Skip to main content
sharethis
 
วานนี้ (27 ธ.ค.53) มูลนิธิชุมชนไท ส่งหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ขอให้มีการสนับสนุนช่วยเหลือชาวเลที่ถูกดำเนินคดี จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา ชาวเล บ้านราไวย์ และบ้านสิเหร่ จ.ภูเก็ต ได้เข้าทำการประมงบริเวณทะเลหน้านอก เขตจังหวัดสตูล และถูกเจ้าหน้าที่อุทยานหาดเจ้าไหม แจ้งจับดำเนินคดี ข้อหานำเครื่องมือล่าสัตว์/อาวุธ เข้าไปในเขตอุทยานและนำสัตว์น้ำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 17 คน
 
หนังสือดังกล่าวระบุข้อโต้แย้งต่อการจับกุมดังกล่าวว่า ชาวเลได้ทำการจับสัตว์น้ำนอกเขตอุทยาน โดยสัตว์น้ำที่ยึดได้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทั่วไปไม่ใช่ประเภทที่ประกาศหวงห้าม และได้มีการนำสัตว์น้ำขึ้นบริเวณท่าเรือชั่วคราวบ้านหาดยาว ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเป็นท่าเรือที่ชาวบ้านใช้กันอยู่เป็นประจำแต่อุทยานมาประกาศทับพื้นที่ภายหลัง อีกทั้งยังระบุว่ามีการข่มขู่เรียกเก็บเงินจากชาวเล
 
นอกจากนี้ยังได้ อ้างถึงมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามข้อเสนอกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ที่เสนอให้ผ่อนปรนพิเศษในการประกอบอาชีพประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมของกลุ่มชาวเลในการเข้าไปทำมาหากินในพื้นที่อุทยานและเขตอนุรักษ์อื่นๆ และกันพื้นที่จอด ซ่อมเรือ เส้นทางเข้า-ออกเรือ เนื่องจากส่วนมากทับซ้อนพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวมีความขัดแย้งกันเป็นระยะ
 
“การดำเนินคดีต่อชาวเล ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่มีวิถีหาอยู่หากินในทะเลอันดามัน มาก่อนการประกาศเขตอนุรักษ์/เขตอุทยาน ของรัฐ เป็นการละเมิดสิทธิชุมชนดั้งเดิม รวมทั้งมีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อน เพราะชาวเลเป็นกลุ่มคนยากจน เปราะบาง ไม่มีความรู้เรื่องในข้อกฎหมาย ระเบียบ สิทธิพึ่งมี และมีข้ออ่อนด้านการสื่อสารภาษา ฯลฯ จึงเสนอให้กระทรวงยุติธรรมเข้าทำการช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน” หนังสือระบุ
  
ทั้งนี้ รายชื่อชาวเลที่ถูกจับดำเนินคดี ประกอบด้วย 1.นายสุจิน ประมงกิจ 2.นายวิลาบ ประมงกิจ 3.นายจ้อน ประมงกิจ 4.นายสุวิน ประมงกิจ 5.นายบุญน้อย ประมงกิจ 6.นายกันต์ ประมงกิจ 7.นายกัมพล ประมงกิจ 8.นายชาญชัย ประมงกิจ 9.นายอาจินต์ ประมงกิจ 10.นายศรี ประมงกิจ 11.นายบุญดีประมงกิจ 12.นายบุญเทิดประมงกิจ 13.นายวิโรจน์ ประมงกิจ 14.นายหมัดหลีประมงกิจ 15.นายวิรัตน์ประมงกิจ 16.นายอนุสรณ์ประมงกิจ 17.นายสุริยะ สุทธิพันธ์
 
หนังสือดังกล่าวระบุรายละอียดดังนี้
 
 
ที่ มชท. letter-spacing:.5pt">533 / 2553
 
                                                                         วันที่ color:black;letter-spacing:.5pt">27 ธันวาคม 2553
 
เรื่อง ขอสนับสนุนช่วยเหลือชาวเลถูกดำเนินคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
 
เรียน  ประธานคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
 
สิ่งที่แนบมาด้วย  มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามข้อเสนอกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2553
 
