Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

การเคลื่อนไหวของ  “คนเสื้อแดง” และ “สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)” เพื่อคัดค้านรัฐประหาร

นับเป็นคุณูปการที่สำคัญยิ่งต่อ ประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย  เนื่องเพราะไม่มีครั้งใดที่องค์กรประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะมีการเตรียมการคัดค้านการก่อการรัฐประหารได้เหมือนครั้งนี้
 
และคงไม่ต้องกล่าวกันมากนักว่าการรัฐประหารขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยกันอย่างไร เพราะเป็นที่รู้ๆกันอยู่ในยุคที่่ประชาชนตาสว่างกันแล้ว  หากจะมีก็แต่ผู้นิยมอำมาตยาธิปไตย พวกได้ประโยชน์จากการรัฐประหารเช่นกลุ่มทุนอนุรักษ์นิยม ปัญญาชนที่มืดบอดทางปัญญา เกลียดทักษิณเข้ากระดูกดำประโยชน์จากการบิดเบือนทางวิชาการเฉกเช่น อธิการ”บ่”ดี ม.ธรรมศาสตร์และคณะเท่านั้นที่ยังเป็นสิ่งมีชีวิตในโลกดึกดำบรรพ์ยอมเป็นข้าทาสหามเสลี่ยงให้กับผู้ปกครองที่มาจากการรัฐประหารอยู่
 
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย ระหว่างฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ที่นับว่าเป็นเวลายาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคสมัยปัจจุบันและมีแนวโน้มหมิ่นเหม่ที่จะนำสู่ความรุนแรงในสังคมไทยได้
 
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นั้น  วิญญูชนทั้งหลาย ควรกดดันให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพัฒนาระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา เพื่อยกระดับการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ต้องยืนยันหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ แทนราษฎรว่าเป็นหัวใจของประชาธิปไตย
 
แม้ว่าระบบการเลือกตั้งอาจไม่เท่า กับประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ แต่ก็มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน มีวาระการเลือกตั้งที่แน่นอนต่อผู้ปกครองผู้บริหารประเทศและต้องร่วม กันคิดค้นกระบวนการต่างๆที่ทำให้ประชาธิปไตยในสังคมไทยพัฒนาขึ้นไม่ใช่กลับไปสู่เส้นทางรัฐประหาร ปล่อยให้อำมาตยาธิปไตยครองเมืองอย่างที่เห็นและเป็นอยู่
 
และท่ามกลางการขับเคลื่อนใน ประเด็น แก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ 50 จะแก้ทั้งฉบับหรือบางมาตรา ที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคแต่ละส่วนมีข้อเสนอแตกต่างขัดแย้งกัน อยู่นั้น ก็ควรให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเข้ามีส่วนร่วมตัดสินใจ  โดยการผลักดัน ให้พรรคการเมืองต่างๆ ในช่วงสถานการณ์การเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น หลังมีการยุบสภานั้น ควรชูธงแสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่? ว่าจะแก้ไม่แก้ไขอย่างไร? มีกระบวนการมีส่วนร่วมเหมือนรัฐธรรมนูญปี 40 ไหม...? เพื่อเป็นนโยบายหาเสียงที่สำคัญเพื่อ ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยพิจารณาเลือก และประชาชนกลุ่ม สาขาอาชีพต่างๆ ก็ควรจัดตั้งตนเอง มีข้อเสนอต่อพรรคการเมืองต่างๆเพื่อให้ประชาธิปไตย พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีหลักการเพื่อลดทอนอำนาจนอกระบบเพิ่มอำนาจ ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ และให้ประชาชนทุกคน ทุกฝ่ายการเมือง ต้องยอมรับผลการเลือกตั้งที่ยุติธรรม เพื่อยอมรับกติกาประชาธิปไตยในสังคมไทย
 
ดังนั้น จึงต้องคัดค้านการรัฐประหาร ผลักดันให้รัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในประเด็นรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net