รายงาน: บ้านแหงเยือนแม่เมาะ...ลมหนาวยังโหดร้าย

เมื่อชาวบ้านบ้านแหง จ.ลำปาง เดินทางดูงานที่เหมืองแม่เมาะ เหมืองซึ่งใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบล พวกเขาศึกษาประสบการณ์บอบช้ำของคนที่นั่น เพื่อกลับไปต่อสู้กับนายทุนพรรคการเมืองหนึ่งที่กว้านซื้อที่ดินเตรียมทำเหมืองลิกไนต์ แต่หลอกชาวบ้านว่าจะทำโรงงานกระดาษ

 

ชาวบ้านแหง เยือนตรงจุดชมวิวดูการทำเหมืองถ่านหินแม่เมาะ
 

หน้าบ้านผู้อพยพ บ้านฉลองราช แวววรินทร์ บัวเงิน ร่วมชาวบ้านแหง และชาวแม่เมาะ ยืนยันจะคัดค้านเหมืองถ่านหิน

 

เครื่องจักรทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ลำเลียงดินที่เกิดจากการขุดเหมืองมาทิ้งยังจุดทิ้งดินที่กลายเป็นภูเขาขนาดใหญ่

 

อบต. บ้านดง สำรวจจุดทิ้งดินจะมีถ่านหินไม่มีคุณภาพเจือปนอยู่และจะเกิดการสันดาบปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่

 

ถ่านหินสันดาปอยู่บนจุดทิ้งดินซึ่งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์

 
จุดทิ้งดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลังลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้น
 
 
ต้นเดือนพฤศจิกายน ลมหนาวยังคงพัดโชยผ่านภูเขาประดิษฐ์ที่เสียดสูงเรียงรายราวเทือกเขาธรรมชาติ
 
“แสบตา...แสบคอ...หายใจไม่ทั่วท้อง” เสียงบ่นของชาวบ้านท้ายรถกระบะดังขึ้นเป็นระยะๆ
 
แต่อาการคล้ายป่วยแทบจะมลายไปสิ้น พร้อมๆ กับภาพแอ่งกระทะเบื้องหน้าที่ทำให้หัวใจชาวบ้านสั่นระรัวและหวั่นวิตกมากยิ่งขึ้น
 
ณ ลานดินเวิ้งว้างตรงนั้น ใน 24 ชั่วโมงจะมีรถตัก-ไถ และรถบรรทุกแร่กว่า 2,000 คัน เวียนวิ่งกันไปมาราวกับมดปลวกตัวเล็กๆ บนหน้าดินที่ถูกเปิดจนแดงฉานไปด้วยลายเส้นเป็นชั้นๆ หลายพันไร่
 
“ใจหายใจคว่ำหมด...นี่หรือเหมืองแม่เมาะ?...เหมืองที่ใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบลเสียอีก”
 
ความรู้สึกของชาวบ้านเหล่านี้ แวววรินทร์ บัวเงิน แม่บ้านสาวที่เพิ่งผันตัวเองมาเป็นแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง เข้าใจดี เพราะเธอกับสามีก็เคยรู้สึกตระหนกเช่นกันเมื่อมาเห็นเหมืองแม่เมาะในครั้งแรก
 
แวววรินทร์ ย้อนเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด กลุ่มทุนของนักการเมืองพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านของเธอ คือ ในบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ไปกว่า 1,200 ไร่ โดยหลอกลวงชาวบ้านว่าจะนำพื้นที่ไปใช้เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งเข้าโรงงานทำกระดาษ แต่ต่อมากลับขอประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ จำนวน 2 แปลง พื้นที่ 1,200 ไร่ ในทั้งสองหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ให้อนุญาต
 
รวมถึงการที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ใช้วิธีมิชอบทำให้สมาชิกสภาฯ ลงมติเห็นชอบให้บริษัท เขียวเหลือง ขอประทานบัตรได้โดยไม่มีชาวบ้านร่วมสังเกตการณ์ ทั้งๆ ที่ขั้นตอนในการทำประชาสังคม เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านเรื่องการทำเหมืองถูกคัดค้านจนล่มทั้งสองครั้ง ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนสร้างภาพใหม่โดยจ้างคนมาปลูกป่าเป็นการบังหน้า มีการจัดตั้งกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ขึ้น โดยนำชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมประชุมในพื้นที่บ้านแหง ซึ่งชาวบ้านแหงที่มีกลุ่มฌาปณกิจที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี พวกเขาเชื่อว่านี่คือเป็นการลักไก่ที่บริษัทจะใช้การประชุมนี้อ้างเป็นการลงประชามติของชาวบ้านในพื้นที่ที่ยินยอมให้เปิดเหมือง แวววรินทร์ และชาวบ้านแหงจึงรวมกลุ่มกันตั้งด่านสกัดปิดทางเข้าหมู่บ้าน 3 จุด ไม่ให้คนนอกพื้นที่ และคนของบริษัทเข้ามาในหมู่บ้าน
 
