อนาคตประชาธิปไตยทางตรงกับวุฒิภาวะของสังคมไทย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

หลังจากรัฐบาลได้สลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)กลางเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมาพร้อมกับประเทศไทยได้สถาปณากลุ่มอำนาจใหม่ขึ้นมาทันทีประกอบด้วย กลุ่มนายเนวิน  ชิดชอบ กลุ่มนายประวิตร วงษ์สุวรรณ และกลุ่มนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรคประชาธิปัตย์  และการขอคืนพื้นที่ของ ศอฉ.หรือสลายการชุมนุมที่ผ่านมา  คนในสังคมต่างร้องเป็นเสียงเดี่ยวคือรัฐบาลมีความชอบธรรมที่จะสลายการชุมนุม เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมใช้ความรุ่นแรง  มีอาวุธสงคราม  บ้าคลั่ง ปล้น เผาเมือง  ฯลฯ เราจึงเห็นข้อเสนอให้รัฐบาลสลายการชุมนุมด้วยวิธีการต่างๆเสมือนว่า ผู้ชุมนุมไม่ใช่คน แม้แต่การเสนอให้ ฆ่ามัน ยังคงมี ในสังคมไทย

แต่สิ่งที่คนในสังคมได้สถาปนาขึ้นอย่างเงียบๆนั้นคือความเกลียดชัง และมันจะบ่มเพราะเป็นความเคยชินต่อไปและวิธีการแก้ปัญหาโดยใช่ความรุนแรงหรือฆ่ามัน จะเป็นวิธีการที่แสนธรรมดากับฝ่ายตรงข้ามตน  ถ้าเรามองให้เห็นที่มาของการชุมนุมครั้งนี้แน่นอนการเข้าร่วม อาจจะมีเหตุผลที่มาแตกต่างกันหลากหลาย  สิ่งที่เป็นเรื่องหลักคือความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากร ,การขาดโอกาสในการบริการของภาครัฐ,หรือเข้าไม่ถึงการพัฒนานั้นเอง และสังคมไทยโดยเฉพาะชนชั้นกลางต้องแยกแยะให้ชัดว่าใครคือผู้ชุมนุมที่เดือดร้อนจากปัญหาการพัฒนา ดังนั้น  ถ้าเราไม่แยกแยะ เหมารวม หรือไม่เข้าใจที่มาของปัญหาหรือมีทัศนะคติด้านลบต่อการชุมนุมเสียแล้ว ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจะไม่ได้รับการแก้ไขช่องว่างของคนในสังคมจะถางขึ้น ดังนั้นความเข้าใจต่อปัญหาการชุมนุมจึงเป็นวาระหลักของคนในสังคมไทยที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน

ในขณะที่รัฐเอง (กลุ่มอำนาจใหม่) ฉวยโอกาสที่จะเล่นงานฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองทันที่นั้นคือการเสนอ พรบ.ชุมนุมสาธารณะเข้า ครม.เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา  การเสนอ พรบ.ฉบับ ดังกล่าว อาจจะสะใจหรือได้รับแรงสนับสนุนกลุ่มคนที่เบื่อม็อบหรือเรียกร้องหากติกาการชุมนุมแต่โดยเนื้อหาแล้วเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ส่วนของชาวบ้านที่ต้องใช้สิทธิการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมมันคือการมัดมือชก  เพราะการเรียกร้อง คัดค้านโครงการพัฒนาฯ ที่ผ่านระบบตัวแทน ส.ส.หรือข้าราชการ ปัญหามักจะไม่ได้รับการแก้ไข จนทำให้กลุ่มชาวบ้านต้องออกมาเดินขบวนชุมนุมประท้วง ปิดถนน หรือเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ เพื่อกดดันรัฐบาล 

กระแสการปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้ คงไม่ใช่การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อนำไปสู่การจัดความสัมพันธ์ทางการเมืองของคนชั้นนำที่รวมหัวกับนายทุน ปล้นทรัพยากรจากชุมชนเพื่อตอบสนองความร่ำรวย แต่ปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาต้องเป็นวาระหลักในการปฏิรูปครั้งนี้อันจะส่งผลให้สังคมไทยมีความสุขสงบในระยะยาวต่อไป.

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท