สถานการณ์คนงานเก็บบลููเบอรี่ที่ฟินแลนด์-สวีเดน

ในแต่ละปีประมาณการณ์ว่าจะมีคนมาเก็บบลูเบอรรี่ที่ฟินแลนด์ประมาณ 12,000 คน และที่สวีเดน ประมาณ 10,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางมากันเอง แต่นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จะมีกระบวนการจัดหาคนงานจากประเทศไทยเพื่อให้มาเก็บ บลูเบอรรี่กันอย่างจริงจังทำให้ตัวเลขคนไทยที่เดินทางมาสวีเดนและฟินแลนด์ทีเคยเดินทางมา ในระบบเครือญาติ ในวีซ่านักท่องเที่ยว ปีละเพียงไม่กี่ร้อยคน ได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็นหลักพันคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี

ทั้งนี้การติดต่อหาคนมาเก็บเบอรรี่ ส่วนใหญ่จะกระทำผ่านเอเยนต์ หรือบริษัทจัดหางานในประเทศไทย และเกษตรกรเก็บบลูเบอรรี่จากประเทศไทย ก็็เข้ามาแทนที่ คนจากเพื่อนบ้านที่ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน เพราะเริ่มได้ไม่คุ้มทุนค่าใช้จ่าย และ เอเยนต์ก็ชอบคนไทยมากกว่าด้วยบอกว่า “คนไทยขยัน มีวินัย ทำงานเก่ง และไม่กินเหล้า เอะอะโวยวาย”
เอเยนต์หรือเจ้าของแคมป์บางแห่งจากทั้งสวีเดนและฟินแลนด์จะเดินทางไปประเทศไทยและเดินสายเข้าหมู่บ้านต่างๆ เพื่อไปเชิญชวนเกษตรกรไทยให้มาเก็บเบอรรี่ด้วยตัวของพวกเขาเอง โดยเฉพาะ จากจังหวัดชัยภูมิ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา
สำหรับฤดูกาลเก็บเบอรรี่ปี 2553 ที่มีการคาดการณ์ผลผลิตไม่ต่างจากปีที่แล้วคือ ไม่มากนัก อันเนื่องมาจากสภาวะความแห้งแล้ง ปัญหาคนงานเก็บบลูเบอรรี่ปี 2553 จึงได้เริ่มร้อนแรงขึ้นทุกขณะใน ทั้งสองประเทศ ทั้งสวีเดน และฟินแลนด์ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลกันเลยทีเดียว
 
ฟินแลนด์
 
ที่ฟินแลนด์ ข่าวคนงานไทยหายตัวไปในเช้าของวันที่ 26 กรกฎาคม ในระหว่างรอที่จุดนัดพบ เพื่อให้รถมารับได้เป็นที่สนใจในสื่ออย่างต่อเนื่อง ตำรวจได้พยายามค้นหาในช่วงแรกแต่ไม่พบ และ ยกเลิกภาระกิจ จนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้มีการพบหมวกไหมพรมที่หมาคาบมาเล่น ที่คาดว่าเป็นของผู้ตาย ตำรวจด้วยความช่วยเหลือของทหาร จึงเริ่มค้นหาอีกครั้งหนึ่ง  HELSINGIN SANOMAT รายงานเมื่อ วันที่ 3 สิงหาคมว่า “ชายไทยอายุ 38 ปี ที่เดินทางมาฟินแลนด์เพื่อหาเงินจากการเก็บลูกเบอรรี่ได้ถูก พบว่าเสียชีวิตในป่า ทีี่เมืองซัลลา ที่อยู่ทางภาคทิศตะวันออกของเขตแลปแลนด์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หลังจากหายตัว ไปสองสัปดาห์ครึ่่ง . . ตำรวจกล่าวว่าคาดว่าเสียชีวิตมานานแล้ว แต่สำหรับสาเหตุการ ตายต้องรอผลชัณสูตรศพ” http://www.hs.fi/english/article/Missing+Thai+berry+picker+found+dead+in+Lapland/1135259313900
 
ข่าวคนงานไทยเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม หลังจากเก็บบลูเบอรี่่ได้เพียงสามวัน เป็นที่รับรู้ ของคนทั้งประเทศ ทำให้ประเด็นเรื่องคนงานไทยกับการมาเก็บบลูเบอรรี่อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์และทีวี อย่างต่อเนื่อง ทั้งการตามเข้าไปถ่ายทำสารคดีคนงานที่เก็บบลูเบอรี่่ หรือสัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์
