Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก องค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference) หรือ OIC โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในกรณีมัสญิดกรือเซะ และการสลายม็อบกรณีการชุมนุมที่เกิดขึ้นที่อำเภอตากใบ ในปี 2547 (28 เมษายน และ 25 ตุลาคม 2547) ตลอดระยะเวลา ๕ ปี ของความรุนแรงก็ยังไม่มีทีท่าจะสงบ

 

องค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference) หรือ OIC ก็ยังคงให้ความสนใจในปัญหานี้อยู่และคาดว่าจะเป็นหัวข้อหนึ่งในโต๊ะการพูด คุยในการประชุมครั้งใหม่นี้ และเป็นที่กังวลของคนในรัฐบาลไทยหรือผู้นำทางทหาร

 

ความ เป็นจริงรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลตั้งแต่อดีตก็ได้ความสำคัญกับองค์กรนี้เพราะมี ทัศนะว่าอิทธิพลขององค์กรนี้จะสามารถเข้าไปช่วยเพิ่มและแก้ไขปัญหาหรือลด ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้

 

ที่ สำคัญหากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วนั้น ย่อมส่งผลถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เกิดความเสียหายได้โดยง่ายในสายตา ประชาคมมุสลิม

 

หากลำดับเหตุการณ์จะพบว่า ปี ๒๕๔๗ รัฐบาลทักษิณได้ส่ง ตัวแทนพิเศษ (Special envoy) ประกอบด้วย นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

 

นายมหดี วิมานะ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน และรศ.ดร.จรัญ มะลูลีม ไปพบ ศาสตราจารญ์เอ็กมิลิดดีน อิห์ซาโนกลู เลขาธิการ OIC ชาวตุรกี เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่กรุงญิดดะฮ์ (Jedda) ประเทศ ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกันนี้กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโอไอซี ให้เดินทางมาเยือนไทย เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์จริง ทั้งนี้ โอไอซี ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่ของตนมาเยือนในระหว่างวันที่ ๒-๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๘

 

คณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ โอไอซี ประกอบไปด้วย นายซัยยิด กอซิม อัลมัสริ (Syed Gasim Almasri) เป็นหัวหน้าคณะ (Head of Delegation) (นายซัยยิด กอซิม อัลมัสริ เป็นอดีตผู้ช่วยเลขาธิการ OIC มาก่อน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นเอกอัครราชทูตถาวรของอียิปต์ประจำสันนิบาตอาหรับ (Arab League) และเป็นเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศต่างๆ หลายประเทศ)

๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ รัฐบาลได้เชิญสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ที่ ๒ แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ร่วมพบปะผู้นำองค์กรมุสลิม ห้าจังหวัดชายแดนใต้ (ร่วมทั้งผู้เขียน) ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชดำรัสประณาม การก่อการร้ายโลกที่ทำในนามศาสนาอิสลามและสนับสนุนมุสลิมภาคใต้ให้อยู่ภายใต้ร่มธงชาติไทยดั่งที่พระองค์ได้ทรงพระพระราชดำรัสตอนหนึ่งพอสรุปใจความได้ว่า

"ใน ประเทศไทยชาวมุสลิมมีประวัติอันยาวนานและเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมและสังคม ไทย พวกเขาสมควรได้รับสิทธิและได้รับเกียรติเฉกเช่นเดียวกับคนไทยทุกคน พวกเราทุกคนไม่ควรยอมให้พวกหัวรุนแรงกลุ่มน้อยมาแบ่งแยกคนไทยออกจากกัน ชาวไทยที่ไม่ใช่มุสลิมควรรับทราบว่า ชาวมุสลิมส่วนใหญ่เป็นพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ เป็นพลเมืองดีและประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในขณะเดียวกันก็ขอให้ชาวไทยมุสลิมทุกคนมั่นใจว่าประเทศไทยตระหนัก และเห็นคุณค่าของพวกท่านทุกคนที่เป็นพลเมืองดี และมีความตั้งใจแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี เพื่อนทั้งหลาย การตระหนักถึงความคล้ายคลึงกัน โดยตั้งอยู่บนความพื้นฐานความเชื่อมั่นในสันติภาพและความยุติธรรม จะนำมาซึ่งความสมานฉันท์ คุณค่าเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และวางรากฐานให้แก่คนต่างความเชื่อที่จะสร้างอนาคตที่เต็มไปด้วยความมั่นคง โอกาสและสันติสุขร่วมกัน

ดัง นั้น ขอให้พวกเราก้าวเข้าไปข้างหน้าร่วมกัน เพื่อสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนของเรา ร่วมขยายความเข้าใจและต่อต้านความไม่ยอมรับผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จะนำมาซึ่งยุคใหม่แห่งความหวัง ขอขอบใจหรือขอบคุณท่านทั้งหลาย"

 

หลังจากนั้นปี ๒๕๕o อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เชิญเลขาธิการโอไอซี พร้อมคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทย(วันที่ ๓o เมษายน - ๑ พฤษภาคม ๒๕๕o) ซึ่งในการเดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้ ทางเลขาธิการโอไอซีได้พบปะกับบุคคลสำคัญต่างๆ ทั้งระดับผู้นำศาสนาและระดับรัฐบาล ซึ่งได้สร้างความประทับใจให้กับคณะของเลขาธิการโอไอซีเป็นอย่างมาก ในการนี้ ทางเลขาธิการโอไอซีได้มีหนังสือถึงชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันคัดค้านการใช้ความรุนแรง แต่ให้หันมาอยู่ร่วมกันโดยสมานฉันท์ และร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทางเลขาธิการโอไอซีได้ขอให้ชาวไทยมุสลิมและเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ อย่าปล่อยให้ใครนำศาสนาอิสลามไปเชื่อมโยงกับการก่อการร้าย และผู้กระทำผิดจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ และให้ทุกคนมีความเสมอภาคทางกฎหมายในการอยู่ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอยากให้รัฐบาลไทยยกเลิกหรือจำกัดการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะกฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้มีการทรมานที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม และขอให้ทุกคนยึดมั่นการเคารพสิทธิมนุษยชนและความแตกต่างของการนับถือศาสนา และวัฒนธรรม

 

นอกจาก นี้ โอไอซี ยินดีจะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยในการช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งโอไอซีเป็นองค์กรที่สนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ส่งเสริมการก่อความไม่สงบ และไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงหรือการทรมาน และคิดว่ารัฐบาลไทยต้องอดทนในการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ต้องใช้เวลาซึ่งอาจ ยาวนานเป็น 10 ปี หรือ 20 ปีก็ได้ ซึ่งศาสตราจารญ์เอ็กมิลิดดีน อิห์ซาโนกลู ได้นำข้อเท็จจริงและข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ และแนวทางสมานฉันท์ของรัฐบาลไทยที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงเสนอต่อที่ ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกโอไอซีที่ปากีสถาน และยืนยันว่าปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยไม่ใช่ปัญหาการกีดกันทาง

 

อย่างไร ก็ตาม ทางเลขาธิการโอไอซีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย(สมัยอดีตนายก รัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์)ได้ร่วมกันแถลงข่าวเนื่องในโอกาสที่เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็น ทางการในครั้งนี้ ซึ่งสาระสำคัญในแถลงข่าว คือ โอไอซีแสดงความกังวลถึงเหตุการณ์จังหวัดชายภาคแดนใต้ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อ เนื่องอยู่ในขณะนี้ ทางองค์การโอไอซีจึงได้เร่งรัดให้รัฐบาลไทยมีการสอบสวนในข้อหาการละเมิด สิทธิมนุษยชน ควรที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนรับผิดชอบให้มากขึ้นในการบริหารกิจการใน ท้องถิ่น ทางผู้แทนโอไอซีได้แสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยได้จัดลำดับให้ความสำคัญกับ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงให้เป็นวาระแห่งชาติและยังได้สนับสนุนแนวทาง สมานฉันท์และการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี

 

นอกจาก นี้แล้ว ไทยและโอไอซีได้ย้ำความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อช่วยให้ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนรับผิดชอบกิจการในท้องถิ่นตามกระบวนการ กระจายอำนาจเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมและภาษา และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยยึดมั่นในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนไทยด้วย

 

ปี นี้รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความตั้งใจจะนำนโยบายนิติรัฐ นิติธรรมเพื่อผดุงความยุติธรรมกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินนโยบายการพัฒนาเป็นตัวตั้งและ การสู้รบเป็นเรื่องรอง

 

ใน ขณะเดียวกัน จะเสริมสร้างให้กองกำลังความมั่นคงเข้าถึงประชาชน ให้มีความเข้าใจร่วมกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งเป็นปรัชญาในการเสริมสร้างสันติสุข และสันติภาพ ความมั่นคงให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการเสนอร่างกฎหมายตั้ง ศอ.บต. ให้เป็นองค์กรถาวร

 

นอกจาก นั้น จะนำเอากฎหมายอิสลาม หรือกฎชารีอะห์ ซึ่งเป็นกฎหมายครอบครัวและมรดกของมุสลิมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ยุติธรรม รวมทั้งจะมีคณะกรรมการระดับคณะรัฐมนตรี เพื่อจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ

 

๔ เดือนก่อนหน้านี้ นายกษิต ภิรมณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้มีโอกาสไปพบปะกับกลุ่มประเทศอิสลามมาเป็นระยะ และเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมาท่านได้เดินทางไปประเทศบาห์เรน พร้อมถือโอกาสพูดคุยกับท่านนายกรัฐมนตรี มกุฎราชกุมารของเขา และได้ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆของเหตุการณ์ภาคใต้

 

ใน ขณะเดียวกันหลังจากนั้นนายกษิตได้นำคณะทูตประเทศต่างๆเดินทางมาในพื้นที่ เพื่อจะได้เห็นสภาพความเป็นจริง เพื่อจะได้รายงานข้อเท็จจริงกลับไปยังประเทศของพวกเขาได้

 

สำหรับ การประชุมโอในปีนี้ มีกำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกประจำปี ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นครั้งที่ ๓๖ ณ กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค.นี้ นั้น รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศนำทีมไปเข้าร่วมประชุม

 

ใน ขณะที่ประเทศไทยมีความกังวลว่าการประชุม โอไอซี ครั้งนี้ จะมีการนำปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปพูดคุยในทางทีไม่ดีสู่เวทีนานาชาติอัน จะทำให้ไทยแก้ปัญหาด้วยความยากลำบากมากขึ้น

 

ความ กังวลดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้นหากการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีของไทยโดยเฉพาะ หน่วยความมั่นคงทุกระดับชั้นปฏิบัติตามกฎกติกามารยาทของกฎหมายและหลักสิทธิ มนุษยชนที่โอไอซีแถลงมาตลอด

 

แต่ ตลอดระยะเวลาของการแก้ปัญหาจากฝ่ายความมั่นคงมักจะมีข้อผิดพลาดตลอด จากผู้ปฏิบัติผู้น้อยในพื้นที่และล่าสุดก่อนการประชุมนานาชาติครั้งนี้ก็มิ วายเกิดเรื่องจนได้ดั่งที่หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้าได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของลูกน้อง ที่ได้ ทำร้ายเยาวชนในพื้นที่ในขณะตรวจค้น

 

จาก ผลของการปฏิบัติการที่ผิดพลาด (ซ้ำซาก) ดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้โอไอซี(อาจจะ)ต้องนำเรื่องสถานการณ์จังหวัด ชายแดนภาคขึ้นพิจารณา

 

ส่วน การปฏิบัติการการก่อการร้าย อย่างโหดเหี้ยม รุนแรงของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเพื่อโชว์ผลงานและเบิกเงินตามที่รองนายก รัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวอ้างนั้นมีเหตุผลไม่เพียงพอจะนำมาพิจารณาในเวทีระดับชาติ มุสลิมหรอกเพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้ประกาศชัดเจนว่าไม่สนับสนุนการก่อการ ร้ายที่ผิดหลักการศาสนาอิสลาม

 

ดั่งที่พระเจ้าได้โองการไว้ความว่า….และท่านทั้งหลายจงช่วยเหลือซึ่งกันและกันในความดี และจงอย่าช่วยเหลือในความชั่ว

*หมายเหตุ

รายละเอียดของคำชี้แจงตามหนังสือเลขที่ นร. (ศปชส.) ๕๑๑๔.๐๒/ ๖๒๗ ทั้งหมดมีดังนี้

 

 

๑. ฉก.ยะลา ๑๑ ได้รับรายงานจาก ร้อย.ร.๕๐๓๕ ว่า เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค.๕๒ เวลา ๒๐.๑๕ น. ได้รับรายงานจากข่ายวิทยุชุมชนเข้มแข็ง (ชป.ภูมาชีพ) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณตลาดเมืองใหม่ ว่าได้ยินเสียงปืน จำนวน ๓ นัด บริเวณถนนเลียบแม่น้ำ ปัตตานี ผบ.ร้อย.ร.๕๐๓๕ จึงได้สั่งการให้ชุดลาดตระเวนซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ขวัญชัย สีนิล (หน.ชุด ลว.) ส.อ.ณัฐวุฒิ พลพิลา (รอง หน.ชุด ลว.) พลฯ อภิชาต แก้วช่วย (ลูกชุด) พลฯ พลากร กายะพันธ์ (ลูกชุด) เข้าตรวจสอบ ในขณะที่เคลื่อนที่บนถนนเลียบแม่น้ำปัตตานี ได้ยินเสียงปืนดังอีก จำนวน ๕ นัด จึงเร่งความเร็วไปทางทิศที่ได้ยินเสียงปืน เมื่อถึงที่เกิดเหตุได้ตรวจพบชาย ๒ คน นั่งอยู่บนถนนใกล้ รถจักรยานยนต์ และสังเกตเห็นชาย ๑ คน พยายามจะวิ่งเพื่อหลบหนี ส.อ.ขวัญชัย สีนิล ได้สั่งการให้ พลฯ พลากร กายะพันธ์ ลงจากรถเพื่อสกัดกั้นการหลบหนี และได้ควบคุมตัว ด.ช.อาดิล สาแม (ผู้หลบหนี) แลนายมะเซาฟี แขวงบู (ยืนอยู่ข้างรถ) ส.อ.ขวัญชัย สีนิล ได้สอบถามว่าได้ยินเสียงปืนหรือไม่ ทั้ง ๒ คน ตอบว่าไม่ได้ยิน ส.อ.ขวัญชัย สีนิล จึงขอตรวจดูบัตรประชาชนและใบขับขี่ แต่นายมะเซาฟี แขวงบู พยายามขัดขืน ไม่ยอมให้ตรวจค้น และพูดจายั่วยุท้าทาย ส.อ.ขวัญชัย สีนิล จึงได้ใช้กำลังเข้าตรวจค้น ประมาณ ๒-๓ นาที ทำให้ นายมะ เซาฟี แขวงบู ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย เนื่องจากถูกแหวนของ ส.อ.ขวัญชัย สีนิล หลังจากตรวจค้น บุคคลทั้ง ๒ ไม่มีบัตรประจำตัว และใบขับขี่ แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายอื่น และเห็นว่ายังเป็นเยาวชน จึงได้ปล่อยตัวไป และชุด ลว.ได้กลับเข้าฐานปฏิบัติการ ร้อย.ร.๕๐๓๕ เมื่อเวลา ๒๐.๓๐ น.

 

๒. เมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. รอง ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ได้รับคำสั่งจาก ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ให้เข้าพบปะกับ นายมะเซาฟี แขวงบู,ด.ช.อาดิ ล สาแม พร้อมด้วยญาติและทนายความที่ศาลากลางจังหวัดยะลา แต่เมื่อไปถึงทางฝ่าย นายมะเซาฟี แขวงบู ได้แจ้งว่าต้องไปทำธุระสำคัญ จึงขอเลื่อนนัดเป็นเวลา ๑๖.๐๐ น. และได้ไปพบกันที่ห้องรับรองสำนักงานรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา โดย นายกฤษดา บุญราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นพยาน จากการที่รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้สอบถาม นายมะเซาฟี แขวงบู จึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นายมะเซาฟี แขวงบู ได้เล่าถึงเหตุการณ์ตามที่ได้ลงในเว็บไซต์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้สอบถามว่าต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร ฝ่ายนายมะเซาฟี แขวงบู ได้ตอบว่าต้องการให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ช่วยเหลือดูแลให้ความเป็นธรรม รองผู้ว่าราการจังหวัดยะลา ได้สอบถาม รอง ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ว่าจะดำเนินการอย่างไร รอง ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ได้ตอบว่าเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้รับรายงานเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ส.อ.ขวัญชัย สีนิล ได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงได้ลงโทษ ส.อ.ขวัญชัย สีนิล ตามระเบียบ โดยขณะนี้กำลังดำเนินการส่งตัว ส.อ.ขวัญชัย สีนิล เพื่อจำขังที่เรือนจำ จทบ.ป.น. แล้ว และยินดีที่จะออกค่ารักษาพยาบาลให้ จำนวน ๑,๕๐๐ บาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาได้สอบถามฝ่ายนายมะเซาฟี แขวงบู ว่าพอใจหรือไม่ ฝ่ายนายมะเซาฟี แขวงบู บอกว่าต้องการได้ค่าทำขวัญ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท รอง ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ได้ตอบฝ่ายนาย มะเซาฟี แขวงบู ว่าเนื่องจากเหตุการณ์ที่ นายมะเซาฟี แขวงบู เล่ามานั้นไม่ตรงกับที่ได้รับรายงานในเบื้องต้น และทางฝ่ายนายมะเซาฟี แขวงบู ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.เมืองยะลา ไว้แล้ว เพื่อให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่ายจึงความให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย และให้ศาลฯ เป็นผู้ตัดสินเรื่องคดีและค่าเสียหาย แต่ที่ ฉก.ยะลา ๑๑ ได้ออกค่ารักษาพยาบาลให้นั้นเนื่องก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้สอบถามฝ่าย นายมะเซาฟี แขวงบู ว่ายังต้องการอะไรอีกหรือไม่ ฝ่ายนายมะเซา ฟี แขวงบู ได้ตอบว่า กลัวว่า ส.อ.ขวัญชัย สีนิล จะกลับมาทำร้าย รอง ผบ.ฉก.ยะลา ๑๑ ได้รับรองว่า ส.อ.ขวัญชัย สีนิล เมื่อหลังจากถูกจำขังตามวินัยทหารแล้วจะไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่นี้อีก ไม่ต้องเป็นห่วง พร้อมทั้งให้เบอร์โทรศัพท์ ไว้ติดต่อเพื่อความอุ่นใจ เมื่อเห็นว่าฝ่ายนายมะเซาฟี แขวงบู ได้ตามความต้องการแล้วไม่มีข้อสงสัยใดๆ อีกจึงได้ให้ ฉก.ยะลา ๑๑ ทำการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและลงชื่อไว้เป็นหลักฐานทั้งสองฝ่าย และได้แยกย้ายกลับ

 

๓. อนึ่งในการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในครั้งนี้เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่บางคน เท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำของฝ่ายทหารทั้งหมดและที่สำคัญมิได้เป็นไปตามนโยบายของผู้ บังคับบัญชาที่ให้ไว้อย่างชัดเจน ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีความผิดได้ดำเนินการลง ทัณฑ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

๔. กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ขอเรียนว่าในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ผบ.ทบ. และ ผอ.รมน.ภาค ๔ ได้ให้นโยบายและสั่งการอย่างชัดเจนว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกส่วนจะ ต้องไม่สร้างเงื่อนไข การปฏิบัติงานต้องมีความเป็นธรรมและสามารถตรวจสอบได้ หากมีการฝ่าฝืนหรือกระทำผิด จะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามข้อเท็จจริง จากกรณีดังกล่าวข้างต้น ขอเรียนว่า กอ.รมน.ภาค ๔ สน. มิได้ละเลยและได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนและจะต้องมีการสอบสวนและดำเนินการ ตามความจริงต่อไป

 

กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ขอขอบคุณสื่อมวลชนที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือและการทำงานร่วมกันในการที่จะแก้ไขปัญหาความไม่ สงบให้คืนกลับมาสู่พี่น้องประชาชนใน จชต. ให้ได้โดยเร็ว และหวังว่าคงได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เช่นนี้จากท่านอีกในอนาคต

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและกรุณาหาแนวทางเสนอข้อเท็จจริง เพื่อเป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องนำเสนอต่อประชาชนต่อไป

 

(ลงชื่อ) พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก

(ปริญญา ฉายดิลก)
หน.ศปชส.กอ.รมน.ภาค ๔ สน.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net