Skip to main content
sharethis

วันนี้ 10 พ.ค.52 ที่โรงแรม ฮอลิเดย์ การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่ กองเลขาเครือข่ายชนเผ่าภาคเหนือ ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “พัฒนายุทธศาสตร์เครือข่ายองค์กรชุมชนพี่น้องชนเผ่าภาคเหนือ” เพื่อ ประมวลสถานการณ์ภาพรวมชนเผ่า 2 ปีที่ผ่านมา ร่วมระดมปัญหา รวมถึงทิศทางแนวทางเชิงยุทธศาสตร์การทำงาน การสร้างกลไกการทำงานร่วมกันตลอดจนบทบาทภารกิจการหนุนเสริมงานด้าน ชาติพันธุ์ โดยตัวแทนจากงานแต่ละด้านและตัวแทนจากแต่ละเครือข่าย เป็นผู้รายงาน

 
ศปส.ชี้การจับกุม โยกย้ายชนเผ่ายังมีอยู่ แนะทุกเผ่าร่วมผลักดันระดับนโยบาย
นาย วิวัฒน์ ตามี่ ตัวแทนจากศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) จากสถานการณ์ชนเผ่าที่ผ่านมา คือ ป่าไม้ ที่ดิน สถานะบุคคล การละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักประกันสุขภาพนั้น
พบ ว่า พี่น้องชนเผ่าถูกจับกุมมากขึ้น การถูกอพยพโยกย้ายหมู่บ้านยังมีอยู่ โดยมีการสนธิกำลังทหารเข้ามาดำเนินการเป็นองค์กรหลัก มีการกล่าวอ้างว่าชาวเขามีปัญหาเรื่องยาเสพติด แรงงานข้ามชาติ นำไปสู่ปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ สถานการณ์ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อย และทั้งหมดเชื่อมกับนโยบายการขายป่า ที่เชื่อมกับคาร์บอนเครดิต เรื่องนี้ไม่เคยถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งหมดยังไม่มีการขับเรื่องประเด็นนี้เป็นหลัก ส่วนการรณรงค์ทางนโยบายที่เป็นผลบวก คือการเวทีของชนเผ่าในการประชุมอาเซียนภาคประชาชน
วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า ภายใต้กระแสทุนนิยม โลกยอมรับว่าชนเผ่าพื้นเมืองเขามีตัวตน เขามีวัฒนธรรมของตนเอง แต่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพยังไม่เป็นที่เปิดเผยอย่างเต็มที่ รัฐบาลไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ ดังนั้นประเด็นนี้จะต้องชูขึ้นมาให้ได้ คือเป็นความชอบธรรม และที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบอะไร การทำงานเป็นประเด็นไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาเท่าไรนัก
ถ้า เราต่างคนต่างเคลื่อนของใครของมัน จะทำให้เครือข่ายไม่สามารถขับเคลื่อนในระดับนโยบาย เราต้องข้ามพ้นความเป็นเผ่าได้ ในระดับสากลไม่ได้แยกแยะความเป็นชนเผ่า เราจะมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้อย่างไร
 
ชี้แรงงานข้ามชาติทำงานเสี่ยง สกปรก ลำบากที่คนไทยไม่ทำ แต่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ตัวแทนจากกลุ่มเพื่อนไร้พรมแดน กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติอยู่ในภาวะ 3 ส คือ เสี่ยง สกปรก แสนลำบาก แรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นแรงงานภาคประมง เพราะแรงงานไทยไม่ทำแล้ว ขณะที่กลไกการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ การคุ้มครองให้ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ ยังไม่เกิดขึ้น รัฐบาลอ้างว่าปัญหานี้อยู่ที่นายจ้าง
นอกจาก นี้ยังไม่มีการส่งเสริมเรื่องการศึกษาให้แรงงานข้ามชาติ เพราะกลัวแรงงานข้ามชาติจะไม่ยอมทำงานที่ลำบาก ให้คนไทยรับสมัครงานก่อน แล้วให้แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนรับสมัครงานต่อ จังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานข้ามชาติเพียง 40,000 กว่าคนที่ขึ้นทะเบียน ทั้งที่คาดว่าน่าจะมีแรงงานข้ามชาติราวแสนกว่าคน ถือว่าในเรื่องแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลไทยถือว่าเข้ากรณีเกลียดปลาไหล กินน้ำแกง ดังนั้น แรงงานข้ามชาติมีอำนาจต่อรองอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะขับเคลื่อนอย่างไร
 
ลุ่มน้ำสาละวินเผย ถูกกีดกันเรื่องต้านการสร้างเขื่อน
ตัวแทน จากลุ่มน้ำสาละวิน กล่าวว่าปัญหาที่พบ คือ ปัญหาที่ดินและป่าไม้ เนื่องจากชาวบ้านทำไร่ส่งผลด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และสารเคมี หมอกควัน นอกจากนี้โครงการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินทั้ง 2 แห่ง ก็ไม่มีมาตรการรองรับ ชาวบ้านก็ไม่ต้องการ นอกจากนี้การสู้รบที่เกิดขึ้นฝั่งพม่า ทำให้ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านแถบนั้นไม่มั่นคง และทหารก็กีดกันชาวบ้านไม่ให้เคลื่อนไหวเรื่องต้านเขื่อน ขณะที่ทหารที่อยู่ในชายแดนเองก็ให้ความสะดวกสบายแก่การสร้างเขื่อน
ตัวแทน จากลุ่มน้ำสาละวินแจ้งว่า ชาวบ้านได้ทำหนังสือทักท้วงกับรัฐบาลแล้ว เพราะการจัดทำโครงการพัฒนาใหญ่ๆ ชาวบ้านจะต้องรับรู้ รับทราบ และเป็นผู้ให้ความความเห็นชอบ
ดร.พระ มหาบุญช่วย สิรินทโร กล่าวว่า กล่าวว่าจริงๆ แล้วชายแดนพม่า ถูกจีนดูแลมากแล้ว การเปิดคาสิโน ชนเผ่าในท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์อะไร แรงงานนำมาจากจีนทั้งหมด ดร.พระมหาบุญช่วยยังกล่าวว่า ประเด็นสุขภาพชนเผ่าต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ยาบางอย่าง เช่น ยาต้านไวรัส คนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเท่านั้นจะได้รับ มีโควตาเฉพาะคนที่มีบัตรทอง ดังนั้น ต้องคุยกันเรื่องด้านนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น เพราะประเด็นสุขภาพเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับทุคน
 
สุมิตรชัยห่วงพิจารณาสัญชาติล่าช้า หลายพื้นที่ภาคประชาชนต้องเร่ง
สุ มิตรชัย หัตสาร เลขาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคเหนือ กล่าวว่าการมีบัตรประจำตัวประชาชน คือการเข้าถึงสิทธิในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหายังไม่ชัดเจนการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ 2551 กระบวนการ ทำงานในระดับพื้นที่ค่อนค้างจะมีปัญหา บางครั้งเจ้าหน้าที่มีทัศนคติที่ไม่ดี มองเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องความมั่นคง ดังนั้นต้องต่อสู้ผลักดันในเรื่องนี้อย่างมาก การพิจารณาสัญชาติอยู่ที่การใช้ดุลพินิจของนายอำเภอ บางอำเภอถ้าไม่มีองค์กรเอกชนเข้าไปช่วยเหลือ ค่อนข้างดำเนินการในเรื่องนี้ช้ามาก ในระดับชุมชน การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามมาตรา 23 พ.ร.บ.สัญชาติจึงมีปัญหามาก นำไปสู่กระบวนการคอร์รัปชั่นอยู่มาก
 
ตัวแทน พอช. เน้นการพัฒนาต้องไม่ลืมความหลากหลายชาติพันธุ์
ส่วน นายพลากร วงศ์กองแก้ว จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวว่าในเบื้องต้นที่คุยกันนี้ จะให้ พอช. หนุนเสริมกับเป็นกองหลัง แต่ต้องคิดอะไรที่จะโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงจะต้องขยับงานชนเผ่า ชุมชนบนพื้นที่สูง นำไปสู่งานเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ได้ ที่ผ่านมาสังคมภายนอก เขายังคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องชาวเขาชาวเรา จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในสังคมเรา
แม้ ในรัฐธรรมนูญ มีการพูดถึงสิทธิชุมชน แต่การที่สังคมไม่มีการอธิบายในมิติความแตกต่าง จึงเป็นเรื่องที่คนในสังคมทำความเข้าใจต่อชนเผ่าต่างๆ ยากเพราะยังมีช่องว่าง แต่ว่าชาติพันธุ์ต่างๆ มารวมกันคือสุวรรณภูมิ ถือว่ามีความหลากหลาย เป็นการผสมปนเปกันหมด ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องข้ามพ้นความหลากหลายเหล่านี้ รวมถึง 14 ชาติพันธุ์ คนในชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาที่ลงรากจะลืมคำว่าชาติพันธุ์ไม่ได้ เพราะแต่ละชาติพันธุ์ก็มีวิถีของตนเอง จะให้เหมือนกันได้อย่างไร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net