Skip to main content
sharethis
มาตรา 67 ตามรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดกำลังเป็นประเด็นร้อนฉ่าเพราะมีพาดหัวข่าวออกมาเป็นระลอกว่า นักลงทุนก็เริ่มงง การลงทุนหยุดชะงักนับแสนล้าน หลังจากมีประชาชนใช้สิทธิในวรรคสามฟ้องร้องให้รัฐและนายทุนทำตามมาตรานี้โดยด่วน หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งสะสาง หาความชัดเจนในกฎเกณฑ์ต่างๆ
มาตรานี้กำหนดให้ “โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ” ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ นอกจากจะต้องผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามปกติแล้ว ยังเพิ่มเติมให้ต้องผ่านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่สำคัญ ต้องมีการส่งรายงานทั้งหลายนี้ให้ “องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” ซึ่งยังไม่ได้จัดตั้ง! ให้ความเห็นประกอบอีกชั้นหนึ่ง
ระหว่างชุลมุนกันอยู่นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้ออกประกาศของกระทรวงอย่างเงียบๆ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 อ้างอิงมติ ครม. เมื่อ 25 สิงหาคมที่ระบุให้กระทรวงอุตฯ ดำเนินการออกประกาศ เพื่อกำหนดว่าโครงการแบบไหนที่เข้าข่ายมาตรา 67
ประกาศของกระทรวงอุตฯ นี้ มีความแตกต่างกับร่างดั้งเดิมของกระทรวงทรัพฯ อย่างมาก และดูเหมือนภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่คัดค้านโครงการขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่ จะชัดเจนแล้วว่าให้การสนับสนุนกับร่างกระทรวงทรัพฯ และปฏิเสธประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (รายละเอียดที่ http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25773)
ร่างของกระทรวงทรัพฯ ได้มาจากงานศึกษาของ “คณะกรรมการพิจารณากำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ” ซึ่งกระทรวงทรัพฯ แต่งตั้งขึ้น โดยมีสัดส่วนของนักวิชาการที่ภาคประชาชนให้การยอมรับอย่างอาจารย์สัญชัย สูติพันธ์วิหาร จากคณะสิ่งแวดล้อมฯ มหิดล เข้าไปนั่งอยู่บ้าง ดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว และขณะนี้ยังค้างเติ่งอยู่ที่กระทรวง ไม่ไปไหน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานอนุญาตที่สำคัญจึงเป็นผู้ออกประกาศอย่างเป็นทางการเป็นหน่วยงานแรก
และนี่คือจุดสตาร์ทของมาตรา 67 ที่ทั้งภาคประชาชนตัวจ้อยและภาคอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ ต่างจดจ้องกันตาเขม็ง เพราะมันคือเกณฑ์ขั้นพื้นฐานว่าโครงการแบบไหนกันที่ต้องได้รับการดูแล ตรวจสอบเป็นพิเศษกว่าที่เคยเป็นมา และยังไม่แน่ว่าประกาศนี้จะเป็นที่ยอมรับของ "ชุมชน" แค่ไหน เพราะดูไปดูมา โครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่ชาวบ้านกำลังค้านกันอย่างหนักกำลังหลุดรอดไปจากเงื่อนไขของมาตรา 67 อย่างหวุดหวิด ทั้งที่มาตรานี้มันเกิดมาเพื่อชุมชนแท้ๆ เทียว!
 
ตารางเปรียบเทียบ (เนื้อหาโดยรวบรัด)
 

 
ที่
 
ประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม
 
 
งานศึกษาของกระทรวงทรัพยากรฯ
 
1.
 
-
 
ประเภท– โครงการที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1, พื้นที่
              ป่าอนุรักษ์, พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม
              ตามมติ ครม., แหล่งมรดกโลก,
              อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณ
              สถาน โบราณคดี
 
ขนาด – ให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่กำหนดหลักเกณฑ์
           เพื่อเสนอต่อองค์การอิสระฯ 
 
 
2.
 
 
 
 
-
 
การถมทะเล หรือทะเลสาบ
 
พื้นที่ตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป
 
3.
 
 
 
 
-
 
การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างกันคลื่น
 
ความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป
 
4.
 
 
 
 
การทำเหมืองใต้ดิน เฉพาะด้วยวิธีออกแบบให้โครงสร้างยุบตัว ภายหลังการทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยัน และไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทนเพื่อป้องกันการยุบตัว
 
ทุกขนาด
 
 
เหมืองใต้ดินตามกฎหมายว่าด้วยเหมืองแร่
 
ทุกขนาด
 
5.
 
 
 
เหมืองแร่ตะกั่ว และสังกะสี
 
ทุกขนาด
 
 
เหมืองแร่โลหะทุกชนิด
 
ทุกขนาด
 
 
6.
 
 
นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือดครงการทีมีลักษณะเช่นเดียวกันกับนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งเพื่อรองรับอุตสาหกรรมผลิตเหล็กขึ้นต้น หรืออุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น หรือขั้นกลางขนาดเกินกว่าที่กำหนดไว้ในโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการถลุงแร่งหรือปิโตรเคมีขั้นต้นและกลาง แล้วแต่กรณี 
 
ทุกขนาด
 
 
นิคมอุตสาหกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมฯ หรือ โครงการที่มีลักษณะ เช่นเดียวกันกับนิคมอุตสาหกรรม
 
มีโรงงานปิโตรเคมี กำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีโรงานถลุงหรือแต่งแร่หรือหลอมโลหะ
กำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
 
 
7.
 
