Skip to main content
sharethis

พม.แถลงรวบแก๊งค้าแรงงานไทยส่งต่างแดน

นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แถลงผลการจับกุม นายมงคล ทัน อายุ 45 ปี ชาวจังหวัดชัยภูมิ หัวหน้าเครือข่ายขบวนการค่าแรงงานไทยข้ามชาติ หลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศสวีเดน โดยคดีนี้ ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. เคยจับกุม ผู้ร่วมขบวนการได้ 2 คน เหตุเกิดเมื่อ ปี 2552 หลัง 58 แรงงานไทย ได้เข้าร้องทุกข์กับกรมการจัดหางาน ว่า พวกตนถูก นายมงคล หลอกลวง อ้างว่า สามารถจัดหางาน พาไปทำงานเป็นแรงงานเก็บผลไม้ที่ประเทศสวีเดนและนิวซีแลนด์ และจะได้เงินเดือนรายละ 30,000-35,000 บาท แต่ทั้งหมดจะต้องจ่ายเงินค่าดำเนินการต่าง ๆ ให้กับผู้ต้องหา รายละ 160,000 บาท ผู้เสียหายทั้งหมดยอมจ่ายเงิน กลุ่มผู้ต้องหาได้หลอกพาผู้เสียหายทั้ง 58 คน มาพักอยู่ที่วัดสวนแก้ว ที่ จังหวัดนนทบุรี แต่สุดท้าย แรงงานไทยทั้งหมด ก็ไม่ได้เดินทางไปประเทศสวีเดนและนิวซีแลนด์ ตามที่ตกลงกันไว้ จากนั้น ผู้ต้องหาทั้งหมด ก็หลบหนีไปและตำรวจ สามารถติดตามจับกุม นายมงคล ได้ หลังจากเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศสวีเดนและหลบหนีไปกบดานที่บ้านพักใน จังหวัดชัยภูมิ พร้อมกันนี้ เจ้าหน้าที่ จะได้เร่งติดตามผู้ต้องหาอีก 3 คน ที่ยังหลบหนีอยู่มาดำเนินคดีต่อไป

(ไอเอ็นเอ็น, 13-9-2553)

BOI อนุญาตโครงการที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์จ้างแรงงานต่างด้าวได้ 15%

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ มีมติอนุญาตให้โครงการที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่มเติมในโครงการนั้นๆ สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ในสัดส่วน 15% โดยมีเงื่อนไขต้องจ้างแรงงานไทยไม่น้อย 85% ของแรงงานทั้งหมด รวมถึงต้องเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจในไทยไม่น้อยกว่า 20 ปี และมีเงินทุนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าธุรกิจในประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมดำเนินกิจการต่อไป โดยไม่ผิดหลักการส่งเสริมการลงทุน

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯยังให้คณะกรรมสามารถปรับเปลี่ยนทบทวนนโยบายนี้ได้ และถ้าหากปัญหาขาดแคลนแรงงานหมดไปก็สามารถยกเลิกโครงการนี้ได้

อนึ่งก่อนการอนุมัตินั้นมีรายงาน ข่าวจากสำนักงานคณะกรรม การส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอเตรียมเสนอให้ที่ประชุมบีโอไอวันที่ 13 ก.ย. นี้ พิจารณานโยบายการกำหนดแนวทางขออนุญาตใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือแก่ กิจการที่ก่อตั้งในไทยมานานและกำหนด   ให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในระยะยาว โดยจำกัดเฉพาะภาคอุตสาหกรรมไม่ครอบคลุมภาคเกษตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรง งาน
  
คาดว่าจะมีการเสนอขออนุญาตใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือของกลุ่ม บ.มินิแบ ที่ มีแผนลงทุน 16,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ต้องการจ้างงานจากปัจจุบันราว 3 หมื่นคน เป็น 4.4 หมื่นคน ในปี 55 โดยในจำนวนที่เพิ่มขึ้นต้องพึ่งแรงงานต่างด้าวระดับปฏิบัติการถึง 4,544 คน
   
ขณะเดียวกันจะเสนอให้พิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนรวม 10 โครงการ มูล ค่ากว่า 15,590 ล้านบาท ประกอบด้วย บ. ชิงธง จำกัด ขยายกิจการเลี้ยงไก่มูลค่า 1,370 ล้านบาท ที่ จ.เพชรบูรณ์, บ.อินเตอร์เนชั่น แนล แคสติ้งโปรดักส์ จำกัด ผลิตชิ้นส่วน ล้อรถยนต์ 1,200 ล้านบาทที่ จ.ระยอง, บ.มาก๊อกโต้ จำกัด ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม 2,000 ล้านบาท ที่ จ.สระบุรี
  
บ.ค็อกเนอร์ แพนเธอพาสไทยแลนด์ จำกัด ผลิตฟิล์มพลาสติกถนอมอาหาร 862 ล้านบาท ที่ จ.ระยอง, บ.ทีพีไอโพลัน เพาเวอร์ จำกัด ผลิตเชื้อเพลิงจากน้ำเสียและอุตสาหกรรม 1,683 ล้านบาท ที่ จ.สระบุรี, บ.น้ำประปาไทย จำกัด ผลิตน้ำประปา มูลค่า 1,300 ล้านบาท ที่ จ.นครปฐม, บ.สุโขทัยไบดอเอ็นเนอยี่ จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล 2,032 ล้านบาทที่  จ.สุโขทัย บ.โรจนะเพาเวอร์ จำกัด ขอรับการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากไอน้ำ 2,110 ล้านบาทที่ จ.พระนครศรีอยุธยา, บ.บางปะอินโคเจนเนเรชั่น จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากไอน้ำ 5,143 ล้านบาทที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ บ.โรจนะเพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (ไม่แจ้งมูลค่าลงทุน) ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา.

(สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 13-9-2553)

ส่งรองอธิบดีกรมจัดหางาน เจรจาแรงงานพม่าที่ จ.ขอนแก่น

ก.แรงงาน 13 ก.ย.- รมว.แรงงาน ส่งรองอธิบดีกรมการจัดหางาน บินด่วนเจรจาม็อบแรงงานพม่าที่ จ.ขอนแก่น เผยเป็นเรื่องเข้าใจผิด เชื่อยุติโดยเร็ว พร้อมแจงนายจ้างจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย และไม่สามารถยึดหนังสือเดินทางได้ ยืนยันไม่กระทบสัมพันธ์-นโยบายพิสูจน์สัญชาติ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าหลายร้อยคนรวมตัวกันประท้วงนาย จ้างโรงงานทออวนเดชาพาณิชย์ใน จ.ขอนแก่น โดยเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายคือได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ และให้นายจ้างคืนหนังสือเดินทางที่ยึดไว้ รวมถึงให้ทบทวนการไล่ออกแรงงาน 6 คน ว่าขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการเจรจาหาทางออกเรื่องที่เกิดขึ้น เบื้องต้นพบว่าเป็นความเข้าใจผิด ที่แรงงานพม่าคิดว่าหากถูกไล่ออกจะต้องถูกส่งกลับประเทศ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.) จะส่งนายสุภัท กุขุน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน พร้อมด้วยตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยไปร่วมเจรจาที่ จ.ขอนแก่น คาดว่าจะได้ข้อยุติในเร็วๆ นี้ เพราะล่าสุดบริษัทยินดีรับคนงาน 6 คนกลับเข้าทำงานแล้ว

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำ จากการตรวจสอบเบื้องต้นทางบริษัทยืนยันว่ามีหลักฐานว่าได้จ่ายค่าแรงตาม กฎหมาย ซึ่งขัดแย้งกับข้อเรียกร้องของแรงงาน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งจะต้องขอเวลาตรวจสอบให้ชัดเจน หากพบว่ามีการสร้างหลักฐานเท็จ ก็จะจัดการขั้นเด็ดขาด สำหรับข้อเรียกร้องเรื่องการคืนหนังสือเดินทาง ถือเป็นความเข้าใจผิด เพราะตามกฎหมายไม่สามารถยึดหนังสือเดินทางได้ แต่เพื่อความสะดวกนายจ้างได้ช่วยเก็บหลักฐานไว้ใช้ประกอบการรายงานตัวของแรง งานต่างด้าวทุก 90 วัน พร้อมยืนยันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์หรือการ พิสูจน์สัญชาติของทั้งสองประเทศ เพราะระดับนโยบายมีความเข้าใจกันดี

สำหรับแรงงานข้ามชาติในโรงงานแหอวน เดชาพาณิชย์ได้เริ่มต้นประท้วงมาตั้งแต่ วันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากมีแรงงานพม่าจำนวน 6 คนถูกไล่ออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยโดยนายจ้างอ้างว่าคนงานกลุ่มนี้ขาดงาน หลายวันติดต่อกัน ทำให้แรงงานพม่าที่เหลือไม่พอใจเนื่องจากมองว่าเป็นการกลั่นแกล้งกัน โดยเฉพาะการยึดหนังสือเดินทางเอาไว้ นอกจากนี้ คนงานยังไม่พอใจที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดคือวัน ละ 140 บาท ทั้งๆ ที่ค่าจ้างขั้นต่ำในเขต จ.ขอนแก่นกำหนดไว้ที่วันละ 157 บาท โดยลูกจ้างยืนยันว่ามีหลักฐานการรับเงินค่าจ้าง (สลิป) ชัดเจน

(สำนักข่าวไทย, 13-9-2553)

บอร์ด สปสช. มีมติไม่ขยาย มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ศูนย์ราชการฯ 13 ก.ย.- บอร์ด สปสช. มีมติไม่ขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ที่กำหนดให้จ่ายเงินชดเชยผู้เสียหายครอบคลุมถึงสิทธิประกันสังคมและ สวัสดิการข้าราชการ เหตุร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ บรรจุวาระพิจารณาของสภาฯ แล้ว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากกรณีที่ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ขอให้บอร์ด สปสช.พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ขยายมาตรา 41 แต่เดิมที่กำหนดจ่ายเงินชดเชยเบื้องต้นให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข เฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เท่านั้น เป็นให้ครอบคลุมการจ่ายเงินชดเชยในระบบสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้า ราชการด้วย ที่ประชุมมีมติเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้ขยายมาตรา 41 ให้ครอบคลุม เนื่องจากขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และครอบคลุมทุกประเด็นการให้ความช่วยเหลือมากกว่าการแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ และเกรงหากต้องรอแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพจะทำให้ล่าช้า เหมือกับการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่ามาตรา 41 ในร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ครอบคลุมสิทธิการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ และไม่สามารถคุ้มครองแพทย์ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่งได้ แต่ในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น ครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ และยังคุ้มครองแพทย์ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่งด้วย

(สำนักข่าวไทย, 13-9-2553)

ทูตสหรัฐถกรมว.แรงงานแก้ปัญหาค้ามนุษย์

รายงานข่าวแจ้งว่าวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมานายอีริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้หารือกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กระทรวงแรงงานเพื่อประสานงานระหว่าง 2 ประเทศในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีภาพของการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งและ อาจส่อไปในด้านการค้ามนุษย์ ทำให้สหรัฐวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวจนจัดอันดับไทยเป็นประเทศที่ต้อง จับตาเป็นพิเศษในเรื่องการค้ามนุษย์

ตามกฎหมายต่อต้านการค้าแรงงานเด็ก มนุษย์ของสหรัฐ จะจัดอันดับลำดับคู่ค้าเป็น 3 ลักษณะคือ 1.ประเทศที่ไม่มีปัญหาการค้ามนุษย์ 2.1ประเทศที่มีปัญหาการค้ามนุษย์แต่มีความพยายามอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหา 2.2ประเทศที่มีการค้ามนุษย์แต่ไม่มีความพยายามแก้ไขอย่างจริงจัง และต้องจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ และ3.ประเทศที่มีการค้ามนุษย์อย่างรุนแรง ซึ่งในกลุ่มที่ 3 นี้สหรัฐจะบอยคอตไม่รับซื้อสินค้าจากประเทศดังกล่าว

นายเฉลิมชัยกล่าวว่าการที่ไทยถูกจัด ให้อยู่ในกลุ่มที่ต้องจับตามองเป็น พิเศษนั้นหากไม่มีการแก้ไขอาจจะนำไปสู่การระงับคำสั่งซื้อสินค้าที่เข้าข่าย การค้ามนุษย์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการใช้แรงงานผิด กฎหมายในกระบวนการผลิตทำให้เสียโอกาสในตลาดสหรัฐไป โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมาสหรัฐได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่ลงไปสำรวจพื้นที่แต่ก็ยัง ไม่พบการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

เราเสนอผ่านทางท่านทูตไปว่าขอให้ ทางรัฐบาลสหรัฐช่วยพิจารณาจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยใหม่เพราะได้มีการดำเนินการไปแล้วนับแต่ครั้ง แรกที่ทราบถึงปัญหา มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการจับ กุมตลอดจนขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้ตรวจสอบการใช้แรงงานเด็กและแรง งานผิดกฎหมาย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจและตั้งใจแก้ไขปัญหานี้นายเฉลิมชัย กล่าว

ทั้งนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา รับปากว่าจะนำประเด็นข้อชี้แจงของไทย เสนอถึงวุฒิสภาสหรัฐและรัฐบาลสหรัฐเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์และ ข้อเท็จที่เกิดขึ้นต่อไป

(โพสต์ทูเดย์, 14-9-2553)

อธิบดีกรมสวัสดิการฯ ห่วงเงินบาทแข็งกระทบเลิกจ้าง สั่งจับตาสถานประกอบการ

ก.แรงงาน 14 ก.ย. - นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอมรับว่าเป็นห่วงในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะพบว่าผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง ทำให้สินค้าในกลุ่มเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออกซึ่งใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เป็นหลัก และพึ่งพารายได้จากการส่งออก เป็นกลุ่มที่สูญเสียความสามารถการแข่งขันในด้านราคา ส่งผลให้กำไรต่ำ และอาจกระทบต่อเนื่องถึงการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะลดลง เช่นเดียวกับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ และรองเท้า ที่ได้รับผลกระทบ อาจประสบปัญหาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินชดเชย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งก่อน  ดังนั้นจึงได้สั่งให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อรับฟังข้อมูล และผลกระทบ โดยให้รายงานผลให้สำนักแรงงานสัมพันธ์ทราบเพื่อวางแผนรับมือ

อย่างไรก็ตาม จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการค่าจ้างกลางล่าสุด ซึ่งมีตัวแทนของสภาองค์การนายจ้าง และลูกจ้างเข้าร่วม ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมากนัก ระบุภาวะของการขาดแคลนแรงงานยังคงมีสูง โดยแรงงานบางประเภทขาดแคลนหนักถึงขั้นต้องซื้อตัว เช่น ช่างจิวเวลรี่เป็นต้น

(สำนักข่าวไทย, 14-9-2553)

แรงงานขอ 1 เดือนสางปัญหาต่างด้าวนอกระบบ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่าได้สั่งการให้กรมการจัดหางานเร่งหาแนวทางการ จัดการกับแรงงานต่างด้าวนอกระบบและคาดว่าจะมีรูปธรรมที่ชัดเจนภายใน 1 เดือนว่าจะเปิดรับลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ หรือใช้วิธีการผลักดันออกนอกประเทศไปก่อนแล้วค่อยให้กลับเข้ามาทำงานใน ไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้เปิดให้ลง ทะเบียนต่างด้าวรอบสุดท้ายเมื่อ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งตามกระบวนการแล้วแรงงานเหล่านี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อแปรสภาพให้เป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ได้ รับการคุ้มครองและสวัสดิการเทียบเท่าแรงงานไทยไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรักษา พยาบาล สิทธิในการเดินทางได้ทั่วประเทศ สิทธิในการเปลี่ยนนายจ้างและร้องเรียนกับหน่วยงานรัฐ

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมการจัด หางาน ณ เดือน มี.ค.พบว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนอีกประมาณ 1.3 ล้านคน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุมและดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานลงวันที่ 2 มิ.ย.โดยจะทำการตรวจจับและผลักดันแรงงานเหล่านี้ออกนอกประเทศ

ที่ผ่านมาองค์กรภาคแรงงาน อาทิ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (สรพ.) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ อีกรอบ รวมทั้งให้ยุติการจับกุมและผลักดันแรงงานออกนอกประเทศตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุมและดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานด้วย

(โพสต์ทูเดย์, 14-9-2553)

ครม. รับทราบผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับกระทรวงแรงงาน)

เมื่อวันที่ 14 ก.ย.53 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1. รับทราบผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และกรณีพิพาทแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรีผู้รักษาการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อให้  สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และให้มีอำนาจออกระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 6)

2. กำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับต่อไป ในกรณีที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องภายในระยะเวลาตามมาตรา 13 (ร่างมาตรา 4 แก้ไขมาตรา 12 วรรคสอง)

3. กำหนดระยะเวลาและหลักเกณฑ์การแจ้งข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยให้แจ้งข้อเรียกร้องภายในหกสิบวันก่อนวันที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เดิมจะสิ้นสุดลง  และขยายระยะเวลาการเริ่มเจรจา (ร่างมาตรา 5 แก้ไขมาตรา 13 และร่างมาตรา 6 แก้ไขมาตรา 16)

4. ขยายระยะเวลาการแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและการ ดำเนินการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน (ร่างมาตรา 7 แก้ไขมาตรา 21 และมาตรา 22)

5. แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการห้ามนายจ้างปิดงานหรือห้ามลูกจ้างนัดหยุดงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 22 (ร่างมาตรา 8 แก้ไขมาตรา 34 (3))

6. ปรับปรุงองค์ประกอบและวิธีการได้มาซึ่งกรรมการในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง (ร่างมาตรา แก้ไขมาตรา 37 มาตรา 38 และมาตรา 39)

7. กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจโดยตรงในการจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือ การเลิกจ้าง จะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ ได้ (รางมาตรา 11 แก้ไขมาตรา 95 วรรคสาม)

8. กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อร่วมประชุมหรือ อบรมตามที่ราชการกำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่กรรมการไตรภาคีตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนเป็นพยานตามหมายเรียกของศาลในคดีเกี่ยวกับแรงงาน (ร่างมาตรา 12 แก้ไขมาตรา 102)

9. กำหนดห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างกำลังดำเนินการเพื่อจัด ตั้งสหภาพแรงงานหรือใช้สิทธิปิดงานเฉพาะลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียก ร้องเป็นบางคนอันเป็นการเลือกปฏิบัติ (ร่างมาตรา 13 แก้ไขมาตรา 121)

10. กำหนดห้ามนายจ้างเลิกจ้างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 12 หรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ (ร่างมาตรา 14 แก้ไขมาตรา 123)

11. แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 15 แก้ไขมาตรา 130)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กันยายน 2553

ชงปรับค่าจ้างขั้นต่ำ กทม. 213บาท /วัน เพิ่มขึ้น 7 บาท สภาองค์การลูกจ้างยันไม่พอ ขอเพิ่ม 10 บาท

15 ก.ย. 53 - รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำในเขต กทม. เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา มีมติให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 7 บาท จากปัจจุบันวันละ 206 บาท เป็นวันละ 213 บาท โดยให้เหตุผลถึงภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่พอใจของตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง

นายสุนันท์ โพธิ์ทอง ประธานคณะอนุกรรมการ เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะเสนอตัวเลขให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางพิจารณาอีกรอบประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งอาจมีการปรับเพิ่มหรือลดก็ได้ รวมทั้งต้องรอให้กรรมการค่าจ้างของแต่ละจังหวัดสรุปตัวเลขทั่วประเทศให้แล้ว เสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้าง กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าน้อย เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบันควรจะปรับเพิ่มให้มากกว่า 10 บาท

นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย ในฐานะกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ตามภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3 อัตราที่เหมาะสมขณะนี้ไม่ควรปรับเพิ่มเกิน 5, 7 และ 10 บาทในภาพรวมทั้งประเทศ ส่วนตัวเลขวันละ 250 บาท ที่นายกรัฐมนตรีตั้งเป้าไว้นั้น คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่บนฐานของความเป็นจริง

(มติชน, 15-9-2553)

คนงานพม่าโรงงานทออวนเดชาได้ข้อตกลงนายจ้าง กลับเข้าทำงานแล้ว

คนงานพม่าโรงงานทออวนเดชาพานิช จ.ขอนแก่น กลับเข้าทำงานหลังทำข้อตกลง นายจ้างยอมคืนเอกสาร-คุ้มครองสิทธิพื้นฐาน- รับลูกจ้างทุกคนกลับเข้าทำงานโดยไม่ถือว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นความผิด ทั้งทางแพ่งและอาญา

เมื่อวันที่ 14 .. 53 ที่ผ่านมา ตัวแทนคนงานพม่าของโรงงานทออวนเดชาพานิชได้ทำข้อตกลงนายจ้าง โดยนายจ้างยอมคืนเอกสาร-คุ้มครองสิทธิพื้นฐาน- รับลูกจ้างทุกคนกลับเข้าทำงานโดยไม่ถือว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

ทั้งนี้รายละเอียดของบันทึกทึกข้อตกลงมีดังนี้

 

บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

 

ตาม ข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่างด้าวสัญชาติพม่า หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช ลงวันที่ 14 กันยายน 53 ยืนต่อ หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช จำนวน 3 ข้อโดยมีผู้เจรจาฝ่ายนายจ้างคือ นายยุทธศักดิ์  ชัยมานะ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคล โดยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างจำนวน 8 คน สามารถตกลงเจรจากันได้ดังนี้

ข้อเรียกร้องที่ 1 ขอให้นายจ้างคืนเอกสารประจำตัวบุคคลให้กับลูกจ้าง คือ

1. บัตร Oversea

2. บัตร Passport

3. บัตรประกันสุขภาพ

4. บัตรอนุญาตทำงานหรือใบเสร็จรับเงิน

5. ทร.38/1

ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเจรจากันได้ดังนี้

1. ห้างฯ ยินดีคืนบัตร Oversea ให้กับลูกจ้างต่างด้าวสัญชาติพม่าทั้งหมด

 2. Passport ห้างฯยินดีคืน Passportให้กับลูกจ้างโดยมีเงื่อนไขดังนี้

2.1 ลูกจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายหรือสูญเสียด้วยตัวเอง

2.2 ลูกจ้างต้องรับผิดชอบการยื่นต่ออายุ (รายงานตัว) ทุก 90 วันด้วยตัวเอง

2.3 ลูกจ้างต้องรับผิดชอบต่อการถูกตรวจสอบเอกสารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานต่างๆด้วยตัวเอง

2.4 ลูกจ้างรับทราบว่าการยื่นขอต่ออายุ (รายงานตัว) ที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น

2.5 ลูกจ้างรับทราบว่าในการประสานงานติดต่อแบหน่อยงานราชการต่อไปลูกจ้างจะเป็น ผู้รับผิดชอบในการดำเนินต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง

2.6 กรณีที่ลูกจ้างหลบหนี ห้างฯจะทำหารยกเลิกเอกสารดังกล่าวกับหน่อยงานราชการที่เกี่ยวข้องทันที

 

ข้อเรียกร้องข้อที่ 2  ให้นายจ้างรับรองและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ.คุ้มตรองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎหมายอื่นในเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและสวัสดิการอื่นๆ

ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเจรจากันได้ดังนี้

นายจ้างรับว่าจะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ. ศ 2541 และกฎมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวตามข้อเรียกร้องที่ 2

โดย ลูกจ้างรับทราบว่าลูกจ้างตกลงว่าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบขิงห้างฯอย่างเคร่ง ครัดและใช้เกณฑ์มาตรฐานการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานเดียวกับแรงงานไทย รวมถึงตกลงรับทราบว่าการให้ทำงานลวงเวลาเป็นสิทธิของนายจ้างลูกจ้างไม่ สามารถเรียกร้องการทำงานล่วงเวลาได้

ข้อตกลงที่ 3 ขอให้นายจ้างรับลูกจ้างทุกคนกลับเข้าทำงานโดยไม่ถือว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเจรจากันได้ดังนี้

นายจ้างตกลงยอมรับตามข้อเรียกร้องที่ 3 ของลูกจ้าง

ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงานถึงวันสิ้นสุดอายุใบอนุญาตการทำงานของลูกจ้าง

ทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นที่เข้าใจถูกต้องแล้วจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

ขยับเป้าผลิตรถ 1.67 ล้านคัน

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เตรียมพิจารณาปรับเพิ่มเป้าการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 53 ใหม่จาก 1.56 ล้านคัน เป็น 1.67 ล้านคัน หรือเพิ่มอีก 110,000 คัน หลังจากที่ยอดการผลิตรถยนต์ช่วง 8 เดือนของปี (ม.ค.-ส.ค.) อยู่ที่ 1.06 ล้านคัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 92.58% เนื่องจากได้รับอานิสงส์การฟื้นตัวของเศรษฐ กิจและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดอาเซียนที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกค่อนข้างน้อย
   
ในปีนี้ค่ายรถยนต์มีการปรับเป้าการผลิตมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกตั้งเป้าการผลิตที่ 1.4 ล้านคัน ครั้งที่ เป็น 1.56 ล้านคัน และกำลังจะปรับเพิ่มครั้งที่ 3 เป็น 1.67 ล้านคัน โดย 8 เดือน  ที่ผ่านมาสามารถผลิตได้ 1.05 ล้านคัน และมั่นใจว่าอีก 4 เดือนที่เหลือจะสามารถผลิตได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1.5 แสนคัน
   
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษก กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า การผลิตรถยนต์เดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ 141,043 คัน เพิ่ม 67.57% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้เล็กน้อย 3.24% แบ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก 82,074 คัน คิดเป็น 58.19% ของรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้น 71.47% เนื่องจากตลาดส่งออกดีขึ้นในทุกตลาด จำนวนนี้เป็นรถยนต์นั่ง 21,950 คัน  และรถกระบะ 1 ตัน 60,124 คัน ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศมีจำนวน 58,969 คัน หรือ 41.81% ของรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้น 62.43% เพราะการบริโภคในประเทศมีกำลังซื้อที่สูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
   
ส่วนยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน ส.ค.อยู่ที่ 65,724 คัน เพิ่มขึ้น 52%แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 28,118 คัน เพิ่ม 58.1%, รถยนต์นั่งตรวจการณ์ 1,373 คัน เพิ่ม 95%, รถ กระบะ 32,490 คัน เพิ่ม 49.2%, รถบรรทุก 1,880 คันเพิ่ม 20.2% และรถยนต์ประเภทอื่น 1,863 คัน เพิ่ม 31.66% เมื่อรวม 8 เดือนยอดขายอยู่ที่ 488,088 คัน เพิ่ม 53.14% เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงได้ รับอานิสงส์จากโครงการไทยเข้มแข็งของ รัฐบาล, สินค้าเกษตรราคาดี, นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาเพิ่มขึ้น และตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นใหม่ยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
   
ขณะเดียวกันผลพวงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจระดับรากหญ้าเริ่มได้รับอานิ สงส์จนยอดขายรถจักรยานยนต์เดือน ส.ค. อยู่ที่ 162,516 คัน เพิ่ม 33.93% เมื่อรวม 8 เดือน ยอดขายอยู่ที่ 1.25 ล้านคันเพิ่ม 24.14%
   
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในเดือน ส.ค. ไทยส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน 51,957 ล้านบาท เพิ่ม 54.52% เมื่อรวม 8 เดือน    มีมูลค่า 385,832 ล้านบาท เพิ่ม 72.98%  ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 583,533 คัน มูลค่าถึง 269,911 ล้านบาท เพิ่ม 84.21% ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าทุก 1 บาทภาคอุตสาหกรรมยานยนต์จะสูญเสียรายได้ประมาณ 1,500-1,700 ล้านบาทต่อเดือน
   
ส่วนกรณีที่มีกลุ่มการเมืองประกาศจะชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 19 ก.ย.นี้คาดว่าไม่มีความรุนแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์มากนัก แต่ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติบ้าง เพราะยังมีประเทศอื่นที่มีศักยภาพรองรับการลงทุนเช่นเดียวกับประเทศไทย
   
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าว่า ปีนี้เป็นปีทองของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมาก โดยกลุ่มยานยนต์ต้องเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการสินค้าของ ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แต่ยอมรับว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนคนงานหลายหมื่นคน
   
ทั้งนี้ 2-3 ปีข้างหน้าเชื่อว่ากลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องการแรงงานเพิ่มอีก 2.5 แสนคน จำนวนนี้เป็นตำแหน่งระดับช่างฝีมือถึง 5 หมื่นคน จากปัจจุบันที่มีแรงงานรวมอยู่แล้ว 5 แสนคน เพราะมั่นใจว่ายอดผลิตรถยนต์ใน 2-3 ปีจะเกิน 2 ล้านคัน

(เดลินิวส์, 16-9-2553) 

นิคมลำพูนแห่งที่ 2 พร้อมสร้างรับนักลงทุน

นิคมอุตฯลำพูนแห่งที่ 2 พร้อมสร้างรับนักลงทุน นิคมอุตสาหกรรมลำพูนแห่งใหม่เตรียมสร้างในพื้นที่กว่า 700 ไร่ รองรับการขยายการลงทุนนักลงทุนต่างชาติที่มีแนวโน้มการขยายตัวพุ่ง แต่นิคมฯพื้นที่เดิมนั้นพื้นที่เต็มหมดไม่สามารถขยายได้แล้ว คาดเมื่อสร้างเสร็จจะสามารถจ้างงานได้กว่า 3 หมื่นคน

นางเอื้อมพร โออริยกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำดินฟ้า จำกัด เปิดเผยว่าทาง บริษัท น้ำ ดิน ฟ้า จำกัดได้รับอนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ) ให้ดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมลำพูนขึ้นมาในพื้นที่ 718 ไร่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านกลางและตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีพื้นที่อยู่ติดต่อกับนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ที่ปัจจุบันพื้นที่ถูกใช้ประโยชน์เต็มทั้งหมดแล้วไม่สามารถรองรับการขยายตัว ของการลงทุนได้แล้ว โดยพื้นที่ทั้งหมดของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน จะแบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 89 ไร่ เขตประกอบการเสรี 481 ไร่ และพื้นที่สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 211 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 1,337 ล้านบาท โดยจะใช้เวลาในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกประมาณ 1 – 1.5 ปี  และมีอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร อาหาร ก่อสร้าง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้ในการเตรียมการจัดตั้งนิคอุตสาหกรรมลำพูนแห่งใหม่นี้ก็เพื่อที่จะรอง รับการขยายการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติเนื่องจากพื้นที่ของนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือที่มีอยู่เดิมนั้นไม่สามารถที่จะรองรับการขยายตัวของการ ลงทุนต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้ทาง กนอ.ก็ได้ประกาศให้พืนที่ดังกล่าวนั้นเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว

นางเอื้อมพร กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมลำพูนแห่งใหม่นี้ว่า นิคมอุตสาหกรรมลำพูนจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม โดยจะเน้นคัดเลือกเฉพาะอุตสาหกรรมสีเขียวเท่านั้นเช่น อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร อาหาร ก่อสร้าง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ค. 53 ได้มีการจัดการประชุม การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ตำบลมะเขือแจ้และตำบลบ้านกลาง ครั้งที่ 2 / 2553 ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลมะเขือแจ้ จัดโดย บริษัท เอิร์ธ แอนด์ ซัน จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัท น้ำ ดิน ฟ้า จำกัด (EIA) ให้เป็นผู้ดำเนินการเพื่อศึกษารายละเอียดรูปแบบและการดำเนินงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมลำพูน วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม อันเนื่องมาจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เพื่อเสนอมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนแผนการติดตามตรวจสอบ คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง 2 ตำบล คือ ตำบลมะเขือแจ้และตำบลบ้านกลาง และประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง มีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเข้าใจและการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโครงการกับประชาชน เป็นหลัก และจะได้จัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม(สผ.) เกี่ยวกับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมลำพูน รวมถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นต่อไป และล่าสุดคาดว่าจะได้รับคำตอบจาก สผ. ประมาณปลายเดือนกันยายนนี้อย่างแน่นอน

สำหรับขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับพื้นที่เพื่อวางระบบ สาธารณูปโภคทั้งหมดโดยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังดำเนินการจัดทำถนนชั่วคราวภายในโครงการ และมีกำหนดการวางศิลาฤกษ์ประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวนิคมฯอย่างเป็นทางการ และคาดว่าปลายปี53 พื้นที่ทั้งหมดจะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเต็มพื้นที่อย่างแน่นอน ซึ่งในระยะแรกนี้ได้มีนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจเข้ามาตั้งโรงงานในนิคม อุตสาหกรรมลำพูนแห่งนี้แล้ว 2 รายคือ บริษัท ฮาน่าฯ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จองพื้นที่แล้ว 97 ไร่ และบริษัท แคนนอนฯ อีก 160 ไร่ และยังอยู่ในระหว่างการเจรจาอีกไม่ต่ำกว่า 3 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่มีโรงงานเดิมในนิคมอุตสาหกรรมภาค เหนืออยู่แล้ว และต้องการขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้นแต่เนื่องจากพื้นที่ของนิคมฯ เดิมเต็มหมดแล้วจึงไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำดินฟ้า จำกัดกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่าขณะนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมลำพูนแห่งใหม่นี้ก็กำลัง เปิดให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมลำพูนแห่งนี้ โดยทางนิคมอุตสาหกรรมลำพูนนี้ได้มีการจ้างบริษัทมืออาชีพจากกรุงเทพมหานครมา ดูแลผลประโยชน์ของนักลงทุน โดยเฉพาะการขอสิทธิพิเศษจาก BOI ในการส่งเสริมการลงทุนด้วย และคาดว่าเมื่อนิคมอุตสาหกรรมลำพูนแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จและมีนักลงทุนมาลง ทุนเต็มพื้นที่แล้วก็น่าจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มกว่า 20,000-30,000 คน หรืออาจจะมากกว่านี้ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตด้วย.

(เชียงใหม่นิวส์, 17-9-2553)

นักวิชาการหนุนคนงานตั้งพรรคการเมือง ด้านเครือข่ายแรงงาน นัดรวมพลเคลื่อนไหวใหญ่ 7 ต.ค. เสนอ 10 ข้อเสนอ  
 
16 ก.ย. 53 - ที่โรงแรมบางกอกพาเลช คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ” 10 ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานต่อต่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยมีผู้นำจากสหภาพกลุ่ม ย่านต่างๆ กว่า 100 คน เข้าร่วมสัมมนา โดย ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง เนื่องจากมองว่าผู้ใช้แรงงานมีศักยภาพที่จะสามารถดำเนินการได้ด้วยจำนวนคน งานที่มีอยู่กว่า 37 ล้านคน

ดร.ลัดดาวัลย์ กล่าวอีกว่า การที่แรงงานควรตั้งพรรคการเมืองขึ้นเอง เนื่องจากต้องการให้เครือข่ายแรงงานเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับตัวเองด้วยการ เพิ่มพื้นที่ทางการเมือง โดยการส่งตัวแทนที่มาจากภาคแรงงานเข้าสู่สนามการเลือกตั้งในระดับประเทศ เพื่อที่จะได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงานได้ ทั้งนี้ หากจะไปถึงจุดนั้นได้ก็จะต้องผ่านการพิสูจน์ตนเองด้วยการลงพื้นที่ไปทำงาน คลุกคลีกับแรงงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งกำหนดนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้สังคมโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานเกิดการยอมรับและเชื่อมั่นในพรรคการเมือง ของตน โดยยังไม่เน้นการหาเสียงและเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เพื่อพิสูจน์ถึงความตั้งใจของพรรค           

ตามแนวคิดประชาธิปไตยชุมชน เห็นว่าขบวนการแรงงานจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตรงนี้ที่จะเพิ่มอำนาจต่อรองโดย ไม่หวังผลทางการเมืองจนเกินไป ซึ่งจะเป็นฐานนำไปสู่การเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งและมีผู้แทนจากภาคส่วน ของแรงงานเข้าไปมีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างแท้จริง ทำอย่างไรพวกเราถึงจะเปิดพื้นที่สร้างจุดยืนให้กับขบวนการแรงงาน เป็นโจทย์ที่เราต้องมาช่วยกันคิดดร.ลัดดาวัลย์ กล่าว

ส่วนเรื่องความเป็นไปได้ในการตั้ง พรรคการเมืองของแรงงานนั้น รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มแรงงานที่ต้องร่วมตัวกันให้เข้มแข็งและเหนียวแน่น เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า องค์กรด้านแรงงานมีหลากหลายแห่ง อีกทั้ง ผู้ใช้แรงงานก็ต้องทำงานหาเงิน ซึ่งทำให้คนงานมารวมตัวกันทำงานด้านนี้ค่อนข้างลำบาก 

อย่างไรก็ตาม คนงานควรเริ่มต้นด้วยการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ที่ต้องเปิดโอกาสให้จดทะเบียนตั้งสหภาพแรงงานได้ง่ายและเข้มแข็ง รวมทั้งการเรียกร้องให้แก้ไขเรื่องสิทธิ์ในการเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบ การ      

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่แรงงานต้องมีพรรคการเมืองเป็นของคัวเอง เนื่องจากที่ผ่านมา นโยบายด้านแรงงามไม่ได้ถูกสะท้อนผ่านพรรคการเมืองที่ไปเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องอนุสัญญา 87 และ 98 ที่ว่าด้วยการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศ ที่ยังไม่ลงสัตยาบัน ทั้งนี้ หากแรงงานมีพรรคการเมืองปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการตอบสนองบนพื้นฐานการรักษาสิทธิของแรงงาน  

ส่วนสาเหตุที่คนงานไม่สามารถตั้ง พรรคการเมืองได้ นายศักดินา กล่าวว่า เนื่องจากแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานยังมีจำนวนน้อย เพียง 1.3 เปอร์เซ็นต์ หรือ ประมาณ 5 แสนคน จาก 37 ล้านคน เท่านั้น ทำให้การรวมตัวกันและขับเคลื่อนอะไรจึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เดนมาร์ก ซึ่งมีพรรคการเมืองที่มาจากภาคส่วนของแรงงานจะมีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทำไม่แรงงานมีความเป็นปึกแผ่น แตกต่างจากของเราที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่

ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการระดมรับฟังความคิดเห็นของเครือข่ายผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆ อาทิ กลุ่มย่านรังสิต ปทุมธานี สระบุรี พระประแดง อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ เป็นต้น ซึ่งได้ข้อสรุป ดังนี้ 1.รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญา  87 และ 98 2. รัฐต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศ เพื่อให้คนงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม 3.เสนอให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบการได้ 4.ผลักดัน พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5.รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 6.ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม 7.สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม 8.รัฐต้องให้ความคุ้มครองแรงานนอกระบบ 9.ให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ และ 10.เสนอให้รัฐตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน      

ทั้งนี้ ในส่วนการเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ทางเครือข่ายแรงงาน เตรียมยื่นหนังสือขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราวันละ 421 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ในวันที่ 20 กันยายนนี้ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวถือเป็นค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของคนงาน

ขณะเดียวกันในวันที่ 30 กันยายน กลุ่มผู้ใช้แรงงานกว่าคน จะรวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศ ในฐานะประธานอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และทางเครือข่ายแรงงานจะออกมารวมตัวเคลื่อนไหวใหญ่กันอีกครั้งใน 7 ตุลาคม ส่วนข้อเสนอ 10 ข้อ ทางเครือข่ายจะได้ยื่นให้กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน และนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ต่อไป

(แนวหน้า, 17-9-2553)

นักวิชาการหนุนคนงานตั้งพรรคการเมือง ด้านเครือข่ายแรงงาน นัดรวมพลเคลื่อนไหวใหญ่ 7 ต.ค. เสนอ 10 ข้อเสนอ  
 
16 ก.ย. 53 - ที่โรงแรมบางกอกพาเลช คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ” 10 ข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานต่อต่อการปฏิรูปประเทศไทยโดยมีผู้นำจากสหภาพกลุ่ม ย่านต่างๆ กว่า 100 คน เข้าร่วมสัมมนา โดย ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง เนื่องจากมองว่าผู้ใช้แรงงานมีศักยภาพที่จะสามารถดำเนินการได้ด้วยจำนวนคน งานที่มีอยู่กว่า 37 ล้านคน

ดร.ลัดดาวัลย์ กล่าวอีกว่า การที่แรงงานควรตั้งพรรคการเมืองขึ้นเอง เนื่องจากต้องการให้เครือข่ายแรงงานเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับตัวเองด้วยการ เพิ่มพื้นที่ทางการเมือง โดยการส่งตัวแทนที่มาจากภาคแรงงานเข้าสู่สนามการเลือกตั้งในระดับประเทศ เพื่อที่จะได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงานได้ ทั้งนี้ หากจะไปถึงจุดนั้นได้ก็จะต้องผ่านการพิสูจน์ตนเองด้วยการลงพื้นที่ไปทำงาน คลุกคลีกับแรงงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งกำหนดนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้สังคมโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานเกิดการยอมรับและเชื่อมั่นในพรรคการเมือง ของตน โดยยังไม่เน้นการหาเสียงและเข้าสู่อำนาจทางการเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เพื่อพิสูจน์ถึงความตั้งใจของพรรค           

ตามแนวคิดประชาธิปไตยชุมชน เห็นว่าขบวนการแรงงานจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตรงนี้ที่จะเพิ่มอำนาจต่อรองโดย ไม่หวังผลทางการเมืองจนเกินไป ซึ่งจะเป็นฐานนำไปสู่การเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งและมีผู้แทนจากภาคส่วน ของแรงงานเข้าไปมีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างแท้จริง ทำอย่างไรพวกเราถึงจะเปิดพื้นที่สร้างจุดยืนให้กับขบวนการแรงงาน เป็นโจทย์ที่เราต้องมาช่วยกันคิดดร.ลัดดาวัลย์ กล่าว

ส่วนเรื่องความเป็นไปได้ในการตั้ง พรรคการเมืองของแรงงานนั้น รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มแรงงานที่ต้องร่วมตัวกันให้เข้มแข็งและเหนียวแน่น เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า องค์กรด้านแรงงานมีหลากหลายแห่ง อีกทั้ง ผู้ใช้แรงงานก็ต้องทำงานหาเงิน ซึ่งทำให้คนงานมารวมตัวกันทำงานด้านนี้ค่อนข้างลำบาก 

อย่างไรก็ตาม คนงานควรเริ่มต้นด้วยการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ที่ต้องเปิดโอกาสให้จดทะเบียนตั้งสหภาพแรงงานได้ง่ายและเข้มแข็ง รวมทั้งการเรียกร้องให้แก้ไขเรื่องสิทธิ์ในการเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบ การ      

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่แรงงานต้องมีพรรคการเมืองเป็นของคัวเอง เนื่องจากที่ผ่านมา นโยบายด้านแรงงามไม่ได้ถูกสะท้อนผ่านพรรคการเมืองที่ไปเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องอนุสัญญา 87 และ 98 ที่ว่าด้วยการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศ ที่ยังไม่ลงสัตยาบัน ทั้งนี้ หากแรงงานมีพรรคการเมืองปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการตอบสนองบนพื้นฐานการรักษาสิทธิของแรงงาน  

ส่วนสาเหตุที่คนงานไม่สามารถตั้ง พรรคการเมืองได้ นายศักดินา กล่าวว่า เนื่องจากแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานยังมีจำนวนน้อย เพียง 1.3 เปอร์เซ็นต์ หรือ ประมาณ 5 แสนคน จาก 37 ล้านคน เท่านั้น ทำให้การรวมตัวกันและขับเคลื่อนอะไรจึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เดนมาร์ก ซึ่งมีพรรคการเมืองที่มาจากภาคส่วนของแรงงานจะมีแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทำไม่แรงงานมีความเป็นปึกแผ่น แตกต่างจากของเราที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่

ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการระดมรับฟังความคิดเห็นของเครือข่ายผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆ อาทิ กลุ่มย่านรังสิต ปทุมธานี สระบุรี พระประแดง อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ เป็นต้น ซึ่งได้ข้อสรุป ดังนี้ 1.รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญา  87 และ 98 2. รัฐต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศ เพื่อให้คนงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม 3.เสนอให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในพื้นที่สถานประกอบการได้ 4.ผลักดัน พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5.รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 6.ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม 7.สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม 8.รัฐต้องให้ความคุ้มครองแรงานนอกระบบ 9.ให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ และ 10.เสนอให้รัฐตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน      

ทั้งนี้ ในส่วนการเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ทางเครือข่ายแรงงาน เตรียมยื่นหนังสือขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราวันละ 421 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ในวันที่ 20 กันยายนนี้ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวถือเป็นค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของคนงาน

ขณะเดียวกันในวันที่ 30 กันยายน กลุ่มผู้ใช้แรงงานกว่าคน จะรวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศ ในฐานะประธานอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และทางเครือข่ายแรงงานจะออกมารวมตัวเคลื่อนไหวใหญ่กันอีกครั้งใน 7 ตุลาคม ส่วนข้อเสนอ 10 ข้อ ทางเครือข่ายจะได้ยื่นให้กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน และนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ต่อไป

(แนวหน้า, 17-9-2553)

'อุบัติเหตุ-เอดส์'ติดโผ คร่าชีวิตแรงงานไทยสูงสุด

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เปิดเผยรายงานการศึกษาด้านภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานไทย ว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในกลุ่มแรงงานอายุ 15-29 ปีทั้งชายและหญิง เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ อุบัติเหตุและโรคเอดส์ ส่วนกลุ่มแรงงานตอนกลางและตอนปลาย อายุ 30-59 ปี พบว่า สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญมาจากการติดเชื้อและโรคเรื้อรัง โดยแรงงานกลุ่มอายุ 30-44 ปี ทั้งชายและหญิง เสียชีวิตจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุจราจร

ส่วนกลุ่มอายุ 45-59 ปี ในกลุ่มแรงงานชายพบว่า เสียชีวิตจากมะเร็งตับ และ เอดส์ ส่วนแรงงานหญิง เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและมะเร็งปากมดลูก ที่น่าสนใจคือ ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยวัยแรงงาน ที่ พบว่า อาชีพที่มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำมากที่สุด คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป เนื่องจากเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง มีรายได้ไม่แน่นอน มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตาย

รายงานฉบับเดียวกัน ยังระบุด้วยว่า ในแต่ละปีมีลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานถึงประมาณปีละ 1.5 – 2 แสนคน และรัฐต้องจ่ายเงินทดแทนในกรณีดังกล่าวถึงประมาณปีละ 1,600 ล้านบาท ไม่รวมความสูญเสียด้านอื่นๆ เช่น ผลกระทบต่อนายจ้าง ภาระในการดูแลความเจ็บป่วย และรายได้ของครอบครัว

ด้านนพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงผลการศึกษาการเจ็บป่วยในกลุ่มโรคจากการทำงานของแรงงานในรายงานการ เฝ้าระวังโรค ปี 2551 ว่า ประมาณร้อยละ 80 ของแรงงานไทยยังคงเจ็บป่วยจากโรคที่มีสาเหตุจากการได้รับสารพิษในสารกำจัด ศัตรูพืช รองลงมาคือ สารปิโตรเลียม ร้อยละ 8 โรคปอด ร้อยละ 6 แก๊สและสารระเหย ร้อยละ 3 สารหนู แมงกานีส แคดเมียมและปรอท ร้อยละ 2 และสารตะกั่ว ร้อยละ 1โดยภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการประกอบอาชีพมากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 42 ของจำนวนแรงงานที่เจ็บป่วยทั้งหมด รองลงมาคือ กลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 23 และกลุ่มแม่บ้าน นักเรียน ร้อยละ 14

ขณะที่ นพ.สนธยา พรึงลำภู นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เปิดเผยผลการวิเคราะห์และทบทวนระบบการจัดการค่าบริการทางการแพทย์กรณีภาระ เสี่ยงในกองทุนประกันสังคม ว่า ตัวเลขค่าใช้จ่ายโรคเรื้อรังจากสถานพยาบาลทั่วประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก จาก 2,291.21 ล้านบาท ในปี 2548 เพิ่มเป็น 3,109.01 ล้านบาทในปี 2549 และ 4,381.70 ล้านบาทในปี 2550 ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตค่าใช้จ่ายโรคเรื้อรังของสถานพยาบาลในกองทุนประกันสังคมจะมากขึ้น เรื่อยๆจนกลายเป็นปัญหาต่อระบบ โดยโรคเรื้อรังที่พบมากที่สุดกว่าครึ่งหนึ่งในกลุ่มผู้ประกันตน ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รัฐบาลจึงควรมีนโยบายเชิงรุกในการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุข ภาพและป้องกันโรคแก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยแรงงานทั้งหมดของประเทศ.

(ไทยรัฐ, 18-9-2553)

กศน.เคลื่อนปฏิรูปรอบสองอุ้มแรงงาน 20 ล้านคน

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รายงานที่ประชุมรับทราบเรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง (พ.ศ.2552-2561) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน กศน. ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ประชากรวัยแรงงานที่ไม่รู้หนังสือ จำนวนกว่า 20 ล้านคน กลุ่มพ่อแม่รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และกลุ่มเป้าหมายที่มีสภาพเฉพาะ โดยสำนักงาน กศน.ได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน 5 ด้าน ดังนี้1.การปฏิรูปครู กศน.โดยพัฒนาระบบการคัดเลือกครูให้สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และจัดทำคู่มือการเป็นครู กศน. 2.การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน ด้วยการจัดให้มีวิธีเรียนที่หลากหลาย พัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม เป็นหลักสูตรระยะสั้นสอดคล้องตามสภาพและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์พัฒนาระบบการวัดผลและประเมิน ผลให้หลากหลาย 3.การปฏิรูปกระบวนการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการประเมินความต้องการทางการศึกษาและเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย จำแนกและจัดทำฐานข้อมูลเชิงลึกของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาการนิเทศติดตามผลให้เป็นภาพรวมทั้งจังหวัด ฯลฯ

4.การปฏิรูปฐานปฏิบัติงาน กศน.โดยเน้นการใช้ชุมชนเป็นฐาน ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์กรพัฒนาเอกชน และ 5.การปฏิรูประบบสนับสนุนการทำงาน โดยปรับระบบการจัดสรรงบประมาณทบทวนและปรับแก้ไขกฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน รวมทั้งจัดโครงการสร้างเสริมประชาคมประชาธิปไตยในชุมชนเพื่อความปรองดองแห่ง ชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิทยากรแกนนำระดับสถานศึกษาให้เป็นกลไกสำคัญใน การเผยแพร่แนวคิดและกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยสู่ความเป็น พลเมืองดีแก่กลุ่มนักศึกษา  กศน.และประชาชน

(มติชน, 18-9-2553)

บิ๊ก บ.จัดหางานเร่งคืนค่าหัวคิวคนงานในลิเบียเหยื่อทยอยกลับ

หลังจาก นสพ.สยามรัฐ ได้นำเสนอความเดือดร้อนของแรงงานไทย 192 ชีวิต ที่ไปตกทุกข์ได้ยากในประเทศลิเบีย โดยนายหน้าบริษัท จัดหางานเงินและทอง พัฒนา จำกัด ได้ส่งให้นายจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง  ARSEL BENA WA TASEHEED JOINT VENTURE ซึ่งขณะนี้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือให้หลุดพ้นขุมนรกแล้วกว่า 150 ชีวิต อีกทั้ง 18  ชีวิต ที่ได้เข้าร้องทุกข์ผ่านนสพ.สยามรัฐได้รับการคืนเงินชดเชยค่าหัวคิว 13 ราย นั้น


ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ก.ย.53 นายสนิท บุญทวี อดีตส.อบต.ไทยสามัคคี อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์  ผู้ประสานงานแรงงานไทยในลิเบีย เปิดเผยว่า วันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทจัดหางานเงินและทอง พัฒนา จำกัด ได้นำเงินชดเชยค่าหัวคิวมาจ่ายคืนให้กับคนงานไทยที่กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพิ่มเป็น 4 รายๆ ละ 35,000-40,000 บาท ส่วนที่ยังเหลืออีก 5 ราย ที่ได้ไปร้องทุกข์ไว้กับจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์นั้น ทางบริษัทฯ จะทยอยประสานงานติดต่อไปจ่ายเงินชดเชยให้ที่จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์จนครบ ต่อไป ได้แก่ นายสมพร เหมืองทองนายทวี สุขันธ์ , นายทองเสี่ยน  บัวสระ, นายนฤดล  ตนุชล และนายวันดี แสนพรมชลี


"นอกจากนั้น คนงานไทยอีก 6 ราย ที่ไปร่วมยื่นหนังสือร้องทุกข์ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา ซึ่งผมได้แนะนำให้ไปลงทะเบียนร้องเรียนกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ทางบริษัทจัดหางานเงินและทองฯ ก็ได้จ่ายค่าชดเชยให้ไปแล้วด้วย ซึ่งอยากฝากไปถึงบริษัทฯ ว่าทางที่ดีควรเคลียร์ค่าชดเชยให้กับ 5 คน ที่ไปร้องเรียนชุดเริ่มต้นให้เสร็จเสียก่อนค่อยมาเคลียร์ให้กับคนงานชุด หลังๆ ที่ร้องเรียน เพื่อให้เป็นไปตามคิว ไม่ใช่ปล่อยให้แซงคิวกัน ไม่เป็นธรรมกับกลุ่มแรกที่เสียเงินทองค่าใช้จ่ายเดินทางเข้าร้องทุกข์ใน กรุงเทพฯมากแล้ว"


ผู้ประสานแรงงานไทย  เปิดเผยอีกว่า ขณะที่ยอดคนงานไทยที่เดินทางไปกับบริษัทจัดหางานเงินและทองทำงานกับ บริษัทนายจ้าง ARSEL ได้ทยอยกลับมาแล้วประมาณ 150 ราย ซึ่งขอแนะนำให้ไปร้องทุกข์ไว้กับจัดหางานของแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นตัวประสานกับบริษัทจัดหางานให้ ส่วนอีก 40 กว่าคน ที่ยังไม่ได้เดินทางกลับจากลิเบีย  ทราบว่า นายจักรกฤษณ์ สุวรรณสาร ประธานบริษัทจัดหางานเงินและทอง ได้เดินทางไปเคลียร์เรื่องเงินเดือนค่าจ้างค้างจ่ายให้เสร็จก่อนจึงจะให้ กลับ ส่วนเงินชดเชยค่าหัวคิวพอกลับมาไทยแล้วค่อยทำเรื่องเรียกร้องภายหลัง


นายสนิท กล่าวอีกว่า การประชุมกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา กรมการจัดหางานรับปากว่าจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาและจัดการเรื่องเงินค้าง จ่ายค่าหัวคิวให้คนงานให้เสร็จภายใน 3 เดือนนั้น ทางคนงานไม่พอใจมาก เพราะพวกเขาทนมา3-4 เดือนแล้ว มีภาระค่าใช้จ่าย ค่าดอกเบี้ยนอกระบบต้องเสียทุกๆ เดือน หากให้รอไปอีกก็ร่วม 7-8  เดือน มันยาวนานเกินไป

(สยามรัฐ, 19-9-2553)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net