Skip to main content
sharethis

 

มีรายงานภาวะตลาดหุ้นไทยเมื่อวัน ที่ 8 เมษายนว่า ดัชนีปรับลดลงแรงตลอดวัน จากความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นหลังรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และปรับลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยดัชนีเปิดตลาดที่ระดับ 809.62 จุด ลดลง 3.01 จุด ระหว่างวันปรับลดลงต่ำสุดที่ระ ดับ 780.70 จุด ลดลง 31.93 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 783.93 จุด ลดลง 28.70 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 40,241.66 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,853.96 ล้านบาท บัญชีบล.ขายสุทธิ 180.66 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 5,437.35 ล้านบาทและนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,402.73 ล้านบาท ซึ่งขายเป็นวันแรกนับจากซื้อต่อ เนื่องมาตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย)ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงแรง เพราะนักลงทุนเกิดความกังวลว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประกอบกับใกล้ช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์อาจส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนลดพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง(อ่านรายละเอียดน.18)

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นใน เดือนมีนาคม 2553 ปรับลดลงทุกรายการ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 5 เดือน เพราะวิตกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ที่แย่ลง จากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือ ง การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง รวมถึงราคาน้ำมันและภาวะค่าครองชีพและราคาสินค้ายังสูงในสายตาผู้บริโภค และวิตกต่อการชะลอการลงทุนในโครงการ มาบตาพุด ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยว กับเศรษฐกิจโดยรวม ความเชื่อมั่นโอกาสหางานทำ ความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคต ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุ บัน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอ นาคต ลดลง

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจภาวการณ์ใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนมีนาคม ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 11 เดือน โดยประชาชนยังเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะซื้อรถยนต์คันใหม่ บ้านใหม่ ท่องเที่ยว และลงทุนทำธุรกิจเอสเอ็มอี ผลสำรวจภาวะทางสังคมในแง่ของดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตและวิตกต่อปัญหาการเมืองมากขึ้น ดัชนีจึงลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รวมถึงยังวิตกต่อปัญหาค่าครองชีพ และปัญหายาเสพติดสูง ทำให้ดัชนีทุกรายการต่ำกว่าระดับ 100 ครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

"ทั้งนี้ ผลสำรวจยังไม่รวมการประกาศใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลทางจิตวิทยาความเชื่อ มั่นที่แย่ลงอีก หากการเมืองไม่สามารถคลี่คลายได้ภายในปลายเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคมนี้ จะทำให้ความเชื่อมั่นเดือนเมษายน นี้ตกลงเร็วและแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะลดลงต่ำกว่า 4-5% อาจเหลือแค่ 3.4% " นายธนวรรธน์กล่าวและว่า ระหว่างใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะทำให้นักท่องเที่ยวที่เดิมประเมินว่าจะลดลง 20% สูญเสียกว่า 40,000 ล้านบาท ในช่วงเกิดการชุมนุม 1 เดือน ก็อาจทำนักท่องเที่ยวลดลงเพิ่มอีก 10% หรือรวมลดลง 30% และสูญเสียเพิ่มอีก 4,000 ล้านบาท

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทยกล่าวว่า เอกชนเห็นด้วยกับการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากยุติความวุ่นวายได้ และควรเร่งการเปิดเจรจาและหาข้อ ยุติเรื่องการยุบสภา เมื่อเจรจาเสร็จก็ยกเลิกภาวะฉุกเฉินทันที เพราะภาพความรุนแรงทำให้ประเทศไทยถูกมองไม่ปลอดภัย เมื่อเช้าวันที่ 8 เมษายน ผู้เข้าร่วมประชุมสหพันธ์สิ่งทอ อาเซียน 10 ประเทศ กังวลที่จะมาประชุมในไทยวันที่ 19 เมษายนนี้ จึงย้ายการประชุมไปที่ประเทศอินโดนีเซีย แทน หากการชุมนุมยังไม่คลี่คลายอาจกระทบ ต่อการประชุมสหพันธ์สิ่ง ทออาเซียนกับประเทศผู้ซื้อ ทั่วโลกที่กำหนดจัดประชุมเดือน มิถุนายนนี้

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า หากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองยืดเยื้อไม่ว่าจะ 1 เดือนที่มีการประเมินเสียหายต่อ เศรษฐกิจ 21,000-38,000 ล้านบาท หรือยืดเยื้อ 3 เดือน ที่ประเมินความเสียหาย 70,000 -100,000 ล้านบาท จากยอดขาย การลงทุน และการท่องเที่ยวที่ลดลง ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายต่อธุรกิจขนาดเล็กที่เริ่มประสบปัญหาการเงินและขาดสภาพคล่องแล้ว

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัญหาทางการเมือง อาจเป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลกที่ยังมีความไม่แน่นอนว่า จะมีความต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) วันที่ 21 เมษายนนี้ จะพิจารณาทั้งสองปัจจัยว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ ยนโยบายหรือไม่

นายบัณฑิตกล่าวว่า ที่ธนาคารโลกปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ 6.2% นั้น สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวดี ซึ่งสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจหลายแห่งปรับประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจไทยขึ้นค่อนข้างมากจาก 3% เป็น 6% สะท้อนปัจจัยในประเทศปรับตัวดี ขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าไทยจะบริหารจัดการ ความเสี่ยงจากปัญหาการ เมืองในประเทศได้แค่ไหน" นายบัณฑิตกล่าว

นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจภายในประเทศธปท.กล่าวว่า ธปท.มองภาพไม่ต่างจากธนาคารโลก เนื่องจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจหลายตัว โดยเฉพาะการส่งออกปรับตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ด่วนสรุปว่าจะปรับขึ้นจีดีพีเพิ่มขึ้นระดับใด คงต้องดูปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ให้ชัดก่อน รวมถึงปัญหาทางการเมือง อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นบ้าง แต่เป็นเรื่องระยะสั้น ปัญหาการเมืองทำให้ประเทศชาติ เสียโอกาส เห็นได้จากตัวเลขการลงทุนที่แม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤต เศรษฐกิจ หากไม่มีปัญหาภายในประเทศคงจะ ไปได้ดี

"การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อาจทำให้ธปท.ต้องให้น้ำหนักกับ ปัจจัยการเมืองเพิ่มขึ้น แต่ระบุยากว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นมากน้อยเพียง ใด การเมืองต้องนิ่งก่อน จึงจะประเมินผลกระทบได้ แต่หากยืดเยื้อต่อไป จะเป็นความเสี่ยงต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจ" นายสุชาติกล่าว

รายงานข่าวจากสมาคมประกอบวิสา หกิจย่านราชประสงค์แจ้งว่า มติที่ประชุมของสมาคม ซึ่งมีสมาชิก 10 ราย ประกอบด้วย ห้าง 4 แห่ง คือ ห้างเกษรพลาซ่า ห้างเอราวัณแบงคอก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้าอัมรินทร์ และโรงแรมอีก 6 แห่ง ประกอบด้วย โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทารา โรงแรมโฟร์ซีซั่น โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ โรงแรมเลอเนซอง โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล มีมติร่วมกันเรื่องมาตรการรองรับหการประกาศพ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยให้เพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลความ ปลอดภัยผ่านกล้องวงจรปิดที่ มีจำนวน 65 จุด ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งประสานงานกับตำรวจเพื่อรายงานสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ที่ประชุมของสมาคมมีมติเรื่องการ เปิดและปิดตึกของสมาชิกสมาคม ซึ่งมีตึกบริเวณสี่แยกราชประสงค์ 11 ตึก ให้ขึ้นกับดุลพินิจของสมาชิกแต่ ละรายว่าจะเปิดหรือปิดให้บ ริการ ซึ่งปัจจุบันมีห้างที่เป็นสมา ชิกยังคงปิดให้บริการ แต่มีตึกออฟฟิศ 3 แห่งที่เปิดให้บริการ คือ ออฟฟิศเซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิศเกษรพลาซ่า และออฟฟิศของอัมรินทร์

รายงานข่าวจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้บริหารห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดเผยว่า หลังมีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ห้างปิดดำเนินการ 6 วันแล้ว ส่วนมาตรการรองรับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทางกลุ่มผู้บริหารต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นรายชั่วโมง

รายงานข่าวจากบริษัทรับจัดงานแห่ง หนึ่ง เปิดเผยว่า ผลจากการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ ทำให้การจัดงานหลายงาน เช่น งานอาเซียน กอล์ฟ โชว์ ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับกอล์ฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ต้องงดไป รวมทั้งงานเทศกาลสงกรานต์ที่หน้าเซ็นทรัล เวิลด์ วันที่ 13-15 เมษายน ต้องยกเลิกเช่นกัน

 

ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1270732252&grpid=00&catid=

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net