Skip to main content
sharethis

วันนี้ (28 ต.ค.) เวลา 2.30 น. กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการท่อก๊าซธรรมชาติเฉว่ (Shwe Gas Movement : DGM ) ร่วมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคเหนือ กลุ่มเพื่อนพม่า และเครือข่ายภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวในประเด็นพม่า ราว 10 คน ได้รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ นายหู จิ่น เทา ประธานาธิบดีจีน เพื่อให้มีการชะลอโครงการวางท่อขนส่งก๊าซและน้ำมันจากฐานขุดเจาะเฉว่ ในรัฐอาระกัน (ยะไข่) ที่ดำเนินการโดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างของจีน คือ บริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีน (China National Petroleum Company: CNPC) เพื่อส่งก๊าซจากพม่าไปที่มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านทางสถานทูตจีน ในจังหวัดเชียงใหม่
 


บรรยากาศหน้าสถานทูตจีน จ.เชียงใหม่
 

กลุ่มผู้เรียกร้องในครั้งนี้ให้เหตุผลว่า โครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับหลายพันชุมชนที่อาศัยอยู่ในแนวท่อก๊าซที่ยาวกว่า 980 กิโลเมตร ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการยึดที่ดินทำกิน การบังคับใช้แรงงาน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีท่อก๊าซจากฐานขุดเจาะยาดานาซึ่งเป็นการพัฒนารวมระหว่างประเทศฝรั่งเศสและยูโนแคลคอร์ปอเรชั่นของสหรัฐอเมริกา อีกทั้งในพื้นที่นี้ยังเป็นพื้นที่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่มแนวร่วมกองทัพประชาธิปไตยแห่งชาติโกก้าง (Kokang Myanmar National Democratic Alliance Army / MNDAA) โดยในส่วนรัฐบาลจีนมีอำนาจที่จะระงับโครงการนี้ และถือเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดขึ้น

สำหรับจดหมายถึงประธานาธิบดีจีน ระบุข้อเรียกร้องให้รัฐบาลจีนปกป้องมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากภัยของการวางท่อก๊าซในพม่า 3 ประการ ด้วยวิธี 1.ระงับโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันดังกล่าวชั่วคราว จนกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเบาบางลง 2.ให้หลักประกันว่าบริษัทจากจีนจะดำเนินโครงการในต่างประเทศโดยยึดกฎหมายจีนเท่าๆ กับยึดกฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิบัติตามนโยบายที่จีนและบริษัทจีนยึดถือ 3.ปฏิบัติตามความพยายามของประธานาธิบดีหู จิ่น เทา ก่อนหน้านี้ ที่ต้องการให้มีการเจรจาสามฝ่ายในพม่า อันเป็นหนทางของการปรองดองในชาติ การพัฒนา ประชาธิปไตย และรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค

อนึ่ง จดหมายดังกล่าวมีการลงนามจากองค์กรประชาสังคมและฝ่ายการเมืองจาก 20 ประเทศ กว่า 115 องค์กร และในวันเดียวกันได้มีการนัดหมายกันเพื่อส่งจดหมายนี้ในแก่ผู้นำจีน ผ่านทางสถานทูตในประเทศไทย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

ทั้งนี้ มีการประมาณการณ์ว่า โครงการท่อแก๊ส-น้ำมันนี้จะทำให้พม่ามีรายได้อย่างต่ำ 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.015 ล้านล้านบาทใน 30 ปีข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกันผลกระทบของโครงการนี้ก็ได้เริ่มต้นแล้ว หลังจากที่มีกำหนดให้ดำเนินการตั้งแต่เมื่อกันยายนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลพม่าได้ห้ามไม่ให้ชาวบ้านทำการประมงในพื้นที่ขุดเจาะนอกชายฝั่ง ตลอดจนมีการเวรคืนที่ดินในพื้นที่ที่จะมีการวางแนวท่อก๊าซในรัฐอาระกัน และเพิ่มกำลังทหารมากขึ้นตลอดแนวท่อส่งก๊าซโครงการดังกล่าว
 


นายวง อ่อง (Wong Aung) ผู้ประสานงานสากลจากกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการท่อก๊าซธรรมชาติเฉว่ อ่านข้อเรียกร้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันที่บริเวณหน้าสถานทูตจีน และชูป้ายแสดงการคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและตำรวจสันติบาลคอยเฝ้าสังเกตการณ์อย่างแน่นหนา จากนั้นเจ้าหน้าที่สถานทูตจีนได้มารับจดหมายโดยไม่ยอมให้สัมภาษณ์และไม่ยอมบอกชื่อแก่สื่อมวลชนที่ไปทำข่าว ทั้งนี้ มีการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยถึงกลุ่มผู้ชุมนุมก่อนหน้านี้ว่าไม่ควรยื่นจดหมายเกิน 10 คน โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกับรัฐบาลพม่าว่าจะดูแลการใช้พื้นที่ประเทศไทยเพื่อการเรียกร้องในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับประเทศพม่า
 


ยื่นหนังสือแก่เจ้าหน้าที่ของสถานทูต
 

ด้านเยาวชนพม่าที่เข้าสังเกตุการณ์การเคลื่นไหวในวันนี้ กล่าวยอมรับว่าเครือข่ายคนพม่าที่เคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพม่าในประเทศไทย ค่อนข้างมีข้อจำกัดในการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เนื่องจากองค์กรที่มาเคลื่อนไหวในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจดทะเบียน ส่วนการเคลื่อนไหวในประเทศพม่าก็ทำได้ยากเพราะถูกปราบปรามโดยรัฐบาล และรัฐบาลพม่ายังได้ส่งคนเข้ามาแทรกแซงในองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเพื่อกดดันให้เจ้าหน้าตำรวจดำเนินการจับกุมกลุ่มผู้ที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า

นอกจากนี้ เหตุการณ์ล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ มีเจ้าหน้าที่ทำการบุกเข้าจับกุมนักกิจกรรมชาวพม่าจำนวนหนึ่งถึงสำนักงาน แม้ต่อมาจะได้รับการประสานงานให้มีการปล่อยตัว แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้สร้างหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในหมู่คนทำงานในเรื่องสวัสดิภาพ และความปลอดภัย

เขากล่าวด้วยว่าประเทศไทยในฐานะประเทศที่เปิดให้ประชาชนมีเสรีภาพ มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางการเมืองค่อนข้างมาก และไทยกับพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพม่าย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นปัญหาเฉพาะในพม่า อีกทั้งยังเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน จุดนี้จึงน่าจะเป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นร่วมกัน

อีกทั้งในส่วนประเทศไทยเองก็มีความพยามยามเข้าไปลงทุนในพม่าเป็นเม็ดเงินปีละหลายร้อยล้านบาท เมื่อในพม่าไม่มีความสงบ ประชาชนไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุน อีกทั้งการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของนักลงทุนไทยบางโครงการก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนพม่าอันนำมาสู่ปัญหาผู้อพยพเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เยาวชนพม่าได้กล่าวว่า โดยส่วนตัวการออกมาเคลื่อนไหวนั้นไม่ว่าการเมืองภายในประเทศพม่าจะสงบหรือไม่ เขาขอให้มีการคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชน โดยโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆ ที่ลงไปในพื้นที่ควรเป็นโครงการที่ยังยืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ให้พวกเขาสามารถปกป้องวิถีชีวิต วัฒนธรรมของตนเองได้ การเคลื่อนไหวไม่ใช่แค่ทางการเมือง แต่เพื่อความยั่งยืนของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
 


เส้นทางวางท่อส่งก๊าซจากมหาสมุทรอินเดียด้านรัฐอาระกัน สหภาพพม่า ผ่านพื้นที่ตอนกลางของพม่าเพื่อเข้าสู่มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนระยะทางกว่า 2,380 กิโลเมตร (ที่มาของภาพ: Arakan Oil Watch)

ทั้งนี้ โครงการสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเฉว่ มีการสำรวจพบแหล่งก๊าซอยู่ใต้ทะเลบริเวณรัฐอาระกัน (ยะไข่) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ใกล้กับชายฝั่งทะเลบังคลาเทศและอินเดีย ได้รับการสำรวจครั้งแรกโดยบริษัทแดวูอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2543 หลังจากนั้นจึงเริ่มมีบริษัทอื่นเข้ามาร่วมสำรวจ จนถึงปี 2548 มีบริษัทจากเกาหลีใต้ อินเดีย จีน และสิงคโปร์เข้ามามีส่วนแบ่งในการสัมปทานแหล่งก๊าซเหล่านี้ ส่วนประเทศที่ได้รับการลงนามซื้อขายก๊าซเพิ่งมีประเทศจีนเพียงประเทศเดียว

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้รับก๊าซธรรมชาติจำนวนหนึ่งพันล้านคิวบิคฟุตต่อวันจากประเทศพม่า และเป็นประเทศที่มีการลงทุนใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในพม่าตามหลังสิงคโปร์ และอังกฤษ โดยไทยได้รับก๊าซจากแหล่งยาดานา และเยตากุนในรัฐมอญ

 

หมายเหตุ: Shwe Gas Movement คือการร่วมมือกันขององค์กรจากพม่าที่อยู่ในประเทศไทย อินเดีย บังกลาเทศและพม่า ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.shwe.org
 

 
October 28, 2009
 
President Hu Jintao
People’s Republic of China
Zhongnanhai, Xichengqu, Beijing City
People’s Republic of China
 
Dear President Hu,
 
We, the Shwe Gas Movement from Burma and organizations listed below, are writing to express our grave concerns of China’s planned construction of natural gas and oil pipelines from western Burma to the Yunnan Province of China. The project will pose serious risks both to the people of Burma and regional security as well as financial and image risks to China. Therefore we are calling for the project to be suspended unless these risks can be mitigated.
 
The China National Petroleum Corporation (CNPC) holds a 50.9% stake in partnership with the Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) in dual oil and gas pipelines planned from western Burma’s Arakan State to China’s Yunnan Province. CNPC will also manage the projects, which will cut directly though central Burma and affect thousands of communities. Construction on the pipelines was set to begin in September 2009.
 
We understand and support the fact that China has increasing energy needs in order to support the
development of your country and its people. However, we believe that in order to nurture a relationship based on regional stability and development that will benefit the people of the two countries, urgent measures are required.
 
We are gravely concerned for the thousands communities living along the planned 980 km pipeline corridor. Based on experiences in Burma, partnerships with the MOGE on infra-structure development projects invariably leads to forced displacement, forced labour and loss of livelihoods. The escalation of abuses around a project when Burma army soldiers provide security is well documented by UN agencies and NGOs.
 
In the 1990s, the Yadana gas project was developed by TOTAL of France and UNOCAL Corporation of the United States of America. The project directly resulted in forced labour, land confiscation, displacement, rape, and killings. TOTAL and UNOCAL were subsequently sued in French and US courts, respectively, for what amounted to their involvement in the human rights abuses, and each case was settled out of court. These same questions of complicity, aiding and abetting, and otherwise exacerbating the human rights situation in Burma are raised again by the Trans-Burma pipeline project and directed at CNPC under your government’s policy and administration.
 
There are already reports of human rights violations in Arakan state connected to the project’s exploration phase, including arrests and beatings of fishermen, and abuses will escalate as the project progresses.
 
Conflicts have already surfaced in Burma, in response to oil and gas exploration by a Chinese corporation in partnership with Burma’s MOGE. The China National Offshore Oil Corporation (CNOOC) Ltd conducted explorations in western Burma’s onshore block M between 2005-2007, which led to land confiscation, environmental degradation and loss of livelihoods. The local community were neither consulted nor informed of the project. Following two years of abuse in relation to the project, members of the local community destroyed the local CNOOC camp in Yenantaung village in Kyauk Phyu Township, Arakan State. Burma’s regime has repeatedly proven that is incapable of creating a situation on the ground in which the peoples’ basic rights are protected and stability is ensured.
 
The 2007 uprising in Burma was ignited by sudden massive increases in fuel prices, which made peoples’ living costs so high that they responded by public protests and global attention to the subsequent crackdown by the Burma Army.
 
This oil and gas pipeline project would, if it goes ahead, create a conjuncture in which on one hand Chinese corporations and the partnering Burma army operating on the ground will be responsible for rights abuses and uprooting livelihoods and on the other hand exporting vast amounts of oil and gas to China while the electricity consumption per capita in Burma is less than 5% of the Chinese people. This is a dangerous combination which could further fuel serious conflicts and anti-Chinese sentiment in Burma.
 
The recent attacks by the Burma army on the ethnic Chinese Kokang are predicted to further destabilize the country, and areas affecting the pipeline construction. The regime is through its mismanagement, the main destabilizing factor in Burma.
 
We welcome China’s efforts in supporting the UN to facilitate tri-partite negotiations in Burma for sustainable national reconciliation, development and democracy. We also believe that this is the sustainable path for Burma to become a stable neighbour and partner in future cooperation.
 
We therefore urge you to take pro-active measures in the case of Burma and this pipeline project, to prevent a human and environmental disaster from taking place, by:
 
1. suspending the construction of the natural gas and oil pipelines until these impending risks can be
mitigated;
2. ensuring that Chinese corporations operating overseas follow Chinese laws as well as international laws and guidelines to which China or its corporations are signatories;
3. following through on your earlier efforts to realize substantive tri-partite negotiations in Burma as a
sustainable path to national reconciliation, development, democracy promoting regional stability.
 
We thank you in advance for your attention on this urgent matter, and we warmly welcome a response from your administration.
 
Yours sincerely,
 
Shwe Gas Movement
 
All Arakan Students’ and Youths’ Congress,
Arakan Oil Watch,
SGM India
SGM Bangladesh
 
Forum for Democracy Burma (FDB)
 
•All Burma Federation of Student Unions (Foreign Affair Committee) (ABFSU -FAC)
•All Burma Students' Democratic Front (ABSDF)
•Burmese Women's Union (BWU)
•Democratic Party for a New Society (DPNS)
•Network for Democracy and Development (NDD)
•People's Defence Force (PDF)
•Yaung Chi Oo Workers Association (YCOWA)
Ethnic Nationalities Council ( ENC)
National Council of the Union of Burma (NCUB-Burma Office – Europe)
  
Women League for Burma (WLB)
 
Burmese Women’s Union (BWU)
Kachin Women’s Association-Thailand (KWAT)
Karen Women Organization (KWO)
Karenni National Women’s Organization (KNOW)
Kuki Women’s Human Rights Organization (KWHRO)
Lahu Women’s Organization (LWO)
 
Palaung Women’s Organization (PWO)
Pa-O Women’s Union (PWU)
Rakhaing Women’s Union (RWU)
Shan Women’s Action Network (SWAN)
Tavoy Women’s Union (TWU)
Women’s Rights and Welfare Association of Burma (WRWAB)
Women’s League of Chinland
 
Student and Youth Congress of Burma(SYCB)
 
All Arakan Students’ and Youths’ Congress (AASYC)
All Burma Students’ Democratic Front (ABSDF)
All Burma Students League (ABSL)
All Kachin Student and Youth Union (AKSYU)
Arakan League for Democracy – (ALD-Youth Wing Exile)
Democratic Party for a New Society – Youth (DPNS-Youth)
Karen Youth Organization (KYO)
Kayan New Generation Youth (KNGY)
Kuki Students Democratic Font (KSDF)
Mon Youth Progressive Organization (MYPO)
National League for Democracy -Liberated Area, Youth (NLD-LA, Youth)
Naga National League for Democracy – Youth (NNLD –Youth)
Pa-O Youth Organization (PYO)
Tavoyan Youth Organization (TYO)
Ta’ang Students and Youth Organization (TSYO)
Zomi Students and Youth Organiztion (ZSYO)
 
Nationalities Youth Forum (NY Forum)
 
•All Arakan Student and Youth Congress (AASYC)
•All Kachin Student and Youth Union (AKSYU)
•Kayan New Generation Youths (KNGY)
•Ta’ang Students and Youth Organization (TSYO)
•Pa-O Youth Organization (PYO)
•Karen Youth Organization (KYO)
•Karenni Students Union (KSU)
•Chin Students Union (CSU)
•Karenni National Youth Organization (KNYO)
•Arakan Youth Network Group (AYNG)
•Mon Unity League (MUL)
•United Lahu Youth Organization (ULYO)
Burma Rivers Network (BRN)
 
All Arakan Students' and Youths' Congress (AASYC) Kachin Development Networking Group (KDNG)
Karenni Development Research Group (KDRG)
Karen Rivers Watch (KRW)
 
Kuki Student Democratic Front (KSDF)
 
Kayan Youth Network Group (KYNG)
Lahu National Development Organization (LNDO)
  
Mon Youth Progressive Organization (MYPO)
  
Shan Sapawa Environmental Organization (SAPAWA) Ta-ang Students and Youths Organisation (TSYO)
The Network for Education and Empowerment Development( NEED)
 
Ethnic Community Development Forum
 
Kachin Development Networking Group
 
Karen Office of Relief and Development
 
Karenni Social Welfare and Development Centre
 
Network for Chin Community Development
All Arakan Students' and Youths' Congress
 
Shan Relief and Development Committee
 
Mon Relief and Development Committee
 
Assistance Association for Political Prisoners (AAPP)
 
Arakan league for Democracy (Exile) Japan
 
Arakan Rakhaita Group
 
Arakan Liberation Party
 
Association of Protection of Children Refugee in Burma (APCR-Burma)
 
Burma Lawyer Council ( BLC)
 
Burma Information Team
 
Burma Lushei Union (BLU)
 
Burmese Community Resource Center
Burmese Community Resource Center(BCRC)
 
Chin Youth Conference
 
Chin Youth Association (CYA),
 
Chin Women Organization
 
Chin Human Rights Organization ( CHRO)
 
FTUB-WB Federation of Trade Unions-Burma( Western Region)
 
Falam Women Development Society (FWDS)
 
Human Rights Education Institute of Burma (HREIB)
 
Human Rights Foundation of Monland (HURFOM)
 
Mara Thylia Py (MTP)
 
Network for Environment and Economic Development Burma ( NEED-Burma)
 
The Naga Peoples Movement for Human Rights (NPMHR)
 
Patriotic War Veterans of Burma ( PWVB)
Zomi Women Union
Zannit Youth Organization
Burma Democratic Concern (BDC)
National League for Democracy-(NLD-LA, UK)
Burma Muslim Association, UK
Earth Rights International (USA/Thailand)
Asia Catalyst (U.S.A)
Project Maje, Portland Oregon (U.S.A)
Friends of Burma (Malaysia)
Alternative Asean Network on Burma –
Altsean-Burma (Thailand )
 
Friends of Burma (Chiang Mai, Thailand)
Campaign for Popular Democracy Thailand ( Thailand)
Northern Non-Government Coordinating Committee
 
(Northern NGO-COD) (Thailand)
Northern Young Activists Network (Thailand)
Friends of Highland Peoples Group (Thailand)
Thai Free Burma/Peace for Burma (Thailand)
Palangthai ( Thailand)
Cambodian Volunteers for Society (CVS) (Cambodia)
Burma Campaign Australia (BCA) ( Australia)
Burma Centre Dehli ( India)
Association for Protection of
Democracy Rights (APDR), Central Committee (Kolkata, India)
India Action Network (India)
Canadian Friends of Burma ( CFOB) (Canada)
Burma Centre (Prague) (Chez Republic)
Actions Birmanie (Belgium)
Burma Campaign Korea (South Korea)
Korean House for International
Solidarity (KHIS) (South Korea)
New Zealand Burma Support (New Zealand)
Norwegians Burma Committee (Norway)
Swedish Burma Committee (Sweden)
Free Burma Coalition (Philippine)
FIDH (France)
( International Federation for Human Rights)
Hong Kong Coalition for a Free Burma (Hong Kong)
Burma Action (Ireland)
Burma Campaign (UK)
 
The Shwe Gas Movement (SGM) is a coalition from Burma with four core members including All Arakan
Students and Youth Congress, Arakan Oil Watch, SGM India and SGM Bangladesh, coordinated through a
liaison office and global@shwe.org. Read www.shwe.org for more information.
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net