 
 
 
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นหรือขั้นกลางที่มีการใช้หรือผลิตสารอย่าใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
 
(1) สารที่ก่อให้เกิดมลสารทางอากาศที่เป็นอันตรายได้แก่ Asbeslos, Benzene, Benzidine, Bis(chloromethyl) ether, Beryllium and beryllium compounds, 1,3-Butadiene, Cadmium and cadmium compounds, Chromium(VI) , Ethylene Oxide, Formaldehyde, Nickel compounds, Phosphorus-32, as phosphate, Radionuclides (including radon), Vinyl chloride
 
(2) สารที่มีพิษรุนแรง ได้แก่ สารทีมีค่า LD50 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวเมื่อทดสอบในหนูขาว (ทางปาก) ที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 200-300 กรัม, สารที่มีค่า LD50 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวเมื่อทดสอบในกระต่ายข่าว (ทางผิวหนัง) ที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 2-3 กิโลกรัม โดยสัมผัสติดต่อกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า แล้วมีการตายเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง, สารที่มี LC50 น้อยกว่าหรือเท่ากับ200 ส่วนในล้านส่วน โดยปริมาตรสำหรับก๊าซหรือไอ หรือน้อยกว่าหรือเท่ากั 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับละออง ฟูมหรือฝุ่น เมื่อทดสอบในหนูขาว (ทางการหายใจ) ที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 200-300 กรัม โดยสูดดมสารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า แล้วมีการตายเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง
 
ทั้งนี้ ค่า LD50 หมายถึงปริมาณของสารที่ให้กับสัตว์ทดลองทั้งหมดเพียงครั้งเดียวแล้วทำให้สัตว์ทดลองตายลงร้อยละ 50 
 
ค่า LC50 หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารในอากาศ หรือในน้ำที่ทำให้สัตว์ทดลองตายลงร้อยละ 50
 
กรณีตั้งโรงงาน มีการใช้หรือผลิตสาร ตาม (1) หรือ (2) ตั้งแต่ 1,000 ตันต่อวันขึ้นไป กรณีขยายโรงงาน เพิ่มการใช้หรือผลิตสารตาม (1) หรือ (2) รวมกันเกินกว่าร้อยละ 35 สำหรับโรงงานเดิมที่มีการใช้หรือผลิตสารดังกล่าวตั้งแต่ 1,000 ตันต่อวันขึ้นไป หรือเพิ่มการใช้สารตาม (1) หรือ (2) รวมเป็นตั้งแต่ 1,000 ตันต่อวันขึ้นไป 
 
ทั้งนี้ การตั้งหรือขยายโรงงานในโครงการหรือกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ไม่ต้องดำเนินการตามประกาศนี้ในกรณีที่โครงการหรือกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้ดำเนินการตามประกาศนี้รองรับไว้ก่อนแล้ว
 
 
โรงงานปิโตรเคมี ขั้นต้นหรือขั้นกลาง
 
ทุกขนาด
 
8.
 
 
 
 
การถลุงแร่
- การถลุงแร่ด้วยสารละลายเคมีในชั้นดิน (ทุกขนาด)
- อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กขั้นต้น (กรณีตั้งโรงงานกำลังการผลิตตั้งแต่ 20,000 ตันต่อวันขึ้นไป
 
กรณีขยายโรงงาน เพิ่มกำลังการผลิตเกินกว่าร้อยละ 35 สำหรับโรงงานเดิมที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 20,000 ตันต่อวันขึ้นไป หรือเพิ่มกำลังการผลิตรวมเป็นตั้งแต่ 20,000 ตันต่อวันขึ้นไป
 
ทั้งนี้ การตั้งหรือ ขยายโรงงานในโครงการหรือกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรมนั้น ไม่ต้องดำเนินการตามประกาศนี้ในกรณีที่โครงการหรือกิจกรรมในนิคมอุตสาหกรรมนั้นได้ดำเนินการตามประกาศนี้รับรองไว้ก่อนแล้ว
 
 
โรงงานถลุงเหล็ก หรือแต่งแร่ หรือหลอมโลหะ
 
กำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
 
 
9.
 
 
 
-
 
การผลิตหรือกำจัดหรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี
 
ทุกขนาด
 
 
10
 
โรงงานฝังกลบของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม หรือเตาเผาที่จัดสร้างเพื่อกำจัดของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม
 
ทุกขนาด
 
 
โรงบำบัดหรือกำจัดกากของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม และขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมที่นำมารีไซเคิล
 
ทุกขนาด
 
 
11
 
 
 
 
-
 
สนามบิน รวมการขยายทางวิ่ง
 
ทุกขนาด
 
12
 
 
 
 
                      -
 
ท่าเทียบเรือ
 
-       รับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป
-       ที่มีความกว้างหน้าท่ามากกว่า 1 ใน 3  ของความกว้างแม่น้ำ
-       ที่ขนถ่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
 
 
13
 
 
 
-
 
เขื่อนกักเก็บน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ
 
-       ปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลบ.ม.ขึ้นไป
-       พื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตร.กม.ขึ้นไป
-       การชลประทาน พื้นที่ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป
 
 
14
 
 
 
โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ยกเว้นก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติสังเคราะห์
 
มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ขึ้นไป
 
 
โรงไฟฟ้าทุกประเภท ยกเว้นที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก
 
กำลังการผลิตตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป
 
 
15
 
 
 
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
 
ทุกขนาด
 
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
 
ทุกขนาด
 
16
 
 
 
 
-
 
การผันน้ำในลุ่มน้ำหรือข้ามลุ่มน้ำ ทั้งลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขา
 
ปริมาตรน้ำที่ผันเฉลี่ยสูงสุดรายเดือน
 
 
17
 
 
 
 
-
 
การทำเกษตรกรรมเชิงการค้าเกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับ GM (Genetically Modified)
 
ทุกขนาด
 
 
18
 
 
 
-
 
สนามกอล์ฟ
 
ทุกขนาด
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net