Skip to main content
sharethis

(21 ต.ค.52) เครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเครือข่ายหมอพื้นบ้านรวม 20 องค์กร ได้ยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีคัดค้านการเปิดเสรี ภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) ร่วมกับอีก 67 องค์กรก่อนหน้าที่ได้ยื่นจดหมายไปแล้ว ล่าสุด นายอภสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ นายเกียรติ สิทธีอมร ผู้แทนการค้าไทย รับผิดชอบติดตามเรื่องนี้ โดยจะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ (กนศ.) หลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อทบทวนเรื่องดังกล่าว

นายนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ เลขาธิการเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเครือข่ายหมอพื้นบ้าน 20 องค์กรได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้ยับยั้งการเปิดการค้าเสรีภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยระบุว่า การที่คณะกรรมนโยบายเศรษฐกิจ (กนศ.) มีมติ ยกเลิกข้อสงวนด้านการลงทุนใน 3 สาขาได้แก่ (1) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช (2) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ (3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก นั้น จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพ สมุนไพร ความมั่นคงทางอาหารและยาของประเทศ ซึ่งจะส่งกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

“การยกเลิกข้อสงวนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น ที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาอาศัยป่าไม้ พันธุ์พืชต่างๆ เพื่อเป็นอาหาร และยาสมุนไพร เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติซึ่งมีกำลังทุนมหาศาลจะเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งพันธุ์พืช และนำเอาไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการจดสิทธิบัตรได้โดยง่าย ในอดีตแม้ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรี แต่ก็ยังเกิดกรณีการเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรสมุนไพรของชาติ เช่น กรณี เปล้าน้อย เป็นต้น

การเปิดเสรีการลงทุนยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิที่จะเช่าและกว้านซื้อที่ดินไปขยายเพาะพันธุ์สมุนไพรและพันธุ์พืชอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการแย่งชิงที่ดินทำกินของเกษตรกรที่ปลูกข้าว พืชต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร เป็นการเปิดประตูให้ทุนข้ามชาติขนาดใหญ่เข้ามาแย่งชิงฐานการผลิตอาหารและการพัฒนายาจากสมุนไพรของไทย โดยในขณะที่ยังไม่มีการเปิดเสรี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ก็ได้ส่งเสริมให้นักลงทุนจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาลงทุนปลูกต้นกฤษณา (agar wood) และไม้จันทร์หอม (sandal wood) ในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ในจังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้นหากเปิดให้มีการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวข้างต้น จะยิ่งเปิดทางสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติและบรรษัทยาข้ามชาติและอาหารเข้ามายึดครองทรัพยากรของประเทศโดยสะดวกมากขึ้น”

ทางด้านนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไท) กล่าวว่า เท่าที่ทราบมาขณะนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทยดูแลเรื่องนี้ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะพยายามหาทางออกที่ดีที่สุด

“ขณะนี้มีข้าราชการดีๆจำนวนมาก ได้ส่งข้อเสนอและทางออกให้กับประธานผู้แทนการค้าไทย ข้อมูลบางส่วนที่ถูกส่งถึงภาคประชาชนก่อนหน้านี้ ทำให้เรารู้ว่า ก่อนหน้านี้ถึงขั้นมีความพยายามที่จะร่างคำแถลงใส่ปากนายกฯให้ไปกดดันอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ให้ยกเลิกข้อสงวนทั้งหมด โดยไทยจะยกเลิกข้อสงวนก่อนเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกมาก เท่าที่ผมทราบมา ตอนนี้ ในระดับนโยบาย มีการหารือถึงความเป็นไปได้เพื่อที่จะจัดการประชุม กนศ. หลังการประชุมอาเซียนซัมมิทเพื่อทบทวน เพราะการประชุมครั้งที่แล้วมา ข้าราชการต้นเรื่องให้ข้อมูลกับฝ่ายนโยบายไม่ครบถ้วน”


รายละเอียดของจดหมาย

 
ที่ สสท.02 / 2552
วันที่ 20 ตุลาคม 2552
 
เรื่อง ขอให้ยับยั้งการเปิดการค้าเสรีภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
 
เนื่องด้วยหน่วยงานภาครัฐ กำลังดำเนินการเจรจากับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อขอยกเลิกข้อสงวนด้านการลงทุนใน 3 สาขาได้แก่ (1) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช (2) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ (3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพ สมุนไพร ความมั่นคงทางอาหารและยาของประเทศ ซึ่งจะส่งกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว
 
การยกเลิกข้อสงวนทั้งหลายนี้เท่ากับเปิดเสรีให้กับนักลงทุนต่างชาติทั้งในอา เซียนและนอกอาเซียนเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรของไทย โดยเฉพาะด้านการเพาะและขยายพันธุ์พืชทุกชนิด เป็นการเปิดประตูให้สิทธินักลงทุนต่างชาติให้สามารถเข้าถึงพืชพันธุ์กรรม เกษตร พันธุ์พืชสมุนไพรเท่าเทียมกับคนไทยเจ้าของแผ่นดิน
 
การยกเลิกข้อสงวนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่น ที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาอาศัยป่าไม้ พันธุ์พืชต่างๆ เพื่อเป็นอาหาร และยาสมุนไพร เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติซึ่งมีกำลังทุนมหาศาลจะเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งพันธุ์พืช และนำเอาไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการจดสิทธิบัตรได้โดยง่าย ในอดีตแม้ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรี แต่ก็ยังเกิดกรณีการเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรสมุนไพรของชาติ เช่น กรณี เปล้าน้อย เป็นต้น

การเปิดเสรีการลงทุนยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิที่จะเช่าและกว้านซื้อที่ดินไปขยายเพาะพันธุ์สมุนไพรและพันธุ์พืชอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการแย่งชิงที่ดินทำกินของเกษตรกรที่ปลูกข้าว พืชต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร เป็นการเปิดประตูให้ทุนข้ามชาติขนาดใหญ่เข้ามาแย่งชิงฐานการผลิตอาหารและการพัฒนายาจากสมุนไพรของไทย โดยในขณะที่ยังไม่มีการเปิดเสรี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ก็ได้ส่งเสริมให้นักลงทุนจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาลงทุนปลูกต้นกฤษณา (
agar wood) และไม้จันทร์หอม (sandal wood) ในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ในจังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้นหากเปิดให้มีการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวข้างต้น จะยิ่งเปิดทางสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติและบรรษัทยาข้ามชาติและอาหารเข้ามายึดครองทรัพยากรของประเทศโดยสะดวกมากขึ้น
 
เครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทย และองค์กรท้ายจดหมายนี้รวม 20 องค์กร ขอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยับยั้งการดำเนินการของหน่วยงานรัฐเพื่อเปิดเสรีการลงทุนภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยทันที และรีบดำเนินการทบทวนการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัย รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และจะต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา อีกทั้งต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
 
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ยับยั้งการเปิดการค้าเสรีภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของคนไทยส่วนใหญ่
 
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 
นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ
เลขาธิการเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทย
 
 
1.             เครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรแห่งประเทศไทย 
2.             ศูนย์พัฒนาเครือข่ายองค์กรชาวบ้านเพื่อการพึ่งตนเอง จ.แพร่
3.             เครือข่ายหมอเมืองล้านนา จ.ลำปาง
4.             เครือข่ายหมอเมืองล้านนา จ.เชียงใหม่
5.             เครือข่ายปกป้องลุ่มน้ำมูลตอนปลาย จ.อุบลราชธานี
6.             เครือข่ายหมอเมืองจังหวัดแพร่
7.             ชุมชนบ้านแม่พุงหลวง ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่
8.             เครือข่ายหมอเมืองล้านนา จ.แม่ฮ่องสอน
9.             เครือข่ายผญาสุขภาพล้านนา
10.          ครือข่ายหมอเมืองล้านนา จ.น่าน
11.          เครือข่ายรักษ์ม่อนยาป่าแดด จ.เชียงราย
12.          เครือข่ายหมอเมืองลุ่มกว๊านพะเยา
13.          เครือข่ายลุ่มน้ำ จ.เชียงราย
14.          เครือข่ายสุขภาพวิถีไทอีสาน
15.          เครือข่ายหมอพื้นบ้าน จ.สกลนคร
16.          สถาบันนิเวศชุมชน จ.อุบลราชธานี
17.          เครือข่ายหมอพื้นบ้าน จ.อุบลราชธานี
18.          เครือข่ายหมอพื้นบ้าน จ.สุรินทร์
19.          ศูนย์ตะบันไพร จ.สุรินทร์
20.          เครือข่ายป่าตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา
 
 
 
 

องค์กรที่ร่วมลงนามคัคค้านการเปิดเสรีการทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และ การทำป่าไม้จากป่าปลูกภายใต้ความตกลงเสรีการลงทุนอาเซียน (ACIA)

จำนวน 67 องค์กรและเครือข่าย
(ณ 16 ตุลาคม 2552)


กรุงเทพฯ

มูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย), มูลนิธิชีวิตไท (ราฟ่า), เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์), มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ, มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง, มูลนิธิบูรณะนิเวศน์, มูลนิธิสุขภาพไทย, โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส),

สุพรรณบุรี
มูลนิธิข้าวขวัญ

นครปฐม
ชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนจังหวัดนครปฐม, ชมรมลุ่มน้ำท่าจีนจังหวัดนครปฐม, มูลนิธิลุ่มน้ำท่าจีนจังหวัดนครปฐม, สภาลุ่มน้ำท่าจีนจังหวัดนครปฐม, ศูนย์การเรียนรู้พี่น้องสองตำบลจังหวัดนครปฐม

สมุทรสงคราม
เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม

สมุทรสาคร
เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติเพื่อนหลักห้า เพื่อการพึ่งพาตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร

จันทบุรี
เครือข่ายเกษตรอินทรีย์จันทบุรี, เครือข่ายเกษตรอินทรีย์บูรพา

ราชบุรี
เครือข่ายอนุรักษ์ป่าเทือกเขาตะนาวศรีจังหวัดราชบุรี, เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลองจังหวัดราชบุรี, ประชาคมจังหวัดราชบุรี, ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเกษตรชนบทพึ่งตนเอง ตำบลดอนแร่ จังหวัดราชบุรี

ตรัง
มูลนิธิอันดามัน

ประจวบคีรีขันธ์
กลุ่มทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบฯ, กลุ่มอนุรักษ์บ่อนอก, เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก, กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดประจวบฯ, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงป่าละอูจังหวัดประจวบฯ

เพชรบุรี
กลุ่มฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี, กลุ่มเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่ง ตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี, ศูนย์ประสานงานเพื่อการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเพชรบุรี, กลุ่มพัฒนาชีวิตและวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
 

กาญจนบุรี
กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี, เครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี, เครือข่ายป่าต้นน้ำภาคตะวันตก, เครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตกและเทือกเขาตะนาวศรีจังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มพิทักษ์สิทธิผลประโยชน์ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี, เครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มเกษตรห้วยตะเคียนพัฒนา ตำบลหนองโสน จังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มเครือข่ายเกษตรบ้านวังหิน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มส่งเสริมจริยธรรมจังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านพุเตย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มปลูกผักปลอดสาร ตำบลท่ามะขาม จังหวัดกาญจนบุรี, เครือข่ายป่าต้นน้ำจังหวัดกาญจนบุรี, ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขามจังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มอนุรักษ์ชุมชนเมืองจังหวัดกาญจนบุรี, ชมรมนักพัฒนาภาคตะวันตก, เครือข่ายจากภูผาสู่มหานที, เครือข่ายธนาคารต้นไม้

น่าน
สมาพันธ์เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวโพดจังหวัดน่าน เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดน่าน

กาฬสินธุ์
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลหนองตอกแป้น อำเภอยางตลาด, กลุ่มผ้าฝ้ายยอมครามตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกกาฬสินธุ์ – นครพนม อำเภอนาคู

ยโสธร
โรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ  อำเภอกุดชุม, ศูนย์สุขภาพและพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรชุมชนวัดท่าลาด บ้านท่าลาด  ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม , ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกยโสธร ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม, ศูนย์ประสานงานสุขภาพประชาชนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกยโสธร ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม

ร้อยเอ็ด
กลุ่มเกษตรผสมผสานลุ่มน้ำเสียว ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย, กลุ่มเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำเสียวน้อย ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ, กลุ่มพัฒนาชีวิต และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอำเภอปทุมรัตน์ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตน์

มหาสารคาม
กลุ่มพัฒนาอาชีพการเกษตรบ้านขี้เหล็ก ตำบลขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย, กลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสด ตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย, กลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านแมด-ส่องนางใย ตำบลตลาด อำเภอเมือง, กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองคู-ศรีวิไล ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net