ศาสนาของคำ ผกา ตอนที่ 1: ความดีเป็นเรื่องอัตวิสัย

วิจักขณ์ พานิช สัมภาษณ์คำ ผกา คอลัมนิสต์สาวปากคอเราะร้าย ที่ยืนยันตัวตนของเธอเองว่าเป็นคนที่ไม่มีสำนึกเกี่ยวกับเรื่อง "ธรรมะ" "จิตวิญญาณ" หรือ "ภายใน" แต่แรงขับเคลื่อนในชีวิตเธอ คือ ราคะ โทสะ โมหะ  mso-ansi-language:EN;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">และ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">ความดีเป็นเรื่องส่วนบุคคล 

 
 
 
คำ ผกา เป็นคอลัมนิสต์ปากคอเราะร้าย
 
เธอยืนยัน ว่าเธอเป็นคนที่ไม่มีสำนึกเกี่ยวกับเรื่อง "ธรรมะ" "จิตวิญญาณ" "ภายใน" อะไรเลยแม้แต่นิดเดียว 
 
เธอมี Passion กับการด่าและการวิพากษ์ 
 
ชวนคนคุยเรื่องกินกับปี้ 
 
แรงขับเคลื่อนในชีวิตของเธอ คือ ราคะ โทสะ โมหะ 
 
อยากทำอะไรเธอก็ทำ 
 
ภายใต้การเคารพในสิทธิ เสรีภาพ และกติกาการต่อรองผลประโยชน์ที่เป็นธรรมทางสังคม 
 
สิ่งที่เธอแสดงให้เห็นอย่างเปิดเผย ก็คือ...
 
ชีวิตคนคนหนึ่ง มีอิสรภาพและศักยภาพที่จะเติบโต เรียนรู้ รื่นรมย์ และมีคุณค่าได้ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้น 
 
อย่างที่ไม่ต้องรู้สึกผิด และไม่จำเป็นต้องรู้ว่า "ธรรมะ" หรือ "จิตวิญญาณ" คืออะไร
 
 
 
วิจักขณ์: สำหรับชาวพุทธที่เอาความสุขเป็นตัวตั้ง เค้าคงไม่ค่อยชอบคนที่ชวนตี วิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามกับทุกๆ เรื่อง ยิ่งหากเป็นกระแสของการปฏิบัติธรรมที่มาแรงมากทุกวันนี้ ก็จะมีคำเชิญชวนทำนองที่ว่า “ทุกอย่างต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน อย่ามัวสนใจสิ่งนอกตัว ขอแค่ทุกคนดูใจตัวเอง ดูแลจิตดูแลใจตัวเองให้ดี ไม่ให้ถูกขับเคลื่อนด้วยกิเลสตัณหา ไม่ต้องไปต่อว่าคนอื่น ไปต้องไปมัวมองใคร ขอแค่ทุกคนหันมาสนใจเรื่องภายใน ทุกอย่างมันก็จะดีเอง ตัวระบบมันก็จะเปลี่ยนไปสู่สังคมอันผาสุกเอง หากมนุษย์มีจิตใจที่ดีงามเป็นพื้นฐาน”
 
คำ ผกา: เยอะนะคนคิดอย่างนี้ 
 
วิจักขณ์: ซึ่งจริงๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นความปรารถนาที่งดงาม แต่ในมิติทางสังคมและระบบของการอยู่ร่วมกันมันจะ practical รึเปล่า
 
คำ ผกา: ฟังแล้วมันก็เหมือนจะดีนะคะ แต่ถามว่า ปลูกข้าวแล้วขายไม่ได้ราคา ไม่มีน้ำจะทำนา แล้วถามว่า น้ำถูกเอาเข้าเมืองเพื่อที่จะเอาไปทำไฟฟ้า ในขณะที่รัฐบาลขอร้องให้ชาวนาหยุดหรือชะลอการทำนา ในเมื่อเราอยู่ในสังคมแบบนี้ แล้วจะให้ชาวนาเค้ามานั่งดูจิตใจตัวเองเหรอ คนไม่มีข้าวจะกิน ไม่มีเงินจะใช้ เป็นหนี้ แล้วคนมันจะมานั่งดูจิตใจตัวเองอยู่ได้ยังไง
 
คนที่พูดอย่างนี้เค้าไม่ได้มองเห็นว่า มันไม่มีความเป็นธรรมอยู่ในสังคม แต่ความเป็นธรรมมันจะเกิดขึ้นได้ เราก็ไม่สามารถไปบังคับให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ มันจะมีระบบอะไรที่ “สั่ง” ให้ทุกคนเป็นคนดี แล้วยังต้องมีความเป็นธรรมในจิตใจด้วย
 
เราอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรอันจำกัด เพราะฉะนั้นปัญหาก็คือการจัดสรรทรัพยากร การเมืองคือการจัดสรรเรื่องอำนาจ การจัดสรรเรื่องทรัพยากร คนตั้งหกสิบ เจ็บสิบล้านคน คุณจะเอาระบบอะไรมาจัดการ ให้คนได้ใช้น้ำใช้ไฟ ใช้ infrastructure ในสังคมได้ โดยไม่กระทบกระทั่งกันมาก 
 
ยังไงมันก็นึกไม่ออกน่ะ ว่ามันจะใช้วิธีนั่งดูใจ เป็นคนดี แล้วใครจะไปบอกว่าเขื่อนควรอยู่ตรงไหน ใครควรได้น้ำเท่าไหร่ เพราะเราไม่ได้อยู่ในสังคมหมู่บ้านที่มีคน 20 คน แล้วคน 20 คนก็มาประชุมกันได้ทุกวัน นั่งแลกเปลี่ยน นั่งถกเถียงกันได้ทุกวัน
 
วิจักขณ์: มันเป็นสมมติฐานที่ว่าคนดี ดีเพราะไม่มีโลภ โกรธ หลง ดังนั้นสังคมที่ดี ถ้าได้คนดีมาบริหารบ้านเมืองก็จะบริหารบ้านเมืองไปสู่สังคมที่ดี ที่ปราศจากโลภ โกรธ หลงได้ อย่างนั้นหรือเปล่า
 
คำ ผกา: อือ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แม้แต่คนที่พูดเองเค้ายังมีเลย แขกว่าคนกำลังสับสนโลกสองแบบอยู่หรือเปล่า คือโลกโลกย์แบบมนุษย์ปุถุชน กับโลกแบบโลกุตตระซึ่งมันไม่มีจริงที่ว่าทุกคนนิพพานหมด ทุกคนเป็นพระอรหันต์หมด มันก็ไม่ต้องมีสังคมอย่างที่เราอยู่กันทุกวันนี้ 
 
แต่โลกทุกวันนี้ มันเป็นโลกของมนุษย์ปุถุชน แล้วเราจะจัดการกับมนุษย์ปุถุชนยังไงไม่ให้มันทุบหัวกัน ฆ่ากัน เราก็ผ่านยุคนั้นมาแล้วนะ ยุคตีหัวลากเข้าถ้ำอะไรแบบนั้น ยุคแบบแย่งเนื้อสัตว์ แย่งผลผลิตทางการเกษตรกัน หรือว่าแย่งที่ดิน แย่งน้ำ เราก็ผ่านยุคแบบนั้นมาแล้ว แล้วเราก็คิดระบบการเมืองตั้งหลายระบบมา ในช่วงพัน สองพันปี ที่มีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าตัวเองว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้
 
คนที่มองแบบนี้มันโรแมนติกไปมั๊ย แล้วก็ไม่ได้เข้าใจว่าโลกนี้มันเป็นโลกของมนุษย์ที่มีกิเลส เป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีความต้องการมากน้อยต่างกันไป ซึ่งทุกคนก็มีสิทธิเสรีภาพในความเป็นปุถุชนแบบที่เขาเป็นนั้น
 
วิจักขณ์: ความสนใจใน “ธรรมะ” อาจสนใจแต่ “ธรรมะ” แต่ไม่สนใจ “โลก(ย์)” หรือเปล่า ซึ่งอันนี้ก็เลยเป็นคำถามที่ว่าความเข้าใจใน “ธรรมะ” ที่ว่านั้น รากฐานของมันอยู่ตรงไหน
 
คำ ผกา: แขกว่าพวกนี้มันแคบน่ะ คือแขกนึกไม่ออกเลยจริงๆ อย่างแขก แขกเข้าใจไม่ได้ ว่าความคิดแบบนี้มันคิดขึ้นมาได้ยังไง..
 
ลองมองให้ดีสิ ความดีมันเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากๆ เลย แล้วมันก็เป็นอัตวิสัยมากๆ ดีสำหรับเราอาจจะไม่ดีสำหรับคนอื่น แล้วถ้าเกิดว่าแขกเป็นคนดี ตั้มเป็นคนดี คนอื่นก็เป็นคนดี แต่ว่าเงื่อนไขที่อยู่แวดล้อมคนแต่ละคนมันก็ไม่เหมือนกัน หน้าที่อาชีพก็ไม่เหมือนกัน ความใฝ่ฝันก็ไม่เหมือนกัน ความต้องการพื้นฐานอาจจะเหมือนกัน แต่มากน้อยอย่างไรก็ไม่เหมือนกัน 
 
เพราะฉะนั้นสมมติว่าเรามีความฝันถึงอนาคต ที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนที่เค้าเป็นชาวนาชาวไร่ก็มีอนาคตมีความฝันของเขาแบบนึง เราเป็นคนชั้นกลางแบบนี้ เราก็ฝันถึงอนาคตอีกแบบนึง ฝันอยากมีบ้าน ก็ยังมีบ้านกันคนละแบบเลย แค่นี้ยังต่างกัน แล้วจะมาบอกให้ทุกคนเป็นคนดี (หัวเราะ) แล้วแค่ไหนล่ะถึงจะเรียกว่าดี แค่ไหนถึงจะเรียกว่าดีมากไปมั๊ย ดีน้อยไปมั๊ย หรือยังดีไม่พอหรือเปล่า 
 
วิจักขณ์: “ความดีเป็นเรื่องอัตวิสัย” เพราะมันสะท้อนถึงการให้คุณค่าของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
 
คำ ผกา: อื้อ ก็ดูสิ วัฒนธรรมของแต่ละสังคมเรื่องความดี ยังไม่เหมือนกันเลย 
 
วิจักขณ์: ความดีสะท้อนถึงมิติเรื่องคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจหรือทางสังคมก็ดี คุณแขกกำลังชี้ว่าเราต้องมองผ่านแง่มุมทางอัตวิสัย ไม่ใช่ว่าจู่ๆก็จะมาพูดว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของความดีงาม เป็นเรื่องอนิจจัง อนัตตา จนราวกับว่าทุกอย่างกลายเป็นพิมพ์เดียวกันหมดในรายละเอียด
 
คำ ผกา: ใช่ ใช่ ...แล้วกลับไปดูใจตัวเอง แล้วไงล่ะ ดูแล้วไง แล้วคุณจะเอาดีแค่ไหนล่ะ พุทธศาสนายังมีกี่ร้อยกี่พันนิกายเลย แต่ละนิกายก็ยังนิยามความดี ความไม่ดี การปฏิบัติก็ยังไม่เหมือนกันเลย อันนี้กินเหล้าได้ อันนี้มีเมียได้ อันนี้ต้องใส่ผ้าสีนี้ อันนั้นต้องใส่ผ้าสีนั้น อันนั้นต้องโกนหัว อันนี้ไม่โกนหัว อ้าวแล้วยังไง แค่นี้ยังไม่เหมือนกันเลย แค่ความดีที่เป็น discipline พื้นฐาน
 
วิจักขณ์: แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สนใจอะไรกว้างอย่างนั้นรึเปล่า เค้าอาจจะมีศรัทธาแน่วแน่อยู่ในสายหนึ่งสายใด ที่มันก็ตอบโจทย์เรื่องคุณค่าของเขาได้แล้ว ก็เลยไม่ได้ไปสนใจสายปฏิบัติอื่น
 
คำ ผกา: ก็ควรจะมองได้แล้ว (หัวเราะ) แล้วก็เลิกเอาความคิดเห็นของตัวเองไปตัดสินคนอื่น แล้วก็เลิกคิดได้แล้วว่า ถ้าคนทุกคนเป็นคนดี ปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่ของตัวเอง แล้วสังคมจะสงบสุข
 
คือแขกมองว่า คนที่มองแบบนี้ไม่เคยมีปัญหาในชีวิตจริงๆ คือเป็นกลุ่มคนที่มีความสะดวกสบายในชีวิตระดับหนึ่ง มีความฟุ่มเฟือยในชีวิตตัวเองมากพอ ที่จะไปนั่งหลับตาอยู่เฉยๆ มันต้องว่างอ่ะ (เน้นเสียง) แล้วมันก็ต้องไม่มีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ มันถึงจะไปทำอย่างนั้นได้
 
แล้ว...ไม่รู้นะคะ ไอ้การขัดเกลาจิตใจเนี่ย จริงๆ แล้วมันก็มีอีกตั้งหลายวิธีที่ไม่ใช่การนั่งหลับตาหรือการภาวนาใช่มั๊ยคะ คือคนที่ทำกิจกรรมอย่างอื่นเค้าก็อาจจะมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันเค้าหรือว่างานที่เค้าทำอยู่ มันก็เป็นกระบวนการที่เค้าได้ฝึกจิตใจในแบบของเค้า ซึ่งมันก็อาจจะไม่เหมือนกับเราก็ได้
 
___________________________
บ้านตีโลปะ www.tilopahouse.com
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท