Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

นักแสดงตลกคนหนึ่งแสร้งถามเพื่อนตลกด้วยกันว่าครูชอบเด็กนักเรียนประเภท ใดมากที่สุด เพื่อนตลกพยายามตอบตามที่คิดว่าควรจะใช่ เช่น เด็กขยัน เด็กฉลาด ฯลฯ แต่ก็ไม่ถูกเสียที จนในที่สุดนักแสดงตลกก็เฉลยว่าครูชอบเด็กโง่มากที่สุด เมื่อเพื่อนทำท่าสงสัย เขาก็อธิบายต่อด้วยวลีที่ว่า “รักนะ เด็กโง่” จึงเป็นอันเข้าใจกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กนักเรียนในวลี “รักนะ เด็กโง่” เป็นตัวอย่างของรูปแบบการปกครองหรือความสัมพันธ์เชิงอำนาจร่วมสมัยซึ่งมี คุณลักษณะสำคัญอย่างน้อยสองประการ ประการแรก การปกครองร่วมสมัยไม่ได้เป็นไปเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเจ้าผู้ ปกครองหรืออาญาสิทธิ์ แต่เป็นเรื่องของสวัสดิภาพและความกินดีอยู่ดีของผู้ถูกปกครองหรือปัจจุบัน คือประชากร สาเหตุที่ครูดุว่าเด็กนักเรียนไม่ได้เป็นเพราะเด็กนักเรียนสร้างความเสียหาย ให้กับครู แต่เป็นเพราะเด็กนักเรียนฝ่าฝืนกฎระเบียบที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เด็กนัก เรียนประสบความสำเร็จในชีวิต ครูจึงไม่ได้ลงโทษเด็กนักเรียนในนามของการแก้แค้น แต่เป็นในนามของความรักและความปรารถนาดีที่มีต่อเด็กนักเรียนเป็นสำคัญ

ประการที่สอง การปกครองร่วมสมัยไม่นิยมการเปิดเผย แทนที่จะเป็นอำนาจดิบหยาบเช่นปากกระบอกปืน นอกเหนือจากการสอดส่องตรวจตรา การปกครองร่วมสมัยให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองของผู้คนผ่านสิ่งที่เรียก ว่าระเบียบวินัยและข้อควรปฏิบัติ หากเด็กนักเรียนต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงาน พวกเขาจำเป็นต้องตื่นเช้าและเข้าชั้นเรียนไม่ให้ขาด ต้องขยันทำการบ้านและอ่านหนังสือเพื่ออนาคตที่ดีของตนเองในวันข้างหน้า พวกเขาบังคับตัวเองเพื่อตัวเองไม่ใช่เพื่อใครอื่น จึงไม่รู้สึกถึงอำนาจหรือการควบคุมที่ปฏิบัติการบนตัวพวกเขา พวกเขาจึงเป็น “เด็กโง่” อันเป็นที่ “รักนะ” ของครูในฐานะที่เป็นกลไกหรือช่องทางปฏิบัติการอำนาจ

อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าการอภิปรายเกี่ยวกับการปกครองหรือปฏิบัติการอำนาจร่วมสมัยมักให้ ความสำคัญกับสถาบันที่เป็นทางการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล คุก ฯลฯ แต่ไม่ค่อยให้น้ำหนักกับสถาบันทางสังคมที่มีพัฒนาการมาก่อนการก่อตัวของรัฐ สมัยใหม่ เช่น ครอบครัว และเพราะเหตุดังนั้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าการปกครองที่มีสวัสดิภาพและความกินดีอยู่ดีของผู้ถูก ปกครองเป็นที่ตั้งเป็นนวัตกรรมที่มาพร้อมกับรัฐสมัยใหม่ ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ทั้งหมด เช่น เราจะอธิบายการที่พ่อแม่ว่ากล่าวตักเตือนลูกบนฐานของอะไรหากไม่ใช่ความ ปรารถนาดี เราจะอธิบายการที่พ่อแม่ลงโทษลูกบนฐานของอะไรหากไม่ใช่ความรัก และในทางกลับกัน เราจะอธิบายความต้องการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่บนฐานของอะไรหากไม่ใช่ความ สมัครใจซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการบังคับควบคุม เราจึงอยู่กับอำนาจประเภทนี้อย่างไม่รู้สึกตัวมาแต่ไหนแต่ไร

อย่างไรก็ดี รัฐสมัยใหม่ทำให้ปฏิบัติการของอำนาจประเภทนี้มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะในขณะที่ความรักของพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรแอบแฝง ความปรารถนาดีของรัฐมักเคลือบอะไรไว้เสมอ เพราะรัฐยังคงมีการควบคุมประชากรเป็นหัวใจสำคัญเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ่อแม่ส่งเสียให้เรามีการศึกษาก็เพราะต้องการให้เรามีอนาคตที่ดี แต่รัฐสนับสนุนการศึกษาแบบให้เปล่าส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการปลูกฝังความเชื่อ และอุดมการณ์ต่างๆ ในตัวของเรา พ่อแม่อาจจะว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยให้เราเป็นอิสระเมื่อเห็นว่าไม่สามารถ ควบคุมได้หรือเห็นว่าเราเติบใหญ่พอที่จะดูแลตนเองได้ แต่รัฐจะไม่ยอมปล่อยเราไปไหนไม่ว่าเราจะดื้อแพ่งอย่างไรหรือว่ามีอายุสัก ขนาดไหน ความรักและความปรารถนาดีของรัฐจึงเป็นกลวิธีหนึ่งในการควบคุมประชากรโดย เฉพาะกลุ่มที่สมาทานหลักการจำพวกปัจเจกชนนิยมและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่าง ไม่ระมัดระวัง

ผมคิดว่ารัฐไทยเป็นรัฐที่ใช้ความรักและความปรารถนาดีเป็นกลวิธีในการปกครอง อย่างเข้มข้น การปกครองในสมัยสุโขทัยถูกวาดภาพให้เป็นการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข “ใครใคร่ค้าม้า ค้า ใครใคร่ค้าวัว ค้า” เพราะพระเจ้าแผ่นดินทรงปกครองทุกคนด้วยความรักอย่างเสมอกันฉันท์พ่อลูก การปกครองในสมัยปัจจุบันก็อาศัยพระเจ้าแผ่นดินในฐานะพ่อเป็นกลวิธีหลักเช่น กัน ดังจะเห็นได้จากวลีต่างๆ รวมทั้งปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง เช่น “พ่อของแผ่นดิน” “พ่อหลวง” “บ้านของพ่อ” “ต้นไม้ของพ่อ” “ตามรอยเท้าพ่อ” ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะสื่อความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของประเทศและทรงปกครอง ราษฎรฉันท์พ่อปกครองลูก ยังบ่งนัยว่าราษฎรควรประพฤติปฏิบัติตนเช่นไรเพื่อตอบแทนความรักที่ได้รับ จึงเป็นการอาศัยความรักในการปกครองอย่างเด่นชัด

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐรวมถึงสถาบันและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็มักอาศัยความรักและความปรารถนาดีเป็นกลวิธีหลักในการดำเนิน กิจกรรม กฎจราจรจำพวกการคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกนิรภัย การห้ามขับขี่ขณะมึนเมา ฯลฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่เป็นหลัก ในทำนองเดียวกัน กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านบุหรี่และของมึนเมาก็อาศัยความรักและความปรารถนาดีต่อ ผู้บริโภคเป็นเหตุผลนำ วลีจำพวก “ให้เหล้า = แช่ง” และ “ชวนเพื่อนกินเหล้า = แช่ง” แสดงถึงความห่วงใยที่หน่วยงานรัฐ สถาบัน และองค์กรต่างๆ มีต่อสุขภาพและพลานามัยของประชาชน เพราะความที่ไม่ต้องการให้ประชาชนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หน่วยงานและองค์กรเหล่านี้จึงต้องเข้ามาเปลี่ยนแปลงและกำหนดแบบแผนการใช้ ชีวิตของผู้คน

แต่เพราะรัฐไม่ใช่พ่อแม่อีกทั้งยังมีผลประโยชน์ของรัฐที่ต้องดูแล ความรักและความปรารถนาดีของรัฐจึงไม่ใช่สิ่งที่สามารถวางใจได้เสียทีเดียว การปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” เป็นกุศโลบายรัฐในการบ่มเพาะราษฎรที่ว่านอนสอนง่าย ไม่ใช่พลเมืองที่เป็นอิสระและมีความคิดเป็นของตนเอง เราถูกหว่านล้อมให้เชื่อว่าอาศัยอยู่ในแผ่นดินที่เป็นอิสระและได้รับสิทธิ และโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในฐานะลูก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะแผ่นดินนี้เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมซึ่งจำเป็นต้องได้ รับการแก้ไข รัฐบอกให้เราเดิน “ตามรอยเท้าพ่อ” เพื่อว่าชีวิตจะได้ก้าวหน้า แต่มิได้นำพาเลยว่าทางเดินสายนั้นจะต้องได้รับการอุดหนุนเป็นพิเศษเพียงไหน ชีวิตที่พอเพียงอาจเป็นเกณฑ์ที่สูงเกินไปสำหรับคนไทยหลายคนที่ลำพังแต่จะหา กินให้พอแต่ละวันยังเป็นเรื่องยาก ขณะที่คนที่พร่ำสอนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยรู้จักคำว่าเพียงพอ  

ในทำนองเดียวกัน การรณรงค์ต่อต้านของมึนเมาแฝงการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ เพราะแทนที่จะทำความเข้าใจนัยของแอลกอฮอล์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่แตก ต่างหลากหลาย องค์กรกึ่งรัฐลดทอนกิจกรรมที่มีแอลกอฮอล์เกี่ยวข้องให้เหลือเพียงมิติเดียว และหมายความให้เป็นลบ พร้อมกับอาศัยความปรารถนาดีและกฎศีลธรรมหลักเป็นเหตุผลนำ จึงทำให้ไม่เหลือพื้นที่สำหรับการเจรจาต่อรองในระดับเดียวกันอีกต่อไป ไม่ว่าในทางปฏิบัติกิจกรรมรณรงค์เหล่านี้แทบจะไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค แอลกอฮอล์ของผู้คนส่วนใหญ่เลยก็ตาม  

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าหาก เรายินยอมให้รัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กรต่างๆ อาศัยความรักและความปรารถนาดีเป็นกลวิธีในการปกครองและปิดปาก ชีวิตของเราก็จะถูกควบคุมตรวจตราอย่างแนบเนียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คงจะต้องชั่งน้ำหนักว่าเรายังจะต้องการเป็น “เด็กโง่” ให้รัฐและใครต่อใครได้ “รักนะ” หรือว่าจะตั้งคำถามกับปฏิบัติการอำนาจที่แฝงมาด้วยแม้ว่าจะต้องแลกกับการไม่ เป็นที่รักของรัฐหรือการเป็น “ลูกไม่รักดี” ของใครต่อใครก็ตาม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net