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2553 ชาวเล บ้านราไวย์ และ บ้านสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต เข้าทำการประมงบริเวณทะเลหน้านอก เขตจังหวัดสตูล และถูกเจ้าหน้าที่อุทยานหาดเจ้าไหม แจ้งจับดำเนินคดี ข้อหานำเครื่องมือล่าสัตว์ / อาวุธ เข้าไปในเขตอุทยานและนำสัตว์น้ำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 17 คน (รายชื่อตามแนบท้าย)
 
ซึ่งในข้อเท็จจริงชาวเลกลุ่มดังกล่าว มีข้อโต้แย้งดังนี้ 1).ได้ทำการจับสัตว์น้ำนอกเขตอุทยาน 2).สัตว์น้ำที่ยึดได้ 2 ชนิด คือ หอยหน้ายักษ์หรือหอยสังข์หนาม และหอยสังข์แดง หรือหอมปูหนำ หรือ หอยหอม เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทั่วไปไม่ใช่ประเภทที่ประกาศหวงห้าม 3).ชาวเลนำสัตว์น้ำขึ้นบริเวณท่าเรือชั่วคราวบ้านหาดยาว ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเป็นท่าเรือที่ชาวบ้านใช้กันอยู่เป็นประจำแต่อุทยานมาประกาศทับพื้นที่ภายหลัง 4). มีการข่มขู่เรียกเก็บเงินจากชาวเล  
 
รวมทั้ง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม color:black"> เสนอ และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติ โดยมีสาระสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องการประกอบอาชีพชาวเล ดังนี้ (รายละเอียดตามแนบ )
 
color:black">“มติ ครม.ข้อ 1.2 การให้ชาวเลสามารถประกอบอาชีพประมง หาทรัพยากรตามเกาะต่างๆ ได้ และเสนอ ผ่อนปรนพิเศษในการประกอบอาชีพประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมของกลุ่มชาวเลในการเข้าไปทำมาหากินในพื้นที่อุทยานและเขตอนุรักษ์อื่นๆ และกันพื้นที่จอด ซ่อมเรือ เส้นทางเข้า-ออกเรือ เนื่องจากส่วนมากทับซ้อนพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวมีความขัดแย้งกันเป็นระยะ รวมถึงการควบคุมเขตการทำประมงอวนลากและอวนรุนให้เป็นไปตามข้อตกลงอย่างแท้จริง (รุกล้ำเขตประมงชายฝั่ง) – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)”
 
อนึ่ง การดำเนินคดีต่อชาวเล ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่มีวิถีหาอยู่หากินในทะเลอันดามัน มาก่อนการประกาศเขตอนุรักษ์ / เขตอุทยาน ของรัฐ เป็นการละเมิดสิทธิชุมชนดั้งเดิม (สถาบันวิจัยจุฬา ฯ ระบุชาวเลอาศัยมากกว่า 300 ปี) รวมทั้งมีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อน เพราะชาวเลเป็นกลุ่มคนยากจน เปราะบาง ไม่มีความรู้เรื่องในข้อกฎหมาย ระเบียบ สิทธิพึ่งมี และมีข้ออ่อนด้านการสื่อสารภาษา ฯลฯ จึงเสนอให้กระทรวงยุติธรรมเข้าทำการช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน
 
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา


ขอแสดงความนับถือ


นางปรีดา คงแป้น
คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป
                                        ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท                                      
 
letter-spacing:.5pt">รายชื่อชาวเลถูกจับดำเนินคดี
1.นายสุจิน ประมงกิจ   2.นายวิลาบ ประมงกิจ 3.นายจ้อน ประมงกิจ  
4.นายสุวิน ประมงกิจ    5.นายบุญน้อย ประมงกิจ 6.นายกันต์ ประมงกิจ
7.นายกัมพล ประมงกิจ  8.นายชาญชัย ประมงกิจ  9.นายอาจินต์ ประมงกิจ  
10.นายศรี ประมงกิจ   11.นายบุญดีประมงกิจ 12.นายบุญเทิดประมงกิจ
13.นายวิโรจน์ ประมงกิจ 14.นายหมัดหลีประมงกิจ  15.นายวิรัตน์ประมงกิจ 
16.นายอนุสรณ์ประมงกิจ 17.นายสุริยะ สุทธิพันธ์
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net