Skip to main content
sharethis

แม้ว่าความขัดแย้งที่เห็นบนถนนสิ้นสุดลงแล้ว แต่แท้จริงยังคงยืดเยื้อ คนไทยหลบมาถกเถียงกัน ซึ่งมีทั้งรูปและวิดีโอให้เห็นมากมายผ่านสังคมอินเตอร์เน็ทที่กำลังถูกเซ็นเซอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในสนามรบแห่งนี้ กลุ่มนปช.ก็สื่อสารกันและกันถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกปิดกั้นโดยรัฐบาล

เฟซบุ๊ค เป็นเวบไซต์ที่มีคนใช้มากขึ้นถึงสามเท่าในระยะเวลาเพียงสองสามเดือน  มีผู้ที่ทั้งชอบและต่อต้านรัฐบาล มาแลกเปลี่ยนความคิดทางการเมือง ภาพถ่าย วิดีโอ อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ผ่านเวบไซต์นี้ อินเตอร์เน็ทกลายเป็นพื้นที่สำหรับกลุ่มเคลื่อนไหวทางความคิดของคนไทย ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะระงับการแลกเปลี่ยนผ่านอินเตอร์เน็ทหนักขึ้นทุกที ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีกระทั่งการถ่ายทอดสดภาพจากพื้นที่ที่เกิดเหตุการการเมือง มีฟอรั่มต่างๆ

ตัวอย่าง เฟซบุ๊ค มีคนใช้ ณ วันนี้ จำนวนกว่า 3,700,000 คน เพิ่มขึ้นมาจากเดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งมีผู้ใช้เพียง 1,100,000 คน เทียบกับสถิติล่าสุดปลายปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ททั่วประเทศจำนวน 16,000,000 คน ดังนั้น เกือบจะเป็นจำนวน 1 ใน 4 ที่ใช้เวบไซต์เฟซบุ๊ค โดยมีผู้แลกเปลี่ยนความคิดที่ใช้ชื่อ แดงไทย หรือ เสื้อแดง ในการรวมตัวกันตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของความขัดแย้งทางการเมือง มีนับหลายร้อย กระทั่งกลุ่มละหลายพันคนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน ยังมีนักศึกษาที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่  กลุ่มต่อต้านฝ่ายนปช. ทั้งสองกรณี ผู้ใช้นำเสนอวิดีโอที่มีเพลงชาติไทยประกอบ

ฟอรั่มหนึ่งอย่าง Panthip.com ก็เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนทัศนะทางการเมืองที่ใช้มากที่สุด ในช่วงที่ความขัดแย้งพุ่งสูงสุด มีหัวข้อสนทนาถึง 1,000 เรื่องต่อวัน มีภาพถ่ายและวิดีโอจากทั้งสองฝ่าย (ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล) มีการใช้คำพูดถกเถียงรุนแรงขึ้นจนกระทั่งฟอรั่มการเมืองถูกปิดก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม วันที่ทหารใช้กำลังกับผู้ชุมนุม

 

การเซ็นเซอร์และการติดตามของฝ่ายรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไป

รายงานจากนักข่าวไร้พรมแดน (RSF) บอกว่า  มีเวบไซต์เกือบ 1,150 แห่งที่ถูกปิดตัวลงนับแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพราะถูก ศอฉ. ให้ข้อหาว่า ยุยงให้เกิดความขัดแย้ง วันที่ 19 พฤษภาคม เฟซบุ๊ค (FACEBOOK) และทวิตเตอร์ (TWITTER) ถูกระงับใช้งานเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งที่เป็น วิธีการน้อยเดียวที่หลงเหลือให้ใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสารในช่วงบ่าย ในขณะที่เวลานั้น ข่าวผ่านรายการโทรทัศน์ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ปากคำของสมาคมปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์

อย่างไรก็ตาม การระงับการใช้เวบไซต์ทั้งสองแห่งไม่ง่าย รัฐบาลจึงหันไประงับหน้าอื่น ๆ ของกลุ่มที่ให้การสนับสนุน นปช. กลุ่มอื่น ๆ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการรักษาความมั่นคงของชาติ

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังมีคำฟ้องบุคคลบางคนว่ามีคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อันมีผลให้เจ้าของเว็บไซต์ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อถ้อยคำความคิดเห็นของผู้ใช้เวบไซต์ อย่างผู้อำนวยการเวบไซต์ Prachatai.com จีรนุช เปรมชัยพร ซึ่งต้องไปศาลอาญารัชดาวันนี้ โดยถูกกล่าวหาว่าไม่ดึงหรือลบข้อคิดเห็นของผู้ใช้เวบไซต์ให้เร็วเท่าที่ควรจะเป็น ข้อคิดเห็นดังกล่าวมีถ้อยความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คุณธีรนุชจึงเสี่ยงที่จะต้องรับโทษจำคุก 15 ปี

เว็บไซต์นี้ก่อตั้งขึ้นปี 2547 มีผู้เยี่ยมชมประมาณ 20,000 คนต่อวัน เว็บไซต์นี้ก็ถูกเซ็นเซอร์เป็นระยะมาอย่างต่อเนื่องนับแต่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง กระทั่งเปลี่ยนชื่อเวบไซต์หลายต่อหลายครั้ง ดังนี้ จาก prachatai.com เป็น prachatai.net ตามด้วย prachatai.info ตามด้วย prachatai1.info และนับแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาใช้ชื่อว่า prachatai2.info

อนึ่่ง เวบไซต์ของกลุ่มเรียกร้องอิสรภาพในการใช้อินเตอร์เน็ท ต่อต้านการเซ็นเซอร์ก็ยังถูกปิดชั่วคราวจาก ศอฉ. และยังใช้การไม่ได้จนบัดนี้

 

สงครามเทคโนโลยีและการเคลื่อนไหว นปช. ยังคงคืบหน้าต่อไป
แม้ว่าระบบการเซ็นเซอร์จะถูกฝ่ายอำนาจนำมาใช้อย่างได้ผล กลุ่ม นปช.ก็รู้หาวิธีดึงเข็มหมุดออกได้ เพื่อต้านความพยายามของรัฐในการปรามข้อมูลข่าวสาร

เมื่อรัฐบาลระงับเวบไซต์ของกลุ่ม นปช. ผ่าน URL กลุ่ม นปช. ก็ตอบรับด้วยการพัฒนาระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข่าวความเคลื่อนไหวของตนโดยใช้แถบเครื่องมือที่ชื่อ "นปช" หรือ "Norporchor" ก็เข้าไปในเว็บไซต์ห้องทัศนะความเห็น รายการ และดูวิดีโอต่างๆ ที่สามารถเซฟเก็บไว้ได้โดยเวบไซต์อาศัยเซอร์เวอร์ของสหรัฐอเมริกา การตั้งระบบที่ชื่อว่า UDD Thailand Player ก็สามารถเข้าถึงโทรทัศน์เสื้อแดงได้ แถม UDD ยังตั้งระบบ Proxy นิรนาม ซึ่งเมื่อเราเข้าอินเตอร์เน็ท ก็ซ่อนที่อยู่ IP ได้ของคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังสามารถเข้าไปในเวบไซต์ที่ถูกระงับได้ด้วย โดยใช้วิธีเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทนอกประเทศ

การสืบกรองอินเตอร์เน็ทของรัฐบาลจึงหาไม่พบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศอฉ. หรือ Capothai ก็ได้เห็นเว็บไซต์ของตน (www.capothai.org) ถูกระงับโดยรัฐมนตรีเทคโนโลยีโทรมนาคมและข่าวสาร โดยให้เหตุผลว่าเป็นการใช้คำสั่งพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินต่อสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อ อย่างไรก็ดี วันนี้ Capothai ใช้ได้แล้ว

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังเคลื่อนไหวให้เกิดสำนักงานความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ทแห่งชาติเพื่อสู้กับการบุกรุกทางอินเตอร์เน็ทผ่านทางต่างชาติ ซึ่งจะเป็นที่น่าเสียดาย สื่อวิดีโอต่างประเทศอย่าง Dailymotion และ Youtube และอื่น ๆ ก็จะถูกเซ็นเซอร์และดึงทิ้งได้ง่าย ๆ ในเมืองไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นมีสำนักงานประเภทนี้ในแล้ว

 

หมายเหตุ: *เวบไซต์ชื่อว่า « หนังสือพิมพ์เล็กๆ » สำหรับชาวฝรั่งเศสและผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในต่างประเทศ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net