Skip to main content
sharethis

20 ต.ค. 53 - กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ ๑๐ —๑๙ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๗ จังหวัด ๔๒ อำเภอ ๒๖๗ ตำบล ๗๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๑,๗๖๑ ครัวเรือน ๕๔,๘๔๑ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๓๒,๔๒๘ ไร่ ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๓ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๔ จังหวัด และครั้งล่าสุดในช่วงวันที่ ๑๐ —๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๗ จังหวัด ๑๐๑ อำเภอ ๕๕๗ ตำบล ๓,๙๗๓ หมู่บ้าน ได้แก่ ระยอง ตราด สระแก้ว นครราชสีมา ปราจีนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยภูมิ สระบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก สุพรรณบุรี ศรีสะเกษ ตาก สุรินทร์ บุรีรัยม์ และขอนแก่น ผู้เสียชีวิต ๑๑ ราย ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ รวม ๕ ครั้ง โดยสถานการณ์อุทกภัยครั้งที่รุนแรงสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนอย่างมาก ได้แก่ ครั้งที่ ๔ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ กันยายน — ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ พื้นที่ประสบอุทกภัยรวม ๑๗ จังหวัด ๔๒ อำเภอ ๒๖๗ ตำบล ๗๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๑,๗๖๑ ครัวเรือน ๕๔,๘๔๑ คน พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ ๓๒,๔๒๘ ไร่

ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๓ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๔ จังหวัดได้แก่ พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน ๔ อำเภอ ๑๔ ตำบล ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนางราง และโพทะเลชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ ๓ อำเภอ ๑๗ ตำบล ๑๗๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๑,๓๒๑ ครัวเรือน ๓๒,๔๖๙ คน ได้แก่ อำเภอเนินขาม หันคา และสรรพยา อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอป่าโมก ๒ ตำบล ปัจจุบันยังคงมี น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางพื้นที่ พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน ๕ อำเภอ ๕๔ ตำบล ๒๙๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔,๔๙๔ ครัวเรือน ๑๓,๙๗๗ คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล สำหรับสถานการณ์อุทกภัยครั้งที่ ๕ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ กันยายน — ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓

ซึ่งเป็นสถานการณ์อุทกภัยครั้งล่าสุดที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก และถือว่าวิกฤติที่สุดในรอบหลายปี มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม ๑๗ จังหวัด ๑๐๑ อำเภอ ๕๕๗ ตำบล ๓,๙๗๓ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๑๑ ราย ได้แก่ ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๖ ตำบล ๓๒ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และวังจันทร์ ตราด เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และแหลมงอบ สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ ๔ อำเภอ ๑๐ ตำบล ๑ เทศบาล ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ วังน้ำเย็น ตาพระยา และโคกสูง นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ ๒๔ อำเภอ ๒๓๘ ตำบล ๑,๖๕๓ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๓ ราย สูญหาย ๑ ราย ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง เสิงสาง คง หนองบุญมาก จักรราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลือม โนนสูง โชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ และครบุรี ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๔ ตำบล ๑๔ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ๑๒๐ ตำบล ๑,๐๑๒ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาล พัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ และท่าวุ้ง นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๒๕ ตำบล ได้แก่ อำเภอตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่๗ อำเภอ ๑๓ ตำบล ๑๓๒ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส และบ้านเขว้าสระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๘ อำเภอ ๓๙ ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหม้อ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ และเฉลิมพระเกียรติ เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๔๙ ตำบล ๒๗๑ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน และวิเชียรบุรีนครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านนา ๒ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๕๐๐ ครัวเรือน ๑,๕๐๐ คนสุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๓ อำเภอ ๙ ตำบล ได้แก่ อำเภอสามชุก หนองหญ้าไทร และเดิมบางนางบวช ศรีสะเกษ น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ๓๙ ตำบล ๑เทศบาลนคร ๒๖๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๓๐,๓๓๒ ครัวเรือน ๑๐๐,๐๐๖ คน ได้แก่ อำเภออุ้งผาง พบพระ แม่สอด ท่าสองยาง แม่ละมาด และบ้านตาก สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๗ อำเภอ ๓๓ ตำบล ๒๕๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๕,๔๒๒ ครัวเรือน ๙๖,๕๙๔ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมลพบุรี และกาบเชิง บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ๖๒ ตำบล ๔๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๓,๒๗๕ ครัวเรือน ๕๑,๘๗๗ คน มีผู้เสียชีวิต ๔ คน ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหารทราย นางรอง หนองหงส์ ลำปลายมาศ และชำนิ ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูผาม่าน และบ้านไผ่

นอกจากนี้ ภาวะฝนตกหนัก ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมเส้นทางสายต่างๆ รวม ๑๓ สาย ดังนี้ นครราชสีมา ๗ สาย ได้แก่ สาย ๒ ปากช่อง-ชัยภูมิ อำเภอปากช่อง กม.๗๓-๙๕ สาย ๒๐๔ เลี่ยงเมืองนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา กม.๔-๑๐ สาย ๒๐๕ ชัยภูมิ-โนนไทย อำเภอพระทองคำ กม.๓๙๖-๔๐๓ สาย ๒๒๔ ตอนหัวทะเล-โชคชัย-ครบุรี อำเภอเมืองนครราชสีมา กม.๐-๓๔ สาย ๒๒๖ นครราชสีมา-จักราช อำเภอจักรราช กม.๓-๓๔ สาย ๒๐๖๘ ทางเข้าอำเภอขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ กม.๑-๓ สาย๓๐๔ บ้านตะขบ-ปักธงชัย อำเภอปักธงชัยและอำเภอเมืองนครราชสีมา กม.๑๐๒-๑๓๓ สระแก้ว ๑ สาย ได้แก่ สาย ๓๓๖๖ ท่าข้าม-หนองเอี่ยน อำเภออรัญประเทศ ชัยภูมิ ๑ สาย ได้แก่ สาย ๒๐๓๗ ผักปัง-เกษตรสมบูรณ์-ชัยภูมิ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ กม. ๗-๓๕ นครสวรรค์ ๑ สาย ได้แก่ สาย ๑๑ ตากฟ้า-ไพศาลี อำเภอไพศาลี กม. ๒๐-๒๕ ลพบุรี ๒ สาย ได้แก่ สาย ๒๐๕ ฉลุงเหล็ก-โคกสำโรง-ลำนารายณ์-ลำสนธิ อำเภอโคกสำโรง กม.๑๙๐-๒๕๘ สาย ๒๐๕ บ้านหมี่-โคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง กม.๑๕-๑๖

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วม มือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน ๑๖๑ ลำ รถผลิตน้ำ ๑๒ คัน รถบรรทุกน้ำ ๙ คัน รถบรรทุกขวดน้ำ ๑ คัน รถแบ๊คโฮ ๔ คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง ๔ คัน รถเครน ๒ คัน รถบรรทุก ๑๔ คัน รถบรรทุกติดปั่นจั่น ๒ คัน รถบรรทุกเทท้าย ๔ คัน รถกู้ภัย/ตรวจการณ์ ๒ คัน เต็นท์พักอาศัยชั่วคราว ๖๔ หลัง เครื่องสูบน้ำ ๑๕ เครื่อง กำลังพล ๑๑๓ นาย ยาสามัญประจำบ้าน ๑๙๐ ชุด และถุงยังชีพ ๒๘,๐๘๖ ถุง สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
0-2243-0674 0-2243-2200
www.disaster.go.th

ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ด้านโพสต์ทูเดย์ดอทคอม ได้รวบรวมข้อมูลสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากทั่วประเทศ สามารถแจ้งข้อมูลผู้ประสบภัย หรือร่วมบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ตามรายละเอียดดังนี้

แจ้งข้อมูลผู้ประสบภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สายด่วนโทร 1784 เว็บไซต์ www.disaster.go.th

ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โทรศัพท์ 1669

กระทรวงสาธารณสุข ติดต่อสายด่วน โทรศัพท์ 1323 และ 1667 รับปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

กรมอุตุนิยมวิทยา สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทรศัพท์ 1182 เว็บไซต์ www.tmd.go.th

สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 022517853-6 ,022517614-5 ต่อ 1603
สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย โทรศัพท์ 027911385-7

การรถไฟแห่งประเทศไทย สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ โทรศัพท์ 1690

สายด่วนกรมทางหลวง โทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง โทรศัพท์ 023546551
ตำรวจทางหลวง โทรศัพท์ 1193

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร โทร. 023546858
ศูนย์ กทม. ติดต่อขอความช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ ได้ที่ โทรศัพท์ 1555 และ 022485115 ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7
ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา โทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ โทรศัพท์ 022417450-6

ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช บริจาคสิ่งของได้ที่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา บริจาคเงินได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 044-259-996-8 , 044-259-993-4  หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา” เลขที่บัญชี 301-0-86149-4

ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา โรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดสำหรับผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก ติดต่อ ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา โทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

กรุงเทพมหานคร ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของได้ที่ศาลาว่า การกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร โทร. 023546858

สภากาชาดไทย สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8 สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ช่อง 3 ครอบครัวข่าวช่อง 3 ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53 ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 014-3-003-689 ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ สามารถพิมพ์ข้อความ namjaithai แล้วส่ง sms ไปที่หมายเลข 4567899 ได้ทั้งเครือข่าย AIS, DTAC ครั้งละ 10 บาท

ช่อง 5 ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" บัญชี ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ 021-2-69426-9 หรือสามารถส่งความช่วยเหลือได้ที่สถานีททบ.5

ช่อง 7 สามารถบ ริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1 หรือสามารถส่งความช่วยเหลือได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1

ช่อง 9 ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท. สามารถนำไปให้ที่อสมท.เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย โทรศัพท์ 02-2016000 สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 015-0-12345-0 สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 022450700-4

ช่อง 11 สื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" บริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-275-2053

ทีวีไทย ทีวีไทย ที่ตึกชินวัตร3 รับบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้งข้าวของเครื่องใช้ โทร 0-2791-1385-7, 0-2791-1113 บริจาคที่ บช.ออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ เทเวศร์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 020-2-69333-2

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ชาว กฟภ. รวมใจช่วยผู้ประสบภัย" เลขที่บัญชี 073-1-09891-9 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 025909554, 025909559 และ 029509557

มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ)  8/12 ซ.วิภาวดี44  ถ.วิภาวดีรังสิต  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 แผนที่ http://mirror.or.th/images/map2.jpg หรือร่วมสมทบทุนได้ที่ เลขที่บัญชี    000-0-01369-2 ชื่อบัญชี  มูลนิธิกระจกเงา   ธนาคารกรุงไทย  สาขานานาเหนือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 087-274-9769 (เอ) , 02-941-4194-5 ต่อ 102  (เอ,สุกี้)

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

ปภ. สรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ (ThaiPR.net, 21-10-2553)
http://www.ryt9.com/s/prg/1010026

ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (โพสต์ทูเดย์, 20-10-2553)
http://bit.ly/bUYSIT

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net