Skip to main content
sharethis

สสส. ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน จัดเวทีสร้างการมีส่วนร่วมการทำ งานกองทุน “คืนสิทธิ” พื้นฐานด้านสุขภาพ แก่ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล เผย มีกลุ่มชาติพันธุ์รู้เรื่องสิทธิของตนไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากรัฐอ่อนซ้อมสื่อสารประชาชน แฉขบวนการเหลือบสังคมอาศัยช่องทาง รวยเก็บค่าหัวคิวขึ้นทะเบียน ชี้ทาง 4 ข้อเสนอแก้ปมกองทุน

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตร ต.สันป่าข่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง (คชส.) ร่วมกับ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเวทีต่อเนื่อง "การสร้างการมีส่วนร่วมทำงานกองทุนการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณะสุขกับบุคลที่มีปัญหาสถานะ"

นางชุติมา มอแลกู่ นายกสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT) จากการลงสอบถามข้อมูลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายพบว่า มีผู้นำชุมชนและประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจถึงประเด็นเรื่อง "กองทุนการให้สิทธิด้านสาธารณะขั้นพื้นฐานแก่พี่น้องที่มีปัญหาเรื่องสถานะ"

"บางหมู่บ้านผู้นำรู้แต่ไม่ชัดในรายละเอียดจึงไม่สามารถที่จะนำเสนอประเด็นในเรื่องสิทธิต่างๆ ได้ถูกต้องครอบคลุมซึ่งถ้าเมื่อ เทียบเป็นอัตราส่วนในพื้นที่พบว่ามีพี่น้องชนเผ่าที่ทราบถึง ประเด็นดังกล่าวได้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก" นางชุติมา กล่าว

นางชุติมากล่าวต่อไปว่า ซึ่งเท่าที่สอบถามพี่น้องพบว่าไม่มีใครบอกเนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ทั่วถึงซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากทางองค์กรหรือหน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐในบางพื้นที่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลตรง ส่วนนี้ และขาดความชัดเจนในการปฏิบัติเพราะพบว่าบางพื้นที่ให้พี่น้องได้ ขึ้นทะเบียนใช้สิทธิแต่บางพื้นที่กลับไม่ให้ขึ้น

นางชุติมายังกล่าวอีกว่าจาการลงพื้นที่ยังพบว่ามีการเรียกเก็บค่าหัวคิวในการขึ้นทะเบียนใช้สิทธิจากของกองทุนคืนสิทธิ์ โดยพนักงานของรัฐและผู้นำชุมชนบางพื้นที่โดยจะเรียกเก็บประมาณหัวละ 5 พันซึ่งพบว่ามีทั้งพี่น้องที่มีสิทธ์และไม่ มีสิทธิ์ยอมเสียเงินจำนวนนี้เพื่อแลกกับการได้เข้าถึงบริการด้าน สุขภาพของภาครัฐทั้งที่ข้อเท็จจริงยังมีพี่น้องที่ยังไม่มีสิทธิ ในกองทุนอยู่ซึ่งปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ ดีอย่างยิ่งเป็นเหมือนการหาช่องทางทำมาหากินบนความไม่รู้ของ เพื่อนมนุษย์ ตามจริงแล้วกองทุนดังกล่าวไม่ควรจำกัดเลขบัตรประจำตัวของ พี่น้องในการให้สิทธิเพื่อเข้าถึงการบริการสุขภาพแต่ควรให้สิทธิกับ ทุกคนเพราะอย่างไรทางภาครัฐก็มีข้อมูลของพี่น้องเหล่านี้อยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นประเด็นในเรื่องสุขภาพก็ควรจะให้สิทธิอย่างเสมอภาค กัน

“ถ้าภาครัฐจะมีการประชาสัมพันธ์ประเด็นเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น สิ่งที่ดีแต่อยู่ที่ว่าจะมีความเอาใจใส่มากน้อยแค่ไหนเท่านั้น เอง เนื่องจากขณะนี้เวลาในการจดทะเบียนก็มีความกระชั้นชิดเข้ามา ซึ่งถ้ามีความเป็นไปได้ทางภาครัฐจะต้องร่วมมือกับทางประชาชนและ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่เข้ามาร่วมในการประชาสัมพันธ์ ได้เพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐอาจ จะมีอุปสรรคในเรื่องภาษาและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เพราะมีพี่ น้องที่ไม่มีสถานะหลายเผ่าบางครั้งก็สื่อสารเป็นภาษาคำเมืองและ ภาษาไทยไม่ได้เลยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีอาสาเป็นพี่น้องชนเผ่าโดยตรงเพื่อง่ายในการสื่อสารข้อมูลเพื่อความถูกต้องและชัดเจน” นายกสมาคม IMPECT กล่าว

ด้านนายศักดา แสนมี่ประธานกรรมการเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง กล่าวว่า การมาร่วมในการหารือในวันนี้เป็น การร่วมในการทำความเข้าใจเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องกองทุนที่เกิด ขึ้นเพราะเนื่องจากการปฏิบัติในส่วนของภาคประชาชนในทางปฏิบัติตาม มติของคณะรัฐมนตรีนั้นยังมีหลายภาคส่วนยังไม่เข้าใจ ซึ่งตัวแทนที่มาร่วมการประชุมก็เป็นบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับ การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลซึ่งมาช่วยกันแสดงความคิดเห็นร่วมกัน   โดย ตนก็ต้องเข้าร่วมเวทีเพื่อเรียนรู้การทำงานรวมถึงแนวทางในการแก้ ปัญหาจากคนทำงานที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมาได้ถูกเสนอ ให้เป็นคณะกรรมการในภาคส่วนต่างๆและคาดหวังว่าจะได้นำแนวทางไปใช้ ในการปฏิบัติงานต่อไป  สำหรับประเด็นในการประชาสัมพันธ์ เรื่องกองทุนคืนสิทธิซึ่งภาครัฐมอบหมายให้ในส่วนสาธารณะสุขอำเภอ ทำประชาสัมพันธ์ข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งอยากจะให้มีการทำงานร่วมกันกับ ประชาชนโดยอาจจะใช้ช่องทางสื่อสารจากพี่น้องชนเผ่าที่มีสื่อเป็น วิทยุชุมชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน ซึ่งถ้ามองเรื่องกลไกหลักการดำเนินงานของภาครัฐก็ดูดีในการให้ สิทธิเรื่องสุขภาพแก่ผู้มีปัญหาสถานะแต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยเชื่อ ว่าจะไหลลื่นไปได้

ด้านนางวนิจชญา กันทะยวง สมาชิกกลุ่มดอยหมอกเพื่อการพัฒนา ต.แม่เงา อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในส่วนของแม่ฮ่องสอนมีการลงพื้นที่ใน  7 อำเภอ ซึ่งพบว่าชาวบ้านไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องกองทุนการให้สิทธิเหล่านี้ ซึ่งถ้ามีการประชาสัมพันธ์โดยผ่านเจ้า หน้าที่โรงพยาบาลเองก็ไม่สามารถเข้าถึง ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดเวทีเรื่องประเด็น การเข้าถึงสุขภาพในพื้นที่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ผู้นำชุมชนรวมถึงประชนก็ไม่เข้าใจและไม่รู้เรื่องสิทธิดังกล่าว และในส่วนของโรงพยาบาลในพื้นที่เองก็มีการเข้าไปทำความเข้าใจกันนาน พอสมควรกว่าที่จะมีความเข้าใจที่ตรงกันได้แต่อย่างไรก็ถือว่าเป็น การสร้างความเข้าใจกันมากขึ้นจากการพูดคุยกับภาคส่วนต่างๆอีกด้วย

อย่างไรก็ตามในเวทีได้มีการรวบรวมสถานการณ์ในพื้นที่ได้โดยแยกเป็นประเด็นปัญหาคือ 1.กลุ่มผู้รับบริการซึ่งจะมีปัญหา คือจะเข้าไม่ถึงข้อมูลคนและไม่รู้ข้อมูลกองทุนฯ ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนน้อยเกินไป สถานที่และหน่วยงานขึ้นทะเบียนและรับบริการรวมถึงปัญหาการสื่อสาร 2.ผู้ให้บริการ จะพบปัญหาคือ ข้อมูลเรื่องกองทุนฯไม่ชัดเจน  การประชาสัมพันธ์ข้อมูลไม่ครอบคลุม  เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติไม่เข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์ใช้บริการ หนังสือคำสั่งไม่ชัดเจนทำให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติไม่ปฏิบัติงานและไม่มีเอกสารแนบท้ายเพื่ออธิบายคำสั่ง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติปฏิเสธจะดำเนินการ

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการให้ข้อเสนอและแนวทางแก้ไขดังต่อไป นี้  1.ควรมีเวทีสร้างความเข้าใจเรื่องการคืนสิทธิ์ในพื้นที่ รวมถึงอาสาสมัครหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย 2.ให้มีคณะทำงานในการติดตามงานในระดับพื้นที่เป็นตัวบุคคลรวมถึงให้คณะกรรมการกลางแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งเป็นคณะทำงานร่วมในระดับภาคและจังหวัดเพื่อไปหนุนเสริมการทำงานปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ หรือใช้กลไกอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพระดับเขตและจังหวัดที่มีอยู่โดยให้คำนึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีสิทธิ์

3.สร้างช่องทางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร เช่นใน เว็ปไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข เว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช )เพื่อที่เป็นการสร้างพื้นที่เพิ่มในการสื่อสารข้อมูลความคืบหน้า ในการดำเนินงาน 4.ให้สามารถขึ้นทะเบียนหลักประกันคืนสิทธิได้ที่โรงพยาบาลและอนามัยสำหรับพื้นที่ที่ต้องไปขึ้นไปทะเบียนจังหวัด เช่น พะเยา ลำปาง น่าน โดยจะต้องมีการประสานงานในส่วนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net