Skip to main content
sharethis

มร.เทโอ วาน เดน เฮาท์ เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

เว็บไซต์บางกอกโพสต์เผยแพร่บทความของ มร.เทโอ วาน เดน เฮาท์ (H.E. Mr. Tjaco Theo van den Hout) เอกอัครราชทูต ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน ยุโรปและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตอบโต้บทความของบวรศักดิ์ อุวรรณโณที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านั้นซึ่งเขียนในประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพของไทยโดยอ้างอิงถึงระบบกฎหมายในยุโรป

บทความ “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในยุโรปและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ระบุว่า บทความที่น่าสนใจสามชิ้นเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่ง เขียนโดย ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เผยแพร่ผ่านบางกอกโพสต์ไปเมื่อวันที่7, 8 และ 9 เมษายน นั้น แม้ว่าข้อเขียนจะมีข้อที่น่าชื่นชมอยู่หลายส่วน แต่ขอตั้งประเด็นที่ผู้เขียนได้ละเลยในส่วนของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สถานการณ์ในยุโรป 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือการปรับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและธรรมชาติของการตัดสินของผู้พิพากษาในการใช้กฎหมายนั้น ประเด็นที่ 2 คือ ระบอบกษัตริย์ทั้งหมดในยุโรปที่บวรศักดิ์อ้างถึงในงานเขียนนั้นเป็นภาคีของ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (the European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms ("ECHR") ซึ่งผลที่เกิดจากอนุสัญญานั้น คดีตามระบบกฎหมายของภาคีจะต้องไม่ถูกประเมินค่าต่ำกว่า

บทความ ดังกล่าวอธิบายถึงประเด็นกฎหมายภายในของยุโรป ระบุว่าขณะที่ดร. บวรศักดิ์ นำเสนออย่างเฉียบแหลมในการอธิบายถึงระบอบกษัตริย์และกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนักว่าประเทศที่ถูกอ้างถึงส่วนใหญ่นั้น กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ถูกนำมาใช้ยาก และแม้จะถูกนำมาใช้การลงโทษก็ไม่รุนแรง

ตัวอย่าง ของกฎหมายดัตช์ในการดำเนินคดีนั้น ปรากฏว่ามีเพียงสองสามกรณีเท่านั้นที่มีการพิพากษาความผิดและกรณีเหล่านี้ ลงโทษด้วยการปรับ ในสหราชอาณาจักรกฎหมายฉบับนี้ตกอยู่ในสภาพเลิกใช้ และไม่มีกรณีตัวอย่างในประเทศเดนมาร์กและนอรเวย์ในช่วงปัจจุบัน

เมื่อนิตยสารแนวเสียดสีของเสปนฉบับหนึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดและต้องเสียค่าปรับจำนวน 3,000 ยูโรสำหรับความผิดฐานละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของเสปนในปี 2007 สมาชิกรัฐสภายุโรปได้เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในยุโรป

เอก อัครราชทูตจากเนเธอแลนด์อธิบายต่อไปว่าแม้ว่าจะไม่มีคดีเกี่ยวหมิ่นพระบรม เดชานุภาพเช่นที่เกิดขึ้นในศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปในสตารสบูรก์ แต่มี 2 คดีที่น่าศึกษาจากการอภิปรายกันถึงการลงโทษตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน มิติที่สัมพันธ์กับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งได้รับการรับรองไว้ใน มาตรา 10 แห่งอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป คือโคลอมบินาและพวก กับรัฐบาลฝรั่งเศส และคดีพากเดมิร์ลี กับตุรกี

ในคดีโคลอมบินาและพวก กับรัฐบาลฝรั่งเศส ปี 2002 นักหนังสือพิมพ์ 2 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดและต้องเสียค่าปรับ 5000 ฟรังซ์ และ 10,000 ฟรังซ์ ตามลำดับ ในความรับผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่นประมุขของประเทศอื่น คือกษัตริย์ฮัซซันที่ 2 แห่งโมร็อกโค ศาลได้ชี้ประเด็นเบื้องแรกว่าการคุ้มครองประมุขของประเทศอื่นจากการวิพากษ์ วิจารณ์เพราะเหตุผลเรื่องหน้าที่หรือตำแหน่งนั้น “เป็นการให้สิทธิพิเศษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถประนีประนอมได้กับระเบียบปฏิบัติหรือกรอบการเมือง แบบสมัยใหม่”

ยิ่งไปกว่านั้น ศาลยังได้ทำให้เป็นทีกระจ่างชัดอย่างยิ่งด้วยว่าการ การละเมิดกฎหมายหมิ่นประมาทปกตินั้น “เพียง พอสำหรับการปกป้องประมุขของประเทศและประชาชนทั่วไปจากการแสดงความเห็นที่ ทำให้เสียหาย หรือทำให้เสื่อมเกียรติหรือดูถูกถูกดูหมิ่น” แม้ว่าการตัดสินนี้คำนึงถึงการดูหมิ่นประมุขแห่งรัฐ แต่ศาลตระหนักว่าการลงโทษสำหรับการดูหมิ่นประมุขแห่งรัฐไม่ใช่สิ่งที่ “จำเป็นในสังคมประชาธิปไตย” และในประเด็นที่ขัดแย่งกันระหว่างสิทธิแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่ง รับรองไว้ในมาตรา 10 แห่ง ECHR เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้อง note ว่า ตามที่ศาล, แม้ว่าศาลแพ่งจะสั่งให้มีการจ่ายค่าปรับสำหรับการหมิ่นประมาทนั้นก็อาจจะ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นซึ่งได้รับการรับรองไว้โดยมาตรา 10 แห่ง ECHR โดยเฉพาะถ้าจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายนั้นเป็นจำนวนมากเกินไป

ในคดีพากเดมิร์ลี กับตุรกี ปี 2005 สมาชิกรัฐสภาถูกศาลแพ่งสั่งให้จ่ายค่าเสียหายจำนวน 60,000 ยูโรฐานความผิดดูหมิ่นประธานาธิบดีแห่งตุรกี ในชั้นแรกศาล

จาก 2 กรณีนี้ ประเด็นแรกที่ศาลระบุคือเป็นเรื่องที่น่าตระหนกที่คำพิพากษาของศาลแพ่งได้ แสดงความวิตกกังวลเกินจำเป็นต่อตำแหน่งประธานาธิบดี ประเด็นที่สอง ตามที่ศาลได้ตัดสินลงไปในคดีโคลอมบีนีนั้น ศาลได้ชี้ว่าแม้หลักในการคุ้มครองซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพิเศษว่าด้วยการหมิ่น ประมาทจะไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฯ แต่กฎหมายหมิ่นประมาทปกตินั้น “เพียง พอสำหรับการปกป้องประมุขของประเทศและประชาชนทั่วไปจากการแสดงความเห็นที่ ทำให้เสียหาย หรือทำให้เสื่อมเกียรติหรือดูถูกถูกดูหมิ่น

บทความชิ้นนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยเว็บไซต์ของบางกอกโพสต์ระบุว่า บทความนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ มร.เทโอ วาน เดน เฮาท์ เอกอัครราชทูตเนเธอแลนด์ประจำประเทศไทย

มร.เท โอ วาน เดน เฮาท์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปศาลอนุญาโตตุลาการถาวรระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมคดีความระหว่างประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 100 ประเทศ มร.เทโอ วาน เดน เฮาท์ลาออกมาเพื่อทำหน้าที่ทางการทูตให้แก่รัฐบาลเนเธอแลนด์ และ เพิ่งเข้ารับพระราชทานพระราชสาส์นและอักษรสาส์นตราตั้ง เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552

 

อ่านบทความฉบับเต็มของมร.เทโอ วาน เดน เฮาท์

Europe's lese majeste laws and the freedom of expression  

 

อ่านบทความของ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ความผิดฐาน "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ": เอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทยใน ในกระแสประชาธิปไตยโลก

วัฒนธรรมไทยกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เอกลักษณ์ของประชาธิปไตยไทย ในกระแสประชาธิปไตยโลก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net