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ คือพฤติกรรมของทุนที่ทำให้ แวววรินทร์ และชาวบ้านได้เห็นเบื้องหลังการเข้ามาของบริษัทที่มีเจตนาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในระดับพื้นที่ เพราะทุกฝ่ายต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือสมประโยชน์กับทุนทั้งสิ้น
 
แต่เสียงขับไล่ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ รวมถึงเสียงคัดค้านไม่ต้องการเหมืองถ่านหินของชาวบ้านแหงเพียงดังอยู่ในสองหมู่บ้าน คือ หมู่ 1 และ หมู่ 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ขอประทานบัตรเท่านั้น ในขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลัง หรือหลงเชื่อไปกับคำโฆษณาของกลุ่มทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เหมืองจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ตามรูปแบบของโครงการพัฒนาที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่เคยถอดบทเรียนความล้มเหลวที่สร้างความเจ็บปวดให้ชาวบ้าน บ่อนทำลายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมมาทุกยุคทุกสมัย
 
เช้ามืดของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ชาวบ้านแหง หมู่ 1,7 ร่วมร้อยคนตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางทำกับข้าวกับปลาขนขึ้นท้ายรถกระบะ 7 คัน มุ่งหน้าสู่เหมืองแม่เมาะ พวกเขาหลายคนยังคงเจ็บช้ำเพราะขายที่ให้กับ บริษัท เขียวเหลือง และต่างพกพาความรู้สึกที่เหมือนกัน คือ ทุกคนอยากเห็นกับตาว่าเหมืองลิกไนต์เป็นอย่างไร เหมืองเปิดทำอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิตของชาวแม่เมาะที่อยู่ท่ามกลางเหมืองและโรงไฟฟ้า อยากรู้จากปากคำของผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ โดยหวังว่าพวกเขาจะเห็นลู่ทางในการต่อสู้ เพื่อหยุดยั้งการเปิดเหมืองของบริษัทเขียวเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางปีหน้า
 
ที่ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชาวบ้านแหงได้รับฟังข้อมูลสภาพพื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขา มีภูเขาล้อมเกือบทุกด้าน ความกดดันอากาศค่อนข้างสูง อุณหภูมิค่อนข้างผกผัน ทำให้ในแต่ช่วงฤดูกาลของทุกปี ชาวแม่เมาะจะได้รับผลกระทบจากมลพิษต่อเนื่องยาวนานในหลายรูปแบบ
 
“ฤดูฝน ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ถูกเอามากองทิ้งไว้จะลุกใหม้ตัวเอง หรือเกิดการสันดาบขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขี้เถ้า กำมะถัน ลอยฟุ้งส่งกลิ่นไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนกรดและหมอกควันพิษที่มีพิษร้ายแรง สารปรอท สารหนูจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูหนาวแต่นี้เป็นต้นไป จะมีฝุ่น มีกลิ่นกระจายไปไกลมาก ฤดูร้อน ฝุ่นขนาดเล็กจะฝุ้งกระจาย ชาวแม่เมาะจึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก...” ศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เล่า
 
นายกฯ อบต. บ้านดง ชี้ให้ชาวบ้านแหงดูภูเขาที่มองเห็นได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงภูเขาที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ใช้ปลูกทุ่งบัวตองที่กำลังจะบานสะพรั่งในไม่ช้า เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อยู่ทุกปี ที่เห็นบนพื้นที่ 23,000 กว่าไร่นี้เป็นเหมือง และภูเขาเกิดใหม่ที่เกิดจากการทิ้งดินที่ขุดขึ้นมาในเหมืองแม่เมาะ ด้านใต้ของภูเขาจะมีถ่านหินคุณภาพต่ำฝังอยู่ พอฝนตกถ่านหินจะลุกใหม้อยู่ข้างใต้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะพอหยั่งรากลงข้างล่างจะตายหมด ภูเขาจึงมีแต่พืชเล็กๆ เท่านั้น
 
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของอบต. ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ยังพบถ่านหินสันดาบส่งควันฟุ้งอยู่หลายแห่ง ส่วนปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย เสียงเครื่องยนต์รถขนส่งแร่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำเหมือง และสายพานลำเลียงแร่ ยังส่งเสียงรบกวนชาวแม่เมาะอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
 
การปกปิดข้อมูลมลพิษ เสียงดัง กลิ่นเหม็นจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษจากฝุ่น ประกอบกับเครื่องดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าบางโรงเสีย ที่ดำเนินมาถึงปี 2535 ปรากฎพื้นที่ไร่นาเสียหายจากฝนกรด ชาวบ้านในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และทยอยเสียชีวิตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยกว่า 4 ล้านบาท และลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 แต่ทิ้งท้ายด้วยการพ่วงเปิดโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 2 โรง
 
ปี 2539 กฟผ. ตกลงที่จะดำเนินการพิจารณาอพยพโยกย้ายราษฎร จำนวน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน คือ ต.นาสัก ต.สบป้าด ต.แม่เมาะ และต.บ้านดง ประมาณ 3,500 ครอบครัว แต่ก็มาเกิดเหตุซ้ำในปี 2541 เมื่อเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10 เครื่อง ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ทำให้ชาวบ้านล้มป่วย 868 คน ส่วนปัญหาเรื่องฝุ่นมีการสำรวจต่อเนื่องเรื่อยมาที่พบว่าแม่เมาะมีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยจะสูงมากในช่วงฤดูร้อน
 
ปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดนำไปสู่การอพยพโยกย้ายชาวบ้านรอบ 2 ในหมู่บ้านหางฮุง 493 หลังคาเรือน ปัจจุบันอพยพได้แล้ว 300 กว่าหลังคาเรือน รวมถึงการฟ้องร้องเพื่อให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหาย ชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะจำนวน 437 คน ในปี 2546 ผ่านหกปีในกระบวนการยุติธรรม ศาลปกครองเชียงใหม่ได้วินิจฉัยให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพและจิตใจให้แก่ชาวบ้าน รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่อพยพให้ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยคิง ปัจจุบัน กฟผ. ขออุทธรณ์คดี
 
นายกฯ อบต. บ้านดง เล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ หลังจากเหมืองแม่เมาะเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ชาวบ้านดง ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. หยุดลำเลียงดินที่ได้จากการขุดเปิดเหมืองผ่านระบบสายพานมาทิ้งใน ต.แม่เมาะ และ ต.บ้านดง แรงกดดันของชาวบ้านในครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ตั้งงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ อบต.บ้านดง แก้ไขปัญหามลพิษและสุขภาพจนกว่าชาวบ้านจะอพยพออกนอกพื้นที่
 
ส่วนกรณีของชาวบ้านห้วยคิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ที่ยังไม่มีการจัดพื้นที่อพยพที่ชัดเจน ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. ยุติการทำเหมืองเฟส 6 และ 7 ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทาง อบต.บ้านดง ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่จะขออพยพในรอบที่สามและสี่ 700-800 ราย และตั้งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว
 
รวมถึงกรณีการคัดค้านของชาวบ้าน ในหมู่บ้านห้วยคิง หมู่ 6 และบ้านเมาะหลวง หมู่ 8 ต.แม่เมาะ ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งดิน 7,026 ไร่ ในเขตป่าสงวน ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง และเทศบาล อนุญาตให้กับ กฟผ. โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และไม่ได้รับความยินยอมจากชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายผู้ได้รับผลกระทบ
 
ณภัทร หวันแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชี้แจงการทำงานของ อบต.บ้านดง ต่อกรณีนี้ว่า “อบต. ได้สำรวจพื้นที่ทิ้งดิน 3,000 ไร่ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ กรมป่าไม้อนุญาติให้ กฟผ. เอาดินมาทิ้งในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าไผ่ ต้นไม้ธรรมชาติถูกตัดหมด ดินที่เอามาทิ้งตอนนี้เกือบ 200 ไร่ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้นไปแล้ว ตอนนี้อบต. รวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองอาทิตย์ที่แล้ว รอหนังสือจากศาลปกครองให้ระงับการทิ้งดินของ กฟผ.”
 
การบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านแหงรับรู้ว่า ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่เหมืองแม่เมาะดำเนินการ และ 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะผลิตกระแสไฟฟ้า กับความเป็นจริงของแม่เมาะที่ประสบปัญหามลพิษมาอย่างเรื้อรัง แต่การแก้ไขปัญหาและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบทเรียนของชาวบ้านแม่เมาะ หรือแม้แต่ชาวบ้านแหง และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรวมตัวกันต่อสู้ต่อต้านด้วยตัวเอง
 
และเหมือนตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นฤดล สุชาติพงศ์ อดีตพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ที่ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องเรื่องการอพยพให้ชาวบ้านแม่เมาะ สารภาพกับชาวบ้านแหงว่า “ตอนผมเป็นพนักงาน กฟผ. ทำหน้าที่สำรวจแหล่งถ่านหิน พื้นที่ทิ้งดิน ถ่านหินที่บ้านแหงผมเป็นคนเจาะสำรวจด้วยตัวเอง ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ลึกจากดิน 20 เมตร สามารถขุดขึ้นมาขายได้ 20-30 ล้านตัน  ลักษณะเหมืองจะเป็นเหมืองเปิดเหมือนแม่เมาะ ถ้ามีการเปิดเหมืองจะมีอันตรายแน่นอน ฝุ่น PM10 จากที่ทิ้งดินจะฟุ้งกระจาย ปัญหาของคนบ้านแหงจะเหมือนกับพี่น้องที่แม่เมาะ”
 
ออกจาก อบต.บ้านดง ชาวบ้านแหงเดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้านใหม่ของผู้อพยพ และศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ บ้านฉลองราช อ.แม่เมาะ พวกเขาได้เห็นวิถีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ความสงบสุขคืนมาของชาวแม่เมาะที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่
 
“ชาวบ้านชุดแรกอพยพมาแล้ว 22 ปี วันนี้ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ชุดที่สองอพยพ 493 หลัง ยังไม่รู้ว่าจะได้เอกสารสิทธิ์หรือเปล่า บ้านแต่ละหลังจะมีพื้นที่เท่ากัน คือ 1 ไร่ ยังไม่มีพื้นที่ทำกิน...
 
“เดิมพื้นที่ไข่แดงของแอ่งเหมืองแม่เมาะมีหมู่บ้านอยู่ 10 หมู่บ้าน มีโรงเรียน วัด ที่ว่าการอำเภอ เหมืองทำให้ชุมชนทั้งหมดล่มสลายต้องย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ไข่ขาวไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่าป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองก็ปี 2535 ถึงจะลุกขึ้นสู้ วันนี้คนป่วยยังตายไปเรื่อยๆ ที่ กฟผ. ตั้งกองทุนสำหรับดูแลผู้ป่วย 300 กว่าล้านบาทต่อปี แต่กว่าจะผ่านมือใครมา ก็มีเงินมาถึงชาวบ้านน้อยมาก ส่วนเงินที่ได้ก็เอาไปสร้างฝาย สร้างเขื่อน ไม่ได้เกี่ยวกับการเยียวยาสุขภาพ ชาวบ้านผู้ป่วยแม่เมาะยังไม่ได้รับการดูแลให้ดีขึ้น” มะลิวัลย์ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เล่า
 
ตลอด 1 วันทั้งในและรอบเหมืองอันโหดร้าย แวววรินทร์ และชาวบ้านแหง ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนเดียวดายที่ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ด้านหนึ่งเกิดกำลังใจ เห็นหนทางสู้ แต่เมื่อยังเห็นเหมืองแม่เมาะ เปิดเฟส 6 เฟส 7 และคงจะเปิดบ่อไปเรื่อยๆ จนกว่าถ่านหินในแม่เมาะที่จะเอามาใช้ได้อีก 20 ปี หมดลง
 
ไม่นานจะมีการซื้อถ่านหินจากพม่า หรือจากแอ่งงาว ที่บ้านแหง แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ แอ่งเสริมงาม แอ่งห้างฉัตร หรือแอ่งเวียงแหง แอ่งเชียงม่วน แอ่งปาย แอ่งฝาง แอ่งสันป่าตอง แอ่งพบพระ แอ่งอุ้มผาง แอ่งแพร่ แอ่งปัว แอ่งท่าวังผา แอ่งน่าน แอ่งบึงสามพัน แอ่งวิเชียรบุรี... และแหล่งอื่นๆ มาทดแทน
 
ในขณะที่วันนี้แม่เมาะยังเป็นเมืองมลพิษ ชาวแม่เมาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบเหมือง 5 กิโลเมตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ผู้ป่วยยังคงล้มตาย ส่วนคนอพยพออกนอกพื้นที่มาแล้วยังคงระทมทุกข์
 
“เรามาดูงานที่นี่ เราได้เห็นแล้ว เราจะกลับไปบ้านไปคุยกับคนที่บ้านเรา เราจะสู้ให้ถึงที่สุดไม่ให้เปิดเหมืองในบ้านเราให้ได้” แวววรินทร์ พูด
ต้นเดือนพฤศจิกายน ลมหนาวยังคงพัดโชยผ่านภูเขาประดิษฐ์ที่เสียดสูงเรียงรายราวเทือกเขาธรรมชาติ
 
“แสบตา...แสบคอ...หายใจไม่ทั่วท้อง” เสียงบ่นของชาวบ้านท้ายรถกระบะดังขึ้นเป็นระยะๆ
 
แต่อาการคล้ายป่วยแทบจะมลายไปสิ้น พร้อมๆ กับภาพแอ่งกระทะเบื้องหน้าที่ทำให้หัวใจชาวบ้านสั่นระรัวและหวั่นวิตกมากยิ่งขึ้น
 
ณ ลานดินเวิ้งว้างตรงนั้น ใน 24 ชั่วโมงจะมีรถตัก-ไถ และรถบรรทุกแร่กว่า 2,000 คัน เวียนวิ่งกันไปมาราวกับมดปลวกตัวเล็กๆ บนหน้าดินที่ถูกเปิดจนแดงฉานไปด้วยลายเส้นเป็นชั้นๆ หลายพันไร่
 
“ใจหายใจคว่ำหมด...นี่หรือเหมืองแม่เมาะ?...เหมืองที่ใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบลเสียอีก”
 
ความรู้สึกของชาวบ้านเหล่านี้ แวววรินทร์ บัวเงิน แม่บ้านสาวที่เพิ่งผันตัวเองมาเป็นแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง เข้าใจดี เพราะเธอกับสามีก็เคยรู้สึกตระหนกเช่นกันเมื่อมาเห็นเหมืองแม่เมาะในครั้งแรก
 
แวววรินทร์ ย้อนเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด กลุ่มทุนของนักการเมืองพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านของเธอ คือ ในบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ไปกว่า 1,200 ไร่ โดยหลอกลวงชาวบ้านว่าจะนำพื้นที่ไปใช้เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งเข้าโรงงานทำกระดาษ แต่ต่อมากลับขอประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ จำนวน 2 แปลง พื้นที่ 1,200 ไร่ ในทั้งสองหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ให้อนุญาต
 
รวมถึงการที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ใช้วิธีมิชอบทำให้สมาชิกสภาฯ ลงมติเห็นชอบให้บริษัท เขียวเหลือง ขอประทานบัตรได้โดยไม่มีชาวบ้านร่วมสังเกตการณ์ ทั้งๆ ที่ขั้นตอนในการทำประชาสังคม เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านเรื่องการทำเหมืองถูกคัดค้านจนล่มทั้งสองครั้ง ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนสร้างภาพใหม่โดยจ้างคนมาปลูกป่าเป็นการบังหน้า มีการจัดตั้งกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ขึ้น โดยนำชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมประชุมในพื้นที่บ้านแหง ซึ่งชาวบ้านแหงที่มีกลุ่มฌาปณกิจที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี พวกเขาเชื่อว่านี่คือเป็นการลักไก่ที่บริษัทจะใช้การประชุมนี้อ้างเป็นการลงประชามติของชาวบ้านในพื้นที่ที่ยินยอมให้เปิดเหมือง แวววรินทร์ และชาวบ้านแหงจึงรวมกลุ่มกันตั้งด่านสกัดปิดทางเข้าหมู่บ้าน 3 จุด ไม่ให้คนนอกพื้นที่ และคนของบริษัทเข้ามาในหมู่บ้าน
 
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ คือพฤติกรรมของทุนที่ทำให้ แวววรินทร์ และชาวบ้านได้เห็นเบื้องหลังการเข้ามาของบริษัทที่มีเจตนาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในระดับพื้นที่ เพราะทุกฝ่ายต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือสมประโยชน์กับทุนทั้งสิ้น
 
แต่เสียงขับไล่ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ รวมถึงเสียงคัดค้านไม่ต้องการเหมืองถ่านหินของชาวบ้านแหงเพียงดังอยู่ในสองหมู่บ้าน คือ หมู่ 1 และ หมู่ 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ขอประทานบัตรเท่านั้น ในขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลัง หรือหลงเชื่อไปกับคำโฆษณาของกลุ่มทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เหมืองจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ตามรูปแบบของโครงการพัฒนาที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่เคยถอดบทเรียนความล้มเหลวที่สร้างความเจ็บปวดให้ชาวบ้าน บ่อนทำลายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมมาทุกยุคทุกสมัย
 
เช้ามืดของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ชาวบ้านแหง หมู่ 1,7 ร่วมร้อยคนตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางทำกับข้าวกับปลาขนขึ้นท้ายรถกระบะ 7 คัน มุ่งหน้าสู่เหมืองแม่เมาะ พวกเขาหลายคนยังคงเจ็บช้ำเพราะขายที่ให้กับ บริษัท เขียวเหลือง และต่างพกพาความรู้สึกที่เหมือนกัน คือ ทุกคนอยากเห็นกับตาว่าเหมืองลิกไนต์เป็นอย่างไร เหมืองเปิดทำอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิตของชาวแม่เมาะที่อยู่ท่ามกลางเหมืองและโรงไฟฟ้า อยากรู้จากปากคำของผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ โดยหวังว่าพวกเขาจะเห็นลู่ทางในการต่อสู้ เพื่อหยุดยั้งการเปิดเหมืองของบริษัทเขียวเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางปีหน้า
 
ที่ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชาวบ้านแหงได้รับฟังข้อมูลสภาพพื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขา มีภูเขาล้อมเกือบทุกด้าน ความกดดันอากาศค่อนข้างสูง อุณหภูมิค่อนข้างผกผัน ทำให้ในแต่ช่วงฤดูกาลของทุกปี ชาวแม่เมาะจะได้รับผลกระทบจากมลพิษต่อเนื่องยาวนานในหลายรูปแบบ
 
“ฤดูฝน ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ถูกเอามากองทิ้งไว้จะลุกใหม้ตัวเอง หรือเกิดการสันดาบขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขี้เถ้า กำมะถัน ลอยฟุ้งส่งกลิ่นไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนกรดและหมอกควันพิษที่มีพิษร้ายแรง สารปรอท สารหนูจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูหนาวแต่นี้เป็นต้นไป จะมีฝุ่น มีกลิ่นกระจายไปไกลมาก ฤดูร้อน ฝุ่นขนาดเล็กจะฝุ้งกระจาย ชาวแม่เมาะจึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก...” ศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เล่า
 
นายกฯ อบต. บ้านดง ชี้ให้ชาวบ้านแหงดูภูเขาที่มองเห็นได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงภูเขาที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ใช้ปลูกทุ่งบัวตองที่กำลังจะบานสะพรั่งในไม่ช้า เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อยู่ทุกปี ที่เห็นบนพื้นที่ 23,000 กว่าไร่นี้เป็นเหมือง และภูเขาเกิดใหม่ที่เกิดจากการทิ้งดินที่ขุดขึ้นมาในเหมืองแม่เมาะ ด้านใต้ของภูเขาจะมีถ่านหินคุณภาพต่ำฝังอยู่ พอฝนตกถ่านหินจะลุกใหม้อยู่ข้างใต้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะพอหยั่งรากลงข้างล่างจะตายหมด ภูเขาจึงมีแต่พืชเล็กๆ เท่านั้น
 
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของอบต. ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ยังพบถ่านหินสันดาปส่งควันฟุ้งอยู่หลายแห่ง ส่วนปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย เสียงเครื่องยนต์รถขนส่งแร่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำเหมือง และสายพานลำเลียงแร่ ยังส่งเสียงรบกวนชาวแม่เมาะอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
 
การปกปิดข้อมูลมลพิษ เสียงดัง กลิ่นเหม็นจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษจากฝุ่น ประกอบกับเครื่องดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าบางโรงเสีย ที่ดำเนินมาถึงปี 2535 ปรากฎพื้นที่ไร่นาเสียหายจากฝนกรด ชาวบ้านในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และทยอยเสียชีวิตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยกว่า 4 ล้านบาท และลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 แต่ทิ้งท้ายด้วยการพ่วงเปิดโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 2 โรง
 
ปี 2539 กฟผ. ตกลงที่จะดำเนินการพิจารณาอพยพโยกย้ายราษฎร จำนวน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน คือ ต.นาสัก ต.สบป้าด ต.แม่เมาะ และต.บ้านดง ประมาณ 3,500 ครอบครัว แต่ก็มาเกิดเหตุซ้ำในปี 2541 เมื่อเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10 เครื่อง ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ทำให้ชาวบ้านล้มป่วย 868 คน ส่วนปัญหาเรื่องฝุ่นมีการสำรวจต่อเนื่องเรื่อยมาที่พบว่าแม่เมาะมีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยจะสูงมากในช่วงฤดูร้อน
 
ปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดนำไปสู่การอพยพโยกย้ายชาวบ้านรอบ 2 ในหมู่บ้านหางฮุง 493 หลังคาเรือน ปัจจุบันอพยพได้แล้ว 300 กว่าหลังคาเรือน รวมถึงการฟ้องร้องเพื่อให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหาย ชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะจำนวน 437 คน ในปี 2546 ผ่านหกปีในกระบวนการยุติธรรม ศาลปกครองเชียงใหม่ได้วินิจฉัยให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพและจิตใจให้แก่ชาวบ้าน รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่อพยพให้ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยคิง ปัจจุบัน กฟผ. ขออุทธรณ์คดี
 
นายกฯ อบต. บ้านดง เล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ หลังจากเหมืองแม่เมาะเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ชาวบ้านดง ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. หยุดลำเลียงดินที่ได้จากการขุดเปิดเหมืองผ่านระบบสายพานมาทิ้งใน ต.แม่เมาะ และ ต.บ้านดง แรงกดดันของชาวบ้านในครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ตั้งงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ อบต.บ้านดง แก้ไขปัญหามลพิษและสุขภาพจนกว่าชาวบ้านจะอพยพออกนอกพื้นที่
 
ส่วนกรณีของชาวบ้านห้วยคิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ที่ยังไม่มีการจัดพื้นที่อพยพที่ชัดเจน ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. ยุติการทำเหมืองเฟส 6 และ 7 ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทาง อบต.บ้านดง ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่จะขออพยพในรอบที่สามและสี่ 700-800 ราย และตั้งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว
 
รวมถึงกรณีการคัดค้านของชาวบ้าน ในหมู่บ้านห้วยคิง หมู่ 6 และบ้านเมาะหลวง หมู่ 8 ต.แม่เมาะ ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งดิน 7,026 ไร่ ในเขตป่าสงวน ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง และเทศบาล อนุญาตให้กับ กฟผ. โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และไม่ได้รับความยินยอมจากชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายผู้ได้รับผลกระทบ
 
ณภัทร หวันแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชี้แจงการทำงานของ อบต.บ้านดง ต่อกรณีนี้ว่า “อบต. ได้สำรวจพื้นที่ทิ้งดิน 3,000 ไร่ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ กรมป่าไม้อนุญาติให้ กฟผ. เอาดินมาทิ้งในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าไผ่ ต้นไม้ธรรมชาติถูกตัดหมด ดินที่เอามาทิ้งตอนนี้เกือบ 200 ไร่ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้นไปแล้ว ตอนนี้อบต. รวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองอาทิตย์ที่แล้ว รอหนังสือจากศาลปกครองให้ระงับการทิ้งดินของ กฟผ.”
 
การบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านแหงรับรู้ว่า ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่เหมืองแม่เมาะดำเนินการ และ 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะผลิตกระแสไฟฟ้า กับความเป็นจริงของแม่เมาะที่ประสบปัญหามลพิษมาอย่างเรื้อรัง แต่การแก้ไขปัญหาและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบทเรียนของชาวบ้านแม่เมาะ หรือแม้แต่ชาวบ้านแหง และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรวมตัวกันต่อสู้ต่อต้านด้วยตัวเอง
 
และเหมือนตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นฤดล สุชาติพงศ์ อดีตพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ที่ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องเรื่องการอพยพให้ชาวบ้านแม่เมาะ สารภาพกับชาวบ้านแหงว่า “ตอนผมเป็นพนักงาน กฟผ. ทำหน้าที่สำรวจแหล่งถ่านหิน พื้นที่ทิ้งดิน ถ่านหินที่บ้านแหงผมเป็นคนเจาะสำรวจด้วยตัวเอง ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ลึกจากดิน 20 เมตร สามารถขุดขึ้นมาขายได้ 20-30 ล้านตัน  ลักษณะเหมืองจะเป็นเหมืองเปิดเหมือนแม่เมาะ ถ้ามีการเปิดเหมืองจะมีอันตรายแน่นอน ฝุ่น PM10 จากที่ทิ้งดินจะฟุ้งกระจาย ปัญหาของคนบ้านแหงจะเหมือนกับพี่น้องที่แม่เมาะ”
 
ออกจาก อบต.บ้านดง ชาวบ้านแหงเดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้านใหม่ของผู้อพยพ และศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ บ้านฉลองราช อ.แม่เมาะ พวกเขาได้เห็นวิถีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ความสงบสุขคืนมาของชาวแม่เมาะที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่
 
“ชาวบ้านชุดแรกอพยพมาแล้ว 22 ปี วันนี้ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ชุดที่สองอพยพ 493 หลัง ยังไม่รู้ว่าจะได้เอกสารสิทธิ์หรือเปล่า บ้านแต่ละหลังจะมีพื้นที่เท่ากัน คือ 1 ไร่ ยังไม่มีพื้นที่ทำกิน...
 
“เดิมพื้นที่ไข่แดงของแอ่งเหมืองแม่เมาะมีหมู่บ้านอยู่ 10 หมู่บ้าน มีโรงเรียน วัด ที่ว่าการอำเภอ เหมืองทำให้ชุมชนทั้งหมดล่มสลายต้องย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ไข่ขาวไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่าป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองก็ปี 2535 ถึงจะลุกขึ้นสู้ วันนี้คนป่วยยังตายไปเรื่อยๆ ที่ กฟผ. ตั้งกองทุนสำหรับดูแลผู้ป่วย 300 กว่าล้านบาทต่อปี แต่กว่าจะผ่านมือใครมา ก็มีเงินมาถึงชาวบ้านน้อยมาก ส่วนเงินที่ได้ก็เอาไปสร้างฝาย สร้างเขื่อน ไม่ได้เกี่ยวกับการเยียวยาสุขภาพ ชาวบ้านผู้ป่วยแม่เมาะยังไม่ได้รับการดูแลให้ดีขึ้น” มะลิวัลย์ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เล่า
 
ตลอด 1 วันทั้งในและรอบเหมืองอันโหดร้าย แวววรินทร์ และชาวบ้านแหง ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนเดียวดายที่ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ด้านหนึ่งเกิดกำลังใจ เห็นหนทางสู้ แต่เมื่อยังเห็นเหมืองแม่เมาะ เปิดเฟส 6 เฟส 7 และคงจะเปิดบ่อไปเรื่อยๆ จนกว่าถ่านหินในแม่เมาะที่จะเอามาใช้ได้อีก 20 ปี หมดลง
 
ไม่นานจะมีการซื้อถ่านหินจากพม่า หรือจากแอ่งงาว ที่บ้านแหง แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ แอ่งเสริมงาม แอ่งห้างฉัตร หรือแอ่งเวียงแหง แอ่งเชียงม่วน แอ่งปาย แอ่งฝาง แอ่งสันป่าตอง แอ่งพบพระ แอ่งอุ้มผาง แอ่งแพร่ แอ่งปัว แอ่งท่าวังผา แอ่งน่าน แอ่งบึงสามพัน แอ่งวิเชียรบุรี... และแหล่งอื่นๆ มาทดแทน
 
ในขณะที่วันนี้แม่เมาะยังเป็นเมืองมลพิษ ชาวแม่เมาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบเหมือง 5 กิโลเมตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ผู้ป่วยยังคงล้มตาย ส่วนคนอพยพออกนอกพื้นที่มาแล้วยังคงระทมทุกข์
 
“เรามาดูงานที่นี่ เราได้เห็นแล้ว เราจะกลับไปบ้านไปคุยกับคนที่บ้านเรา เราจะสู้ให้ถึงที่สุดไม่ให้เปิดเหมืองในบ้านเราให้ได้” แวววรินทร์ พูด

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท