Skip to main content
sharethis

กลุ่มผู้ใช้แรงงาน 21 สหภาพแรงงานร่วมกันก่อตั้ง “สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นสภาองค์การลูกจ้างแห่งที่ 13 ระบุเป็นองค์กรสร้างนักสหภาพแรงงานรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนทำงาน

 

 

15 .. 53 - เวลาประมาณ 10.00 . ที่ห้องประชุมกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คณะผู้ก่อการสภาองค์การลูกจ้างแรงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (สภ.รส.) นำโดยนายทศพร คุ้มตะโก ประธานผู้ก่อการสภาองค์การลูกจ้างแรงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้เข้ารับมอบทะเบียนสภาฯ จากนายสมชาย วงษ์ทอง รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และนายสุวิทย์ สุมาลา ผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์

โดยนายทศพร คุ้มตะโก กล่าวว่าการก่อตั้งสภาองค์การลูกจ้างแรงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย แห่งนี้เพื่อเป็นองค์กรคุ้มครองสิทธิของแรงงาน รวมถึงเป็นการสนับสนุนนักสหภาพแรงงานรุ่นใหม่เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อคนงาน

นายสมชาย วงษ์ทอง รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวกับคณะผู้ก่อการว่าเรื่องแรงงานสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยเมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจในแต่ละครั้ง การดำเนินการด้านแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างจะช่วยประคองให้รอดพ้นสถานการณ์วิกฤตมาได้ รวมทั้งภาครัฐเองก็ให้ความสำคัญ โดยเมื่อวานนี้ (14 .. 53) กระทรวงแรงงานก็ได้เสนอเรื่องอนุสัญญา ILO 87 และ 98 ต่อคณะรัฐมนตรีและก็ได้ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว เหลือแค่การผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ทั้งนี้สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทยถือว่าเป็นสภาองค์กรลูกจ้างแห่งที่ 13 ของประเทศไทย สำหรับสหภาพแรงงานที่ร่วมก่อตั้งสภาฯแห่งนี้มี จำนวน  21 องค์กร ประกอบไปด้วย

1.สหภาพแรงงาน พนักงานไดดอง แห่งประเทศไทย     ทะเบียน ชบ.142/2552      มีมติเมื่อ 11 ต.ค.52

2.สหภาพแรงงาน โอวายที                          ทะเบียน รย. 54/2551       มีมติเมื่อ 28 พ.ย.52

3.สหภาพแรงงาน ฟูรูกาวายูนิค ไทยแลนด์      ทะเบียน รย. 63/2552       มีมติเมื่อ 28 พ.ย.52

4.สหภาพแรงงาน ผู้บังคับบัญชาไอทีเอฟ        ทะเบียน รย.11/2547        มีมติเมื่อ 5 ธ.ค.52           

5.สหภาพแรงงาน พนักงานไอทีเอฟ               ทะเบียน รย.12/2547        มีมติเมื่อ 5 ธ.ค.52           

6.สหภาพแรงงาน ซี.เค.ดี.ไทย                     ทะเบียน ชบ.117/2550      มีมติเมื่อ 20 ธ.ค.52

7.สหภาพแรงงาน ไฮคอม ประเทศไทย          ทะเบียน รย. 73/2552       มีมติเมื่อ 5 ม.ค.53

8.สหภาพแรงงาน อาหารสยาม                     ทะเบียน ชบ.12/2522        มีมติเมื่อ 30 ม.ค.53

9.สหภาพแรงงาน รากแก้วสัมพันธ์                 ทะเบียน รย. 41/2550       มีมติเมื่อ 20 ก.พ.53

10.สหภาพแรงงานนิชชิน เอสทีซี                  ทะเบียน สป. 948             มีมติเมื่อ 14 มี.ค.53

11.สหภาพแรงงาน ที.พี.พี                           ทะเบียน รย. 48/2550      มีมติเมื่อ 21 มี.ค.53

12.สหภาพแรงงาน ลัคกี้ ยูเนียน                    ทะเบียน รย. 56/2551       มีมติเมื่อ 28 มี.ค.53

13.สหภาพแรงงาน เมตัลฟา ประเทศไทย        ทะเบียน รย.19/2548        มีมติเมื่อ 22 พ.ค.53

14.สหภาพแรงงาน โซนี่ ประเทศไทย             ทะเบียน ชบ.113/2550      มีมติเมื่อ 1 ส.ค.53           

15.สหภาพแรงงาน ฟิชเชอร์แอนด์พายเคิล ไทยแลนด์ ทะเบียน รย. 85/2553        มีมติเมื่อ 8 ส.ค.53           

16.สหภาพแรงงาน เอเวอรี่                          ทะเบียน รย. 53/2551       มีมติเมื่อ 12 ส.ค.53

17. สหภาพแรงงาน ไทยยาชิโร่                    ทะเบียน ชบ.107/2549      มีมติเมื่อ 15 ส.ค.53

18. สหภาพแรงงาน อิเนอร์ยี ประเทศไทย       ทะเบียน รย. 55/2551       มีมติเมื่อ 29 ส.ค.53

19.สหภาพแรงงาน อาซาคาวา ประเทศไทย     ทะเบียน รย. 25/2548       มีมติเมื่อ 12 ก.ย.53

20.สหภาพแรงงาน พลังแรงงานไทยวายพีซี     ทะเบียน ชบ.173/2553      มีมติเมื่อ 15 ก.ย.53

21.สหภาพแรงงาน เจเนอรัลมอเตอร์ ประเทศไทย        ทะเบียน ชบ. 99/2549       มีมติเมื่อ 1 ต.ค.53

 

 

สภาองค์การลูกจ้างแรงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (สภ.รส.)

Thailand Confederation Trade Union

 

สำนักงาน

 

ที่ตั้งสำนักงานเลขที่ ๓๗/๗๔ หมู่ ๒ หมู่บ้านนันทวัน ถนนเลียบวารี  แขวงโคกแฝด  เขตหนองจอก  กรุงเทพมหานคร 10530 สำหรับสหภาพแรงงานที่ร่วมก่อตั้งสภาฯแห่งนี้มี จำนวน  21 องค์กร และได้ยื่นจดทะเบียน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553  ณ.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง กรุงเทพมหานคร  

 

นโยบาย

มุ่งส่งเสริมการศึกษาและการสร้างแรงงานสัมพันธ์ เพื่อความเข็มแข็งในองค์กรสมาชิกให้เป็นที่ประจักษ์  ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม เพื่อความเจริญของสังคมและเศรษฐกิจ

 

วิสัยทัศน์

เป็นองค์การที่มุ่งมั่นความสำเร็จ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน เพื่อความมั่นคง โดยใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและระบบมาตรฐานแรงงานสากล

 

พันธะกิจ

1.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้แรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม เพื่อดูแลรักษาไว้ซึ่งสภาพการจ้างในสถานประกอบการที่เป็นธรรม

3.ร่วมมือและประสานงานกับองค์กรอื่นๆเพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมกับสังคมและเศรษฐกิจ

4.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ มีวินัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่กีดกันทางเพศ

5.พัฒนานักสหภาพแรงงานให้สามารถบริหารจัดการภายในองค์กร และสามารถแก้ไขปัญหาแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.ส่งเสริมและสนับสนุนผู้นำแรงงานให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรู้ความเข้าใจในทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง

 

ยุทธศาสตร์

 

1.ด้านการศึกษา

-จัดการฝึกอบรมให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม

 

2.ด้านการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน

-ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐมีการบังคับใช้กฎหมายแรงงานให้เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติเพื่อความสงบสุขในภาคอุตสาหกรรม

 

3.ด้านการรวมกลุ่มของคนงาน

-สนับสนุนและส่งเสริมการรวมกันเป็นองค์กรของคนงานทุกประเภทอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะแรงงานอิสระหรือแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้หลักการสากล

-การใช้สิทธิและกลไกในการรวมกันของกลุ่มคนงานในการยื่นข้อเรียกร้องและหรือการเจรจาต่อรอง ภาครัฐต้องดูแลและให้การคุ้มครองอย่างแท้จริง

 

4.ด้านความมั่นคงในการมีงานของคนงาน

-เสริมสร้างความมั่นคงในการมีงานทำให้กับคนงานโดยใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์

 

5.ด้านการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานฝึกงาน

-ควบคุม ดูแล ไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานฝึกงานต้องได้รับสิทธิครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

6.ด้านการจ้างงานเหมาค่าแรง(จ้างงานระยะสั้น)

 

แผนระยะสั้น

-สนับสนุนและรณรงค์ให้มีข้อกำหนด ในเรื่องการกำหนดสัดส่วนให้มีการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงได้ไม่เกิน 10 %

-สนับสนุนให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการอื่น ๆ เช่นเดียวกับพนักงานประจำ

 

แผนระยะยาว

-ยกเลิกการจ้างงานเหมาค่าแรง

 

7.ด้านปัญหาการจ้างแรงงานข้ามชาติ

-รณรงค์และส่งเสริมให้รัฐบาลจัดให้แรงงานข้ามชาติได้รับสิทธิเทียบเท่ากับแรงงานไทย

-สนับสนุนและส่งเสริมประเภทอุตสาหกรรมที่แรงงานข้ามชาติสามารถทำได้

-ส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของแรงงานข้ามชาติ

 

8.ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง

-ภาครัฐต้องส่งเสริมและสร้างความมั่นคงในองค์กรลูกจ้าง

-สนับสนุนและเสนอแนะกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม

-สนับสนุนและส่งเสริมให้ขบวนการแรงงานเข้าไปมีส่วนรวมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อการพัฒนาประเทศตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย     

 

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net