Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 
ความ เป็นไปของเศรษฐกิจมหภาคโลก หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านก็จะทำให้เข้าใจถึงปรากฏการณ์ที่เกิดกับ เศรษฐกิจของประเทศ ของภูมิภาคและของโลกได้ ธุรกรรมทางเศรษฐกิจของโลกทุกวันนี้มี 2 ภาคหลัก คือ 1) ภาคการซื้อขายจริง (Real trade) ได้แก่การผลิต การพาณิชย์กรรม การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การประมง การนำเข้า-ส่งออก การท่องเที่ยว 2) ภาคการซื้อขายกระดาษ (Paper trade) ได้แก่การซื้อขายหุ้นและการซื้อขายเงินตรา

โลกเห็นแต่ปัญหาภาค การซื้อขายจริง และคิดแก้ปัญหาแต่ที่การซื้อขายจริง เช่นการผลิต การนำเข้า-ส่งออก และการท่องเที่ยว แต่แท้ที่จริงแล้วภาคการซื้อขายกระดาษคือภาคที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด รุนแรงที่สุด ที่ส่งผลกระทบให้ภาคการซื้อขายจริงมีปัญหารุนแรงตามมา

บทความนี้นำเสนอตัวอย่างถึงปฏิสัมพันธ์ของตลาดทุนกับตลาดเงินตราที่ก่อปัญหาให้แก่โลก

ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการพังทลายของตลาดหุ้น
1) ทำให้ค่าเงินเสียหาย
2) ทำให้ทุนสำรองลดลง
3) ทำให้สภาพคล่องของระบบลดลง และเสียหาย
4) ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น (เพราะสภาพคล่องเสียหาย)
5) ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น (เพราะเงินอ่อนค่า และเสียหาย)
6) ทำให้ภาคการเงิน และภาคการผลิตจริงล้มลง และล้มละลาย
7) ทำให้เกิดภาวะหนี้เสีย (NPLs NPAs)
8) ทำให้คนตกงานมาก
9) ทำให้ต้องเข้าเอ็มเอฟ
10) ทำให้ระบบยากจนลง

เรื่อง เช่นนี้ไม่ว่าจะเกิดกับประเทศใดก็ตาม ก็จะเกิดผลเป็นแบบเดียวกันทุกประการเช่นไทย มาเลเซีย จีน เวียดนาม และไม่เว้นแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ภาคแรก ความเป็นไปของตลาดทุน


ดัชนีตลาดหุ้นแนสแดกซ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา

การ ปรับปรุงตัวหุ้นเข้าไปในการคำนวณดัชนีแนสแดกซ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ กลางปี 1999 เช่นนำหุ้นไมโครซอฟท์ และตัวอื่นๆอีก 3 ตัว เพิ่มเข้าไปในการคำนวณดัชนี (index reform) โดยที่หุ้นทั้ง 4 ตัวนี้มีมูลค่าตลาดสูง ดัชนีตลาดหุ้นแนสแดกซ์เป็นดัชนีชนิดมูลค่าตลาด (Market capitalization weighted index) ส่งผลให้ดัชนีแนสแดกซ์มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงทันที ดัชนีที่มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงจะอ่อนแอสูง และถูกปั่นได้ง่าย ทำให้กองทุนโลก เช่นบรรดาเฮดจ์ฟันด์ลากตลาดแนสแดกซ์ขึ้นไปสูงถึงต้นปี 2000 แล้วก็ทุบลงไปต่ำสุดในปี 2002 ดัชนีตกรุนแรงถึง 78 เปอร์เซ็นต์

เศรษฐกิจ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนแบ่งระหว่างตลาดเงินตราโลกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อตลาดหุ้นแนสแดกซ์พังทลายรุนแรง ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น จึงมีการทิ้งสกุลเงินเหรียญสหรัฐไปถือเงินสกุลอื่น และทรัพย์สินนอกสกุลเงินเหรียญสหรัฐ เกิดปรากฎการณ์เงินทุนไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา และไหลเข้าไปท่วมยังประเทศต่างๆทั่วโลก

 

G92 Index คือค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหุ้นโลก 92 ประเทศ เป็นดัชนีชนิดไม่ถ่วงน้ำหนัก หรือปรับให้มีน้ำหนักเท่ากัน (Equal weighted index)

เงิน ที่ไหลออกจากประเทศอเมริกา ได้เข้าไปถือครองเงินสกุลต่างๆ และหุ้นประเทศต่างๆ เห็นได้จากแผนภูมิ G92 Index ซึ่งเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2001(หลังการพังทลายตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐ) และขึ้นไปสูงสุดในช่วงปลายปี 2007 โดยเพิ่มขึ้นถึง 463 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะพังทลายอย่างรุนแรงในปี 2008 (2551) G92 Index ตกลง 62 เปอร์เซ็นต์ ((2008(2552) Effect)

ความเป็นไปของตลาดหุ้น จะผสมผสานกันจากปัจจัย 3 อย่าง 1) เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐาน 2) ปัจจัยทางเทคนิค 3) ปัจจัยทางการปั่น หุ้นทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น จะอยู่กับที่ หรืออยู่ในช่วงตก จะประกอบไปด้วยปัจจัยทั้ง 3 นี้

ปัจจัยทางพื้นฐาน ตามความเชื่อของคนทั่วไป เข้าใจกันว่า เมื่อเศรษฐกิจดี หุ้นจะขึ้น เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี หุ้นจะตก แต่หากนำเรื่องการปั่นหุ้นมาพิจารณา กล่าวได้ว่า หุ้นขึ้นต่างหาก ที่ทำให้เศรษฐกิจดี (ทำให้สภาพคล่องดีขึ้น) หุ้นตกต่างหาก ที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ดี (ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย)

ปัจจัยทางเทคนิค เมื่อหุ้นขึ้นสูงมาก จะเกิดความกลัว จะขายหุ้นออกมา เมื่อหุ้นตกต่ำลงมาก จะเกิดความกล้า จะเข้าไปซื้อ

ปัจจัยทางการปั่น จะมีการสวมรอยปั่นราคาให้สูงขึ้น และให้ต่ำลงกว่าปกติ  ไม่มีตลาดหุ้นใดไม่ถูกปั่น ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่นตลาดหุ้นประเทศสหรัฐอเมริกา หรือตลาดหุ้นที่ยังไม่พัฒนา  เช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม ฯลฯ 
 

SET Index ดัชนีตลาดหุ้นไทย

ตลาด หุ้นไทย ก็ได้รับผลพวงจากเงินทุนไหลเข้าเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นไทยได้สูงขึ้นระหว่างปี 2001-2007 แล้วก็พังทลายลงในปี 2008(2551) เช่นกัน 2008(2551) Effect

ช่วงรัฐบาลทักษิณ ได้มีการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นหลายบริษัท ยกตัวอย่างเช่น  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) บริษัท อสมท จำกัด (MCOT) (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) เชื่อว่าการที่ตลาดหุ้นขึ้นแรงผิดปกติต้นปี 2004 เป็นการปั่นหุ้นของคนไทย คนจองหุ้นปตท.มีกำไร 5 เท่าจากราคาจอง จากนั้นหุ้นตก ได้มีการออกกองทุน VAYU1มาพยุงตลาดหุ้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้พูดถึงการสูงขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ตนเองเป็นรัฐบาลบ่อยครั้ง เป็นไปได้ว่าทักษิณอยู่เบื้องหลังและมีกำไรจากการที่ตลาดหุ้นไทยขึ้นไปสูง สุดเมื่อต้นปี 2004

ช่วงดังกล่าว ค่าเงินบาทของไทยลอยตัวแล้ว การเก็งกำไรในค่าเงินบาทจึงน้อยกว่าสกุลเงินที่มีการผูกค่าเงินไว้ เช่นเงิน Ringgit และเงินหยวน แต่การเปิดตลาดอนุพันธ์ของไทย ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์อย่างผิดปกติ ทำให้สภาพคล่องท่วมระบบรุนแรง (เงินท่วมประเทศ) ประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาสภาพคล่องท่วมระบบรุนแรง แต่ไม่สำเร็จ ต้องยอมจำนนต่อภาวะเงินท่วมประเทศ เงินได้ท่วมประเทศไทยมาแล้วกว่า 4 ปี


KLSE Index ดัชนีตลาดหุ้นมาเลเซีย

ตลาด หุ้นมาเลเซีย ได้รับผลพวงจากเงินทุนไหลเข้าเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก จะเห็นว่าตลาดหุ้นมาเลเซียสูงขึ้นระหว่างปี 2001-2007 ขึ้นมา 179 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็พังทลายลงในปี 2008(2551) เช่นกัน ตกลง 46 เปอร์เซ็นต์ (2008 Effect)

มาเลเซียเคยลอยค่าเงินริงกิตในช่วงวิกฤตระหว่างปี 1997 แต่กลับมาผูกค่าเงินไว้ตายตัวใหม่ในปี 1998 จึงส่งผลให้ เมื่อตลาดแนสแดกซ์ และค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ทำให้ค่าเงินริงกิตของมาเลยเซียอ่อนผิดจริง ทำให้เงินไหลเข้ามาซื้อริงกิตของประเทศมาเลเซียมากกว่าปกติ และไม่สามารถป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนได้ ต้องยอมจำนนลอยค่าเงินริงกิตอีกครั้งเมื่อกลางปี 2005


SSEA Index ดัชนีตลาดหุ้นจีน

แต่ ตลาดหุ้นจีน ไม่ได้เริ่มสูงขึ้นในปี 2001 เหมือนกับประเทศต่างๆ แต่เริ่มขึ้นช่วงปี 2005 และขึ้นแรงและเร็วมาก ช่วงเวลาประมาณ 2 ปี ขึ้นมา 500 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็พังทลายลงในปี 2008(2551) เช่นกันกับทั่วโลก ตกลง 72 เปอร์เซ็นต์ (2008 Effect)

ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ประเทศจีนได้ผูกค่าเงินหยวนไว้ เมื่อตลาดแนสแดกซ์ และค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ทำให้ค่าเงินหยวนของจีนอ่อนผิดจริง(คล้ายกับที่เกิดขึ้นกับเงินริงกิตของ มาเลเซีย) ทำให้เงินไหลเข้าประเทศจีนอย่างรุนแรง จนทางจีนไม่สามารถป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนได้ ต้องจำยอมลอยค่าเงินหยวนในช่วงกลางปี 2005

หลังจากกองทุนโลก เช่นบรรดา Hedge Fund ได้รับชัยชนะจากการเข้ามาซื้อเงินหยวนในกลางปี 2005 จึงวกมาซื้อหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นจีนเริ่มพุ่งขึ้นตั้งแต่กลางปี 2005 เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง แล้วก็พังทลายลงในปี 2008 เช่นเดียวกันกับทั้งโลก (2008 Effect)

ตลาดหุ้นจีนเป็นตลาดหุ้น เปิดใหม่ หากไม่มีการผูกค่าเงินหยวน ตลาดหุ้นจีนน่าจะสูงขึ้นตามแนวเส้น AB สภาพคล่องท่วมประเทศจีน ทำให้จีดีพีของจีนเพิ่มเป็นตัวเลข 2 หลักหลายปีติดต่อกัน

ภาค 2 ความเป็นไปของตลาดเงินตรา


ค่าเงินเหรียญสหรัฐ

ค่าเงินเหรียญสหรัฐมีส่วนแบ่งสกุลเงินสูงที่สุดในโลก ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินของโลกได้

ค่า เฉลี่ยเงินเหรียญสหรัฐ เทียบกับสกุลเงิน 12 สกุลเงิน ได้แก่ HKD INR TWD JPY PHP IDR KRW SGD BAHT AUD EUR NZD แสดงให้เห็นว่าการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ระหว่างปี 2000-2002 ทำให้ค่าเงินเหรียญพังทลายรุนแรง ช่วงระหว่าง 2001-2010 ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงกว่า 25 เปอร์เซ็นต์

 

ค่าเงินบาทไทย

เพราะ เงินทุนไหลเข้าเนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายในปี 2000 ทำให้ค่าเงินบาทสูงขึ้น เงินบาทมีการพังทลายลง ตามการพังทลายลงของตลาดหุ้นไทยในปี 2008 ((2008(2551) Effect))


ค่าเงินริงกิตกิตมาเลยเซีย

เพราะ เงินทุนไหลเข้าเนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายในปี 2000 ทำให้ค่าเงินริงกิตสูงขึ้น แล้วเงินริงกิตก็การพังทลายลง ตามการพังทลายลงของหุ้นมาเลเซียในปี 2008 (2008 Effect)

จะเห็นว่าการ เปลี่ยนแปลงของเงินริงกิต แตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทของไทย ทั้งนี้เพราะมีการผูกค่าเงินริงกิตไว้ตายตัว เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย จึงส่งผลให้เงินริงกิตอ่อนกว่าความเป็นจริง ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาซื้อเงินริงกิตรุนแรง จนต้านไม่ไหว ต้องปล่อยให้ค่าเงินริงกิตลอยตัวสูงขึ้นในกลางปี 2005

หากไม่มีการผูกค่าเงินริงกิตไว้ ค่าเงินริงกิตจะต้องแข็งขึ้นตามเส้นไข่ปลา


ค่าเงินหยวนจีน

จะ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของเงินหยวน คล้ายกับการเปลี่ยนแปลงของเงินริงกิต ซึ่งต่างจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทของไทย ทั้งนี้เพราะมีการผูกค่าเงินหยวนไว้แต่แรก เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย จึงส่งผลให้เงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาซื้อเงินหยวนรุนแรง จนต้านไม่ไหว ต้องยอมจำนน ต้องปล่อยให้ค่าเงินหยวนตลอยตัวสูงขึ้นในกลางปี 2005 เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับเงินริงกิต

ทางจีนได้พยายามกลับไปผูก ค่าเงินหยวนอีกครั้งเมื่อกลางปี 2008 จะเห็นว่าตลาดหุ้นจีนตกในปี 2008 แต่ค่าเงินหยวนก็ไม่ได้ตกลงตามการตกลงของตลาดหุ้น แต่ปรากฏว่ากลางปี 2010 เกิดเงินทุนไหลเข้าใจรุนแรงอีก ส่งผลให้ไม่สามารถผูกค่าเงินไว้ได้อีก ต้องลอยค่าเงินอีก 

หากไม่มีการผูกค่าเงินหยวนไว้ ค่าเงินหยวนจะต้องแข็งขึ้นตามแนวเส้นไข่ปลา

การ ที่เงินหยวนอ่อนค่ามาก และอ่อนค่าผิดจริง เป็นผลมาจากการพังทลายรุนแรงของตลาดหุ้นแนสแดกซ์ระหว่างปี 2000-2002 และเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ประกอบกับมีการผูกค่าเงินหยวนไว้ตายตัวนั่นเอง ทำให้เงินหยวนอ่อนค่าผิดจริง ทำให้มีการเข้ามาไล่ซื้อเงินหยวน จนกระทั่งผูกค่าเงินไว้ที่ค่าเดิมไม่ได้ และปล่อยให้ลอยตัวขึ้นกลางปี 2005

ทั้ง อเมริกาและจีน ไม่ทราบว่าต้นเหตุอะไรที่ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐ และค่าเงินหยวนของจีนเป็นเช่นนี้ ในที่สุด จีนก็ไม่สามารถผูกค่าเงินไว้ได้ จึงต้องลอยค่าเงินในกลางปี 2005 จีนได้พยายามจะกลับมาผูกค่าเงินไว้อีกครั้งในปี 2008 ก็ไม่สามารถทำได้อีก ต้องปล่อยให้ลอยค่าอีกในกลางปี 2010

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ และวุฒิสมาชิกรัฐสภาสหรัฐหลายท่าน กล่าวหาจีนว่าทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อช่วยเหลือการส่งออกของจีน ทำให้อเมริกาต้องขาดดุลการค้ากับจีนสูงมาก

การ ที่ค่าเงินหยวนจีนลอยค่าขึ้น ก็หาใช่ว่าจีนแข็งค่าเงินหยวนของตนเองเพื่อเอาใจประเทศสหรัฐอเมริกาแต่อย่าง ใด แต่เป็นเพราะกองทุนโลกทราบถึงค่าเงินของจีนและของอเมริกาว่าเป็นเช่นใด ทราบว่า ทำไมหยวนจึงอ่อนค่าผิดจริง พวกเขาจึงพากันเข้ามาไล่ซื้อหยวน กระทั่งหยวนยืนผูกค่าไว้ที่ระดับเดิมไม่ได้ และแข็งค่าขึ้น 

ตลาด หุ้นก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบเศรษฐกิจโลก และความผิดปกตินี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้แต่อเมริกาก็ไม่สามารถควบคุมความเป็นไปของค่าเงินเหรียญสหรัฐได้

นั่น คือ ผู้ที่ควบคุมความเป็นไปในระบบเศรษฐกิจโลก ความเป็นไปของตลาดทุน ตลาดเงิน ตลาดเงินตรา และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หาใช่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน ประชาคมยุโรป ประเทศญี่ปุ่น หรือไทย หรือประเทศใดๆ หรือธนาคารโลก หรือไอเอ็มเอฟ หรือเอดีบี แต่อย่างใด แต่เป็นบรรดากองทุนโลกต่างหาก

น่าสังเกตว่า การยอมจำนนต่อการผูกค่าเงินไว้ของเงินริงกิตมาเลเซียและเงินหยวนของจีน ต่างเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2005 เช่นเดียวกัน ทำให้เงินริงกิตและเงินหยวนแข็งค่าขึ้น แสดงถึงความตั้งใจของกองทุนโลก โจมตี(เข้ามาซื้อ)สกุลเงินทั้ง 2 ประเทศนี้แบบเดียวกันเวลาเดียวกัน


เปรียบเทียบความผิดปกติของค่าเงินบาทของไทยและค่าเงินหยวนของจีน
 
 

ความผิดปกติจนต้องลอยค่าเงินบาทในกลางปี 1997 เพราะมีการนำกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาใช้ในตลาดเงิน (แก้และป้องกันปัญหาปลายเหตุ) และนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้น (ซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นตกแรงมากขึ้น) และก็มีการผูกค่าเงินบาทไว้ เมื่อตลาดหุ้นพังทลายรุนแรงในปี 1994(2537)-1996(2539) ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเกินจริง ทำให้มีการขายเงินบาททำกำไร (ซื้อดอลลาร์) กระทั่งดอลลาร์หมดไปจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ จนต้องประกาศลอยค่าเงินบาทเมื่อกลางปี 1997(2540) และเข้าโครงการไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 2

ความผิดปกติจนต้องลอยค่าเงิน หยวนในกลางปี 2005 เนื่องจากมีการผูกค่าเงินหยวนไว้ เมื่อตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายระหว่างปี 2000-2002 ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง จึงมีเงินทุนไหลการเข้ามาซื้อเงินหยวนอย่างท่วมท้น กระทั่งไม่สามารถยืนผูกค่าเดิมไว้ได้ ยอมจำนน ยอมให้เงินหยวนลอยค่าขึ้นในช่วงกลางปี 2005

จะเห็นว่าความผิดปกติของ ค่าเงินบาท และค่าเงินหยวน มีรูปแบบของความผิดปกติคล้ายกัน แต่ผลของความผิดปกติเป็นไปในทางตรงกันข้ามกัน เป็นผลมาจากมีการผูกค่าเงินไว้ตายตัว และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น เมื่อตลาดหุ้นไทยพังทลาย ส่งผลให้บาทแข็งผิดจริง แต่สำหรับประเทศจีน เมื่อแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญของสหรัฐพังทลาย ส่งผลให้หยวนอ่อนผิดจริง


ทุนสำรองไทย เมเลเซีย เวียตนาม

ทุน สำรองฯประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้นทุกปี มีความล้มเหลวและยอมจำนนต่อการแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้า เช่นมาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์กันสำรองเงินทุนไหลเข้าปลายปี 2006 และการเปิดตลาดอนุพันธ์ ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดทุน

ประเทศ ไทย ก่อนปี 1997(2540) ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 38,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คนไทยยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทย ทุกวันนี้ทุนสำรองฯอยู่ที่ระดับ 192,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกรุงเทพที่เป็นคนไทยเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกสิกรไทยที่เป็นคนไทยเหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ คุณชาติสิริ โสภณพาณิชย์ คุณบัณฑูร ล่ำซำ ลดฐานะลงไปลูกจ้าง ของบริษัทที่ตนเองเคยเป็นเจ้าของ คนในประเทศไทยยากจนลง ก็คือประเทศชาติยากจนลง

ทุนสำรองฯประเทศมาเลเซีย เพราะมีการผูกค่าเงินริงกิตไว้ เมื่อตลาดแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ทำให้ค่าเงินริงกิตอ่อนกว่าความเป็นจริง ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาซื้อเงินริงกิต จนต้องลอยค่าเงินริงกิตในช่วงกลางปี 2005 การไหลข้าวของเงินทุนจึงชะลอตัวลง 

จะเห็นว่าช่วงปี 2005-2008 ตามแผนภูมิ ทุนสำรองฯของประเทศมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และสูงกว่าของประเทศไทย แต่ปี 2009 ทุนสำรองฯของประเทศมาเลเซียเริ่มลดลง และต่ำกว่าของประเทศไทย แต่ทุนสำรองฯประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ค่อนข้างแรง และสูงกว่าของประเทศมาเลเซีย

ทุนสำรองฯประเทศเวียดนาม ตลาดหุ้นเวียดนาม เป็นตลาดเปิดใหม่ ตลาดหุ้นขึ้นไปสูงสุดในต้นปี 2007 แล้วเริ่มตกลง ทุนสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการสูงขึ้นของตลาดหุ้น แล้วตลาดหุ้นเวียดนามพังทลายลงรุนแรงในปี 2008 ตามการพังทลายของตลาดหุ้นโลก จะเห็นว่าทุนสำรองฯของเวียดนามลดลงในปี 2008 และลดลงต่อเนื่องในปี 2009


ทุนสำรองจีน ญี่ปุ่น

ตลาด หุ้นจีนเป็นตลาดหุ้นเปิดใหม่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นตลาดหุ้นเปิดเก่า จีนมีการผูกค่าเงินไว้ การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแดกซ์และค่าเงินเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2001-2002 ส่งผลให้ค่าเงินหยวนแข็งผิดจริงทันที ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาซื้อเงินหยวนท่วมท้น จนไม่สามารถยืนผูกค่าหยวนไว้ที่ระดับเดิมได้ ยอมจำนน ปล่อยให้ค่าเงินหยวนลอยตัวขึ้นในกลางปี 2005 ทำให้เงินทุนไหลเข้ามาซื้อเงินหยวนอย่างท่วมท้น ระหว่างปี 2000-กลางปี 2005 ระยะเวลา 5 ปีครึ่ง ที่เงินหยวนยังไม่ลอยค่า ผู้ซื้อหยวนช่วงนี้ ซื้อได้ที่ราคาต่ำ เชื่อว่าทางการจีนได้มีการต่อสู้ป้องกันไม่ไม่ให้หยวนแข็งค่าขึ้นเต็มที่ แต่กองทุนโลกรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ต่างไหลเข้ามาซื้อเงินหยวนของจีน จีนได้พ่ายแพ้ต่อการปกป้องค่าเงินในกลางปี 2005  

นักลงทุนได้เริ่ม เข้ามาลุยซื้อหุ้นจริงจังในกลางปี 2005 เช่นเดียวกัน สังเกตว่าดัชนี China SSEA Index เริ่มสูงขึ้นในช่วงกลางปี 2005

เมื่อปี 2005 ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนยังน้อยกว่าของประเทศญี่ปุ่น แต่ตั้งแต่ปี 2006 ประเทศจีนกลายมาเป็นประเทศที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการพังทลายของตลาดหุ้นที่นำเสนอไว้ช่วงต้น ใช้พิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆดังนี้

การ พังทลายของตลาดหุ้นไทยในปี 2537 ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย กว่าจะรู้ว่าเกิดความเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป 3-4 ปี คือในปี 2540 – 2541 ภาคการเงินและภาคการผลิตจริงล้มลงทั้งระบบ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่คิดแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายตามมาที่รุนแรงมาก

การพังทลายของตลาดหุ้น แนสแดกซ์ของอเมริกาในปี 2000(2543) ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย กว่าจะรู้ว่าเกิดความเสียหาย เมื่อเวลาผ่านไป 7-8 ปี คือในปี 2007–2009 ภาคการเงินและภาคการผลิตจริงล้มลงทั้งระบบ มีข่าวความเสียหายของ Sub prime ตามมา และเกิดหนี้เสียที่สูงมาก CDO (Collateralized debt obligation) และ CDS (Credit default swap) คือเครื่องมือที่คิดแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายตามมาที่รุนแรงมาก

การพังทลายของตลาดหุ้นจีนในปี 2008(2551) ที่ดัชนีตลาดหุ้นตกลง 72 เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้รับผลกระทบ 9-10 ข้อที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ช่วงต้น สภาพคล่องของระบบเสียหาย ขณะนี้ความเสียหายของระบบกำลังดำเนินอยู่ ผู้คนทั่วไป ต่างชื่นชมกับการเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ที่เจริญขึ้นตามที่เงินทุนไหลเข้า ทำให้สภาพคล่องของระบบสูง แต่ช่วงนี้ มีข่าวว่าทางการจีนได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูต่อไป

สรุป

ตลาด หุ้นคือสิ่งผิดปกติของโลกยุคปัจจุบัน นำความผิดปกติมาสู่โลกเมื่อ 100 ปีที่ผ่าน เสริมให้เกิดการปั่นได้ง่ายขึ้น หุ้นขึ้นค่าเงินขึ้น หุ้นตกค่าเงินตก ตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินพังทลาย

ปี 2000 ปีที่ตลาดหุ้นแนสแดกซ์พังทลาย ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไหลออกจากสหรัฐ ออกมายังประเทศต่างๆ ปี 2000 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเงินท่วมโลกอย่างมีนัยสำคัญ เงินเฟ้อสูงขึ้นรุนแรง โลกยากจนลง ไทย อเมริกา และอีก 90 ประเทศที่มีตลาดหุ้น ได้กลายเป็นประเทศที่ยากจนลงตลอดเวลา

ไม่ใช่เรื่องโลกาภิวัตน์ แต่เป็นเรื่องที่ผิดปกติทางเศรษฐกิจของโลก ทำให้ทรัพย์สินของทั้งโลกตกเป็นของกองทุนโลกมากขึ้น 

ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทุนประกันความเสี่ยงและคนซื้อขายกระดาษ(Paper trade) เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ มั่งคั่งเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่คนอเมริกัน (ระบบ) ยากเข็ญลำเค็ญลง เห็นและฟังได้จากคลิปนี้ http://www.youtube.com/watch?v=aiGg8D4hFLc

กอง ทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบการเงินของไทย CDO & CDS ของประเทศสหรัฐอเมริกา และ IMF ของโลก ต่างมีปรัชญาแบบเดียวกัน โดยการเข้าช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันการเงินและของประเทศที่มีปัญหาด้าน สภาพคล่อง ทั้งไทย อเมริกา และโลก ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ซ่อนตัวอยู่ในระบบได้ การไม่แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ปัญหาจะยังคงอยู่ ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ และของโลกตลอดเวลา

…………………………………………….
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท
indexthai@yahoo.com
www.twitter.com/indexthai
25 มกราคม 2554

……….


ตัวอย่างเพิ่มเติม 1 การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อตลาดเงินตรา


ตัวอย่างเพิ่มเติม 2 การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อตลาดเงินตรา


ตัวอย่างเพิ่มเติม 3 การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อตลาดเงินตรา


ตัวอย่างเพิ่มเติม 4 การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่อตลาดเงินตรา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net