Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) แถลงประณามรัฐบาลทหารพม่า แอบผลิตอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมอ้างข้อมูลจากอดีตนายทหารในกองทัพ ระบุหนุนโดยเกาหลีเหนือ จี้รัฐบาลไทยงดให้ความช่วยเหลือการเงิน-การลงทุน ส่วนอาเซียนต้องมีท่าทีต่อต้านให้ชัดเจน

 วานนี้ (28 มิ.ย.53) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ออกแถลงการณ์ “การผลิตอาวุธนิวเคลียร์พม่าคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงภูมิภาคอาเซียน” ระบุถึงความพยายามที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ ด้วยความช่วยเหลือจากประเทศเกาหลีเหนือ ตามข้อมูลที่ให้ไว้โดย นาย สาย เต็ง วิน (Sai Thein Win) อดีตนายทหารยศพันตรีในกองทัพบกพม่า

แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ตามรายงานข่าวเชิงสืบสวนที่จัดทำโดย “เดโมแครติก วอยซ์ ออฟ เบอร์มา” สื่อของผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่ตั้งฐานอยู่ในนอร์เวย์ รายงานชิ้นนี้ระบุว่า พม่ากำลังมีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ จำนวนมากแบบซุกซ่อนหลบเร้นอยู่ใต้ดิน เพื่อปิดบังอำพรางกิจกรรมดังกล่าวไม่ให้โลกภายนอกค้นพบ ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่าก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างหลังสื่อต่างชาติกล่าวหา

ในส่วนของ กรพ.ในฐานะองค์กรที่ได้ติดตามพัฒนาการทางสิทธิเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่าตั้งแต่ปี 2543 เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและสมาชิกประเทศอาเซียนแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการต่อต้านโครงการนิวเคลียร์ เพราะขณะนี้พม่ามีฐานะเป็นสมาชิกรายหนึ่งของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทุกชาติสมาชิกต่างก็ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสนธิสัญญากรุงเทพฯ (the Bangkok Treaty) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2538

แถลงการณ์ระบุอีกว่า การสร้างอาวุธนิวเคลียร์ในพม่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มกำลังทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ประชาชนจำนวนกว่า 600 ล้านคนในภูมิภาคยังอยู่กับความยากจนและต้องการการพัฒนาในแง่คุณภาพชีวิต โดยการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในพม่าจะเป็นแรงผลักให้ประเทศอื่นในอาเซียนทำตาม ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่เน้นพัฒนาคนแต่ค่าใช้จ่ายจะถูกใช้ไปในการเพิ่มกำลังทางการทหารให้ทัดเทียมกับประเทศใกล้เคียง

เพื่อที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรามีความสงบสุข เกิดความมั่นคงของมนุษย์ และปลอดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ กรพ.ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าต้องหยุดแผนการในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่รัฐบาลไทยต้องคำนึงว่าจะไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านการทำธุรกิจหรือการลงทุนกับรัฐบาลทหารพม่า ส่วนประเทศอาเซียนในพม่าจะต้องมีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าที่ละเมิดสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEANWFZ

 

 
แถลงการณ์ การผลิตอาวุธนิวเคลียร์พม่าคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงภูมิภาคอาเซียน
28 มิถุนายน 2553
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ประณามรัฐบาลทหารพม่า ในความพยายามที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ด้วยความช่วยเหลือจากประเทศเกาหลีเหนือ ตามข้อมูลที่ให้ไว้โดย นาย สาย เต็ง วิน (Sai Thein Win) อดีตนายทหารยศพันตรีในกองทัพบกพม่า
 
คณะทหารผู้ปกครองพม่ากำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่พลวัตทางด้านความมั่นคงในเอเชีย ด้วยการเข้าจับมือเป็นพันธมิตรทางทหารกับเกาหลีเหนือ เพื่อเริ่มต้นเดินหน้าโครงการสร้างอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ ที่ผ่านมาสื่อต่างชาติได้แพร่ภาพและทำข่าวเรื่อง การทดลองผลิตอาวุธนิวเคลียร์จากการ เสริมสมรรถนะ (Enrichment) ของยูเรเนียม การผลิตอุปกรณ์เฉพาะสำหรับผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มิสไซล์ และการพัฒนาศักยภาพนิวเคลียร์ด้านต่างๆ ทั้งนี้ตามรายงานข่าวเชิงสืบสวนที่จัดทำโดย “เดโมแครติก วอยซ์ ออฟ เบอร์มา” สื่อของผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่ตั้งฐานอยู่ในนอร์เวย์ รายงานชิ้นนี้ระบุว่า พม่ากำลังมีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ จำนวนมากแบบซุกซ่อนหลบเร้นอยู่ใต้ดิน เพื่อปิดบังอำพรางกิจกรรมดังกล่าวไม่ให้โลกภายนอกค้นพบ ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่าก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างหลังสื่อต่างชาติกล่าวหา
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ได้ติดตามพัฒนาการทางสิทธิเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่าตั้งแต่ปี 2543 และพบว่าสถานการณ์ในพม่าจะมีความถดถอยมากขึ้นอีกหากมีการวางแผนผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งนอกจากจะสร้างผลกระทบต่อประชาชนในพม่าแล้ว ยังสามารถคุกคามเสถียรภาพทางความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในภูมิภาคอื่นๆ ด้วย
 
ในปีที่ผ่านๆ มา รัฐบาลทหารพม่าใช้จ่ายเงินมากกว่า 40% ของ GDP ประเทศไปในการเพิ่มศักยภาพทางการทหารซึ่งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลทหารพม่ามาจากการขายก๊าซธรรมชาติให้ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่ต้องการพลังงานตอบสนองประเทศตน
 
กรพ.ได้ทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ชุมชนนานาชาติ อาเซียน และรัฐบาลไทยเองไม่ให้เข้าไปลงทุนในพม่า ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ระบุว่า ปตท.ใช้ก๊าซธรรมชาติจากพม่าเป็นมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี การลงทุนของไทยและประเทศอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากการผลิตท่อแก๊สยาดานา (Yadana Field) ได้เพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาลทหารและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาและคงไว้ซึ่งศักยภาพทางการทหาร อีกทั้งยังส่งผลในทางอ้อม ทำให้เกิดการบังคับใช้นโยบายเชิงปฏิบัติในพม่าซึ่งทำให้เกิดการย้ายถิ่นทำให้คนพม่าจำนวนมากกลายเป็นคนพลัดถิ่นภายในประเทศตนเอง กลายเป็น ผู้ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคเอเชีย
 
รัฐบาลไทยและสมาชิกประเทศอาเซียนต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการต่อต้านพม่าสร้างโครงการนิวเคลียร์ เพราะขณะนี้พม่ามีฐานะเป็นสมาชิกรายหนึ่งของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) อันเป็นการรวมตัวของ 10 ชาติสมาชิกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยที่ทุกชาติสมาชิกต่างก็ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Nuclear-Weapon-Free Zone Treaty หรือ SEANWFZ) ปี 1995 หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญากรุงเทพฯ (the Bangkok Treaty) ที่ลงนามไว้ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2538
 
การที่ปัจจุบันพม่ากำลังพยายามที่จะวิจัยพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และได้จับมือเป็นพันธมิตรทางทหารกับเกาหลีเหนือจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารให้แก่ พลวัตทางด้านความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคแถบนี้ ความใฝ่ฝันในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ในพม่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มกำลังทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ประชาชนจำนวนกว่า 600 ล้านคนในภูมิภาคยังอยู่กับความยากจนและต้องการการพัฒนาในแง่คุณภาพชีวิต การผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในพม่าจะเป็นแรงผลักให้ประเทศอื่นในอาเซียนกระทำตาม ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ได้เน้นพัฒนาคนแต่ค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปใช้ในการเพิ่มกำลังทางการทหารให้ทัดเทียมนานาประเทศแถบใกล้เคียง
 
เพื่อที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรามีความสงบสุข เกิดความมั่นคงของมนุษย์ และปลอดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เราควรมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
 
·                     รัฐบาลทหารพม่าต้องหยุดแผนการที่ไร้ประโยชน์ในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
·                     รัฐบาลไทยต้องคำนึงว่าจะไม่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านการทำธุรกิจหรือการลงทุนกับรัฐบาลทหารพม่า
·                     ประเทศอาเซียนในพม่าจะต้องมีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าที่ละเมิดสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEANWFZ
 

 

 

 
Burma's Nuclear Ambitions Threaten Regional Security
 
June 28, 2010
 
Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB) denounced the State Peace and Development Council’s (SPDC) secret efforts to amass nuclear weapons. As per claims made by Major Sai Thein Win (recently defected), Burma is working on obtaining nuclear weapons with North Korea's assistance.
 
The SPDC need to clarify their previously hidden activities the international media has claimed. These claims include experimentation with uranium and specialized equipment to build a nuclear reactor, missiles, and develop enrichment capabilities.
 
TACDB has been following the development of the human, economic, social, health, and education rights of the people from Burma under the military rule since it was set up in 1994. The situation has gone from bad to worse and now the SPDC is going a step further with its nuclear plans which threaten regional and international security. The SPDC and its current state apparatus and policy implementation are largely responsible for the forced migration of millions of its citizens as internally displaced, refugees and migrants within the Asian region.
 
It is believe that the gas and oil revenue from the Yadana field has given the junta the financial resources necessary to increase military spending. So, TACDB has been campaigning to the international community, ASEAN and the Royal Thai Government not to invest in Burma. According to the Thai newspaper ‘Post’ on 21st May 2009, the Petroleum Authority of Thailand (PTT-EP) receives natural gas from Burma totaling US $3 billion per year.
 
Over the years we have seen a very clear picture of the SPDC destroying the lives of the people of Burma and are threatening ASEAN regional peace and stability by spending more than 40% of its GDP on the military. The majority of the income for the SPDC is coming from selling the natural gas to the neighboring countries which are energy hungry to secure their own countries needs.
 
Royal Thai Government and rest of the ASEAN members need to urgently take action against Burma for starting a nuclear program despite the fact that Burma signed the Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Bangkok, Thailand on 15 December 1995. Burma's nuclear ambitions are set to start an arms race in Southeast Asia where about 600 million people are living in poverty and are in need of the much necessary people-centered development. A nuclear armed Burma will push other ASEAN members to respond likewise and the poor people in the region will be burdened with the cost of development funds being directed towards military expenditures.
 
 
To be a part of global nuclear disarmament and a peaceful environment, the establishment of a Southeast Asia Nuclear Weapons Free Zone is the way forward in order to bring human security to the region. The following requirements should be demanded:

 

·                     The SPDC must stop its meaningless plan for nuclear armament.

·                     Royal Thai Government should consider not injecting more financial aid in the name of business to the SPDC.

·                     ASEAN must take action against Burma for breaking the Bangkok Treaty.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net