการเคลื่อนของรถหุ้มเกราะให้ทราบ เพื่อความแน่ใจพวกเราจึงตรวจสอบจากแหล่งอื่นก็ได้รับการยืนยันเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นก็มีคนอื่นมาแจ้งให้กับแกนนำที่เวทีเช่นเดียวกัน พวกเราจึงแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบ และซักซ้อมความเข้าใจเตรียมรับการสลายการชุมนุม เพราะไม่มั่นใจว่าเป้าหมายของการสลายการชุมนุมนั้น นอกจากพื้นที่ราชประสงค์แล้วจะรวมถึงเส้นพระราม 4 บ่อนไก่ ใต้ทางด่วน และคลองเตยด้วยหรือไม่ เพราะกล่าวได้ว่าการชุมนุมจุดนี้มีความสำคัญรองลงมาจากราชประสงค์

          ผู้ เขียนได้เดินไปแจ้งรายละเอียดให้กับการ์ดที่ประจำอยู่ตามจุดต่างๆ รอบที่ชุมนุม (ไม่รวมไปถึงบริเวณใต้ทางด่วน) ทราบถึงสถานการณ์และแนวทางปฏบัติหากมีการสลายการชุมนุม รวมทั้งการป้องกันสถานการณ์อย่างอื่น เช่น การพยายามเผาอาคาร สถานที่ต่างๆ ในบริเวณที่ชุมนุมซึ่งเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าคนเหล่าจะอ้างว่าเป็นคนของใคร มาจากไหน (มักมีคนที่อ้างว่า เป็นคนมาจากส่วนกลาง คนของเสธ. คนนั้นคนนี้ มาชักชวนหรือแนะนำให้ทำอะไรบางอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่เวทีคลองเตย กำหนดเอาไว้) และให้ฟังคำสั่งจากเวทีเป็นด้านหลัก ขณะที่มองออกไปทางด้านใต้ทางด่วน เริ่มมีการเผายางรถยนต์แล้ว

บริเวณ ใกล้กับทางเข้าโรงงานยาสูบ มีคนที่แต่งตัวค่อนข้างดี ใส่เสื้อแจ็คเก็ตสีดำ ชักชวนให้ผู้ชุมนุมที่อยู่แถวนั้น นำยางรถยนต์ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ไปปิดซอยทางเข้าโรงงานยาวสูบและให้เผา เพราะทหารจะบุกมาทางซอยทางโรงงานยาสูบ แต่การ์ดและคนที่อยู่แถวนั้นห้ามไว้ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีประโยชน์ และคนที่อยู่ในซอยจะได้รับความเดือดร้อนจากควันไฟ หรือทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามได้ นอกจากนั้น ก็ไม่มั่นใจว่าจะมีทหารอยู่จริงหรือไม่ เมื่อไม่มีคนทำตาม ชายคนนั้นคอยอยู่สักพักหนึ่ง ก็แยกตัวออกไป ต่อมามีคนขับรถมอเตอร์ไซต์ เข้ามาบอกว่า มีทหารจำนวนมากอยู่ในโรงงานยาสูบ ให้ช่วยกันไปเผาเพื่อสกัดไว้ ผู้เขียนเข้าไปซักว่าเห็นด้วยตนเองหรือไม่ เขาตอบว่า เห็นด้วยตนเอง และเขาเองเป็นพนักงานโรงงานยาสูบ ให้ดูบัตรก็ได้ เมื่อหัวหน้าการ์ดอาสาขอดูบัตรจริง เขาก็รีบขับรถมอเตอร์ไซต์ออกไปทันที

ท้อง ฟ้าเริ่มสว่างขึ้น พวกเราสามารถกุมสภาพพื้นที่ชุมนุมแคบๆ ได้ ในตอนนั้น งานหลักที่สำคัญ คือ การกุมสภาพการชุมนุม รวบรวบให้ผู้ชุมนุมมารวมกันที่หน้าเวทีอย่างสงบ เตรียมรับการสลายการชุมนุม ชี้แจงให้ผู้ชุมนุมเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆ ไม่ให้ผู้ชุมนุมบุกผ่าแนวของทหารเข้าไป รายงานสถานการณ์ที่ราชประสงค์ให้ผู้ชุมนุมทราบเป็นระยะ และรอการตัดสินใจของแกนนำ เพื่อให้การเคลื่อนไหวสอดรับกัน พวกเราทำอย่างนี้เป็นระยะๆ สลับกับการเปิดเพลงของ นปช. ที่สนุกสนาน ปลุกเร้าใจ ไปตลอดทั้งวัน

ใน ตอนสายเจ้าหน้าที่ตำรวจมาพบพวกเราด้านหลัง และแจ้งให้ทราบว่า เขาได้รับคำสั่งให้สลายการชุมนุมที่แยกคลองเตย ไม่เช่นนั้น ทหารจะเข้ามาปฏิบัติการเอง พวกเราแจ้งในเชิงขอร้องว่า หากตำรวจจำเป็นต้องเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทำตามคำสั่งก็ให้ทำ แต่อย่าใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม พวกเราจะไม่ต่อสู้ขัดขืน โดย“แกนนำ” ทุกคนที่พวกเขาต้องการยินดีให้จับกุม และขอให้ปล่อยผู้ชุมนุมไป พวกเขารับปาก แต่ต่อมาในตอนเที่ยงตำรวจพร้อมห้องขัง รวมกันนับสินคัน ขับเข้ามาใกล้ที่ชุมนุม ทางโรงเรียนราชหฤทัยคอนแวนต์ ผู้ชุมนุมตกใจ เข้าไปบล็อกรถไว้ และได้มีการส่งตัวแทนไปเจรจา ในที่สุด ตำรวจยอมถอยเลี้ยวกลับไป

แม้ พวกเราจะพยายามรายงานสถานการณ์ที่ราชประสงค์เป็นระยะ เท่าที่ทำได้และตรวจสอบแล้ว แต่ผู้ชุมนุมก็เป็นห่วงสถานการณ์ที่นั่นอย่างมาก บางคนก็ออกมาโวยวาย กลัวว่าเราจะปิดบังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่ราชประสงค์ พวกเราจึงให้พวกเขาดูการถ่ายสดจากเวทีราชประสงค์ ซึ่งไม่ต่างจากเวทีที่คลองเตยมากนักคือ มีการร้องเพลงเล่นดนตรีเกือบตลอดเวลา

แม้ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ชุมนุมที่คลองเตย แต่ทุกคนอยู่ในสภาพตึงเครียดตลอดเวลา

ประมาณตอนเที่ยง จ่าตำรวจคนหนึ่ง (นักปราศรัยขาประจำของเวที นปช.)  ซึ่ง เคยมาปราศรัยที่เวทีคลองเตยเมื่อหลายวันก่อน ได้มาชักชวนให้ผู้ชุมนุม “บุกเข้าไปช่วยเพื่อนที่ราชประสงค์” น้องที่เห็นเหตุการณ์เข้ามาแจ้งผู้เขียนที่ตามข่าวอยู่ด้านหลังเวทีทันที ขณะที่การ์ดพยายามจะบล็อกตัวจ่าตำรวจไว้ พวกเราชี้แจงให้ผู้ชุมนุมทราบว่าการกระทำอย่างนั้นจะเกิดอะไรขึ้น อะไรคือสิ่งที่ดีและสำคัญที่สุดสำหรับตัวเขาและการต่อสู้ในสถานการณ์ขณะนั้น และให้เขาตัดสินใจเลือกเอาเอง ตอนแรกมีคนเฮไปกับจ่าตำรวจหลายคน แต่เมื่อเวทีได้ชี้แจงเหตุผลและห้ามไว้ พวกเขาก็หยุด ทราบในภายหลังจากภรรยาผู้ที่ไปกับคณะของจ่าว่า สามีของตนโทรมาบอกว่าตนเองและเพื่อนที่ไปด้วยกันอีกคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และทั้งหมดซึ่งมีราว 14 คนถูกล้อมไว้

ตอน บ่าย เมื่อทราบข่าวว่าแกนนำที่ราชประสงค์ประกาศยุติการชุมนุมและเข้ามอบตัวกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะเดียวกัน มีผู้ชุมนุมได้ถามกับผู้ที่อยู่บนเวทีว่าข่าวดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ ขณะที่แกนนำที่คลองเตยอยู่หลังเวทีซึ่งทราบข่าวแล้ว แต่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องของข่าว และรอการตัดสินใจ? ยังไม่แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบ แม้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมงแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีใครไปแจ้งสถานการณ์ให้ผู้ชุมนุมทราบ รวมทั้งตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คนที่ดูแล-คุม เวทีก็เจอแรงกดดันจากผู้ชุมนุม ผู้เขียนอยู่ด้านข้างเวทีซึ่งก่อนหน้านี้ พยายามจะแจ้งข่าวเรื่องดังกล่าวให้ผู้ชุมนุมทราบครั้งหนึ่งแล้วแต่ถูกห้าม ไว้ จึงตัดสินใจด้วยตนเองขึ้นไปรายงานข่าวว่า มีข่าวทางทีวีว่าแกนนำประกาศยุติการชุมนุมและเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จริง แต่ต้องรอการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง และพยายามโน้มน้าวให้เขาเข้าใจว่า หากแกนนำตัดสินใจอย่างนั้น เหตุผลที่เขาต้องตัดสินใจอย่างนั้น คือ รักษาชีวิตของผู้ชุมนุม ซึ่งผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งที่อยู่กับเวทีมาตั้งแต่ต้นแสดงความเข้าใจด้วยการตบ มือและร้องให้  แต่ก็มีผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากใต้ทางด่วน โห่และด่าทอ  ผู้ เขียนถูกเพื่อนดึงลงจากเวทีเพื่อความปลอดภัย และขึ้นพูดชี้แจงแทน แต่ก็ถูกขว้างปาด้วยขวดน้ำ พร้อมด่าว่า “ไอ้พวกหลอกลวง” “ใครจะรับผิดชอบกับพี่น้องของเราที่ชีวิต” มีคนหนึ่งชี้หน้าผู้เขียน แล้วด่าว่า “พวกหลอกลวง” และวิ่งเข้ามากระชากคอเสื้อและพยายามทำร้ายผู้เขียน ซึ่งยืนอยู่ด้านข้างเวที ด้วยความโกรธแค้น แต่การ์ดซึ่งมาจาก “ส่วนกลาง” ซึ่งยืนอยู่ใกล้ๆได้ช่วยล็อคตัวเอาไว้ทัน และนำผู้เขียนไปหลบที่เต็นท์ด้านหลังเวที

ผู้ เขียนรู้สึกกลัวเล็กน้อย แต่ก็พี่ผู้หญิงซึ่งเพิ่งรู้จักกันครั้งแรกที่นี่และเข้ามาช่วยจัดการชุมนุม หลังเวที มาคอยพูดคุยเป็นเพื่อนและให้กำลังใจ และนอนพักผ่อนเพราะพวกเราซึ่งเป็นทีมงานส่วนใหญ่แทบไม่ได้นอนติดต่อกันมาไม่ ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง ผู้เขียนจำได้ว่า ครูประทีบพยายามขึ้นปราศรัยให้ผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบ

  เวลา ผ่านไปนานเท่าไหร่ไม่ทราบ การชุมนุมที่คลองเคยยุติลงเมื่อมีการเปิดโทรทัศน์ให้ผู้ชุมนุมดูข่าวที่มี รายงานภาพการมอบตัวของแกนนำที่ราชประสงค์  แล้วมีผู้ ชุมนุมบางส่วน เริ่มก่อจลาจล ทำลายข้าวของที่อยู่ในบริเวณรอบๆ ตู้โทรศัพท์ ประตูอาคารที่อยู่บริเวณนั้น ครูประทีปก็ขึ้นประกาศว่าหากไม่อยู่ในความสงบ คุณครูก็จำเป็นต้องยุติการชุมนุม

หลัง จากนั้น เสียงประทัดยักษ์ บั้งไฟ รวมทั้งเสียงคล้ายปืนและระเบิดดังขึ้นถี่ขึ้นใกล้บริเวณชุมนุม การ์ดที่รู้จักและสนิทสนมกันระหว่างการชุมนุมได้มาหาที่เต็นท์และอาสาพาผู้ เขียนออกไปจากพื้นที่ ผู้เขียนขอบคุณและปฏิเสธความปรารถนาดีของพวกเขาไป ต่อมามีน้องนักศึกษานำเสื้อผ้ามาให้เปลี่ยน และราว 5 โมงกว่าๆ แม่ครัวซึ่งเป็นคนในชุมชนคลองเตยได้นำผู้เขียนไปขึ้นรถมอเตอร์ไซต์ของสามี ขับฝ่ารถฝูงชนที่วิ่งหลบหนีการจราจลออกไปจากจุดดังกล่าว

 6. สรุป

          จาก ประสบการณ์ของผู้เขียนนับตั้งแต่การเข้าไปร่วมชุมนุมและสังเกตการณ์การ เคลื่อนไหวในช่วงแรก และการเข้าไปมีส่วนในการจัดการชุมนุมที่คลองเตยในช่วงหลังวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ในเบื้องต้นมีความเห็นดังต่อไปนี้

           1. ความคาดหวังที่ถูกตั้งไว้สูงมากก่อนการชุมนุม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการประเมินตัวเองที่สูงเกินไปของผู้ชุมนุมและถูกสร้างขึ้น จากแกนนำ ซึ่งมีผลซึ่งกันและกัน ส่งผลต่อการยึดหยุ่นของข้อเรียกร้องและมาตรการในการกดดันเพื่อบรรลุข้อเรียก ร้อง และเมื่อวิธีการปกติทั่วไปไม่สามารถที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ ทำให้แกนนำถูกกดดันหรือต้องพัฒนามาตรการที่เป็นลักษณะของขัดขวางท้าทาย (disruptive action) มากขึ้น ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะถูกปรามปรามหรือเกิดความรุนแรงมากขึ้น

2. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างกรณี 10 เมษายน 2553 ทำให้ความเป็นไปได้ของการเจรจา-การประณีประนอมลดน้อยลง  เนื่องจากความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและความหวาดระแวงเพิ่มขึ้น และเชื่อว่าอีกฝ่ายจะใช้ความรุนแรงกับตน รวมทั้งความต้องการแก้แค้น-เอา คืน ทั้งหมดนี้ให้เหตุผลกับการใช้ความรุนแรงตอบโต้ หรือทำให้มีการเตรียมการหรือพัฒนามาตรการหรือวิธีการที่มีลักษณะรุนแรงมาก ขึ้นเพื่อตอบโต้หรือในนามของการป้องกันตัวเอง และส่งผลทำให้การจัดการ การควบคุมการชุมนุมให้เป็นไปตามแนวทางสันติทำได้ยากลำบากมากขึ้น และส่งผลให้ความคิดของกลุ่มที่มีความโน้มเอียงไปทางรุนแรง แม้จะเป็นส่วนน้อย มีฐานะสำคัญและมีอิทธิพลกับผู้ชุมนุมมากขึ้น

3. อุปสรรคสำคัญของการพยายามริเริ่มสร้างการต่อสู้อย่างสันติวิธีในระหว่างที่ มีความขัดแย้งและความรุนแรงถึงตาย ก็คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงความรับรู้และเข้าใจโลกของผู้คนที่ เกี่ยวข้อง อย่างผู้ชุมนุมคิดว่าคนอื่นจะพยายามใช้ความรุนแรงต่อตนตลอดเวลา เกิดความกลัววิตกต่อสิ่งต่างๆ รอบข้างเสมอ มากกว่าสถานการณ์ที่เป็นจริง และความโกรธแค้นทำให้ผู้ชุมนุมมีลักษณะก้าวร้าวมากขึ้น ตอบสนองต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า รวมทั้งข่าวลื่อ อย่างเป็นไปเอง ไร้ทิศทาง โดยที่ขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ การใช้เหตุผลในการคิดคำนวณผลได้เสียมีน้อยลง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งผู้ชุมนุมถูกครอบงำด้วยฝูงชน

4. อย่างไรก็ตาม ในกรณีการชุมนุมที่คลองเตย แม้กระทั่งในระหว่างเหตุการณ์ความรุนแรง ความพยายามดังกล่าวก็สามารถที่จะทำได้ แม้จะอยู่ในขอบเขตที่จำกัด และไม่สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมโดยตรง คือ ยุติการปราบปรามได้ แต่ก็น่าจะลดความสูญเสียได้บ้าง เพราะผู้ชุมนุมซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นส่วนใหญ่เข้าใจหรืออย่างน้อยในสถานการณ์ นั้น ยอมรับการชุมนุมอย่างสันติและปราศจากอาวุธ ในฐานะที่เป็นทางเลือก และเป็นทางที่นำไปสู่ความเสี่ยงและการสูญเสียที่น้อยกว่า แต่ความผิดหวังและความโกรธแค้น (อันเกิดจากแกนนำสลายการชุมนุม+เพื่อนถูกยิงได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตจำนวนมาก จากการปราบปราม) ที่แสดงออกด้วยความรุนแรงของคนกลุ่มน้อยส่งผลกระทบต่อแนวทางดังกล่าวอย่าง รุนแรง การชุมนุมจำเป็นต้องยุติลงเมื่อเข้าสู่วิถีของการก่อจราจล  

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท