Skip to main content
sharethis

(19 มี.ค.53) ประชาชนและนักวิชาการกว่า 60 คนนำโดย ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมลงนามในแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยทันที ระบุไม่ใช่มาตรการพิเศษหรือนอกลู่นอกทางไปจากกฎเกณฑ์และแนวทางของอารยประเทศที่ยึดถือหลักการประชาธิปไตย พร้อมทั้งเรียกร้องให้แสดงออกถึงความสำนึกรับผิดชอบในส่วนที่ได้กระทำผิดพลาดไปทั้งทางกายกรรมและวจีกรรมต่อสาธารณชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูฐานให้นำไปสู่การออมชอมและสมานฉันท์กันต่อไปด้วย

 

แถลงการณ์

การชุมนุมที่รู้จักกันในศัพท์ ‘การต่อสู้เรียกร้องของคนเสื้อแดง’ ที่เริ่มมาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ในกรุงเทพมหานครนั้น เป็นอาการที่ปะทุขึ้นของการป่วยไข้ขององคาพยพของสังคมไทย ซึ่งมีสมุฏฐานสั่งสมมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในช่วงระยะสั้นก็โยงได้ถึงการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ได้คำนึงถึงนิติธรรมของบ้านเมืองและจริยธรรมของสังคม ส่วนในระยะยาวนั้นมาสามารถสืบสาวไปได้ถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงนับหลายทศวรรษที่ผ่านมาที่เน้นถึงผลประโยชน์ของผู้คนส่วนข้างน้อยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง โดยไม่เอาใจใส่นักหรือถึงขั้นละเลยต่อผู้คนที่อยู่ในภาคเกษตรและอาศัยอยู่ในชนบท อันเป็นประเด็นที่ได้กล่าวถึงกันทั้งในวงวิชาการและได้รับรู้กันกว้างขวางมาช้านานแล้ว จนส่งผลให้ช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจของบรรดาประชากรในชาติเดียวกันนับวันยิ่งทวีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงยิ่งขึ้น

‘การต่อสู้เรียกร้องของคนเสื้อแดง’ จึงมิใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มาจากการ “ปลุกระดม” หรือเพียงเพราะได้รับแรงจูงใจทางทรัพย์สินเฉพาะหน้า อย่างที่กลุ่มการเมืองบางกลุ่มและสื่อสารมวลชนของบางฝ่ายพยายามให้สาธารณชนเข้าใจไปเช่นนั้น

เมื่อฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจอยู่ประสงค์จะเข้าใจไปเช่นนั้น ข้อเรียกร้องให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายชุมนุมนั้นจึงหาได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแต่อย่างใดไม่ ทั้งๆ ที่เป็นมาตรการที่ไม่ได้พิเศษหรือนอกลู่นอกทางไปจากกฎเกณฑ์และแนวทางของอารยประเทศที่ยึดถือ (หรืออ้างว่ายึดถือ) หลักการประชาธิปไตย ส่วนเหตุผลและข้ออ้างต่างๆ ที่ยกขึ้นมาเพื่อปัดข้อเรียกร้องให้ตกไป เช่น “ไม่เป็นประโยชน์ในระยะยาว” บ้าง “ยิ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าที่เป็นอยู่” บ้าง “ใช้วิธีการข่มขู่ผิดวิสัยสุภาพชน” บ้าง “เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของบุคคลคนเดียว” บ้าง ฯลฯ นั้น ผู้มีวิจารณญาณเบื้องต้นก็สามารถตัดสินได้ว่าไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงทำให้ชวนสงสัยไปได้ว่า มีเหตุผลที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังข้ออ้างดังกล่าว หรืออย่างน้อยก็เป็นเพียงการแก้เกี้ยวเพื่อที่จะดำรงรักษาอำนาจอยู่ต่อไป โดยมิได้คำนึงถึงว่า การกระทำเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อผู้คนส่วนรวมและประเทศชาติอย่างไร

ด้วยข้อพิจารณาข้างต้นผนวกกับความรู้สึกวิตกต่อปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาลที่เป็นไปในทางลบต่อการเรียกร้องของผู้ชุมนุมนั้น บรรดาองค์กรและบุคคลในรายชื่อท้ายนี้ ใคร่ขอแสดงความเห็นและเรียกร้องตามรายการดังต่อไปนี้ คือ

(๑) ยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ชักช้าอีกต่อไป
(๒) แสดงออกถึงความสำนึกรับผิดชอบในส่วนที่ได้กระทำผิดพลาดไปทั้งทางกายกรรมและวจีกรรมต่อสาธารณชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูฐานให้นำไปสู่การออมชอมและสมานฉันท์กันต่อไป

องค์กรและบุคคลร่วมลงนาม
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
กานต์ ทัศนภักดิ์
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชษฐาพวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภิภัทร์ภรณ์ ทองศรี พนักงานบริษัทเอกชน
กิตติกร นาคทอง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประภัสสร สายเพ็ชร นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณิต กำลังทวี ประชาชน
สายทิพย์ ขุนอินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
อัจฉริยา เนตรเชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
อดิศร เกิดมงคล
สุรพล สงฆ์รักษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)
สุธรรม ปัญญาวัฒน์ แนวร่วมสังคมประชาธิปไตยภาคใต้
จริยา กิจวิถี แนวร่วมสังคมประชาธิปไตยภาคใต้
ชาตวิทย์ มงคลแสน ผอ.สถาบันอีสานภิวัตน์/นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
กสิณา สริจันทร์ โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
ว่าที่ร้อยเอก ภาดร ผลาพิบูลย์ เลขาธิการสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
ประหยัด เสนวิรัช นายกสมาคมรัฐธรรมเพื่อสังคม
ชาญณรงค์ ไชยสิทธิ์ นักธุรกิจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุภาพร นิภานนท์ อดีตรองหัวหน้าพรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2541
สุคนธ์วิชญ์ นิภานนท์ อดีตสมาชิกพรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2541-2544
ชีวารัตน์ ดีวาจา อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาเกษตรกร มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2545/กรรมการบริหารสนนท. 2544-2545
วัฒนา สุขวัจน์ (รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร) นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์อิสระ
วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
จุมพล สังขะเกตุ
นัยนา สังขะเกตุ
กิตินันท์ สังขะเกตุ
ภูษิต สังขะเกตุ
คมคาย สังขะเกตุ
จีรชาติ สังขะเกตุ
ไกรเศรษฐ สังขะเกตุ
สมชาย สังขะเกตุ
ภัทรา ยังโควิช
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มธ.
สมัชชาสังคมก้าวหน้า (social move assembly)
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักศึกษาปริญญาโท School of Public Policy, University College London
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
จุฑิมาศ สุกใส ประชาชน
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นักวิชาการอิสระ
ธีรพจน์ ศิริจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ.
พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรยุทธ ศรีวรกุล (ในนามส่วนตัว)
เนตรดาว เถาถวิล
บัวพันธ์ พรหมพักพิง คณะมุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.
คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บุญยืน สุขใหม่ กรรมกรเต็มขั้น
ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
วสันต์ ลิมป์เฉลิม
กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาคปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
ไพโรจน์ นิมิบุตร ประธานชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
สมศักดิ์ ภักดิเดช ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
วิริยะ สว่างโชติ คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยกัลกัตตา
เกียรติศักดิ์ ประทาน้ง นักเขียนและนักแปลอิสระ
จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ไพลิน ปิ่นสำอางค์
ธนาวิ โชติประดิษฐ์ ประชาชน
ไอดา อรุณวงศ์

อติเทพ ไชยสิทธิ์ (ราษฎร)
ธรัญญา สัตตบุศย์ (ราษฎร)
สุรัช คมพจน์
สุลักษณ์ หลำอุบล ประชาชน
ศรัทธา หุ่นพยนต์
พัชรี แซ่เอี้ยว
ปรัชญา สุรกำจรโรจน์

รายชื่อเพิ่มเติม 20 มี.ค. 53

สงวน จุงสกุล
สิริลักษณ์​ ศรีประสิทธิ์
เอกรินทร์ ต่วนศิริ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net