Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม : ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม; ตอนที่ 3 บทสรุปโครงสร้างผู้พิพากษา
 
 
 
อย่างที่กล่าวแล้ว ระบบของศาลได้สร้างเครือข่ายที่ทำให้ผู้พิพากษาระดับสูงมีสายใยต่อผู้พิพากษาระดับล่างสายใยเหล่านี้ไม่เพียงผู้พิพากษาที่ยังทำงานอยู่ ผู้พิพากษาที่เกษียรแล้วก็ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้อบรมเคยเป็นอาจารย์ฝึกงานภาคปฏิบัติ เคยเป็นหัวหน้าศาล nเคยเป็นผู้พิพากษาระดับบริหารของผู้พิพากษาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สายใยที่ยังส่งต่อถึงผู้พิพากษา? หากผู้พิพากษาที่เกษียณแล้วไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทหรือเปิดสำนักงานทนายความคดีความของบริษัทที่มีอดีตผู้พิพากษาเป็นที่ปรึกษาหรือที่จ้างสำนักงานทนายความของอดีตผู้พิพากษาคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะเชื่อมั่นในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้?
 
หากอดีตผู้พิพากษาที่เกษียณเป็นอาจารย์บรรยายกฎหมายของเนติบัณฑยสภาเป็นอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องมีผลงานทางวิชาการมากมายบุคคลเช่นนี้ย่อมมีสายใยมากถึงขั้นเป็น "บารมี"หากรับเป็นที่ปรึกษาของผู้ประกอบการธุรกิจการค้าที่มีคดีความขึ้นสู่ศาลเป็นประจำจะมีผลต่อคดีที่บริษัทนั้นมีอยู่หรือไม่?
 
กรณีที่เป็นรูปธรรมนาย ป.ซึ่งคนรุ่นผมรุ่นอายุ 50 ปี ลงมาและเคยเรียนเนติน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เขาเป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เกษียรแล้วปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับบริษัทที่ประกอบการค้าแห่งหนึ่งรวมถึงธนาคาร ก. ซึ่งมีคดีความในศาลเป็นปกติตามสภาพการประกอบธุรกิจการค้า(ประชาไทพิจารณาใช้ชื่อย่อบุคคลเนื่องจากปัญหาทางกฎหมาย)
 
ได้ยินมาว่าปัจจุบัน นายป.ยังคงเป็นอาจารย์บรรยายกฎหมายเนติอยู่คำถามคือ
 
มีผู้พิพากษาที่ยังปฏิบัติงานอยู่กี่คนเคยเป็นนักศึกษาเนติที่ฟังการบรรยายของนาย ป.
 
มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นลูกศิษย์อบรมภาคทฤษฎีของนาย ป.
 
มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นลูกศิษย์การฝึกงานของนาย ป.
 
มีผู้พิพากษาปัจจุบันกี่คนที่เคยเป็นผู้พิพากษาภายใต้การบริหารงานของนาย ป.
 
เช่นนี้การที่ธนาคาร ก. มีนาย ป. เป็นที่ปรึกษาไม่มีผลต่อคดีความในศาลที่มีธนาคารก. เกี่ยวข้องหรือเป็นคู่ความ???
 
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ตอนที่ 1 คงพอเห็นภาพได้ว่าศาลไทยมีความเป็นอิสระจริงหรือไม่เป็นกลางจริงหรือไม่ไม่สามารถแทรกแซงจริงหรือไม่
 
แน่นอนว่าไม่มีระบบที่สมบูรณ์แบบในโลกนี้มีแต่ระบบที่ดีพอดีพอในระยะเวลาหนึ่ง เท่านั้นแต่คำถามคือระบบนี้ดีพอในระยะเวลานี้หรือไม่
 
ปัญหาของระบบนี้อยู่ตรงไหน
 
กล่าวโดยสรุปปัญหาของระบบนี้มาจากกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นผู้พิพากษาและการเลื่อนตำแหน่ง
 
กระบวนการคัดเลือกคนที่ขึ้นอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียวเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในระบบอยู่แล้วระบบที่คัดคนที่มีความเห็นต่างออกไป
 
ที่สำคัญคือการเลื่อนตำแหน่งตราบใดที่มีการเลื่อนตำแหน่งก็ย่อมมีคนปราถนาตำแหน่งสูงขึ้นมีคนที่มีอำนาจตัดสินให้ใครได้เลื่อนตำแหน่งไม่มีทางทำให้ทุกคนที่อาวุโสถึงได้เลื่อนตำแหน่งครบทุกคนไม่มีทางสร้างระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ "ไม่ต้องมีคนตัดสินใจ"
 
ถึงเวลาปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้พิพากษาหรือยัง
 
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องยกเลิกการเลื่อนตำแหน่ง
 
ถึงเวลาหรือยังที่การเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาต้องเชื่อมโยงกับประชาชนและให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระโดยไม่มีการเลื่อนตำแหน่ง
 
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมีการถ่วงดุลผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยการนำระบบลูกขุนมาใช้
 
ถึงเวลาหรือยังที่ศาลต้องเชื่อมโยงกับประชาชนด้วยการนำระบบลูกขุนมาใช้
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net