Skip to main content
sharethis

หมายเหตุ: The Economist วิเคราะห์ 3 ปีรัฐประหารในประเทศไทยในบทความ “Where power lies” หรือ “ที่ซึ่งอำนาจตั้งอยู่” โดยชี้ว่าผลของความขัดแย้งพลเอกเปรม-ทักษิณและการรัฐประหารปี 2006 ดึงกองทัพกลับมาสู่การเมืองอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่จริงแล้วกองทัพจะไม่น่าจะกลับเข้ามาสู่การเมืองได้อีก “ประชาธิปไตยของเอเซีย เช่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ผลักให้การปกครองโดยทหารกลับไปอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ แต่ประเทศไทยกำลังว่ายน้ำไปทางอื่น รัฐบาลพลเรือนที่ได้รับมอบมหมายมาจากการเลือกตั้งน่าจะเริ่มหมุนเปลี่ยน เรื่องนี้กลับไปอีกทางหนึ่ง”

ที่มา: แปลบางส่วนจาก The Economist, 17 สิงหาคม 2009

 
000
 
รัฐประหารช่างเป็นหนทางที่ล้าสมัยในการนำพาสิ่งต่างๆ  
 
 
ฤดูกาลนี้ในประเทศไทยเป็นฤดูกาลของการรัฐประหาร เมื่อสามปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้บินไปนิวยอร์กเพื่อร่วมการประชุมทั่วไปของสหประชาติ ในขณะที่มีข่าวลือถึงแผนการโค่นล้มเขาแพร่ออกไปในกรุงเทพ ผู้บัญชาการกองทัพปฏิเสธข่าวลือทั้งหลาย แต่ในวันที่ 19 กันยายน 2006 เขาก็ได้ยึดอำนาจ การเดินทางไปประชุมสหประชาติในปีนี้ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็หวังว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยอีก
 
นับตั้งแต่การถูกขับออกจากอำนาจของทักษิณ ประเทศไทยปวดร้าวจากการต่อสู้ทางการเมือง กองทัพเล่นบทบาทผู้ตัดสินใจเด็ดขาดแม้ว่าหลังจากที่กองทัพจะเล่นบทสุภาพบุรุษตามการปกครองโดยพลเรือนแล้วก็ตาม แต่มีคนเพียงน้อยคิดว่าเหล่านายพลจะกลับเข้ากรมกองในเวลาอันใกล้นี้
 
ในการรำลึก 3 ปีรัฐประหาร ฝ่ายเสื้อแดงผู้สนับสนุนทักษิณมีแผนชุมนุมเดินขบวนในกรุงเทพ ซึ่งน่าจะเป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่ กฎหมายความมั่นคงที่ล่อแหลมอนุญาตให้กองกำลังทหารเข้ามาใช้อำนาจหากตำรวจไม่สามารถจัดการได้และพร้อมกับปัญหาทางการเมืองในแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจได้สร้างความไม่มั่นใจต่อการแสดงพลังของกลุ่มเสื้อแดง
 
นายอภิสิทธิ์พยายามคลายความวิตกกังวลของคนไทยว่าไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง โดยรัฐบาลผสม 9 เดือนของเขาอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพได้ให้สัญญาเหมือนเคยว่าไม่มีการรัฐประหาร ในตอนนี้ บางทีพวกเขาอาจจริงใจ มันอาจเป็นการด่วนตัดสินใจในการยึดอำนาจจากนายอภิสิทธิ์ ผู้ที่พวกเขาช่วยตั้งรัฐบาลขึ้นมาหลังจากศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรครัฐบาลฝ่ายทักษิณ และผู้ที่ยังคงเห็นหัวพวกเขาอยู่
 
นายทหารของกองทัพมักแสดงความไม่พอใจต่อการเมืองว่าเป็นเกมสกปรก ไม่เหมือนกับการทหาร แต่มันเป็นเกมที่พวกเขาได้เกาะเกี่ยวโยงใยไปสู่ความได้เปรียบ หลังการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญเสรีนิยมถูกแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า พวกเขาได้รับการจัดสรรงบประมาณก้อนใหญ่ขึ้น (ดูแผนภาพ) อนุญาตให้พวกเขายื่นมือช่วยนักการเมืองที่เป็นมิตร พร้อมทั้ง พรบ.ความมั่นคงฉบับใหม่ที่ดุดันถูกผ่านความเห็นชอบซึ่งเป็นพรบ.ที่มีการกำกับดูแลในระดับต่ำ  
 
การใช้จ่ายทางการทหารของประเทศไทย (ที่มา: Paul Chambers, University of Heidelberg)
 
 
สิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่า หลังจากแนวร่วมทักษิณชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2007 และรัฐบาลทหารขึ้นที่มาไม่ถูกเรื่องก็ถอยออกไป ภายในไม่กี่เดือน กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อเหลืองกลับมาบนท้องถนนในกรุงเทพอีกครั้ง โดยปฏิเสธว่าจะเลิกจนกว่ารัฐบาลจะออกไป ในช่วงของความวุ่นวาย มันเป็นกองทัพนี่เองที่ขึ้นมาอยู่บนสุด มีการเรียกร้องโดยกลุ่มเสื้อเหลืองให้มีการรัฐประหารอีกครั้ง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการกองทัพ เงียบเฉย แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะสลายฝูงชนที่สนามบินทั้งสองแห่งปลายเดือนพฤศจิกายน และเขากลับได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี สมชาย วงษ์สวัสดิ์ ลาออก ในที่สุดผลของทั้งการกระทำสองอย่างก็เหมือนกัน
 
หลังจากความเละเทะแล้ว มันนำไปสู่การมีอำนาจขึ้นมา กองทัพมีความสุขมากขึ้นในการชักใย พอล แชมเบอร์ส แห่งมหาวิทยาลักไฮเดลบวก ประเทศเยอรมันนี กล่าวในเรื่องนี้ กองทัพมีเครื่องมือทางกฎหมายทุกอย่างที่จำเป็นในการจัดการให้พลเรือน อย่าง นายอภิสิทธิ์ให้อยู่ในแถว โดยปราศจากการรบกวนในการบริหารประเทศ
 
แน่นอน ความลังเลของพลเอกอนุพงษ์ในการยึดอำนาจไม่จำเป็นต้องทำให้หมดข้อสงสัยจากความพยายามอื่นๆ หลายครั้งของการรัฐประหารทั้ง 18 ครั้งตั้งแต่ปี 1932 ในช่วงฤดูกาลนี้ นำมาซึ่งคู่แข่งส่วนย่อยต่างๆ ภายในกลุ่มนายทหารระดับสูง แต่พลเอกอนุพงษ์ ได้เลื่อนตำแหน่งให้แก่ผู้ที่ตามเขา แต่ลงโทษนายทหารที่สงสัยว่ายังภักดีกับทักษิณ เขามีกำหนดเกษียณราชการในตำหน่งผู้บัญชาการกองทัพบกในปีหน้า ผู้สืบต่อของเขาคือรองผู้บัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ จันโอชา ผู้ที่ยังมีอายุน้อยพอที่จะอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 2014 ซึ่งถือว่าเขาเป็นคนที่อนุรักษ์นิยมกว่า และพร้อมกว่าที่จะเด็ดหัวเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติและปกป้องสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่ง พลเอกประยุทธดูเหมือนว่าเป็นผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในช่วงต่อไป (...)
 

ในหมู่ประชาชนชาวไทย กองทัพมีอำนาจทั้งความเคารพและความน่าสงสัย จากการสำรวจโดยมูลนิธิเอเชียจัดดันดับให้กองทัพเป็นสถาบันที่มีความซื่อสัตย์เป็นที่สองรองจากตุลาการ (ทั้งนี้มิได้รวมถึงสถาบันกษัตริย์อยู่ในการสำรวจ) ทว่าเพียง 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นบอกว่าการสำรวจนี้มีความเป็นกลาง ชื่อเสียงของกองทัพปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 1992 ซึ่งกองกำลังทหารเข่นฆ่าผู้ประท้วงเป็นจำนวนมากในกรุงเทพ แล้วสิ่งที่ไม่น่าเกิดซ้ำขึ้น ก็เกิดขึ้นอีก เมื่อรัฐบาลพลเรือนที่ขึ้นมามีอำนาจกลับล้มเหลวในการยกเครื่องกำลังทหารที่เข้มแข็ง 300,000 นาย กองทัพยังคงมีนายพลที่อยู่ในราชการหลายร้อยคน บัญชีรายชื่อนายทหารระดับสูงสุดมี 36 คนน้อยกว่าสหรัฐอเมริกาเพียงเล็กน้อยซึ่งมี 41 คน แต่กองทัพสหรัฐใหญ่กว่ากองทัพไทย 4 เท่าและอยู่ในภาวะสงคราม

 
ทักษิณผู้ขึ้นสู่อำนาจในปี 2001 ข้ามหัวกองทัพในสองทาง ประการแรก เขาจำกัดการใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพ ซึ่งหมายความว่า ค่าคอมมิสชั่นก้อนใหญ่จะลดน้อยลงในการจัดซื้ออาวุธราคาแพง ประการที่สอง เขาก้าวก่ายการโยกย้ายประจำปี ในช่วงสองปีเขาตได้ตั้งลูกพี่ลูกน้องของเขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพ สิ่งนั้นผลักให้เขาอยู่ในความขัดแย้งกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายพลผู้เกษียณอายุราชการ อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานองคมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่นักการเมืองที่ขึ้นมาใหม่ไม่ควรไปยุ่ง ผลของความขัดแย้งพลเอกเปรม-ทักษิณและการรัฐประหารปี 2006 ดึงกองทัพกลับมาสู่การเมืองอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่จริงแล้วกองทัพจะไม่น่าจะกลับเข้ามาสู่การเมืองได้อีก
 
ประชาธิปไตยของเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ผลักให้การปกครองโดยทหารกลับไปอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ แต่ประเทศไทยกำลังว่ายน้ำไปทางอื่น รัฐบาลพลเรือนที่ได้รับมอบมหมายมาจากการเลือกตั้งน่าจะเริ่มหมุนเปลี่ยนเรื่องนี้กลับไปอีกทางหนึ่ง แต่ปัญหาก็คือชนชั้นนำในกรุงเทพก็จะไม่อดทนต่อรัฐบาลอีกชุดที่สนับสนุนทักษิณอีก ในวันที่ 19 กันยายน คนเสื้อแดงตัดสินใจเดินขบวนไปหน้าบ้านของพลเอกเปรม ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 2006 ในขณะเดียวกัน กองทัพของไทยมองตนเองว่าเป็นผู้ปกป้องราชบัลลังก์ และสงสัยกลุ่มเสื้อแดงว่ามีวาระสาธารณรัฐ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ กองทัพจึงไม่อยากจะปล่อยเรื่องนี้ในช่วงระยะเวลาต่อไป (...)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net