Skip to main content
sharethis

การขุดลอกห้วยจารย์ ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ความเสียหายของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape)” บทเรียนจากการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบท อันเป็นห้วยหนองอายุนับร้อยปี 

การขุดลอกห้วยจารย์ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบจาก “รูปแบบมาตรฐานการขุดลอกคลองหนองบึง” ที่เรียกว่าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่แต่ละกระทรวงแบ่งพื้นที่กันดำเนินงานไป ทั่วประเทศ ใช้ช่วงเวลาหลายปี ส่วนบริเวณนี้เป็นพื้นที่ชายแดนรับผิดชอบโดยกองทัพไทย บริหารงานโดยหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 55 หรือ นพค. 55  การลงเครื่องจักรใหญ่พลังความสามารถสูงในการกวาดพื้นที่ริมตลิ่งจำนวนหลาย คันเพื่อการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายให้ราบ ทำเวลาได้อย่างรวดเร็ว ถูกนำมาเป็นเครื่องมือสร้าง “ประโยชน์และพัฒนา” จากการสรุปความตีโจทย์เพื่อเตรียมการแก้ปัญหา “ภัยแล้งและอุทกภัย” ให้พื้นที่เกษตรกรรมอย่างเถรตรง โดยไม่สนใจศึกษาความต้องการชาวบ้าน ที่อาจใกล้เคียงแต่ไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้ปริมาณการสูญเสียความหลากหลายของนิเวศเล็กๆ ริมห้วยแหล่งหาอยู่หากินของหลากชีวิตทั้งคนและสัตว์ท้องถิ่นสูงขึ้นเพราะถูก รัฐประเมินคุณค่าในระดับต่ำมาก

การได้รับรายงานจากหน่วยงานที่รับผิดชอบชุมชนอย่าง อบต.ที่ต้องการโครงการพัฒนาลงพื้นที่ ต้องยอมรับกันเสียทีว่าก็เป็นชาวบ้าน “ระบบสังคมแบบหนึ่ง” ที่อาจมีความรู้บ้างแต่ไม่รู้เรื่องการบริหารจัดการชุมชนและจัดการบริหาร ข้อมูลเอกสาร อีกทั้งไม่รู้จักศึกษาองค์ความรู้ชุมชน และแน่นอน...การเผยแพร่ข้อมูลโครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้ชาวบ้าน รับรู้ร่วมคิดเห็น ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่เคยมี จึงไม่แปลก...ที่หน่วยรัฐที่เกี่ยวข้องระดับเหนือขึ้นไปจะได้รับรายงาน ว่าชุมชนดีใจและยินยอมที่ได้รับการพัฒนานี้อย่างไม่มีเงื่อนไข การรับระบบคิดมาตรฐาน และปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยเน้นคำว่า “เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม” ก็ต้องมาดูพื้นฐาน ว่าจะคิดระบบนั้นได้ก็ต่อเมื่อทุกคนได้รับพื้นที่และโอกาสทางการหาอยู่หากิน เท่าเทียมกัน ....แต่ในเมื่อการเท่ากันมันไม่มีอยู่จริงในการดำรงชีวิต ยังมีตายายแก่ๆงกเงิ่นอยู่บ้านคนเดียวบางคนพ่วงหลานตัวเล็ก มีเงินเลี้ยงจากรัฐเดือนละ 500  จะสามารถตอบโจทย์ความสุขของชีวิตพื้นฐานและความสัมพันธ์ในชุมชนได้หรือ? ใช่ว่าทุกที่จะมีที่ทำกินเมื่อไหร่? ดังนั้นการใช้หลักคิดระบบมาตรฐานเดียวแบบโรงงานตีสำเนาถูกต้องนั้น จะเอามาจัดการตัดสินใช้ในพื้นที่ที่เปราะบางที่สุดในระบบสังคมคือ การหาอยู่หากินในครัวเรือนได้อย่างไร?

.....ไม่หยุด ไม่ชะลอ แม้จะถูกเรียกร้องให้หยุดเครื่องจักรนั้น หยุดเถิด!!!!...

ความคับข้องใจผลักดันให้ชาวบ้านชนบทที่มีธรรมชาติตื่นกลัวเงาอำนาจ ได้ทำสิ่งที่กล้าที่สุดแล้วคือร่วมลงชื่อคัดค้านกว่าหกสิบเสียง เพื่อทำประชาคม ให้ชะลอเพื่อเจรจาต่อรองของดเว้นการขุดช่วงหนึ่งกิโลเมตรที่เรียกว่า “ทำนบพระ” โดยร่างหนังสือและร่วมลงชื่อ เพื่อผลักดันให้ประชาคม...ประชาพิจารณ์ นั้นได้จัดขึ้นวันที่ 8 กพ.54 ผลสรุปชาวบ้านเป็นเอกฉันท์เพื่อเว้นระยะช่วงหนึ่งของห้วย หรือ “ทำนบพระ” ยังคงสภาพนิเวศเดิมให้ชุมชนใช้ประโยชน์อยู่ แต่เมื่อเหตุการณ์พลิกผัน วันที่ 15 กพ.54 การขุดยังทำงานเลยล้ำพื้นที่ ทำนบพระนั้นเข้าไปกว่า 200 เมตร และไม่สามารถเจรจาให้หยุดได้ เนื่องจาก....ทหารไม่ได้รับทราบให้มีการชะลอ!! ชาวบ้านได้แต่ตามฝ่ายปกครองซึ่งมาช่วยยืนดู และไม่สามารถทำอะไรได้ ผลมติของประชาคมถูกเมินจากฝ่ายปกครองไม่แจ้งรายงานไปยังหน่วย นพค 55 ของกองทัพไทย ชาวบ้านหลังชนฝายอมจำนน ไม่กล้าพอจะรวมตัวกันขอเจรจาหรือหยัดสู้ความต้องการของตน ได้แต่ก้มหน้าท้อแท้อยู่ในบ้าน ปลัดอำเภอผู้นั่งเป็นกรรมการตัดสินกลับคำไม่รับรองผลประชาพิจารณ์ เหลือแค่การวิ่งเต้นของเด็กหนุ่มตัวแทนชุมชนเพียงคนเดียว ที่วิ่งวุ่นหาที่พึ่งแข่งกับเวลา เครื่องจักร นโยบาย และ อำนาจ...   ...ชะเอย...หนอ ใครจะเปรียบคู่นี้? คู่เปรียบคู่ต่อสู้ที่ช่างสูสี แต่ความจริง จบวันของการต่อสู้เพื่อแหล่งทำมาหากินที่ตกทอดมาร่วมร้อยปี จบลงที่แก้วเหล้าเพียงคนดียว    ร้องไห้อย่างเงียบกริบ!!            

งานอย่างกรณีตัวอย่างนี้ มีฝ่ายแผนที่ต้องสำรวจ การเข้าศึกษาพื้นที่ในตำบลเล็กแห่งหนึ่งอย่างบักไดสักวันเดียว (กรณีเจ้าหน้าที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ) เพื่อเก็บข้อมูลทางกายภาพ จับประเด็นปัญหาแล้วมาคุยกับชาวบ้านคนเก่าแก่....ก็ต้องดูอีกว่าควรเลือกคุย กับใคร?  การเลือกคุยกับคนในพื้นที่เก่าแก่ตกทอดมรดกตระกูลในพื้นที่มาร้อยปี หรือจะไปนั่งฟัง ชาวบ้านที่อยู่มาหลังๆ แต่พ่วงตำแหน่งอบต.ผู้รักโครงการพัฒนา จะได้ข้อมูลสองทางเพื่อวิเคราะห์ นั่งเย็นๆใจดูวิถีชาวบ้านบ้าง วันหนึ่งก็มากพอสรุปภาพรวมๆ ปัญหาจุดอ่อนไหวและกรณีผลกระทบในตำบลหนึ่งได้ โดยเฉพาะงานหน้าเดียวเช่นการขุดลอกนี้ ชุดข้อมูลแทบจะสะสมจนเป็นสูตรสำเร็จในการทำความเข้าใจพื้นที่ชุมชน ลักษณะทางสังคม ภูมิปัญญา ซึ่งจะช่วยจัดการความหลากหลายให้ลงตัวได้รวดเร็ว สำหรับงานขุดลอกต่อพื้นที่ความยาวไม่กี่กิโล ที่ชาวบ้านขอให้เว้น อันสมควรคิดเป็นงานลดในระบบงบประมาณ เพราะการหน้าตักดินเป็นปริมาณคิวตามงบจัดตั้ง และโอนงานลดนั้นเข้าระบบ CSR เปลี่ยนเป็นงบฟื้นฟูให้ชุมชนได้ด้วย และอันที่จริงอีกข้อ คือสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส นำเหตุการณ์ขัดแย้งใช้เป็นโอกาสแสดงวิสัยทัศน์...เพียงแต่ รัฐจะเลือกจะใช้ตัวช่วย คือ “วิสัยทัศน์” นี้ทันในเสี้ยวเวลาที่ต้องการหรือไม่  
แม้ว่าการสูญเสียจะเรียกคืนไม่ได้ ช่วงต่อสู้ต่อไป คือการฟื้นฟูพื้นที่....ที่คิดว่าง่ายเหมือนตอนทำลาย? นั่นก็ใช้เวลาข้ามช่วงวัยคนกันเลยทีเดียว ป่าชุ่มน้ำริมห้วยอาจกลับคืนในรุ่นลูกรุ่นหลานปลาคืนกลับมาวางไข่เพาะพันธุ์ “วิสัยทัศน์”มักจะคิดระบบสำเร็จรูปต่อไปคือ ปลูกป่า หรือ ปล่อยปลา ตามวาระใดๆก็สุดแล้วแต่นั้นเป็น “ระบบจัดวาง” แล้วก็ไป ส่วนการหากินจริงจะเป็นอย่างไร จะมีกี่คนสามารถเดินประคองตัวปักเบ็ดริมตลิ่งชันๆนั้นได้ ทางน้ำไหลอย่างสะดวกนั้นย่อมแรงขึ้น ระดับน้ำสูงขึ้น ชายแข็งแรงเท่านั้นหรือ...ที่จะใช้ประโยชน์จากห้วยนี้ และหากเกิดธุรกิจใหม่ ขายปลาที่หาได้ เพราะข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรเกิดขึ้น คนอ่อนแอกว่า...จะมีสิทธิ์หาอยู่กินอย่างไร? จะจบที่การรับจ้างแลกเงินเท่านั้นหรือ? ทั้งหมดนี้คือข้อมูลชุดใหม่ที่มีผลต่อระบบสังคมชุมชนที่มีจริง หลังการพัฒนาแบบรื้อล้างนี้ หากทางรัฐหรือหน่วยพัฒนาจะเริ่มคิดและหันมามองว่า หลังจากการพัฒนาของโครงการ ชาวบ้านมีชีวิตมีวิถีสังคมอย่างไร ซึ่งข้อมูลที่ดีที่สุดคือควรมานั่งลงจับเข่าคุยอย่างเป็นกันเองกับคนแก่ ชาวบ้าน ไม่ใช่แค่ฟัง อบต.หรือผู้นำ แล้วตั้งรายงานสรุปง่ายๆขึ้นมา


 
การบริหารความหลากหลาย เป็นเรื่องเรียนรู้ใหม่สำหรับรัฐไทย ระบบความคิดยังห่างไกลคำว่าพัฒนานัก เป็นเรื่องยากสำหรับรัฐ ความสะดวกในการจัดระเบียบสังคมแบบเอาน้ำราดล้างพื้น “รื้อออก สร้างใหม่ และ ฟื้นฟู” จึงเป็นระบบการจัดการสำเร็จรูป ง่ายเหมือนกาแฟชงดื่มได้นั้นเป็นธรรมเนียมนิยม และเมื่อไหร่มีความแตกต่าง ไม่เหมือนกัน เช่น แค่มีคนขอร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็น และส่งผลทำให้ต้องปรับงานเล็กน้อย จะถูกจับตา และเป็นเรื่องใหญ่โตที่ต้องตัดสินใจกันหลายขั้นตอน ให้ยืดเยื้อยุ่งยากต่อระบบสายพานเป็นอย่างยิ่ง ประเด็นปัญหาในการจัดการความต้องการที่หลากหลาย จึงเป็นเรื่องที่รัฐแสดงให้เห็นจุดอ่อน ไม่ว่าจะจับตรงแง่มุมไหนของปัญหาในสังคม ก็มักแก้ไขอย่างแห้งแล้งโดยปกติ   ในขณะที่กระแสโลกประเทศอื่นๆร่วมให้ความสนใจใน “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มานานกว่าครึ่งศตวรรษ อาจเป็นแรงกระตุ้นให้รัฐเริ่มคิดและตระหนักเรื่องอะไรความหลากหลายขึ้นมา บ้าง หลายหน่วยงานศึกษาทำเข้าใจความแตกต่างและรู้ว่าต้องเปลี่ยนวิธีคิดและการ จัดการ

รายงานหรือเอกสารทางวิชาการที่รัฐจัดจ้างด้วยงบมากมายจากหลายหน่วยงาน ให้สำรวจวิเคราะห์เรื่ององค์ความรู้ ไว้มากมายมานานนับสิบปี จนชุดข้อมูลบางเรื่องล้าหลังเกินจะเอามาใช้ก็มี ดังนั้นการเริ่มต้นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยเริ่มนิ่งคิด วิเคราะห์ เอาหลักคิดด้านการจัดการองค์ความรู้ซึ่งอบรมดูงานกันมานานหลายปีนั้นนำมาใช้ เสียที โดยอย่าทำเพียงแค่อบรบผ่านๆและนำหลักคิดมาแปะสวยๆ ตามโต๊ะทำงาน ประตูหน้าต่างหรือข้างฝาองค์กร แต่ความเข้าใจและกระตือรือล้นต่อการเรียนรู้ในองค์ความรู้นั้น....ไม่มี ควรยอมรับโดยดุษฎีเถิดว่า ประเด็นปัญหาใดมาเป็นจุดอุดตัน ทำให้การจัดการองค์ความรู้ยังไม่ปรับสู่ความเข้าใจจนเกิดระบบคิดหรือหลักคิด ซึ่งจะนำไปสู่ระบบ “ปฏิบัติ” นั้น มันไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น
การสร้างหลักคิดเชื่อมโยงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันแทรกอยู่ในธรรมชาติมี “วัฒนธรรมอาศัยพึ่งพา” ให้เราเรียนรู้หากเราเพียงเริ่มสังเกตุ ความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดของคนและสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape)” ที่สามารถตอบโจทย์ ต่อยอด ทำความเข้าใจ และแตกแขนงหรือร่วมกันในบริบทอื่น เช่น ระบบสังคม มนุษยวิทยา ตลอดจนวิทยาศาสตร์ จนก่อร่างเป็นวัฒนธรรมขึ้นมาได้ ดังนั้นการที่รัฐมีระบบจัดการปฏิบัติอย่างเช่นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ โดยมีกรณี การขุดลอกห้วยจารย์เป็นตัวอย่าง ก็ไม่แปลกใจ....เพราะขนาดกระทรวงวัฒนธรรมเอง ยังมีแนวคิดไล่จับเด็กแว้นขังกรง จำกัดเวลาเด็กอายุไม่เกิน 18 ด้วยเหตุผล......เพื่อรักษาความปลอดภัย

เขียนที่บ้านอำปึล หมู่ 6 ต.บักได อ.พนมดงรัก  สุรินทร์
 
 
                                วันที่ 31 มกราคม 2554
เรื่อง        ขอคัดค้านโครงการขุดลอกห้วยจารย์ ช่วง “ทำนบพระ” ในพื้นที่ หมู่ 6 และ หมู่ 7 (อ้างถึง การขุดลอก ลำห้วยจารย์ พื้นที่ หมู่ 1บ้านรุน และบ้านท่าสว่างต.บักได อ.พนมดงรัก สุรินทร์)
               เรียน       ผู้บัญชาการ หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 55 (นพค.55)
                ตามที่ทางหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 55 ( นพค.55) ได้ดำเนินการขุดลอกลำห้วยจารย์ ซึ่งเป็นลำรางสาธารณะให้แก่ชุมชนโดยมีแผนจะดำเนินการไปตลอดแนวลำห้วยนั้น ปัจจุบันโครงการได้ทำแล้วเสร็จในพื้นที่บ้านรุน และบ้านท่าสว่าง ส่วนที่จะทำต่อ คือในพื้นที่ หมู่ 6, 7, และ 20 ขอคัดค้านในชะลอโครงการ โดยมีที่มาและเหตุผลดังนี้
                1จากตัวอย่างดำเนินการแล้วในพื้นที่บ้านรุนและบ้านท่าสว่าง เป็นการขุดลอก รูปแบบ ยกคันดินสูง 2 ฝั่งเป็นคันตลิ่งสูงกว่าพื้นที่ เกษตรกรรมและไม่มีแนวทางการจัดการน้ำใช้ในการเกษตร ที่ปกติจะต้องมีทางน้ำเข้านาได้สะดวก
                2 จุดประสงค์ในการดำเนินโครงการยังไม่ทราบทั่วกันว่าทำเพื่อแก้ปัญหาอะไร หรือช่วยปรับปรุงพัฒนาเรื่องใด เป็นพิเศษให้แก่ชุมชน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ผ่านลำห้วยจารย์จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงปัญหาและผล กระทบ เนื่องจากการขุดลอกห้วยจารย์ตามที่มาดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
                1การใช้น้ำ จัดการน้ำเพื่อการเกษตรเพราะความไม่สะดวกใช้น้ำ หรือหมุนเวียนน้ำ เนื่องจากลักษณะคันดินถมสูงกั้นน้ำตลอดแนว
                2 การทำลายระบบนิเวศน์ ชายฝั่งเพราะชายขอบตลิ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ สัตว์น้ำ ต่างๆและพืชผักน้ำหลายชนิด
                3 การทำลายแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ ตามธรรมชาติของสัตว์อื่นๆ ในทุ่งและสัตว์ที่เลี้ยงในเกษตรกรรม
                4ทำลายแหล่งหาอยู่หากินของชาวบ้าน ในชุมชนซึ่งลำห้วยเป็นแหล่งเลี้ยงปากท้องและให้ความสัมพันธ์ทางสังคมความ ผูกพันของวิถีชาวบ้าน พื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านการหาอยู่หากิน เช่นการสละบ็อง (การหว่านแห่ร่วมกัน) ภูมิปัญญาสมุนไพรพืชผักและอาหารแบบท้องถิ่น
                5 ความขาดแคลนของทรัพยากรอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งของชุมชน เนื่องมาจากลำห้วยเป็นที่สาธารณะเป็นแหล่งผลประโยชน์ ร่วมกัน ในทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจซึ่งเป็นลักษณะสังคม เกษตรกรรม ย่อมให้ความสำคัญต่อการใช้น้ำ การจัดการน้ำโดยแยกส่วนคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นประโยชน์ส่วนรวม และต่อชุมชนในที่สุด
 
                ทางกลุ่มชาวบ้าน จึงเห็นความสำคัญ ขอเรียนนำเสนอแนวทางการร่วมคิดเห็น เพื่อลดผลกระทบและปัญหา ดังนี้
            1 ขอให้มีการประชาคมความเห็น จากชาวบ้านทั้ง หมู่ 6, 7, 20 ซึ่งเป็นชุมชน ที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับ  “ทำนบพระ” โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการคิดเห็น เรื่องการจัดการน้ำของแหล่งน้ำดังกล่าว
                2 ขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ที่มีตัวแทนชาวบ้าน จาก 3 หมู่บ้าน เป็นผู้ร่วมกำหนด ดูแล กระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำในโครงการขุดลอกห้วยจารย์ และเพื่อประสานการทำประชาคม
                3 รูปแบบการดำนเนินการ ขุดลอกนี้ หากผ่านที่ดินของผู้ใดจะต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ที่ดิน หรือ ผู้ทำประโยชน์แทนที่ได้รับมอบหมายมาด้วยลายลักษณ์อักษร
 
                จึงเรียนมาที่หน่วยงาน นพค.55 ของท่านซึ่งเป็นเจ้าของโครงการพัฒนาขุดลอกลำห้วยจารย์เพื่อพิจารณาข้อเสนอ ของชาวบ้าน และชะลอโครงการเพื่อร่วมปรึกษาหารือก่อนจะดำเนินการใดๆ ต่อไปและในหนังสือฉบับนี้เราคณะชาวบ้านได้ร่วมกันลงชื่อยันยืนข้อคิดเห็นที่ คัดค้านในเบื้องต้นมาด้วย
                                                                                                                ขอแสดงความนับถือ
                                                                                                กลุ่มชาวบ้านร่วมคัดค้าน หมู่ 6, 7, และ หมู่ 20
 
รายชื่อกลุ่มชาวบ้านที่ร่วมกันคัดค้าน โครงการขุดลอกห้วยจารย์   หมู่   6, 7, 20 ต.บักได อ.พนมดงรัก
 
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
บ้านเลขที่
หมู่
หมายเหตุ
 
นายอัฎธิชัย ศิริเทศ
110
20
 
 
นายชัยพฤกษ์ สมานรักษ์
169
20
 
 
นายสมหมาย สมเสร็จ
53
20
 
 
นายสุเทียบ ยิ่งเชิดสุข
169
20
 
 
นายทองจันทร์ ใยพิมพ์
72
6
 
 
นายสุนทร สืบสวน
57
6
 
 
นายอุดม สมเสร็จ
71
6
 
 
นางมาลี สืบสวน
57
6
 
 
นายแตะ ยิ่งยิ่งเรือง
6
20
 
 
นายทองจันทร์ ใยพิมพ์
72
6
 
 
นางคำพอง สังสมานันท์
86
6
 
 
นายโน พงาตุนัด
84
6
 
 
นายย้อย วงศ์แปลก
32
6
 
 
นายดุน ยิ่งเจนจบ
76
6
 
 
นายเลียม สุขประสบ
26
6
 
 
นายจอน พงาตุนัด
56
6
 
 
นายเหียด สังสมานันท์
86
6
 
 
นายเชียร ยิ่งรุ่งเรือง
45
6
 
 
นายชุม สร้างสวน
70
6
 
 
นางเมี่ยน ยิ่งเจนจบ
33
6
 
 
นางสุรพี ยิ่งเจนจบ
64
6
 
 
นายทองดำ สมร้อน
4
20
 
 
นางสาวมาลัย สมร้อน
4
20
 
 
นายซัย ยิ่งเจนจบ
24
6
 
 
นายหด สังสมานันท์
19
20
 
 
นายโกมิน งามระหงส์
105
20
 
 
นายพัฒนศักดิ์ เตยหล้า
62
6
 
 
นางสาวสุมณฑา ใยพิมพ์
171
20
 
 
นางเยือม ยิ่งเชิดสุข
23
20
 
 
นายบุญรอด มีกุล
131
20
 
 
นายวรจักร จุดาบุตร
24
20
 
 
นายภูวศักดิ สุภาษา
94
20
 
 
นายสนอง ยิ่งรุ่งเรือง
124
20
 
 
นายเตือน สุขประสพ
94
6
 
 
นายเยือด สร้างสวน
7
6
 
 
นายเหียม สร้างสวน
4
6
 
 
นางวิไล วงศ์แปลก
42
6
 
 
นางฉวีวรรณ สร้อยงาม
68
6
 
 
นายบุญสัง ยิ่งเจนจบ
43
20
 
 
นายเขียน ยิ่งเจนจบ
14
20
 
 
นางสำเร็จ สุขประสพ
22
6
 
 
นายทองดำ สุขประสพ
49
6
 
 
นายธรรมรงค์ สุขประสพ
99
6
 
 
นายศักดิ์ดา สุขประสพ
37
6
 
 
นางกวน กลิ้งประโคน
12
6
 
 
นายเกษม ประจุทรัพย์
2
6
 
 
นายทรัพย์ สุขประสพ
40
6
 
 
นายสำเร็จ ยิ่งรุ่งเรือง
46
6
 
 
นายสวน สุขประสพ
9
6
 
 
นายมณี สมเสร็จ
27
6
 
 
นายเปรย สืบเสาะดี
64
6
 
 
นายไพโรจน์ ประชุมฉลาด
29
6
 
 
นางสุรัตน์ จันทร์หง่อม
48
6
 
 
นายไพรวรรณ สมฤทธิ์
88
6
 
 
นายทองแดง สมร้อน
54
6
 
 
นางพวง สังสมานันท์
63
6
 
 
นางเยือน สร้างสวน
61
6
 
 
นางสงวน ศรีษนาราฎร์
15
6
 
 
นางเมียน ยิ่งเจนจบ
33
6
 
 
นายเดียน สุวรรณทอง
8
6
 
 
นายเชตน์ สมเหมาะ
45
6
 
 
นายเกรียงศักดิ์ สมเหมาะ
50
6
 
 
นายสอด ยิ่งเจนจบ
18
6
 
 
นายเบือ ยิ่งรุ่งเรือง
67
20
 
 
นายสงัด แก่ฉลาด
8
20
 
 
นายรินทร ยิ่งรุ่งเรือง
5
6
 
 
นายมาน ยิ่งรุ่งเรือง
91
20
 
 
นายเปือ ยิ่งรุ่งเรือง
107
20
 
 
นายสมพร ประเสริฐ
23
7
 
 
นายเชาร์ ยิ่งรุ่งเรือง
16
6
 
 
นายสมชาย ยิ่งรุ่งเรือง
9
20
 
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net