ในปี 2553 นี้ มีคนงานไทยประมาณ 2,000 คนที่ทยอยเดินทางมาฟินแลนด์ตัั้งแต่กลางเดือน กรกฎาคม เพื่อมาเก็บบลูเบอรรี่ให้กับเอเยนต์ 7 แห่งในฟินแลนด์ ส่วนใหญ่ใช้เงินไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท ไปกับค่านายหน้า ตั๋วเครื่องบิน วีซ่า ค่าประกันอุบัติเหตุ และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ข่าวแจ้งว่าพวกเขา จะทยอยเดินทางกลับในช่วงสิ้นเดือนกันยายน 
การเดินทางเข้าป่าเพื่อไปเก็บบลูเบอรรี่ที่ฟินแลนด์ ต่างจากที่สวีเดน ทั้งนี้ที่ฟินแลนด์ถือว่า การเก็บของป่าโดยเฉพาะอาหารจากป่าเช่น เบอรรี่และเห็ดต่างๆ เป็น “everyman's right” “สิทธิของทุกคน” ที่จะกระทำได้ ดังนั้นรูปแบบการนำคนต่างประเทศเข้ามาในฟินแลนด์แม้จะมีการ จัดการของเอเยนต์ในประเทศไทย และเอเยนต์หรือกลุ่มธุรกิจบลูเบอรี่ที่ฟินแลนด์ก็ตาม แต่จะไม่ มีสัญญาจ้างงานที่ผูกมัด และเป็นไปในรูปแบบ “คนงานเดินทางมากันเอง เป็นหนี้กันมาเอง และก็มา เก็บขายกันเอง”   โดยเอเยนต์ที่นี่จะเตรียมที่พัก คนทำอาหาร รถยนต์ และปั๊มน้ำมันไว้ให้เติมรถ โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้และจำนวนกิโลกรัมของเบอรี่ที่ได้จะมีการบันทึกเก็บไว้รายวัน และจะมาหักจ่าย กันตอนจบฤดูกาล
ในสื่อต่างๆ ทั้งทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ได้นำเสนอปัญหาเรื่องธุรกิจบลูเบอรรี่กับเรื่อง “สิทธิของทุกคน” ในทุกบริบททางสังคม มีชาวฟินแลนด์เขียนกระทู้ร้องเรียนไปที่รัฐสภาฟินแลนด์ ประเด็นถกเถียงมีตั้งแต่แนวกระแสแนวคิดชาตินิยมว่าสิทธินี้ เป็นสิทธิเฉพาะของคนฟินแลนด์ ทัศนะและมุมมองในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดต่อ “ทุนเอกชน” ที่เข้ามาเอาเปรียบสิทธิที่เป็น “สิทธิทางสาธารณะ” และในประเทศที่มีสัดส่วนสมาชิกสหภาพแรงงาน สูงที่สุดในโลกเช่นฟินแลนด์ (ประมาณ 80% ของกำลังแรงงานที่นี่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน) ประเด็น เรื่องการเอาเปรียบคนงานต่างชาติ การไม่ได้รับการคุ้มครองทางด้านสิทธิแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่ สหภาพแรงงานต่างๆ ที่ฟินแลนด์ใส่ใจเป็นอย่างมากและต้องการให้มีการนำเสนอกรอบการคุ้มครอง เรื่องสิทธิทางกฎหมายกับคนที่เดินทางมาเก็บบลูเบอรรี่ที่ฟินแลนด์ด้วย ซึ่งประเทศสวีเดนได้นำร่อง ไปแล้วในฤดูกาลปี 2553
สำหรับคนงานไทยที่มาอยู่ตรงกลางในกระแสการถกเถียงขณะนี้ ข้าพเจ้าขอสรุปประเด็นปัญหา ที่เกิดขึ้นกับคนงานไทยคร่าวๆ ดังนี้คือ
1) มีการระดมเกษตรกรจากประเทศไทยเพื่อให้กู้หนี้ยืมสินคนละไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายทั้งค่านายหน้า ค่าตั๋ว ค่าวีซ่าร์ ค่าประกันต่างๆ รวมทั้งค่าจัดซื้ออุปกรณ์ ในแต่ละฤดูกาล เพื่อมาเสี่ยงโชค ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกษตรกรจากประเทศไทยเป็นผูรับผิดชอบ ความเสี่ยงเพียงฝ่ายเดียว และความสูญเสียก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน  ประมาณการณ์ กันว่าถึงหนึ่งในสามทีเดียวที่สูญเสียจากฤดูกาลบลูเบอรรี่ที่ผ่านมา
2) กระบวนการไม่ได้ตรงไปตรงมา ไม่มีการให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมากับเกษตรกร มีการ โฆษณารายได้สูงเกินจริง ในสถิติของเอเยนต์รายหนึ่งที่เอาให้ข้าพเจ้าดู รายได้เฉลี่ยหลัง จากหักค่าใช้จ่ายของคนไทยที่เดินทางมาเก็บบลูเบอรี่(ทั้งสองประเทศ) จะอยู่ที่เพียงประมาณ 1000 ยูโร หรือ 40,000 บาท จะมีเพียงไม่กี่คน ที่หาเก่งจริงๆ และได้เงินแสนหรือสองแสน กลับประเทศไทย  
3) มีเอเยนต์เข้ามาเอี่ยวผลประโยชน์ในรูปแบบ “จับเสือมือเปล่า” ทั้งต้นทางและปลายทาง (ทั้งจากประเทศไทยและจากฟินแลนด์) ทำให้ราคาค่าการจัดการสูงเกินไปทั้งจากประเทศไทย และจากประเทศฟินแลนด์ จนทำให้เกษตรกรไทยไม่มีเงินเหลือกลับบ้านเป็นกอบเป็นกำ
4) ด้วยสภาพความบีบคั้นจากหนี้สิน และต้นทุนค่าใช้จ่ายและค่ากินอยู่ที่ฟินแลนด์สูงมาก เฉลี่ย วันละ 1,200 บาท (ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ และค่าน้ำมัน)  เทียบได้กับราคาของ เบอรรี่ประมาณ 15-20 กก. ดังนั้นเพื่อให้เหลือกำไรเกษตรกรต้องได้เบอรรี่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 กก. ต่อวัน ทำให้พวกเขาต้องเร่งรีบทำงานกันอย่างหนักตลอดช่วงฤดูกาล ต้องเริ่มเดินทาง ออกจากที่พักตั้งแต่ตีสี่ตีห้า กว่าจะกลับก็สามหรือสี่ทุ่ม ทำงานเฉลี่ยวันละ 15-20 ชั่วโมง เพื่อต้องการเก็บบลูเบอรรี่ให้ได้มากที่สุด
5) ระบบที่ผูกขาด แม้ว่าเอเยนต์ทั้งสองทางจะอ้างว่าเกษตรเหล่านี้มากันเอง แต่กระบวนการจัด การมันมีการผูกขาดและควบคุมคนงานในตัวเอง เพราะเกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถเลือกขาย เบอร์รี่ที่เก็บได้ให้กับใครก็ได้ ต้องขายให้กับเจ้าของแคมป์หรือเอเยนต์ ยกเว้นเบอรรี่บางชนิด ที่เจ้าของแคมป์ไม่ต้องการ พวกเขาจึงจะสามารถขายให้กับผู้รับซื้อรายอื่นได้ และมีการบ่นกันว่า ราคาที่ขายให้กับเอเยนต์นั้นต่ำกว่าราคาท้องตลาด
การเดินทางหลายพันไมล์ จากประเทศไทยมายังประเทศฟินแลนด์ เพื่อมาเสี่ยงโชคโดยมีต้นทุน ติดลบตั้งแต่แรกแล้วถึง 70,000 กว่าบาท มันเป็นค่าความเสี่ยงที่ถูกผลักให้ตกอยู่ในความรับผิดชอบ ของเกษตรกรไทยเพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่ธุรกิจบลูเบอรรี่ไม่เคยร่วมรับผิดชอบความเสียหายใดๆ ทำให้ทุกปีมีตัวเลขเกษตรกรที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทยมือเปล่า และยังต้องไปใช้หนี้ค่าเดินทาง ที่กู้เงินมาสูงขึ้นเรื่อยๆ   
นี่จึงเป็นที่มาของการที่ประเด็นความสูญเสียของคนงานไทยและการอยู่ในสภาพการทำงานที่เลวร้าย ทำให้สาธารณชน รัฐสภา และสหภาพแรงงานที่ฟินแลนด์ เริ่มตั้งคำถามเรื่องความรับผิดชอบต่อคน งานไทยของธุรกิจบลูเบอรรี่ที่ฟินแลนด์มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเรื่อง “สิทธิของทุกคน” จึงเป็นประเด็นที่มี การถกเถียงกันมากในฟินแลนด์ว่าจะทำอย่างไรถ้า “สิทธิของทุกคน” ถูกกลุ่มธุรกิจมาเอาเปรียบสิทธินี้ และเอาเปรียบคนเก็บบลูเบอรรี่ด้วย
เรื่องชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานนี้ เป็นประเด็นที่นำมาซึ่งความห่วงใยของสหภาพแรงงาน ฟินแลนด์​และชาวฟินแลนด์ต่อคนงานไทยสูงมาก เพราะถ้าเทียบอัตราชั่วโมงการทำงานปกติคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน และสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง คนงานไทยต้องทำงานฤดูกาลละ 70 วัน คิดเป็นจำนวนชั่วโมง 1,050-1,400 ชั่วโมง หรือเทียบได้ประมาณ 35 สัปดาห์ของการทำงานปกติของคนฟินแลนด์ 
นั่นก็หมายความว่าคนงานไทยได้ใช้พลังงานในการทำงานในฤดูกาลสั้นๆ เพียงสองเดือนครึ่งไปถึง 6-8 เดือนของภาวะการทำงานตามปกติของคนฟินแลนด์ และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมคนฟินแลนด์ และคนสวีเดนไม่ยอมทำงานนี้ เพราะถ้าเทียบกับกรอบกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มันเป็นการทำงาน ที่ละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานของเขา ในประเทศที่มีสวัสดิการการว่างงาน แม้จะมีคนงานงาน หลายแสนคน(รวมกันทั้งสองประเทศ) แต่การอยู่เฉยๆ ไม่ทำงานยังได้รับเงินและสวัสดิการสูงกว่าการ ลงไปทำงานเก็บบลูเบอรรี่วันละหลายชั่วโมง ที่ทั้งเหนื่อย ลำบาก เสี่ยงต่อยุง และหมี เงินล่วงเวลาก็ไม่ได้ จึงไม่มีคนเจ้าถิ่นยอมทำงานนี้ แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่เคยทำที่ตอนนี้เศรษฐกิจพากันพัฒนาขึ้น ต่างก็ไม่ค่อยเดินทางมาเก็บบลูเบอรรี่กันแล้ว เพราะได้ไม่คุ้มเสีย 
ก็จะเหลือเพียงคนงานไทย คนงานจีน และคนงานเวียดนามที่หลงเชื่อและพากันมา แต่ก็็คงจะพา กันถอดใจ และไม่สนใจในการเดินทางมาเก็บบลูเบอรรี่ในไม่อีกไม่เกินสองปี ถ้ายังขาดทุนย่อยยับ และเจอ ปัญหาต่อเนื่องเช่นนี้ และถ้ากลุ่มธุรกิจบลูเบอรรี่ยังทำกำไรบนการใช้แรงงานต่างชาติ โดยที่ไม่ยอมรับผิด ชอบความเสี่ยง และความเสียหาย หรือช่วยรับภาระต้นทุนค่าเดินทางมาฟินแลนด์และสวีเดน ให้กับเกษตรกรและคนงานที่ถูกระดมมาจากทั้งสามประเทศอยู่เช่นนี้ต่อไป 
สวีเดน
ปีนี้เป็นฤดูกาลแรกที่สวีเดนที่คนที่ไปเก็บบลูเบอรรี่อยู่ในระบบการจ้างงานเป็นเงินเดือน ภายใต้กรอบกฎหมายแรงงงานสวีเดนที่ครอบคลุมเรื่องค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และค่าทำงาน ล่วงเวลาโดยระบุเงินเดือนต้องไม่ต่ำกว่า 71-80,000 บาท ทำงานสัปดาห์ละไม่เกิน 40 ชั่วโมง ทำให้ เอเยนต์ไม่กล้าพาคนงานเข้าไปมากนัก เนื่องด้วยผลผลิตปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้วมากนัก และตัวคนงาน ไทยที่เจ็บตัวจากสวีเดนสองสามปีติดต่อกัน ก็พากันเข็ดขยาดไม่อยากเสี่ยง จึงทำให้คนไทยที่มาเก็บ บลูเบอร์รี่ปีนี่ที่สวีเดนทั้งวี่ซาทำงาน และเยี่ยมญาติประมาณ 4,000 คน หรือลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง จากปีที่ผ่านมาที่มีกว่า 8,000 คน
สำหรับสวีเดน สถานการณ์ปะทุอีกรอบเมื่อข่าวในวันที่ 6 สิงหาคมรายงานว่า “มีคนงานจีน 120 คน เดินเท้าตลอดคืนเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร มานั่งประท้วงที่ข้างทางพร้อมถือป้าย SOS” และ “Help (ช่วยด้วย)” เจ้าหน้าที่ของสวีเดนก็สื่อสารกับคนงานไม่ได้ แต่รู้เพียงว่าคนงานต้องการค่าแรงเพิ่มขึ้น”
ตามมาติดติดๆ ด้วยข่าวในวันที่ 10 สิงหาคมของ “การประท้วงของคนงานเวียดนาม 70 คนที่จับหัวหน้า 6 คนขัง และจับมัดไว้ แล้วพากันเดินขบวนมานั่งประท้วงที่ข้างทาง http://www.swedishwire.com/politics/5696-angry-berry-pickers-lock-up-bosses-in-sweden
เอเยนต์ที่สวีเดนพยายามกล่าวหาคนงานไทย 400 คน ที่ประท้วงเมื่อปีทีแล้วว่าเป็นต้นเหตุ ให้ธุรกิจเก็บบลูเบอรรี่เสียภาพลักษณ์ และบอกว่าถ้าคนงานไทยไม่หัวแข็ง เชื่อคำยุยง และประท้วง เมื่อปีที่ผ่านมา สถานการณ์มันก็ไม่เลวร้าย พร้อมบอกว่าจะไปจ้างคนงานจีนและเวียดนามแทนคนไทย
ข้าพเจ้าได้เตือนเอเยนต์สวีเดนไปว่า คนงานไทยที่ถือว่าเป็นคนงานต่างชาติที่ถ้าไม่สุดทน ก็มีมีทางลุกขึ้นมาประท้วง การหนีปัญหาด้วยการคิดว่าจ้างคนงานจีนและเวียดนามแล้วพวกเขาจะไม่ ประท้วง ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะจริงๆ แล้ววัฒนธรรมการต่อสู้ของคนจีน และเวียดนาม สูงกว่าไทย และเขาจะประท้วงแน่นอนถ้าเจอปัญหา ซึ่งก็เป็นจริงๆ ดังเช่นที่ข้าพเจ้าได้เตือน เอเยนต์สวีเดนไว้แล้ว
สหภาพคนทำงานต่างประเทศ
ในฤดูกาลเบอรรี่ปี 2553 นี้ ข้าพเจ้าในฐานะตัวแทนของสหภาพคนทำงานต่างประเทศ ที่ได้พูดคุยและนำเสนอปัญหาเรื่องบลูเบอรรี่ต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ สหภาพแรงงาน สื่อมวลชน และสาธารณชนที่สวีเดนและฟินแลนด์ ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีที่่ผ่านมา ได้พยายามเชื่อม ประสานและนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ผู้ได้รับผลกระทบปีที่ผ่านมาได้นำเสนอ ผ่านทางสหภาพคนทำงานต่างประเทศ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งสองด้าน
สหภาพแรงงานฟินแลนด์จึงได้เชิญข้าพเจ้ามาศึกษาปัญหาที่ฟินแลนด์ในฤดูกาลนี้ 
ทั้งนี้ขอประชาสัมพันธ์ให้กับญาติและคนงานไทยที่มาเก็บบลูเบอรรี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์ ในปีนี้ทราบว่าข้าพเจ้าและทีมงานจากฟินแลนด์จะเดินทางไปพบปะแลกเปลี่ยนปัญหา และ เยี่ยมเยียนคนไทย ที่เดินทางมาเก็บบลูเบอรรี่ที่เขตแลปแลนด์ทางตอนเหนือของฟินแลนด์ และสวีเดน ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 12 กันยายน สำหรับญาติๆ หรือคนงานไทยที่กำลังทำงาน เก็บเบอร์รี่ที่สวีเดน และฟินแลนด์ ที่ประสบความเดือดร้อนและต้องการให้สหภาพคนทำงาน ต่างประเทศ และสหภาพแรงงานทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ช่วยเหลือ กรุณาติดต่อมาที่สำนักงาน ของสหภาพคนทำงานต่างประเทศที่ประเทศไทยด่วน เพื่อที่ทางสหภาพจะได้ประสานเส้นทางใน การไปเยี่ยมและให้คำแนะนำ หรือประสานความช่วยเหลือกับ สหภาพแรงงานในสองประเทศ ต่อไปในกรณีปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีก่อนที่ จะเดินทางกลับประเทศ เพราะบทเรียนจากปีที่ผ่านมาคือการแก้ไขปัญหายังยืดเยื้อ 
เบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานสหภาพคนทำงานต่างประเทศ 02 933 9492 หรือโทรมาที่เจ้าหน้าที่ของสหภาพฯ คุณธนากร สัมมาสาโก 080 172 9598

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท